Angular : Routing

ต่อจากการการทำ Directives ในบล็อกก่อนหน้า เราจะมาพูดถึงการสร้าง Routing ที่เป็นส่วนช่วยในการเปลี่ยนหน้าของระบบ ซึ่งจะทำให้ระบบสามารถแบ่งส่วนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยในหัวข้อนี้เราจะทำการสร้างเมนู เพื่อให้สามารถเปลี่ยนหน้าแบบไม่ต้องโหลดได้ โดยเราจะสร้าง Component “Home” เพื่อเป็นหน้าหลัก โดยใช้คำสั่ง >ng generate component home จากนั้นให้เราสร้างเมนู ในไฟล์ app.component.html ดังภาพที่ 1 การที่เราจะทำให้ Angular เปลี่ยนหน้าโดยที่ไม่ต้องโหลดหน้าใหม่ เราสามารถใช้ความสามารถของ Router ที่จะพาไปยังหน้าที่เราต้องการ โดยเราจะต้องเข้าไปทำการตั้งค่าที่ไฟล์ app.module.ts เพื่อให้ Angular ทราบก่อน โดยเราจะนิยาม Route หรือเส้นทางของเราใน myRoutes เพื่อบอกว่าเมื่อไหร่ที่เข้ามาจาก /pages ให้วิ่งไปที่ component ชื่อ HomeComponent, CalculatorComponent หรือ UserComponent และถึงแม้เราจะมีเส้นทางแล้ว แต่หาก root module ของเราไม่รู้จักก็เท่านั้น เราจึงต้องทำให้ root module ของเรารับรู้ผ่าน RouterModule.forRoot() ดังภาพที่ 3 จากนั้นไปยังไฟล์ app.component.html ที่เราสร้างไว้ในภาพที่ 1 และแก้ไข ดังภาพที่ 4 และแสดงผลลัพธ์ในภาพที่ 5 สรุปการทำ Routing เหมาะกับการทำ Single Page Application เพื่อส่ง request ขอข้อมูลแค่บางส่วนของหน้าเท่านั้น…

Read More »

AutoMapper กับขัอมูลชนิด Collection

การใช้งาน AutoMapper กับ object type array หรือ list ไม่จำเป็นต้องกำหนดค่า config การ map ของ array หรือ list เพียงแค่ config การ map ของ member ของ array หรือ list ที่ใช้งานเท่านั้น ตัวอย่างเช่น object ง่ายๆสองชนิดดังต่อไปนี้ public class Person { public string name { get; set; } } public class Employee { public string name { get; set; } } กำหนดค่า config ของ AutoMapper สำหรับการ map ข้อมูลจาก Person ไปยัง Employee Mapper.Initialize(cfg => cfg.CreateMap<Person, Employee>()); var persons = new[] { new Person { Name = “A” }, new Person { Name = “B” }, new Person { Name = “C” } }; AutoMapper สามารถใช้งานได้กับ generic collection type ดังนี้ IEnumerable IEnumerable<T> ICollection ICollection<T> IList IList<T> List<T> Arrays ในการทำ mapping ของ AutoMapper ถ้า collection ของ object ปลายทางที่ถูก map มี member อยู่แล้ว AutoMapper จะทำการ remove member ของ collection ปลายทางออกก่อน ที่จะทำการ mapping ข้อมูลจาก Object ต้นทาง var enumEmployee = Mapper.Map<Person[], IEnumerable<Employee>>(persons); var colEmployee = Mapper.Map<Person[], ICollection<Employee>>(persons); var ilistEmployee = Mapper.Map<Person[], IList<Employee>>(persons); var listEmployee = Mapper.Map<Person[], List<Employee>>(persons); var arrayEmployee = Mapper.Map<Person[], Employee[]>(persons); กรณีที่ collection ต้นทางที่ทำการ mapping มีค่าเป็น null, AutoMapper จะทำกำหนดค่าให้กับ collection ปลายทางเป็น empty collection ไม่ใช่ null collection เราสามารถเปลี่ยนค่า default โดยการกำหนดค่า AllowNullCollections = true ในตอน config mapper Mapper.Initialize(cfg => { cfg.AllowNullCollections = true; cfg.CreateMap<Person, Employee>(); }); ในกรณีที่ collection ที่ต้องการ mapping มี member ที่มีลักษณะ hierarachy

