แจกฟรี Template สำหรับ Web Application แบบไทยๆ

แจกฟรี! Template สำหรับ Web Application หน้าตาเว็บแอพแบบไทยๆ เอาไปใช้กันแบบไม่มีเงื่อนไข หลังจากค้นหาดูจากหลายๆ ที่ก็ไม่โดนใจและการนำไปใช้งานไม่เหมาะสมเท่าที่ควร… เลยทำเองซะเลยจากประสบการณ์ คิดว่าหน้ากากแบบนี้เหมาะกับระบบสารสนเทศแบบไทยๆ (แบบทางราชการ) หลังจากการศึกษาและสำรวจรูปแบบมาจากหลากหลายที่ ส่วนของ source code ที่นำมาใช้และมีการปรับแต่ดังนี้ (จัดเต็ม..เวอร์ชั่นล่าสุด ณ 14/8/2558)

Read More »

การวัดระยะทางบน Google Earth

จากบทความที่แล้ว การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ. ทำให้สามารถมองเห็นภาพพื้นที่ห้ามฯ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ยังคงมีหลายๆท่านอยากรู้ว่าร้านนี้ ร้านนั้น จะอยู่ในเขตโซนนิ่งหรือเปล่า? วันนี้เลยมานำเสนอวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบด้วยตัวเอง ด้วยการวัดระยะทางจากสถานศึกษา ไปยังร้านที่เราสงสัยว่าจะอยู่ในข่ายโซนนิ่งหรือไม่? ขั้นตอน เปิดโปรแกรม Google Earth ถ้ายังไม่ได้ติดตั้งคลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม จากประกาศสำนักนายกฯ ในข้อ 1 ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณซึ่งอยู่ในระยะ 300 เมตร จากรั้วหรือแนวเขตของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ฉะนั้นเราต้องสร้างขอบเขตสถานศึกษาก่อน (ขั้นตอนนี้สามารถข้ามได้) คลิกไอคอน เพิ่มรูปหลายเหลี่ยม > คลิกลงบนแผนที่ที่เป็นขอบเขตสถานที่ > กำหนดให้พื้นที่เป็นแบบโปร่งแสง เพื่อแสดงเฉพาะเส้นขอบเขต > คลิก ตกลง จากนั้นจะเริ่มทำการวัดระยะทาง โดยคลิกที่ไอคอนไม้บรรทัด > กำหนดหน่วยระยะทางเป็น เมตร คลิก 1 ครั้งที่จุดเริ่มต้นบริเวณแนวเขตสถานศึกษา > คลิก 1 ครั้งที่จุดปลายทางสถานบันเทิงที่ต้องการตรวจสอบ จะเห็นว่า pop-up แสดงระยะทาง หากต้องการไปตรวจสอบจุดต่อไป ให้คลิกปุ่ม ล้าง เพื่อลบเส้นระยะทางที่ได้ทำไว้เมื่อสักครู่นี้ (เสริม) หากต้องการวัดระยะทางโดยการใช้เส้นที่ประกอบด้วยจุดที่มากกว่า 2 จุด ให้ใช้แท็บ เส้นทาง ซึ่งลักษณะการวัดระยะทางจะเหมือนกับข้อ 5 หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านในการนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ นะคับ ^^

Read More »

การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ.

