การเรียกใช้งาน constructor จากอีก constructor ใน C#.NET

constructor คืออะไร constructor ก็คือ ฟังก์ชันที่ถูกเรียกใช้งาน เมื่อ object ถูกสร้างขึ้นมา ซึ่งใน C#.NET  ก็คือฟังก์ชันที่ตั้งชื่อเป็นชื่อเดียวกับชื่อ class นั่นเอง   constructor มีประโยชน์อย่างไร ในการสร้าง object ขึ้นมา บางครั้งต้องมีการระบุค่าเริ่มต้นบางอย่างให้กับ object นั้น ซึ่ง constructor ก็จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เป็นตัวช่วยบังคับให้ต้องระบุค่าเริ่มต้นนี้ตอนสร้าง object นั่นเอง   ยกตัวอย่าง เช่น class Student { public Student(string studentID) { คำสั่งดึงข้อมูลนักศึกษาด้วย Student ID โดยใช้ข้อมูล Student ID จาก argument studentID } } จากตัวอย่างนี้ ต้องการสร้าง object Student โดยใช้ Student ID เพื่อไปดึงข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษามาแสดง ดังนั้น object ใหม่ที่สร้างจาก class Student ก็จะต้องระบุค่า Student ID ให้กับ argument studentID ก่อน ตัวอย่างการเรียกใช้งานคือ Student student = new Student(12345); student ก็คือ object ที่ถูกสร้าง 123456 คือ ข้อมูล Student ID ทีต้องระบุตอนที่ object นี้ถูกสร้างนั่นเอง   ทำไมต้องเรียกใช้ constructor จากอีก constructor หนึ่ง ในบางครั้งเมื่อเราใช้งาน class ไประยะเวลาหนึ่ง อาจะเจอกรณีที่ constructor เดิม ยังไม่รองรับความต้องการที่เปลี่ยนไปหรือเพิ่มขึ้น   แต่ความต้องการใหม่นั้นยังคงต้องใช้ชุดคำสั่งและขั้นตอนการทำงานเหมือนกับที่มีอยู่เดิมด้วย และมีการเพิ่มเติมชุดคำสั่งใหม่เข้าไปเล็กน้อยเพื่อให้รองรับกับความต้องการใหม่ด้วย ซึ่งทางเลือกที่เป็นไปได้คือ ปรับแก้ constructor เดิมที่มีอยู่ให้รองรับความต้องการใหม่ สร้าง constructor ใหม่ โดยทำการสำเนาชุดคำสั่งทั้งหมดใน constructor เดิมมา สร้าง constructor ใหม่ โดยเรียกใช้งาน constructor เดิม มาพิจารณาแต่ละทางเลือก ทางเลือกที่ 1 เป็นการปรับแก้ของเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นทางที่ควรเลี่ยงที่สุด เพราะอาจจะไปกระทบกับการทำงานเดิมที่ถูกต้องอยู่แล้ว และอาจจะกระทบเป็นลูกโซ่กับ object อื่นที่มาเรียกใช้ ทางเลือกที่ 2 สำเนาคำสั่งทั้งหมดจาก constructor เดิม มาใส่ใน constructor ใหม่ แล้วเขียนคำสั่งเพิ่มเพื่อให้รองรับความต้องการใหม่ ซึ่งทางเลือกนี้ถือว่าดีกว่าทางเลือกแรก เพราะไม่กระทบกับการทำงานเดิมแน่นอน แต่จะเห็นว่าเกิดความซ้ำซ้อนกันของชุดคำสั่งของ constructor เดิม และใหม่ และจะพบปัญหาในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงคำสั่งที่ใช้อยู่ใน constructor ทั้งสอง ผู้พัฒนาก็จะต้องมาแก้ทั้งสองที่ให้เหมือนกันอีก ซึ่งจะเป็นการเสียเวลา ทางเลือกที่ 3 เรียกใช้งาน constructor เดิม ซึ่งจะเห็นว่าเป็นวิธีการที่สะดวกรวดเร็วที่สุด หากต้องการปรับปรุงคำสั่ง ก็เพียงไปจัดการที่ constructor เดิมเท่านั้น   วิธีการเรียกใช้งาน constructor เดิม จาก constructor ใหม่ syntax ที่ใช้ใน C#.NET คือ  หลังจากส่วนประกาศ constructor ให้ใช้  : this() เพิ่มเข้าไป ยกตัวอย่าง   class Student { public Student(string studentID) //constructor เดิม { คำสั่งดึงข้อมูลนักศึกษาด้วย Student ID โดยใช้ข้อมูล Student ID จาก argument studentID }   public Student(string studentID, string citizenID) : this(studentID)  //constructor ใหม่ { คำสั่งใหม่ที่เพิ่มเติม } }

