การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน

Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS)   วันนี้เลยอยากจะขอนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยนำเสนอ การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS มาแล้วสำหรับคนที่ใช้โปรแกรม QGIS ลองแวะเข้าไปอ่านดูได้นะคับ ^^   ขั้นตอนการติดตั้ง 1. ดาวน์โหลดไฟล์ ArcGoogle ได้ ที่นี่ โดยเลือกดาวน์โหลดไฟล์ให้เหมาะกับ ArcGIS เวอร์ชั่นที่ใช้งานอยู่ For ArcGIS 9.3, 10.0, 10.1 or 10.2 For ArcGIS 10.3 or 10.4 2. เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว ให้ unzip จากนั้นดับเบิ้ลคลิก setup.exe 3. ติดตั้งตามรูปเลยคับ 4. ติดตั้งเสร็จสิ้น ขั้นตอนการใช้งาน 1. เปิดโปรแกรม ArcGIS หากใครยังไม่ได้ติดตั้ง สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและติดตั้ง เวอร์ชั่นทดลองใช้งานได้ 60 วัน ที่นี่ 2. คลิกที่เมนู Customize > เลือก Customize Mode… 3. คลิกเลือก ArcGoolge-ungdungmoi.com จะแสดงแถบเมนูเครื่องมือขึ้นมา  จากนั้นคลิกปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าต่าง 4. คลิก Google Map > Google Satellite 5. จะมีชั้นข้อมูล(Layer) ขึ้นมา พร้อมกับแสดงแผนที่ Google Satellite ขึ้นมา 6. นอกจากนี้ ยังสามารถคลิกบนแผนที่ เพื่อแสดงภาพ Google Street View ได้ด้วย 7. นอกจากนี้ ยังสามารถดึงค่า Elevation จาก Google ได้ด้วย โดยการคลิกที่ไอคอน  8. กำหนด Cell size (หน่วยเป็น เมตร) (จำนวนสูงสุดของจุดแต่ละครั้งดาวน์โหลด 300m) 9. จากนั้นคลิกปุ่ม Get Elevation > รอสักครู่ จะแสดงตารางค่าขึ้นมา ** อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Elevation ที่นี่ 10. เราสามารถ export ค่า elevation ออกมาเป็น shape file ได้ โดยคลิกปุ่ม Export to Shapefile > ตั้งชื่อไฟล์ > คลิกปุ่ม Save 11. มีชั้นข้อมูล (Layer) เพิ่มขึ้นมา โดยจะมีจุด elevation อยู่บนแผนที่ และแสดงค่าและตำแหน่งพิกัด(Lat, Long) ด้วยการเปิด attribute table ดังรู)   จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ

Read More »

ใช้ Firebug ในการตรวจสอบข้อมูล

วันนี้จะมาพูดถึง Firebug ซึ่งหลาย ๆ คนคงใช้งานหรือรู้จักกันอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนเพียงแค่นำส่วนที่ใช้งานมาแบ่งปันสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานค่ะ Firebug เป็นเครื่องมือสำหรับ Web Development ในการแก้ไขตรวจสอบ JavaScript / CSS / HTML เป็น Extension หรือ Add-ons สำหรับใช้ในการช่วยจัดการ Debug พวก HTML , JavaScript และ CSS การใช้งานไม่ยาก โดยทำการติดตั้ง Plugin ลงใน Web Browser เช่น Google Chrome หรือ Mozilla Firefox หลังจากนั้นก็เปิด URL หรือเว็บไซต์ที่ต้องการ และทำการคลิกที่ Icon ของ Firebug จากนั้นโปรแกรม Firebug ก็จะแสดงรายละเอียดโครงสร้าง HTML , JavaScript และ CSS ทั้งหมดใน URL นั้น ๆ เราสามารถทำการคลิกเพื่อแก้ไข CSS หรือแม้กระทั่งตรวจสอบค่าต่าง ๆ ซึ่งการใช้งานนั้นไม่ยากซับซ้อนอะไร ผู้เขียนได้ใช้ Firebug กับการทำงานโดยใช้การ debug ที่แท็บ Console ตัวอย่างดังนี้ เมื่อมีการแจ้งจากผู้ใช้งานระบบว่าข้อมูลแสดงไม่ครบถ้วน จึงทำการตรวจสอบ Service ที่ดึงข้อมูลดังกล่าว โดยใช้ Firebug ในการตรวจสอบ คลิก Service ที่ต้องการจะแสดงข้อมูลดังนี้ (จะเห็นได้ว่าจากรูปด้านบนแสดงเวลาที่โหลดข้อมูลแต่ละคำสั่งด้วยค่ะ) ในส่วนอื่น ๆ ก็สามารถศึกษาได้ไม่ยากค่ะ

