Remote ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นด้วย Chrome Browser

การใช้งานเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลหรือการ remote จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง นับว่ามีความจำเป็นเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน ซึ่งตัวระบบปฏิบัติการเองก็มีเครื่องมือรองรับ เช่น ใน Windows จะมี Remote Desktop นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ที่รองรับการทำงานลักษณะนี้ เช่น TeamViewer หรือ AnyDesk ซึ่งบางซอฟต์แวร์หากใช้งานในลักษณะฟรี ก็อาจจะมีข้อจำกัดในการใช้งานบ้าง ดังนั้นในบทความนี้จะนำเสนอการใช้งาน remote ผ่าน chrome browser ซึ่งสามารถใช้งานได้ฟรี และค่อนข้างจะรองรับการทำงานทั่ว ๆ ไปได้ โดยไม่จำกัดเรื่องการเข้าใช้งาน (บางซอฟต์แวร์อาจจะมีการจำกัดจำนวนครั้งในการใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น) เตรียมการเบื้องต้นก่อนการใช้งาน ติดตั้ง chrome browser ทั้งฝั่งเครื่องต้นทางและฝั่งเครื่องปลายทาง เตรียมบัญชีผู้ใช้งานสำหรับ google หรือ google account เพื่อใช้สำหรับ remote ขั้นตอนการติดตั้งและตั้งค่า Extensions “Chrome Remote Desktop” การใช้งาน remote ผ่าน chrome browser นั้น อันดับแรกจะต้องทำการติดตั้ง Extensions เพิ่มก่อน ซึ่งก็คือ Chrome Remote Desktop ซึ่งช่องทางการดาวน์โหลดสามารถทำได้จากเมนูที่อยู่ในหน้าจอ chrome ได้เลยดังรูป โดยการกดที่เมนู Apps ถ้าไม่เจอเมนู Apps ให้ไปที่เมนู Bookmarks และเลือก Show bookmark bar ดังรูป จะปรากฏแถบว่าง ๆ ใต้ช่อง URL ซึ่งแถบนี้ก็คือ bookmark bar นั่นเอง คลิกขวาที่ bookmark bar จากนั้นเลือกเมนู Show apps shortcut เมื่อกดเลือกเมนู Apps แล้ว ในหน้าจอ chrome จะปรากฏรายการดังนี้ เลือก Web Store เพื่อเข้าไปดาวน์โหลด Chrome Remote Desktop 2. ในช่อง Search the store พิมพ์ chrome remote desktop เพื่อค้นหา กดเลือก Chrome Remote Desktop จะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้ง extension นี้เพิ่มเติมให้กับ chrome browser เมื่อกดปุ่ม Add to Chrome จะมีกล่องข้อความถามเพื่อยืนยันการติดตั้ง ให้กดปุ่ม Add extension เพื่อยืนยัน เมื่อติดตั้งสำเร็จจะมีข้อความแจ้งดังรูป สังเกตว่าหลังช่อง URL จะปรากฏไอคอน ซึ่งมีไว้สำหรับแสดงและเรียกใช้งาน extensions ที่ติดตั้งไปนั่นเอง 3. ทำการติดตั้ง Chrome Remote Desktop ทั้งฝั่งเครื่องต้นทางและปลายทางที่ต้องการ remote 4. การเรียกใช้งานสามารถทำได้ดังรูป จากนั้นเลือก Chrome Remote Desktop 5. ก่อนที่จะทำการ remote หรือตั้งค่าการ remote จะต้องทำการ login บน chrome browser ก่อนด้วยบัญขี google ที่ได้เตรียมไว้ 6. เริ่มต้นการตั้งค่าครั้งแรกโดยเลือก Remote Access ซึ่งครั้งแรกสุดจะต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมก่อน กดตรงไอคอนดังรูป เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมติดตั้งเพิ่มเติม ไฟล์ติดตั้งชื่อ chromeremotedesktophost.msi รันไฟล์นี้เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม หรือกดยอมรับและติดตั้งจากหน้าจอ chrome browser ดังรูป ในขั้นตอนการติดตั้งจะมีให้ตั้งชื่อเครื่อง จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนในการสร้างรหัส PIN โดย PIN นี้ใช้สำหรับให้เครื่องต้นทางที่ต้องการ remote เข้ามา ทำการกรอกเพื่อเชื่อมต่อ เมื่อตั้งค่าเสร็จสิ้นทั้งเครื่องต้นทางและปลายทางแล้ว ในบัญชี google เดียวกัน จะเห็นเครื่องที่เราได้ตั้งค่า remote ไว้ดังรูป 7. สามารถแก้ไขชื่อเครื่องและตั้งค่ารหัส PIN ใหม่โดยเลือกที่ไอคอน จะเข้าสู่หน้าจอการตั้งค่าดังรูป 8. การปิดการเชื่อมต่อระยะไกล