Read More »

การยกเลิก SMS ไม่พึงประสงค์/ SMS กวนใจ

เชื่อว่าหลายท่านคงเคยประสบกับปัญหากวนใจเรื่อง SMS ไม่พึงประสงค์ ที่ส่งมาโดยที่เราไม่ต้องการ และบางครั้ง SMS เหล่านี้ก็ยังคิดค่าบริการ ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้สมัคร หรือบางครั้งอาจจะสมัครโดยไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ดังนั้นในบทความนี้จะเสนอวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้เราสามารถยกเลิก SMS กวนใจเหล่านี้ออกไปบางส่วนได้ ถึงแม้จะไม่ทั้งหมด แต่ก็ช่วยบรรเทาความรำคาญลงไปได้บ้าง  โดยช่องทางที่จะแนะนำนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้บริการยกเลิก SMS ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ กด *137 แล้วโทรออก ทำตามคำแนะนำจากเสียงตอบรับอัตโนมัติของแต่ละผู้ให้บริการเครือข่ายฯ รอรับ SMS แจ้งยกเลิก   ตัวอย่าง SMS ไม่พึงประสงค์ และ SMS ตอบกลับ   จะเห็นว่าหลังจากที่ใช้บริการยกเลิก SMS ผ่าน *137 แล้ว บรรดา SMS ไม่พึงประสงค์ก็ลดน้อยลง เหลือเพียง SMS ข่าวสารจากผู้ให้บริการเครือข่ายฯ เท่านั้น   และก็เป็นวิธีการที่ง่ายและรวดเร็ว เพียงไม่กี่ขั้นตอน แค่นี้ก็สามารถยกเลิก SMS กวนใจออกไปได้บางส่วนแล้ว   สิ่งที่ควรรู้ ถึงแม้ว่าเราจะได้ทำการยกเลิก SMS ไม่พึงประสงค์ดังกล่าวไปแล้ว แต่ก็อาจจะมี SMS ไม่พึงประสงค์ใหม่ ๆ เข้ามาได้อีก ทั้งนี้เพราะการใช้วิธีนี้ คือการยกเลิก SMS ปัจจุบันหรือ SMS ที่ถูกสมัครไปแล้ว ไม่ได้เป็นการป้องกัน SMS ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (เช่น อาจจะเผลอไปสมัครรับ SMS โดยไม่รู้ตัวอีก)  อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดปัญหานี้ซ้ำอีก ก็สามารถใช้การโทรไปยัง *137 เพื่อยกเลิก SMS ได้เป็นระยะ ๆ   สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมว่า SMS เหล่านี้มาได้อย่างไร หรือมี SMS ประเภทไหนที่สามารถยกเลิกได้ด้วย *137 บ้าง และเราจะระมัดระวังอย่างไร ไม่ให้เผลอไปสมัครบริการ SMS เหล่านี้โดยไม่ตั้งใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก   http://tcp.nbtc.go.th/website/home/detail/631/th   ขอขอบคุณที่มาของเนื้อหาจากสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ   แนะนำการยกเลิก SMS ไม่พึงประสงค์เพิ่มเติม สำหรับผู้ใช้งาน AIS นอกจากการยกเลิกบริการ SMS ไม่พึงประสงค์ผ่านทาง *137 แล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายฯ AIS ยังมีบริการให้ลูกค้าสามารถยกเลิก SMS เหล่านี้ได้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บด้วย โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ เข้าไปที่  URL https://myais.ais.co.th เมื่อเข้ามาแล้วจะมีหน้าจอให้ login เข้าใช้งานระบบโดยการกรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ และรอรับ OTP เพื่อใช้ในการเข้าใช้งานระบบแต่ละครั้ง หรือจะใช้วิธีการสร้างบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านใหม่สำหรับการเข้าใช้งานครั้งต่อ ๆ ไปก็ได้ เมื่อ login เข้าสู่ระบบแล้ว จะปรากฏเมนูด้านขวามือสำหรับการจัดการต่าง ๆ เลือกเมนู บริการ จะเห็นว่าว่ามีเมนู เลือกรับ / ยกเลิก SMS  ให้เลือกเมนูนี้เพื่อเข้าไปยกเลิกบริการ SMS ที่เราไม่ต้องการ เราสามารถเลือกว่าจะรับหรือไม่รับ SMS ทั้งที่มาจาก AIS และไม่ได้มาจาก SMS ได้ตามต้องการ

Read More »

สร้าง Hadoop และ Spark Cluster เพื่องานด้าน Data Science ด้วย Google Cloud Dataproc + Datalab

