มัลแวร์สวมรอยการใช้งาน Facebook

มีรายงานจากศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2559 พบว่ามีการแพร่กระจายมัลแวร์ประเภท Malicious Code ผ่าน Facebook โดยอาศัยช่องทางการแจ้งเตือนของ Facebook การทำงานของมัลแวร์ เมื่อผู้ใช้ได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ว่าถูกพาดพิงโดยบุคคลที่สาม หากผู้ใช้คลิกเข้าไปดูข้อความแจ้งเตือนดังกล่าวก็จะถูกนำไปยังไซต์อื่นทันที และเว็บไซต์ปลายทางที่ถูกนำพาไปจะปรากฏข้อความว่าเป็นส่วนขยายของ Browser สำหรับใช้เปลี่ยนสีของเว็บไซต์ Facebook และให้ดาวน์โหลดไฟล์ Instalador_Cores.scr มาติดตั้ง ซึ่งเป็นส่วนขยายของ Google Chrome หากผู้ใช้หลงเชื่อดาวน์โหลดและติดตั้งจะพบว่ามีการสร้างไฟล์ไว้ที่ไดเรกทอรี่ C:\User\[ชื่อผู้ใช้]\AppData\Local\Google\Update จากนั้นจะสร้าง Shortcut สำหรับเรียกใช้งาน Google Chrome ไว้ที่ Desktop โดยตัว Shortcut ดังกล่าวจะเป็นการเปิดใช้งาน Google Chrome โดยโหลดส่วนเสริมที่ถูกติดตั้งใหม่ขึ้นมาทำงานด้วย หากเปิดใช้งาน Google Chrome จาก Shortcut ดังกล่าว และเข้าใช้งานเว็บไซต์ Facebook ก็จะพบว่าสีของ Facebook เปลี่ยนเป็นสีเขียวดังรูปที่ 2 และยังสามารถปรับแต่งเป็นสีอื่นได้ตามต้องการ นอกจากการทำงานดังกล่าวแล้วมัลแวร์ตัวนี้ยังได้แฝงการทำงานเบื้องหลังไว้โดยจะตรวจสอบว่ามีการล็อคอิน Facebook ไว้หรือไม่ หากใช่ก็จะสวมรอยไปโพสต์คอมเมนต์ในเว็บไซต์ pinandwin8.co.nz ทันที โดยในคอมเมนต์ก็จะมีการอ้างถึงผู้อื่นที่อยู่ในรายชื่อเพื่อนของผู้ใช้อีกด้วย การแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อ ไปที่ไดเรกทอรี C:\User\[ชื่อผู้ใช้]\AppData\Local\Google\Update แล้วลบไดเรกทอรี่และไฟล์ที่มัลแวร์สร้าง ดังนี้ ไดเรกทอรี่ css, img, js ไฟล์ manifest.json, popup.html และ background.html ลบไอคอน Google Chrome ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ออกจาก Desktop การป้องกันการโจมตี ผู้ใช้ Facebook ควรอ่านข้อความแจ้งเตือนที่ปรากฏบนหน้าจอ โดยเฉพาะเมื่อ Facebook แจ้งว่าการคลิกลิงก์จะเป็นการเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์อื่น หากคลิกลิงก์จาก Facebook แล้วพบหน้าจอขอให้ใส่รหัสผ่าน ไม่ควรใส่ข้อมูลเพราะอาจเป็นหน้าเว็บไซต์หลอกลวง (Phishing) หากคลิกลิงก์จาก Facebook แล้วพบหน้าจอขอให้ดาวน์โหลดโปรแกรม ควรพิจารณาก่อนดาวน์โหลดโปรแกรมนั้นเพราะอาจเป็นอันตรายได้ ผู้ดูแลระบบอาจพิจารณาบล็อคเว็บไซต์ pinandwinco.nz เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่เผยแพร่มัลแวร์ แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://www.thaicert.or.th/alerts/user/2016/al2016ushtml

Read More »