ตอนนี้เป็นกระแสที่กำลังมาแรงเรื่องการจัดระเบียบสถานบันเทิงหรือสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใกล้บริเวณสถานศึกษา วันนี้เลยจะนำเสนอการทำ buffer 300 เมตร ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ.2558 โดยห่างจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อเราได้ตรวจเช็คว่า ร้านหรือสถานบันเทิงใดบ้างที่อยู่ในเขตพื้นที่ห้ามฯ* * ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยใช้ basemaps จากบทความที่แล้ว การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS ขั้นตอน เปิดโปรแกรม QGIS > นำเข้าขอบเขต มอ. ด้วยคำสั่ง Add Vector Layer > เลือก shape file ขึ้นมา จะปรากฏ Layer หรือชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่ มอ. ขึ้นมา นำเข้าแผนที่ Google Satellite ด้วยการคลิกที่เมนู Web > OpenLayers plugin > Google maps > Google Satellite* *หากไม่มีเมนูนี้ ให้ทำการติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGISS ตอนนี้ในหน้าจอโปรแกรม QGIS ก็จะมี 2 Layers ที่เป็นแผนที่ Google และเส้นขอบเขตพื้นที่บริเวณของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คลิกเลือก Layer ที่เป็นขอบเขตพื้นที่ มอ. เพื่อที่จะทำ Buffer หรือระยะห่างจากมอ.ในรัศมี 300 เมตร > Vector > Geoprocessing Tools > Buffer(s) เลือก input vector layer > กำหนดระยะห่าง(buffer distance) ใส่ 300 (หน่วยเป็นเมตร) > กำหนด output shapefile > คลิกปุ่ม OK จะมี layer เพิ่มขึ้นมา โดยจะเป็นพื้นที่ buffer 300 m. ปรับให้เป็นพื้นที่โปร่งแสงเพื่อให้สามารถมองเห็นแผนที่ google ด้านหลัง จะได้เส้นขอบเขตพื้นที่ buffer 300 เมตรของบริเวณพื้นที่ มอ. จากนั้นทำการ save as เป็น .kml เพื่อไปนำเข้าที่ Google Maps ด้วยการคลิกขวาที่ Layer > Save As.. เลือก format เป็น KML > เลือกที่เก็บไฟล์สำหรับการ Save as > คลิก OK เปิดเว็บ google.co.th/maps หรือ maps.google.co.th > คลิกที่ไอคอนหน้าช่อง ค้นหา เลือก My Maps หรือ แผนที่ของฉัน คลิกไอคอน สร้าง จะมีเลเยอร์ใหม่เพิ่มขึ้นมา > คลิก นำเข้า > เลือกไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของคุณ เลือกไฟล์ kml ที่ได้จากข้อ 10 > Open จะปรากฏ layer เส้น buffer 300 เมตร ขึ้นมาบนแผนที่ แก้ไข/เปลี่ยนชื่อแผนที่ และใส่คำอธิบายแผนที่ โดยการ copy ข้อความมาจากเว็บ http://www.matichon.co.th เพื่อแสดงข้อความประกาศฯ ปรับแต่งพื้นที่ให้มีสีที่โปร่งแสง เพื่อให้มองภาพพื้นที่ง่ายขึ้น แผนที่จะแสดงขอบเขตห้ามฯชัดเจน โดยในแผนที่จะมีสถานที่/ร้านอาหาร/สถานบันเทิง ที่ในเขตห้ามฯ และนอกเขตห้ามฯ เพิ่ม layer ขอบเขตพื้นที่ มอ. เข้ามาเพื่อแสดงให้เห็นพื้นที่มอ. และพื้นที่ห้ามฯ เมื่อปรับแต่งแผนที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการ share แผนที่เป็นแบบ

Read More »

การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS

Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS) วันนี้เลยอยากจะนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ OpenLayers plugin for QGIS 2.8 เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย   *** ส่วนใครที่ใช้ ArcGIS ก็ลองแวะเข้าไปอ่านวิธีการ การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน ได้นะคัับ ^^   ขั้นตอน เปิดโปรแกรม QGIS 2.8 หรือทำการติดตั้งโปรแกรม QGIS 2.8 เมนู Plugin > Manage and Install Plugins… เลือก OpenLayersPlugin > คลิก Install plugin หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วจะเห็นว่าหน้า OpenLayers Plugin มีไอคอนสีฟ้าและเครื่องหมายกากบาท เปิดการใช้งานโดยคลิกที่เมนู web Openlayers plugin > Google Maps > จะมีให้ชนิดของแผนที่ให้เลือก คลิกเลือก Google Satellite จะมี Layer Google Satellite เพิ่มขึ้นมาตรงด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งในพื้นที่งานจะยังไม่เห็นแผนที่ จะต้องทำการ add layer (ชั้นข้อมูล) ขึ้นมา ในตัวอย่างจะ add vector layer แผนที่ประเทศไทยขึ้นมา จะมี layer เพิ่มขึ้นมาด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งจะซ้อนทับอยู่กับ Google Satellite Layer ทำการปรับค่าให้แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสง เพื่อจะได้มองเห็น Layer ที่เป็น google maps จะเห็นว่า แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสงแล้ว เห็นแต่เส้นขอบเขตการปกครอง ลอง Zoom ใกล้ๆ ตรงบริเวณตึก LRC โดยแถบสถานะด้านล่างจะแสดงแผนที่มาตราส่วน (scale) เป็น 1:300 ( ความหมายคือ ถ้าเอาไม้บรรทัดวัดรูปได้ เท่าไร ความยาวจริงก็จะยาวกว่าที่วัดได้ 300 เท่า) จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย ปกติแล้วนักพัฒนาเว็บ (web developer) จะนิยมใช้ Google Maps API ในการพัฒนา Map on Web ….. ลองหันมาเพิ่มศักยภาพในการแสดงแผนที่ในเชิงวิเคราะห์และมีความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ดูไม๊ครัช ^^ สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา web map application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS ‎ครัั้งหน้าจะนำเสนอการสร้างข้อมูลบน‬ QGIS เพื่อนำไปใช้ใน Google Earth และ Web Map นะคับ ^^

Read More »