จาก Ambari #01: ติดตั้ง Ambari Server , Ambari #02 ติดตั้ง Ambari Agent , Ambari #04 การสร้าง Hadoop ด้วย Ambari บน AWS และ GCP #01 วิธีการสร้าง Virtual Machine บน Google Cloud Platform จะเห็นได้ว่า ก็ยังมีความยุ่งยากอยู่ อีกทั้ง หากต้องการใช้ PySpark ก็ต้องตามติดตั้ง Python Packages ต้องปรับค่ามากมาย และหากต้องการขยายระบบ ก็มีงานต้องทำอีกเยอะ ในบทความนี้ จะแนะนำอีกวิธีหนึ่ง คือ การใช้งาน Google Cloud Dataproc ซึ่งจะทำให้เราได้ใช้ Hadoop + Spark Cluster ซึ่งได้รับการทดสอบเป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถเลือกใช้ Spark รุ่นต่างๆได้อย่างง่ายได้ ทำให้สามารถโฟกัสไปยัง Data และ กระบวนทำ Machine Learning ได้เต็มที่ ไปที่ Google Cloud Console เพื่อเลือก Project ที่จะทำงานด้วย และเปิดช้งาน Cloud Dataproc และ Compute Engine APIs และ ในที่นี้ จะมี project-id คือ kx-dataproc-01 (สามารถสร้างในชื่อที่ต้องการเองได้) https://console.cloud.google.com/ เปิดใช้งาน Google Cloud Dataproc https://console.cloud.google.com/dataproc/ เปิด GCLOUD COMMAND ในที่นี้ จะสร้าง Cluster ชื่อ mycluster ใน project-id ชื่อ kx-dataproc-01 แล้วให้ copy คำสั่งต่อไปนี้ลงไปใน gcloud command แล้วกดปุ่ม Enter gcloud dataproc clusters create mycluster –project kx-dataproc-01 –initialization-actions gs://dataproc-initialization-actions/datalab/datalab.sh ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ก็จะได้ Hadoop + Spark Cluster ที่มี 1 Master และ 2 Workers ซึ่ง Master จะชื่อว่า mycluster-m และ Workers จะชื่อ mycluster-w-0 และ mycluster-w-1 ต่อไป ทำ SSH Tunnel จาก Master คือ mycluster-m Port 8080 ออกมา โดยพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ gcloud compute ssh mycluster-m –project kx-dataproc-01 –zone=asia-southeast1-a — -4 -N -L 8080:mycluster-m:8080 โดย –project ไว้สำหรับระบุชื่อ project-id –zone ไว้ระบุ Zone ที่ Cluster อยู่ — ไว้เป็นตัวคั่น (separator) ว่าหลังจากนี้เป็นคำสั่งของ ssh -4 บอกว่า ติดต่อด้วย IPv4 -N บอกว่า ไม่ต้องเปิด Shell ของเครื่อง Master -L บอกว่า จะ Forward Port 8080 ไปยังเครื่อง mycluster-m ที่ port 8080 จากนั้น เปิด Web Preview

Read More »

Puppeteer ควบคุมและบันทึกการใช้งาน chrome สำหรับ UI testing

Puppeteer เป็น Node library ที่มีชุดของ API สำหรับการควบคุม Google Chrome หรือ Chromium ผ่าน DevTool protocol ทำงานในรูปแบบ headless โดย default แต่สามารถกำหนดให้ทำงานแบบ full (non-headless) Chrome ได้  ที่สำคัญไม่ต้องทำงานผ่าน Web Driver อีกต่อไป puppeteer สามารถทำงานได้ทุกอย่างที่สามารถทำได้โดย manual บน browser เช่น สร้าง screenshots และ PDFs ของ page Automate form submission UI testing keyboard input การติดตั้ง Puppeteer การติดตั้ง Puppeteer เพื่อใช้งานใน project สามารถทำได้ผ่านทาง NPM โดยใช้คำสั่ง npm i puppeteer เมื่อทำการติดตั้ง Puppeteer จะทำการ downloads Chromium version ล่าสุดซึ่งสามารถทำงานร่วมกับ api ได้อย่างสมบูรณ์ (ประมาณ 170 Mb สำหรับ Mac, 282 Mb สำหรับ Linux และ 280 Mb สำหรับ Windows) ถ้าไม่ต้องการ download Chromium ในระหว่างการติดตั้ง สามารถยกเลิกได้โดยการกำหนดค่า “PUPPETEER_SKIP_CHROMIUM_DOWNLOAD”  environment variables การใช้งาน Puppeteer Puppeteer API ให้ความสามารถในการสร้าง instance ของ  browser, เปิด webpage และบันทึก screenshot โดยสร้าง file ชื่อ example.js และเขียน code ดังนี้ เรียกใช้งาน script  บน command line โดยใช้คำสั่ง node example.js Puppeteer กำหนด default ขนาดของ page ที่ 800 x 600px  และสามารถเปลี่ยน page size โดยใช้ page.setViewport() ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมการใช้งาน Puppeteer API ได้ที่ https://github.com/GoogleChrome/puppeteer/blob/master/docs/api.md ผลของการ run script  จะทำการบันทึก screenshot ของ https://example.com ไปที่ file “example.png” จะเห็นว่าในระหว่างการ run script ไม่ได้ปรากฎ browser ขึ้นมาให้เห็น เนื่องจากโดยค่า default จะทำงานเป็น headless mode แต่สามารถเปลี่ยนการทำงานได้โดยกำหนด headless = false หากต้องการดูการทำงาน const browser = await puppeteer.launch({ headless: true }); // default is true   อ้างอิง https://github.com/GoogleChrome/puppeteer/