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ Ransomware

ทุกวันนี้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร อยู่ที่ไหนในโลกนี้ก็สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้เราเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ตที่กว้างใหญ่ได้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองข้ามภัยอันตรายที่แฝงอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยอันตรายที่มาจากมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่มันจะมาจับเครื่องหรือไฟล์ของเราเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกค่าไถ่ มัลแวร์ชนิดนี้สร้างความตื่นตัวให้กับคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมาแล้ว  ดังจะเห็นได้จากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประเทศไทยได้มีการออกหนังสือราชการ ประกาศแจ้งเตือนให้เพิ่มความระมัดระวังในการเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้มากยิ่งขึ้น มัลแวร์ที่ประสงค์ร้ายต่อข้อมูลในอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเราดังกล่าว จัดเป็นมัลแวร์ประเภท “Ransomware” หรือ “มัลแวร์เรียกค่าไถ่” มีเป้าหมายที่ตรวจพบการโจมตีแล้วทั้งในระบบปฏิบัติการ Window, Android, iOS และ Linux โดยแบ่งตามการทำงานออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเรานคือ Lock Screen Ransomware Ransomware รูปแบบนี้จะใช้ความสามารถของ Lock Screen ทำการล็อคหน้าจอหรือปิดกั้นการเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนของเหยื่อไว้ ไม่ให้สามารถเข้าถึงโปรแกรมต่าง ๆ และข้อมูลในเครื่องได้ พร้อมทั้งแสดงข้อความเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อคดังรูปที่ 2 เป็นหน้าจอของสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ที่ติด Ransomware ชื่อ iToper File Encrypting Ransomware เครื่องผู้ใช้งานที่ติด Ransomware ในรูปแบบนี้จะสามารถใช้งานอุปกรณ์ และเข้าถึงโปรแกรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่ไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์วีดีโอ หรือไฟล์รูปภาพ และอื่น ๆ จะถูกเข้ารหัสไว้ไม่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ จากนั้นจึงเรียกค่าไถ่โดยการทิ้งข้อความแสดงคำแนะนำวิธีการจ่ายเงินเพื่อแลกกับคีย์ที่ใช้ในการถอดรหัสไฟล์กลับคืนมาดังรูปที่ 3 เป็นตัวอย่างหน้าจอการเรียกค่าไถ่ของ Ransomware รูปแบบนี้ที่ชื่อ CryptoLocker สถิติการโจมตีของ Ransomware มีสถิติที่น่าสนใจจาก Solutionary ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยในเครือ NTT Group ได้ออกรายงานสถิติการโจมตีของ Ransomware ที่ตรวจพบได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2016 พบว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุขเป็นหน่วยงานที่ถูกโจมตีมากที่สุดถึง 88% รองลงมาคือหน่วยงานด้านการศึกษา 6% และหน่วยงานด้านการเงิน 4% โดย Ransomware สายพันธ์ที่ตรวจพบมากที่สุดคือ CryptoWall คิดเป็น 94% รูปที่ 4 สถิติการโจมตีของ Ransomware ในไตรมาสที่ 2 ปี 2016 [ที่มา : https://www.helpnetsecurity.com/2016/07/27/ransomware-healthcare-industry ] ช่องทางการโจมตีของ Ransomware การโจมตีส่วนใหญ่จะมาทางอีเมล์หลอกลวงที่แนบไฟล์ Ransomware ไว้ โดยเนื้อหาในอีเมล์จะดึงดูดให้ผู้อ่านอยากคลิกเข้าไปอ่าน เช่น อีเมล์แจ้งเลขที่ใบสั่งซื้อสินค้า (OrderID) หากผู้ใช้ไม่คลิกไปเปิดไฟล์แนบ ก็อาจจะทำให้สูญเสียโอกาสทางการค้าได้ ซึ่งถ้าผู้ใช้คลิกเปิดไฟล์โดยไม่ระมัดระวัง ก็จะตกเป็นเหยื่อของ Ransomware ทันที ไฟล์แนบที่มากับอีเมล์จะเป็น zip file หากแตกไฟล์ออกมาก็จะพบไฟล์นามสกุล .doc, .xls, .ppt หรือไฟล์อื่นๆ ที่เราคุ้นเคย แต่ถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่านามสกุลของไฟล์จริง ๆ แล้วเป็น .exe เรียกเทคนิคการตั้งชื่อไฟล์แบบนี้ว่า Double Extensions โจมตีด้วยวิธี Social Engineering เป็นการหลอกผู้ใช้งานให้ดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งในเครื่อง เช่น ในขณะที่ใช้งานระบบลงทะเบียนเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย พบว่ามี Pop-up ขึ้นมาบอกว่า ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมเสริมมาติดตั้งเพื่อให้สามารถลงทะเบียนได้สะดวก และรวดเร็วขึ้น ทั้ง ๆ ที่โปรแกรมนี้ไม่มีอยู่จริง หากผู้ใช้งานหลงเชื่อและทำการดาวน์โหลดมาติดตั้ง ไฟล์ต่าง ๆ ก็จะโดนจับเป็นตัวประกันทันที โจมตีทางช่องโหว่ของ Browser รวมถึง Add-on, Plug-in ต่าง ๆ เช่น Java, Flash และ Acrobat Reader เป็นต้น เทคนิคที่ File Encrypting Ransomware ใช้ในการเข้ารหัส Ransomware ส่วนใหญ่จะเข้ารหัสไฟล์โดยใช้ Asymmetric Key Algorithms ประกอบด้วยกุญแจ 2