Read More »

วิธีการคำนวณหาอายุด้วย Oracle Datetime Functions

อายุเป็นเพียงตัวเลข มีคนพูดไว้แบบนี้ แล้วถ้าเราอยากจะรู้ล่ะว่าไอ้ตัวเลข จำนวนปี จำนวนเดือน และจำนวนวัน ของอายุเรามันเป็นตัวเลขอะไร ถ้าไม่อะไรมากใช้เครื่องคิดเลข หรือนับเอาก็ได้อยู่ แต่ถ้าต้องคำนวณของทุกคนในองค์กรล่ะจะนับเอง หรือเครื่องคิดเลขก็คงไม่ไหวแล้ว ดังนั้นวันนี้จึงจะขอแนะนำ Oracle Datetime Functions ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อคำนวณหาอายุของเรากันค่ะ Oracle Datetime Functions ที่จะแนะนำในวันนี้คือ ฟังก์ชัน TRUNC (date), ADD_MONTHS และฟังก์ชัน MONTHS_BETWEEN โดยมีรายละเอียดของฟังก์ชันดังนี้ ฟังก์ชัน คำอธิบาย ADD_MONTHS เพิ่มจำนวนเดือนลงในวันที่ที่ระบุ MONTHS_BETWEEN หาจำนวนเดือนระหว่าง 2 วันที่ที่ระบุ TRUNC (date) คืนค่าวันที่พร้อมส่วนเวลาของวันที่ตัดให้เป็นหน่วยที่ระบุ ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน ADD_MONTHSSyntax : ADD_MONTHS(date, integer) ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน MONTHS_BETWEEN Syntax : MONTHS_BETWEEN(date1, date2) ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TRUNC (date)Syntax : TRUNC ( date [, format ] ) โดยที่ format ไม่ต้องระบุก็ได้ กรณีไม่ระบุวันที่จะถูกตัดเป็นวันที่ใกล้ที่สุด สามารถแสดงตัวอย่างของ format ได้ดังต่อไปนี้ รูปแบบ Format หน่วยปัดเศษ SYYYY, YYYY, YEAR. SYEAR, YYY, YY, Y ปี MONTH, MON, MM, RM เดือน DDD, DD, J วัน DAY, DY, D วันเริ่มต้นของสัปดาห์ HH, HH12, HH24 ชั่วโมง MI นาที จากตัวอย่าง query การใช้งานทั้ง 3 ฟังก์ชันข้างต้น เราสามารถประยุกต์ใช้เพื่อคำนวณหาจำนวนปี จำนวนเดือน และจำนวนวันของอายุได้ดังนี้ คิดว่านอกเหนือจากการคำนวณหาอายุแล้วก็ยังไปประยุกต์ใช้สำหรับการหาช่วงเวลาอื่นๆ ได้อีกเช่น ระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็นต้น

Read More »