Read More »

Visual test automation : Appraise test page

จากบทความ Visual test automation ที่ได้กล่าวถึง Appraise ที่ใช้สำหรับทำการทดสอบการแสดงผลแบบอัตโนมัติในเบื้องต้น ตั้งแต่การติดตั้ง ตัวอย่าง test page, test fixture การเรียกใช้งานการทดสอบ และผลการทดสอบ บทความนี้จะมาลงรายละเอียดในการสร้าง test page Creating test pages Appraise สามารถกำหนดรูปแบบข้อกำหนดการทดสอบสำหรับการทดสอบส่วนแสดงผลได้ไม่ยุ่งยาก โดย Appraise จะทำการอ่านข้อมูลนำเข้า และ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง จาก file ที่เขียนในรูปแบบ Markdown แล้วส่งต่อให้กับระบบทำการทดสอบ จากนั้นจะบันทึกภาพการแสดงผลที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบภาพการแสดงผลที่ได้จริงกับผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยมีสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องกำหนดสำหรับการทดสอบ 3 ส่วน คือ input expect output fixture Input (parameters ของ example) input parameters อยู่ในรูปแบบ text JSON หรือ YAML  ในการกำนด input parameters สำหรับแต่ละการทดสอบหรือ example จะต้องกำหนด block ของ example และกำหนดชื่อให้กับ example ในส่วนเริ่มต้น block ในรูปแบบ example=”ชื่อ” จากรูปข้างต้น จะเห็นว่ามี example ชื่อ “first” ถูกกำหนดรูปแบบเป็น YAML ซึ่ง Appraise จะรู้ว่าจะนำข้อมูลไปได้อย่างไร ในแต่ละ test page สามารถมี eaxmple ได้มากกว่าหนึ่ง example โดยที่แต่ละ example จะต้องมีชื่อที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งจำเป็นในการใช้สำหรับเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่คาดหวังด้วย Expect output ecpect output – ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ซึ่งอยู่ในรูปแบบ file รูปภาพ .png  การกำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวังใน test page ทำได้โดยระบุ ![ชื่อ example](ชื่อ file รูปภาพ .png ที่เป็นผลลัพธ์ที่คาดหวัง) ซึ่งจะอยู่ส่วนใดๆใน test page ก็ได้ ไม่ว่าจะอยู่ก่อน example input ก็ได้ โดยที่ความเชื่อมโยงระหว่าง input กับ expect output ก็คือชื่อของ example ที่กำหนดใน [] ในการสร้าง test page อาจจะไม่ต้องกำหนด expect output ก่อนก็ได้เช่นกัน เมื่อทำการ run test ครั้งแรก ผลที่ออกมาจะ failed เนื่องจากไม่ได้ระบุ expect output แต่สามารถที่จะบันทึกผลที่ได้จากการ run test ใช้เป็น expect output สำหรับการ run test ครั้งต่อไปได้ Fixture fixture คือส่วนของ code ที่ Apprise ใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบที่จะทดสอบ รวมทั้งกำหนดการใช้งานและการประมวลผล input ในการทดสอบ โดยทั่วไป examples ที่เชื่อมโยงกันจะใช้ fixture เดียวกัน การกำหนด fixture ทำโดยการระบุ fixture =”ชื่อ fixture” ในส่วนของ header ของ example block จากรูปข้างต้น จะเห็นว่ามี example ชื่อ “first” มีการกำหนด fixture คือ “hello.js” จากตัวอย่าง fixture ด้านบน เป็น fixture ที่มีการสร้าง output page ออกมาโดยตรงโดยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบใดๆ ซึ่งในการใช้งานจริง จะต้องเชื่อมต่อกับระบบหรือส่วนที่จะทำการทดสอบจริงที่ทำการ render ผลลัพธ์ออกมา input

Read More »