Read More »

คู่มือเทคนิคการใช้งาน Function พื้นฐานใน Itextsharp สำหรับมือใหม่ ตอนที่ 1

หลังจากที่ผู้เขียนได้ทดลองใช้งาน Itextsharp มาเป็นระยะเวลานึง ในระหว่างที่ได้ทำการใช้งานนั้น ก็เกิดปัญหาต่างๆจากการใช้งานมากมาย ซึงมาจากความไม่รู้ของผู้เขียนเอง เลยได้ทำการรวบรวมข้อมูลวิธีใช้งานเบื้องต้น ให้กับผู้ที่สนใจใช้งาน Itextshap ได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วมีพี่ท่านนึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้วบ้างส่วน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถอ่านได้จาก Link นี้ครับ สร้างเอกสาร PDF ด้วย iTextSharp ส่วนในบทความนี้จะทำการขยายรายละเอียดลงไปในแต่ละ Function ครับ โดย Function ที่จะพูดถึงในบทความนี้มีดังต่อไปนี้ 1. BaseFont และ Font คืออะไร ถ้าจะให้พูดถึง Function Basefont ให้เข้าใจง่ายๆแล้วละก็ หน้าที่ของมันคือเป็นการประกาศให้ตัว Itextsharp ทราบว่าเราต้องการใช้ Font อะไรในการทำงานบ้าง สามารถเทียบได้กับช่องเลือก Font ในโปรแกรม Office นั้นแหละครับ และ Function Font จะสร้างรูปแบบของ Font ได้ตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนา เอียง ขีดเส้นใต้ ขีดเส้นทับ เป็นค่าเริ่มต้นไว้ แล้วหลังจากนั้นเราก็สามารถนำไปใช้งานได้ตลอดการสร้างเอกสาร โดยอ้างอิง Font ที่ใช้งานมาจาก BaseFont อีกทีนึง ตอนนี้ก็มาดูรูปแบบการสร้าง BaseFont และทำ Font ต้นแบบเป็นตัวหนานะครับโดยสามารถทำได้ 2 วิธีคือ กรณีที่เรามีชุดของ Font มาแล้วนะครับ(คือแยกตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้น) BaseFont bf_bold = BaseFont.CreateFont(@”C:\WINDOWS\Fonts\THSarabunNewBold.TTF”, BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true); Font fnt = new Font(bf, 12); กรณีที่เรามี Font แค่รูปแบบเดียว BaseFont bf = BaseFont.CreateFont(@”C:\WINDOWS\Fonts\THSarabun.TTF”, BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true); Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD); จากตัวอย่างทั้ง 2 แบบ เราจะมี Font ที่มีรูปแบบของตัวหนาในชื่อของตัวแปร fnt ไว้ใช้งานได้เหมือนกันครับ โดยจะมีความแตกต่างกันคือ แบบที่ 1 นั้น จะเป็นการนำเอารูปแบบของ Font ที่ได้อ้างอิงเอาไว้มาแสดงผลบนเอกสารโดยตรง ต่างจากแบบที่ 2 จะเป็นการนำเอา Font ที่ได้ประกาศเอาไว้แบบตัวอักษรปกติมาแปลงผ่านตัว Itextsharp ให้กลายเป็นตัวหนา อีกทีโดยผ่านทาง property Font.BOLD ครับ แล้วหลายๆท่านคงสงสัยว่าทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ในแบบที่ 1 การแสดงผลของ font จะถูกต้อง สวยงามตามต้นฉบับ font ที่เราได้ทำการอ้างอิงไว้ครับ แต่ข้อเสียคือ ถ้าเราต้องการสร้าง Font ต้นแบบไว้ในหลายลักษณะ เราก็ต้องอ้างอิงตัวรูปแบบ Font ที่เราต้องการทั้งหมดไปด้วย ส่วนแบบที่ 2 นั้น เราสามารถใช้ Font อ้างอิงเพียงอันเดียว แล้วสร้างรูปแบบ Font ตามที่เราต้องการได้ไม่จำกัด แต่การแสดงผลอาจไม่สวยงามเท่ากับแบบที่ 1 แล้วถ้าเราต้องการที่จะใส่สีให้กับ font ของเราละ จะสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ครับ โดยใน Function Font นั้น ถูกออกแบบมาให้เราสามารถทำรูปแบบของ font ได้หลากหลายรูปแบบครับ มาดูตัวอย่างกัน BaseFont bf = BaseFont.CreateFont(@”C:\WINDOWS\Fonts\THSarabun.TTF”, BaseFont.IDENTITY_H, BaseFont.NOT_EMBEDDED, true); Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD,BaseColor.red); Font fnt = new Font(bf, 16,Font.Italic,BaseColor.green); Font fnt = new Font(bf, 12,Font.BOLD | Font.Italic); Font fnt