Windows 10, Version 1903, May 2019 Update installation

Windows 10, Version 1903, May 2019 Update เป็นรุ่นปรับปรุงที่ออกเมื่อ พฤษภาคม 2562 การติดตั้งเปลี่ยนแปลงไปนิดหน่อยดังนี้ จะพูดถึงการติดตั้งใหม่เท่านั้น ใครจะอัพเดตผ่าน Windows update ก็สามารถอัพเดตได้เลย สำหรับนักศึกษา Windows 10 ที่สามารถติดตั้งได้คือ Windows 10 Education เท่านั้น เนื่องจากหมายเลขผลิตภัณฑ์ (Product key) ที่ได้จาก Microsoft Azure เป็น Windows 10 Education โหลดได้จาก Microsoft Azure และ https://licensing.psu.ac.th/windows-10/ การ activate สามารถทำได้เพียงวิธีเดียวคือใช้ Product key จาก Microsoft Azure เท่านั้น เมื่อติดตั้งจะมีหน้าจอให้เลือกว่าจะติดตั้งรุ่นไหน ก็ให้เลือก Windows 10 Education เท่านั้น สำหรับบุคลากร เลือกติดตั้งได้ 3 รุ่นได้แก่ Windows 10 Education, Windows 10 Pro และ Windows 10 Pro for workstation เท่านั้น รุ่น Enterprise และรุ่นที่มี N ต่อท้ายติดตั้งไม่ได้ การ activate สามารถทำได้ 2 วิธี คือ กดรับ Product key ได้ที่ CD-Key ซึ่งเป็นคีย์กลางของมหาวิทยาลัย ใช้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย activate 1 ครั้งนับ 1 ครั้ง ฉะนั้นก่อน activate ควรติดตั้ง Software ตัวอื่น ๆ ให้เสร็จเรียบร้อยจนแน่ใจว่าจะไม่ติดตั้ง Windows ใหม่ในระยะเวลา 6 เดือน activate ผ่าน KMS ของมหาวิทยาลัย วิธีนี้เหมาะสำหรับห้องปฏิการคอมพิวเตอร์ และเครื่องในสำนักงาน ที่เปิดใช้งานทุกวัน (หรืออย่างน้อย 1 ครั้งใน 6 เดือน) และเชื่อมต่อกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัยตลอดเวลา เริ่ม…ได้ ดาวน์โหลดแผ่นได้ที่ https://licensing.psu.ac.th/windows-10/ สร้าง flash drive สำหรับบูต (flash drive ต้องมีขนาดอย่างน้อย 8GB) ด้วย Rufus https://rufus.ie/ หรือเขียนแผ่น DVD ให้เรียบร้อย เปิดเครื่องบูตด้วย flash drive หรือ DVD ที่สร้างเตรียมไว้แล้ว

Read More »

การเข้ารหัส Password หรือข้อมูลส่วนบุคคลในฐานข้อมูล ด้วย Hash Function กับ Salt Value