Read More »

วิธีการตั้งค่า Google Apps/Gmail บน Microsoft Outlook 2016

ก่อนจะตั้งค่า Microsoft Outlook 2016 ให้สามารถใช้งานกับ Google Apps/Gmail Account ได้ต้องดำเนินการตามนี้ก่อน (เพราะ Microsft Outlook 2016 ยังไม่รองรับการยืนยันตัวตนด้วย OAuth 2.0 ซึ่งมีความปลอดภัย) แบ่งเป็น 2 กรณีครับ 1. ถ้าไม่ได้ใช้ 2-Step Verification ต้องไปที่ https://myaccount.google.com/security แล้วคลิก Allow less secure apps: ให้เป็น On ครับ 2. กรณีใช้ 2-Step Verification ให้ทำการสร้าง Apps Password โดยไปที่ https://security.google.com/settings/security/apppasswords?pli=1 เลือก Mail > Windows Computer แล้วคลิก Generate จากนั้นเอารหัสผ่านที่แสดงขึ้นมาใหม่ ไปใช้งานครับ จากนั้น จึงใส่รหัสผ่านใน Outlook ครับ UPDATE: หากจะใช้ OAuth 2.0 จริงๆ ก็ทำได้ แต่ต้อง Tweak แก้ registry กันเลย ตามนี้ครับ https://blogs.technet.microsoft.com/ivfranji/authentication-enabling-modern-auth-oauth2/

Read More »

Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress

ในบทความนี้ จะแสดงวิธีการใช้ Juju เพื่อติดตั้ง WordPress พร้อมแสดงวิธีการเฝ้าระวังด้วย Nagios และ การ Scale Out เริ่มต้นจากคลิกที่ รูปเครื่องหมายบวก (+) สีเขียว ในช่องค้นหา พิมพ์คำว่า “wordpress” แล้วคลิก Enter จะปรากฏผลการค้นหา สิ่งนี้เรียกว่า Charm ซึ่งเป็น Image ของระบบปฏิบัติการ พร้อมทั้งการ Setup สิ่งที่เราต้องการมาให้เลย ในภาพให้คลิกที่คำว่า WordPress ด้านซ้ายมือ จากนั้น คลิก Add to canvas ต่อไป ทำซ้ำ โดยการค้นหาสิ่งต่อไปนี้ haproxy, mysql, nagios แล้วจัดระเบียบให้สวยงามตามต้องการ จากนั้น ลากเส้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน Juju จะสร้างการเชื่อมต่อต่างๆให้เองอัตโนมัติ ในภาพ จะเป็นการตั้งค่าให้ haproxy ทำหน้าที่เป็น Load Balance ให้ WordPress ซึ่งจะเกิดขึ้นอีกหลายเครื่องในอนาคต และ WordPress ก็จะเชื่อมต่อกับ MySQL นอกจากนั้น ก็มี Nagios ที่จะเฝ้าระวัง WordPress และ MySQL เมื่อลากเส้นเชื่อมโยงเสร็จแล้ว คลิก Commit Changes ด้านขวามือล่าง จากนั้นคลิกปุ่ม Deploy หลังจากนั้น Juju จะไปเรียก Image มาติดตั้ง และสร้างความสัมพันธ์ของระบบที่เราออกแบบไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะได้ผลดังภาพ ต่อไปคลิกที่ haproxy แล้วคลิกคำว่า Expose เพื่อบอกให้ระบบนี้สามารถเข้าถึงจากภายนอกได้ ใน Expose ให้เลือก On ระบบจะแสดง IP Address ให้ ในที่นี้คือ 10.107.107.215 ซึ่งจะเข้าถึงโดยใช้ TCP Port 80 ที่ Nagios ก็เช่นกัน ให้ Expose เป็น On แล้วจะเข้าถึงได้จาก IP 10.107.107.95 จากนั้น คลิก Commit Changes ที่ IP Address 10.107.107.215 ก็จะพบการเริ่มต้นใช้งาน wordpress ทันที เริ่มจาก เลือกภาษา แล้วคลิก Continue จากนั้น ตั้ง Site Title, Username ที่จะเข้าใช้, Password, email address แล้วคลิก Install WordPress แค่นี้ก็ใช้ wordpress ได้แล้ว ที่ Nagios ก็จะสามารถใช้งานได้ที่ IP 10.107.107.95 (วิธีการเข้าใช้งาน มี Username/Password ที่กำหนดไว้แล้ว) ใน Nagios คลิก Service เพื่อเฝ้ารายละเอียดของ Service ต่างๆ   ใน Nagios คลิกที่ Map เพื่อดูผังการเชื่อมต่อ เมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มเครื่อง WordPress เพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากขึ้นได้ โดยใน Juju คลิกที่ WordPress แล้วคลิก Scale จากนั้นให้เพิ่มเครื่องไปอีก 1 เครื่อง แล้วคลิก Confirm จากนั้นคลิก Commit Changes รอสักครู่ ก็จะพบว่า ใน Nagios ก็จะเพิ่มเครื่องใหม่ในการเฝ้าระวังให้เองอัตโนมัติด้วย จะง่ายไปไหน?  

Read More »

Juju #01 – เริ่มต้นใช้งาน Juju

Juju [1] เป็นเครื่องมือในการการออกแบบ Service Oriented Architecture และ Application Oriented Deployment [2] ทำให้การออกแบบระบบที่ซับซ้อนและการ Scale Out ทำได้ง่ายขึ้น สามารถทำงานได้ตั้งแต่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ไปจนถึงการทำงานบน Private Cloud และ Public Cloud ตัวอย่างเช่น หากต้องการระบบจัดการ Big Data ด้วย Hadoop ซึ่งประกอบด้วย Server หลายเครื่อง (Link: การติดตั้ง Hadoop อย่างง่าย) เดิมจะต้องใช้เวลาอ่านคู่มือ ทำลองติดตั้ง เมื่อได้ระบบขึ้นมาแล้ว ก็จะยังไม่สามารถใช้งานได้จริงทันที อย่างเช่น ต้องการใช้ Hadoop ในการทำเรื่อง Realtime Syslog Analytics [3] ประกอบด้วย Server จำนวนมาก ดังภาพ วิธีการที่ทำให้ได้ระบบนี้มา ก็เพียงแค่ บอก Juju ว่าต้องการระบบอะไร แล้วสั่ง Deploy แล้วก็รอ หลังจากนั้นก็ทำ Port Forward ด้วยคำสั่ง [4] sudo iptables -A PREROUTING -t nat -i ens160 -p tcp –dport 9000 -j DNAT –to 10.107.107.xxx:9000 ก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว     Reference [1] https://jujucharms.com/ [2] https://jujucharms.com/docs/stable/about-juju [3] https://jujucharms.com/realtime-syslog-analytics/ [4] http://opensource.cc.psu.ac.th/Note_on_port_forwarding_to_LXD_container

Read More »