Word : การใส่รูปแบบเลขหน้าที่ต่างกันในไฟล์เดียวกัน

เคยไหมที่เวลาผู้อ่านจะสร้างคู่มือหรือเอกสารที่ต้องมีคำนำ สารบัญ ต่อด้วยเนื้อหา อาจจะจบด้วยภาคผนวก ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีการแสดงเลขหน้าที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคำนำ สารบัญ อาจจะใช้เลขหน้าเป็นตัวอักษร เช่น ก, ข แต่ส่วนเนื้อหาใช้ตัวเลขอารบิค ในช่วงนี้ ผู้เขียนได้มีการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในเรื่องนี้ในการทำคู่มือจึงได้นำลงมาใส่ไว้ใน Blog เผื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ตัวอย่าง ผู้เขียนสร้างเนื้อหามา 2 บรรทัดเพื่อเป็นเนื้อหาทดสอบในการใส่เลขหน้า จากนั้นทำการใส่ตัวแบ่งหน้า โดยเลือกเป็น Section Breaks -> Next Page จากนั้นใส่เลขหน้าเป็นเลขอารบิคปกติ เลขหน้าจะเริ่มที่หน้าที่ 1 และ 2 ไปเรื่อย ๆ จากนั้นผู้อ่านของดูที่แถบ Ribbon ใน Tab Header & Footer และพบเมนู Link to Previous ซึ่งจะเป็นว่าเมนูนี้ถูกไฮไลท์อยู่ นั่นคือ เลขหน้าจะต่อเนื่องจาก Section ก่อนหน้า ให้เลือกเมนูนี้อีกครั้ง เพื่อเอาการ Link กับ Section ก่อนหน้าออก จากนั้นลบเลขหน้าที่หน้าที่ 2 ออก จากนั้นไปที่เมนู Page Number -> Format Page Number เพื่อทำการเลือกรูปแบบตัวเลขที่ต้องการใส่ใหม่ ในที่นี้ต้องการใส่เลขหน้าเป็นตัวอักษรภาษาไทย เมื่อพบหน้าต่าง Page Number Format ให้ทำการเลือกรูปแบบเลขหน้าที่ Number format จากนั้น ที่ Page numbering ในเลือกเป็น Start at โปรแกรม Word จะเลือกค่าโดยปริยายเป็น “ก” มาให้ จากนั้นกด OK ผู้อ่านลองเลือกแผ่นกระดาษดูจะพบว่า เลขหน้าได้ทำการเปลี่ยนให้เป็นที่เรียบร้อย ผู้เขียนหวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณค่ะ 😀😍

Read More »

แสดงข้อมูล Memory CPU Disk ด้วย C# EP.3

แล้วก็มาถึง EP สุดท้ายของซีรีส์นี้ นั่นก็คือการดึงข้อมูลการใช้งานพื้นที่บน Disk ก่อนจะไปหาพื้นที่ disk เราต้องไปหา drive กันก่อนว่ามี drive อะไรบ้าง จากนั้นจึงไปหาข้อมูล disk ของ drive นั้นๆ โดยเราจะใช้ class DriveInfo สำหรับดึงข้อมูล drive ต่างๆ ออกมา ดังโค้ดตัวอย่าง โดยเราสามารถดึงข้อมูล drive ต่างๆ ได้ผ่านเมทธอด GetDrives() และเข้าถึงชื่อ drive ได้ผ่าน property Name เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ เราก็สามารถเข้าถึงข้อมูลพื้นที่ disk และการใช้งานของแต่ละ drive ได้ไม่ยากแล้ว ผ่าน property ต่างๆ ของ object DriveInfo เราไปดูตัวอย่างโค้ดกันเลย จากตัวอย่าง เราต้องตรวจสอบเพิ่มเติมว่า Drive ที่เราต้องการอยู่ในสถานะพร้อมใช้งานอยู่หรือไม่ผ่าน IsReady ก่อนที่จะเรียกใช้งานเมทธอดอื่น เพื่อให้การแสดงผลข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และแปลงรูปแบบข้อมูลให้เป็น GB ก็จะได้ตัวอย่างโค้ดทั้งหมดดังต่อไปนี้ ผลลัพธ์จากการรันโค้ดข้างต้น นอกจากนี้ DriveInfo ยังมีอีกหลาย property ที่เราสามารถเรียกใช้งานได้ ดังตัวอย่าง DriveInfo Properties AvailableFreeSpace Indicates the amount of available free space on a drive, in bytes. DriveFormat Gets the name of the file system, such as NTFS or FAT32. DriveType Gets the drive type, such as CD-ROM, removable, network, or fixed. IsReady Gets a value that indicates whether a drive is ready. Name Gets the name of a drive, such as C:. RootDirectory Gets the root directory of a drive. TotalFreeSpace Gets the total amount of free space available on a drive, in bytes. TotalSize Gets the total size of storage space on a drive, in bytes. VolumeLabel Gets or sets the volume label of a drive. สำหรับบทความในซีรี่ส์นี้ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย พบกันใหม่เมื่อมีเรื่องอยากจะเขียน สวัสดีครับ อ้างอิง https://docs.microsoft.com/en-us/dotnet/api/system.io.driveinfo?view=net-5.0 https://www.c-sharpcorner.com/UploadFile/puranindia/driveinfo-class-in-C-Sharp/

