ตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login

ใน wordpress เราสามารถตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login ทำได้โดยการติดตั้ง plugin เพิ่ม ผมได้ติดตั้ง plugin ชื่อ member access (member-access.1.1.6.zip) เพิ่มตามคำแนะนำของทีมงาน (ใหญ่และน้อง ศูนย์คอมฯ ขอบคุณครับ) วิธีใช้งานคือ เมื่อท่านเขียนบทความเสร็จ ตัดสินใจแล้วว่าจะเผยแพร่แบบให้สมาชิกที่ login เข้าสู่ระบบแล้วจะดูได้เท่านั้น (เพราะจำเป็นจริงๆ อาจมีความลับบางอย่างไม่อยากให้พี่ google ไปบอกต่อ) ให้ท่านดูที่ด้านขวามือ จะเห็นเป็น Status: Published Edit Visibility: Public Edit ซึ่งถูกต้องแล้ว จากนั้นให้เลือกตัวเลือกของ Member Access ด้านล่าง ตั้งค่าตัวเลือก Ignore the default settings and make this post visible only to members ผลลัพธ์จากการตั้งค่าครั้งนี้ ทำให้บทความไม่แสดงในหน้าเว็บไซต์ ถ้าไม่ login เข้าสู่ระบบก็จะไม่เห็นบทความ เมื่อคัดลอก link ส่งไปให้ ผู้ที่ได้รับ link ก็จะถูก redirect มายังหน้า login

Read More »

ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน”

กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ม.ค. 56 (พฤหัส) เวลา 09.00 – 16.00 น. มีอาหารเที่ยงเลี้ยง ที่ห้อง 101 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ.หาดใหญ่ (หมายเหตุ วันที่ 30 ม.ค. 56 ทีมวิทยากรจะเตรียมห้องอบรมด้วยกัน) หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) หรือทางเฟสบุ๊คของกลุ่ม และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ (ดูรายชื่อผู้เข้าร่วมติว) ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน” กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของม.อ.วิทยาเขตต่างๆ ระยะเวลา 1 วัน สถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ต้องใช้ห้องอบรมที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องต่อผู้เข้าอบรม 1 คน เนื้อหา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการนำโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน แนะนำโปรแกรม pGina บนวินโดวส์ เพื่อควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ radius server ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานอยู่ใน PSU-12 ต้นแบบพัฒนาจาก FreeRADIUS ซึ่งมี module ที่สามารถ authen กับ PSU-Passport ได้ ความรู้เกี่ยวกับ Disk/Partition/Booting แนะนำชุดโปรแกรม PSU-12 ชุดโปรแกรม PSU-12 ที่มีสรรพคุณดังนี้ Boot Manager Server – ห้องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ควบคุม boot manager จาก server Cloning Server – ระบบโคลนนิงผ่าน network ใช้ทดแทนโปรแกรม GHOST โคลนนิงได้ทั้ง MS Windows และ Linux DHCP + PXE Server – ทำงานเป็น DHCP server และ PXE server มีระบบบันทึก log accounting สามารถกำหนดให้ หาก PC ลูกข่ายไม่ต่อกับ network จะบูทไม่ได้ ประยุกต์ใช้งานบังคับให้อ่าน message of today จึงจะบูทเครื่องใช้งานได้ สามารถกำหนดให้ PC ลูกข่ายบูทเข้า partition ไหนก็ได้ รายละเอียดหัวข้อติว ตอนที่ 1 – ติดตั้ง server ติดตั้ง Ubuntu server ติดตั้งชุด PSU-12 การปรับแต่งให้ PSU-12 เป็น radius server ที่สามารถ authen กับ @psu.ac.th และ PSU-Passport ทดสอบ authen กับอีเมลของ @psu.ac.th ทดสอบ authen กับบัญชีผู้ใช้ PSU-Passport สามารถปรับตั้งให้เฉพาะบุคลากรของ PSU หรือเฉพาะบุคลากรในหน่วยงานเท่านั้นที่ใช้บริการได้ สามารถปรับตั้งให้เฉพาะนักศึกษาในคณะเท่านั้นที่ใช้บริการได้ ตอนที่ 2 – การโคลนนิ่ง การ Cloning เครื่องต้นแบบไปเก็บเป็นไฟล์ต้นฉบับ (Backup Process) การ Backup Partition Table การ Backup Partition การ Cloning เครื่องใหม่จากไฟล์ต้นแบบ (Restore Process) การตั้งค่าเพื่อทำให้ระบบที่ Cloning มากลับมา boot ได้ ตอนที่ 3 – ติดตั้งโปรแกรมสำหรับควบคุมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่ง partition ของฮาร์ดดิสก์โดยใช้แผ่นซีดี Sysresccd และลง Windows 7 ใหม่ใน partition ที่สร้างขึ้น ติดตั้งโปรแกรมเก็บข้อมูลการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