Read More »

การกำหนดรูปแบบเอกสารด้วย reStructuredText

การสร้างเอกสารด้วย reStructuredText syntax ทำให้เอกสารที่พัฒนาง่ายในการอ่าน จัดรูปแบบได้ตามที่เห็น รูปแบบของ markup เป็น plaintext ซึ่งจะใช้ parser ในการแปลงให้อยู่ในรูปแบบเอกสารที่ต้องการเช่น html หรือ pdf เป็นต้น การกำหนดรูปแบบ (Text Formatting) 1. Paragraphs Paragraphs คือ block พื้นฐานของ reStructuredText ซึ่งแต่ละ paragraphs จะถูกแยกด้วย blank line 1 บรรทัด หรือมากกว่าหนึ่งก็ได้ ซึ่งย่อหน้ามีผลกับ reStructuredText ดังนั้นในการกำหนดบรรทัดใน paragraph เดียวกันจะต้องมี ย่อหน้าด้สนซ้ายเท่ากันในระดับเดียวกัน. 2. Inline markup และ special character เราสามารถใช้ตัวอักษรพิเศษในการกำหนดรูปแบบข้อความมีอยู่ด้วยกันหลายตัว  ตัวอักษรพิเศษ * ถูกใช้ในการกำหนดรูปแบบตัวอักษรตัวหนา และ ตัวอักษรตัวเอียง ดังตัวอย่างด้านล่าง ตัวหนา **ภาษาไทย**  จะแสดงผลคือ  ภาษาไทย ตัวเอียง *ภาษาไทย*   จะแสดงผลคือ  ภาษาไทย ตัวอักษรพิเศษ backquote  “  จะใช้ในการกำหนดตัวอย่าง  code โดยการใช้งานดังนี้ “code sample“ แต่ถ้าต้องการใช้ * และ `  ในเอกสารด้วยซึ่งจะทำให้สับสนกับ inline markup ได้ ดังนั้นจึงใช้  backslash นำหน้าสำหรับ * และ ` ที่จะใช้แสดงผลของเอกสาร 3. Lists and Quote-like blocks การกำหนด list สามารถทำได้โดยการใช้ * นำหน้า * bulleted list * bulleted list * bulleted list สำหรับ numbered list ก็ให้ใช้ตัวเลขนำหน้า 1. numbered list 2. numbered list ถ้าต้องการ list ที่กำหนดเลขโดยอัตโนมัติให้ใช้ # นำหน้า #. numbered list #. numbered list การกำหนด list ซ้อนกันหลายๆชั้นสามารถทำได้ แต่ต้องแยกแต่ละ list ออกด้วย blank line *. bulleted list *. bulleted list *. bulleted list *. bulleted list *. bulleted list 4. Source code การกำหนด code block ทำได้โดยใช้ special marker :: ที่ตอนจบของ paragraph และจะต้องแยกจากส่วนอื่นด้วย blank line เช่นเดียวกับ paragraph ทั่วไป This is a normal text paragraph. The next paragraph is a code sample:: public class reStructuredTest { public reStructuredTest(){ } } 5. Table การสร้างตารางทำได้ในสองรูปแบบคือแบบ grid table และ simple table โดยการสร้างตารางแบบ grid table ทำได้ด้วยการวาดตารางด้วยตัวเอง +————————+————+———-+———-+ | Header row, column 1 | Header 2