Read More »

แสดงข้อมูล Memory CPU Disk ด้วย C# EP.2

สำหรับ EP นี้เราก็มาถึงวิธีการดึงข้อมูลการใช้งาน CPU กัน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลย สำหรับการดึงข้อมูลนั้น เราก็สามารถใช้งาน object PerformanceCounter ได้เหมือนเดิม โดยจะต้องระบุ parameter ที่จำเป็นดังนี้ และเมื่อทดลองเรียกใช้งาน จะปรากฏผลดังภาพ จะเห็นว่าผลลัพธ์ออกมาเป็น 0 เนื่องจากค่าที่ได้ จะเป็นค่าที่เกิดจากการเปรียบเทียบกับค่าก่อนหน้า การเรียกใช้งานครั้งแรกจึงแสดงผลเป็น 0 เสมอ เราจึงจำเป็นต้องหน่วงเวลาไว้ประมาณหนึ่ง จากนั้นจึงเรียกใช้งานอีกครั้งจึงจะได้ค่าที่ตรงตามความเป็นจริง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ จากตัวอย่าง หลังเรียกใช้งานครั้งแรก จะหน่วงเวลาไว้ 1 วินาที จึงเรียกใช้งานอีกครั้ง ซึ่งเทคนิคนี้ เอกสารของทาง Microsoft ก็ได้ระบุเอาไว้ ดังนี้ If the calculated value of a counter depends on two counter reads, the first read operation returns 0.0. Resetting the performance counter properties to specify a different counter is equivalent to creating a new performance counter, and the first read operation using the new properties returns 0.0. The recommended delay time between calls to the NextValue method is one second, to allow the counter to perform the next incremental read. เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้น ผมจะใช้การวนลูปเข้ามาช่วยเพื่อให้เห็นการทำงานของ CPU ที่เป็นจริงมากยิ่งขึ้น ดังโค้ดตัวอย่าง โดยผลลัพธ์จากโค้ดด้านบน ก็จะแสดงการทำงานของ CPU ทุก 1 วินาทีเป็นจำนวน 10 ครั้ง จะเห็นว่าการดึงข้อมูลการใช้งาน CPU ไม่ได้ยุ่งยาก แค่มีทริคนิดเดียวตรงที่จะต้องมีการเรียก NextValue() 2 ครั้ง และต้องมีการหน่วงเวลาก่อนการเรียกครั้งที่ 2 ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แล้วพบกันใน EP หน้า สวัสดีครับ อ้างอิง https://stackoverflow.com/questions/278071/how-to-get-the-cpu-usage-in-c https://stackoverflow.com/questions/2181828/why-the-cpu-performance-counter-kept-reporting-0-cpu-usage https://gavindraper.com/2011/03/01/retrieving-accurate-cpu-usage-in-c/ https://docs.microsoft.com/en-us/dotnet/api/system.diagnostics.performancecounter.nextvalue?view=dotnet-plat-ext-5.0

Read More »