Read More »

การเปลี่ยนชื่อ group mail ใน mailman

ในการใช้ mailman เพื่อการให้บริการ Mailing List หรือ Group Mail นั้น การเปลี่ยนชื่อกลุ่มนั้น ค่อนข้างยุ่งยาก แต่สามารถทำได้ง่ายกว่า โดยการสร้าง List ใหม่แล้ว เอา Config และ Member เดิมมาใส่ ขอยกตัวอย่าง กรณี จะเปลี่ยน group name ของกลุ่มคณะ วจก. ซึ่งเดิมจะขึ้นต้นด้วย mgt-* ให้ไปเป็น fms-* ก็จะใช้ Shell Script ตามนี้ oldname=”mgt” newname=”fms” owner=”admin.name@psx.ac.th” password=”xxxxxx” for line in $( /usr/lib/mailman/bin/list_lists | grep -i “$oldname-“|awk ‘{print $1}’) ; do /usr/lib/mailman/bin/config_list -o $line.txt $line /usr/lib/mailman/bin/list_members $line > $line-member.txt newgroupname=$newname-$(echo $line | sed -e “s/$oldname-\(.*\)*/\1/i”) sed -e “s/$oldname-/$newname-/i” $line.txt > $newgroupname.txt /usr/lib/mailman/bin/newlist $newgroupname $owner $password /usr/lib/mailman/bin/config_list -i $newgroupname.txt $newgroupname /usr/lib/mailman/bin/add_members -w n -a n -r $line-member.txt $newgroupname done 1. เมื่อต้องการทราบว่า ในระบบของ mailman มี List ใดบ้างที่ชื่อขึ้นต้นด้วย “mgt-” บ้าง ใช้คำสั่ง /usr/lib/mailman/bin/list_lists | grep -i “mgt-” 2. ซึ่งจะพบว่ามีหลายกลุ่ม ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย “mgt-“, ก็สามารถใช้ Shell Script เพื่อ เอาผลลัพธ์ จากคำสั่งดังกล่าว มาทำงานร่วมกับคำสั่ง ต่อไปนี้ เพื่อเก็บ Config ของกลุ่มนั้นๆ ออกมาเป็นไฟล์ (สมมุติว่า ชื่อกลุ่มคือ mgt-xxx ก็นำออกมาเป็นไฟล์ชื่อ mtg-xxx.txt) /usr/lib/mailman/bin/config_list -o mgt-xxxx.txt mgt-xxx 3.ต่อไป วิธีการดูว่า แต่ละกลุ่ม มีใครเป็นสมาชิกบ้าง แล้วนำออกมาเป็นไฟล์ (สมมุติว่า ชื่อกลุ่มคือ mgt-xxx ก็นำออกมาเป็นไฟล์ชื่อ mtg-xxx-member.txt) /usr/lib/mailman/bin/list_members mgt-xxx > mgt-xxx-member.txt จะได้ไฟล์ชื่อเดียวกับชื่อกลุ่ม แต่จะลงท้ายด้วยคำว่า -member.txt 4, ในการเปลี่ยนชื่อกลุ่ม จะเปลี่ยนจาก mgt-xxxx มาเป็น fms-xxxx วิธีการที่จะได้คำว่า xxxx ที่ต่อท้าย mgt-xxxx นั้น ใช้คำสั่งต่อไปนี้ echo “mgt-xxxx” | sed -e “s/mgt-\(.*\)*/\1/i” คำสั่ง sed นั้นมี option “-e” คือการสั่งให้ execute คำสั่งที่ตามมา ส่วน  “s/mgt-\(.*\)*/\1/i” นั้น จะมีโครงสร้างคือ s/pattern/replace/i s : หมายถึง substitute คือ แทนที pattern: ที่เขียนว่า mgt-\(.*\)* หมายความว่า เมื่อเจอรูปแบบ mgt-xxxx ก็จะเอา xxxx มาเก็บไว้ในตัวแปร replace: ที่เขียนว่า \1 ก็คือเอาค่าจากตัวแปรใน pattern \(.*\) นั่นก็คือ xxxx i: ตัวสุดท้ายหมายถึง Case-Insensitive

Read More »