การ Hashการ Hash หรือ Hashing ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Cryptographic Hash คือการสร้างข้อมูลที่เป็นตัวแทนของข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นรหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ และนำไปจัดเก็บในฐานข้อมูลหรือใน Text file หรือในที่อื่นๆ ซึ่งข้อดีของการทำ Hash คือจะไม่สามารถถอดรหัส หรือกระทำการใดๆ เพื่อที่จะ Reverse ให้ออกมาเป็นข้อความต้นฉบับ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการ Hash มากมาย เช่น MD5, SHA1, SHA256, SHA512, RipeMD, WHIRLPOOL, SHA3 เป็นต้น การเขียนโปรแกรมในแง่การเขียนโปรแกรมของแต่ละภาษา จะมี Library หรือเครื่องมือที่เอาไว้ใช้ทำ Hash อยู่แล้ว สามารถเปิดจากคู่มือ ได้เลยครับ MD5 Hashing & Crackingเป็นการทำ Hash ที่พื้นฐานที่สุด และเมื่อหลายปีที่ผ่านมามีข่าวออกมาว่ามีผู้ Crack ได้สำเร็จ ซึ่งรายละเอียดคร่าวๆ ของเรื่องนี้คือ การทำ Hash ทุกชนิดจะมีการเกิดการซ้ำกันของค่า Hash เนื่องจากการมีคุณสมบัติแทนข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งค่า Hash ที่สร้างขึ้นจะมีความยาวที่เท่ากันเสมอ ซึ่งสำหรับ MD5 ก็จะมีความยาว 16 bytes (128 bits) ซึ่งค่า hash ที่เป็นไปได้ทั้งหมดก็จะมีค่า 256^16 (หรือ 2^128) ค่าเท่านั้น ในขณะนี้ที่ข้อมูลที่เราต้องการแทนตัวนั้นอาจเป็นข้อมูลอะไรก็ได้ที่มากกว่าค่า 256^16 (หรือ 2^128) แน่นอน จึงเป็นไปได้ที่จะพบข้อมูลมากกว่า 1 ชุดจะมีค่า Hash ที่ตรงกันความจริงแล้ว MD5 จะไม่สามารถถอดรหัสได้ เนื่องจาก Hash ทุกชนิดจะผ่านกระบวนการเข้ารหัสแบบทางเดียว ดังนั้นทางที่จะสามารถจะรู้ได้ว่าค่าตั้งต้นของ Hash นี้คืออะไร คือการพยายามสุ่มรหัสที่เป็นไปได้ จากนั้นเอาไปแปลงค่าเป็น MD5 และนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบ (เรียกว่าเป็นการ Brute force นั่นเอง) ซึ่งถ้าเป็นข้อมูลที่มีความยาวหรือมีความซับซ้อนมาก ก็จะต้องใช้เวลาที่นานขึ้น Rainbow Tableเป็นการเก็บข้อมูล Hash โดยมีข้อมูลต้นฉบับจากการ Brute Force เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ ซึ่งในปัจจุบัน GPU ระดับปานกลางหลายๆ รุ่นจะสามารถคำนวน Hash ได้ในระดับ 10 ล้าน Hash ต่อวินาที ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ยอมเสียเวลาเพียงครั้งเดียวเพื่อสร้าง Hash ที่มีควายาวมากๆ และมีความซับซ้อน เพื่อในครั้งต่อๆ ไปจะสามารถนำมาาใช้งานได้ทันที และมีให้ดาวน์โหลดได้ฟรีอีกด้วย ปัญหาของ Rainbow Table ในปัจจุบันคือ ยังไม่มีการสร้าง rainbow table ขึ้นมาสำหรับ hash ทุกชนิดหรือทุกความยาวของข้อมูลที่ต้องการ ถึงแม้จะมี CPU หรือ GPU ความสามารถสูงๆ แต่การทำ Hash ก็ยังคงใช้พลังในการประมวลผลมากเช่น SHA-2 ขนาด 256 bits ขึ้นไป เป็นต้น Saltingเป็นเทคนิคนึงสำหรับเพิ่มความปลอดภัยสำหรับข้อมูลตั้งต้นของเรา ซึ่งทำให้ใช้เวลาในการถอดรหัสมากขึ้น ดังตัวอย่างเช่น ข้อความที่ต้องการเข้ารหัสตั้งต้นคือ “ThisIsMyPassword” และเมื่อรวมเข้ากับ Salt (ซึ่งอาจมาจากข้อความที่สุ่มขึ้นมา) คือ “3gswgW09seh” จะได้เป็น “ThisIsMyPassword3gswgW09seh” จากนั้นนำข้อความนี้ไป Hasing ซึ่งถ้าคำนวนความน่าจะเป็นของข้อความ กรณีที่เป็นตัวอักษรตัวเล็ก ตัวใหญ่ และตัวเลข มีความเป็นไปได้ 62 แบบ จะเท่ากับว่าถ้ารหัสผ่านที่เราเก็บมีความยาว 16 ตัวอักษร ก็ต้อง Hash ถึง 16^62 แบบ แต่ถ้าเป็นข้อความที่รวมกับSalt แล้วข้างต้น เป็นความยาว 27 ตัวอักษร ผู้ไม่ประสงค์ดีต้อง Hash ถึง 27^62 ถึงจะได้ข้อความที่ถูกต้อง ซึ่งต้องใช้เวลามหาศาลมากกว่าเดิม แต่ข้อเสียของวิธี Salting จะต้องมีการเก็บ Salt Value ในลักษณะของ Plain Text หรือเก็บไว้ในโปรแกรมที่พัฒนา

Read More »