รู้ยัง? สแกนเอกสารด้วย PC หรือ NoteBook ก็ได้นะ!!! (Office Lens ภาคต่อ)

จากบทความที่แล้ว “เปลี่ยนมือถือ เป็นเครื่องสแกนเอกสารด้วย Office Lens” นอกจาก Office Lens จะมี Application ที่ใช้งานบน Moblie Device ต่าง ๆ บนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แล้ว ยังสามารถทำงานบนเครื่องที่ลง Windows 10 ทั้ง PC และ Tablet โดยใช้งานร่วมกับเว็บแคมในการสแกนเอกสารที่ต้องการ ทั้งยัง สนับสนุนการใช้งานบัญชี Office 365 ของที่ทำงานหรือมหาวิทยาลัย ถึงแม้ว่าการใช้ Office Lens บนโทรศัพท์มือถือนั้นจะสะดวกสบายก็ตาม แต่ถ้าถึงคราวจำเป็นที่เรามีเพียง PC หรือ Note book เพียงเครื่องเดียวในการทำงาน ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการสแกนภาพเอกสาร Office Lens มีการใช้งานคล้ายๆ กับ Mobile App Cam scanner แต่ใช้งานง่ายและหลากหลายกว่า รวมทั้งไม่จำกัดรูปแบบการแชร์ Office Lens มีขั้นตอนการใช้งานบนเครื่อง PC หรือ Notebook ดังนี้ เปิด Microsoft Store ดาวน์โหลด Office Lens App ลงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ PC พร้อมติดตั้ง เปิด App Office Lens ตั้งค่ากล้องแสกนเนอร์ จับภาพ และการครอบตัดรูปภาพ บันทึกภาพ สามารถเลือกเพื่อแปลงภาพเป็นไฟล์ Word (.docx), PowerPoint (.pptx) หรือ PDF (.pdf) ที่จะได้รับการบันทึกไปยัง OneDrive โดยอัตโนมัติ Office Lens ช่วยทำสำเนาดิจิทัลของเอกสารฉบับพิมพ์ ตัดแต่งได้อย่างแม่นยำ แม้จะวางเอกสารต้นฉบับเอียง และ ช่วยแก้ปัญหาการใช้งานเครื่องแสกนที่ติดตั้งไดร์เวอร์ภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาไทยหรืออังกฤษหากต้องการให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้นควร “ตั้งค่า Resolution” ของภาพให้ความละเอียดมากขึ้นและเวลาถ่ายภาพเอกสาร นอกจากใจนิ่ง ๆ ร่ม ๆ แล้ว “มือ ต้อง นิ่ง”นะคะ Download Office Lens on PC ขอบคุณ : Bblogdit : CCTC Tech Talk : คุยเฟื่องเรื่องเทคโนโลยีกับ สถช., www.microsoft.com,

Read More »

แสดงเครื่องหมายถูกใน Crystal Report

นักพัฒนาหลายๆ ท่านที่ออกรายงานด้วย Crystal Report อาจจะมีความต้องการแสดงสัญลักษณ์เครื่องหมายต่างๆ บนตัวรายงาน แต่ไม่มีเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยตรง แต่เราสามารถทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. สร้าง Formula Field และกำหนดชื่อให้เรียบร้อย 2. ป้อนคำสั่ง Chr(254) จากนั้น Save 3. เพิ่ม formula field ที่เพิ่งสร้างลงไปในรายงาน และเปลี่ยนฟอนต์ให้เป็น “Windings” 4. เมื่อทดสอบดูรายงาน ก็จะแสดงเป็นเครื่องหมายถูกภายในกล่องสี่เหลี่ยมดังภาพ 5. นอกจากนี้เราสามารถกำหนดให้แสดงผลเป็นรูปแบบอื่นๆ ได้ด้วยการแก้ไขโค้ดเป็นอย่างอื่น เช่น 6. เมื่อเราทราบโค้ดของสัญลักษณ์ที่เราต้องการแล้ว เราก็สามารถควบคุมการแสดงผลด้วยการเพิ่มเงื่อนไขใน Formula Field ดังตัวอย่าง อ้างอิง https://stackoverflow.com/questions/279907/checkbox-in-a-crystal-report

Read More »