Read More »

ทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวง่ายนิดเดียว

ทดสอบเว็บผ่าน Browser หลังจากที่ได้มีการพัฒนาหรือสร้างเว็บขึ้นมาเรียบร้อยแล้วนั้น สิ่งแรกๆ ที่ต้องทำคือทดสอบเว็บของเราว่าสามารถที่จะแสดงผลผ่าน Browser ได้ดีหรือไม่ และแสดงผลได้ดีกับทุก Browser หรือไม่ เช่น Google Chrome , Firefox หรือจะเป็น Internet Explorer ซึ่ง Browser แต่ละตัวนั้นก็มีหลากหลายเวอร์ชันมาก และที่เราต้องพยายามทดสอบให้ได้มากที่สุดก็เพราะว่า เราไม่สามารถรู้ได้เลย ว่าลูกค้าหรือผู้ใช้เว็บของเรานั้นจะใช้เครื่องมือ หรือ Browser ตัวไหนเป็นหลัง ดังนั้นการทดสอบเว็บบน Browser ทุกตัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ ทำอย่างไรให้การทดสอบผ่าน Browser ทุกตัวเป็นเรื่องง่าย สำหรับครั้งนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำเครื่องมือช่วยทดสอบการแสดงผลเว็บผ่าน Browser ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เพื่อให้เป็นเกร็ดความรู้เบื้องต้นเล็กๆ น้อยๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการที่ต้องลงๆ ถอนๆ Browser ในเครื่องจนอาจจะปวดหัวเอาได้ หลักๆ จากที่ศึกษาค้นคว้าเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันมี Cloud Browser เปิดให้บริการมากมาย เช่น Saucelab, BrowserStack, Browserling, Ghostlab หรือ CrossBrowserTesting เป็นต้น สำหรับวันนี้จะขอนำเสนอหน้าตาของ BrowserStack กันก่อนละกัน เราจะต้องสมัครสมาชิกกันก่อน โดยจะมีแบบ Free trial ให้เราทดลองใช้งาน สมัครเสร็จแล้วก็ Login เข้าไปทดลองใช้งานกันได้เลย   หลังจากสมัครสมาชิกทดลองใช้ฟรีกันเรียบร้อยแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาของเจ้า BrowserStack แบบนี้   เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะทดสอบเว็บกับระบบปฏิบัติการไน และ Browser อะไร   ตัวอย่างเช่นเลือก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Mavericks และ Browser Safari 7.1 ก็จะได้ตัวอย่างหน้าจอ แบบด้านล่าง       ในหน้าจอที่เรากำลังทดสอบก็จะมี Tool เล็กๆ ให้เราสามารถจัดการหน้าจอได้ เช่นสามารถ Switch เพื่อเปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ หรือ Browser อื่นๆ สามารถปรับ Resolutions ของหน้าจอได้ สามารถ Create a bug สามารถสร้าง Issue Tracker สามารถตั้งค่าอื่นๆ หรือตรวจสอบ Features ของตัว BrowserStack ได้ เป็นต้น         สุดท้ายแล้วสำหรับเพื่อนๆ หรือใครที่มีปัญหายุ่งยากในการทดสอบเว็บให้ครบทุก Browser ก็สามารถลองเอาเจ้าตัว BrowserStack ไปใช้งานกันดู เผื่อบางทีอาจจะช่วยระยะเวลา หรือปัญหาต่างๆ ได้บ้างไม่มากก็น้อย ^ ^ แหล่งความรู้อ้างอิง – http://soraya.in.th/2013/04/08/browserstack-ie/ – https://medium.com/tag/browserstack – https://chittakorn.com/do-you-know/browser-testing/ – http://www.designil.com/free-internet-explorer-mac.html

Read More »