Read More »

สร้าง Web API สำหรับส่ง iOS Push Notification ด้วย dotAPNS

ความสามารถของแอปพลิเคชันในปัจจุบันที่จะขาดไม่ได้เลย อย่าง Push Notification นั้น สำหรับนักพัฒนาชาว .Net แน่นอนครับว่ามี Library มากมายให้เลือกใช้ ในบทความนี้ผมจะเล่าวิธีการหนึ่ง ที่ได้เลือกใช้เพื่อตอบโจทย์การเชื่อมต่อแอปพลิเคชันกับหลายๆฐานข้อมูล การที่เราจะไป Deploy ตัวส่ง (Sender) ไว้ทุกๆ Server นั้นในด้าน Compatibility, Configuration, Maintain นั้นมีปัญหาแน่นอน เพราะข้อกำหนดของ Apple นั้นมีหลายอย่างพอสมควร ก่อนที่ตัวส่งของเรา จะได้รับอนุญาตุให้ส่งข้อความไปหาผู้ใช้ได้ ดังนั้นการติดตั้ง Sender ในแบบ Web API ไว้เพียงที่เดียว แล้วให้ทุก Client ที่ต้องการส่งมาเรียกใช้งาน จึงเป็นการลดปัญหาข้างต้นได้ สิ่งที่จะต้องมี 1.KeyID, BundleID, TeamID ทั้งสามค่านี้สามารถดูได้จาก appstoreconnect ในรายละเอียดของแอปพลิเคชัน 2.Push Notification Certification (.p8) ในบทความนี้จะใช้วิธีการส่งแบบ Token Based ซึ่งมีความยืดหยุ่นและบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า แบบ Certification Based แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องมี Certificate สำหรับการยืนยันตัวตนประกอบการสร้าง Token อยู่ดี ซึ่งสามารถเข้าไปสร้างได้ที่ developer.apple.com > Account > Key เลือกสร้างแบบApple Push Notifications service (APNs) 3. Web Server ที่สามารถเชื่อมต่อด้วย HTTPS, HTTP/2 ได้ สร้างโปรเจค Web API ในบทความนี้ใช้ Visual Studio 2019 Version 16.8.0 1.ไปที่ File > New > Project เลือกเทมเพลต ASP.NET Web Application (.Net Framework) กดปุ่ม Create 2.เลือกรูปแบบโปรเจคเป็นแบบ Web API กดปุ่ม Create 3.เมื่อสร้างโปรเจคสำเร็จจะได้ไฟล์ต่างๆดังรูป (Main.aspx, MainController.cs สร้างเองภายหลัง สามารถตั้งชื่ออื่นๆได้) 4.ทำการเพิ่ม Library dotAPNS ด้วย Nuget Manager โดยการคลิกขวาที่โปรเจค เลือกเมนู Manage Nuget Packages ค้นหาด้วยคำว่า dotAPNS จากนั้นกดปุ่ม Install 5. ในไฟล์ MainController.cs ทำการ using dotAPNS มาใช้งาน จากนั้นสร้าง Method ชื่อ SendPush (ไม่จำเป็นต้องชื่อนี้) โดยโค้ดการสร้าง Token และส่ง Push Notification ทั้งหมดมีดังนี้ จากโค้ดด้านบน สามารถทราบว่าส่วนไหนทำหน้าที่อะไรได้จาก Comment ครับ เพียงเท่านี้ก็สามารถ Publish และ Deploy Web API บน Server เพื่อทดสอบการใช้งานได้แล้ว อย่างไรก็แล้วแต่ Web API ดังกล่าวยังต้องการ การปรับแต่งให้เหมาะสมกับระบบของนักพัฒนาแต่ละท่าน แต่โดยขั้นตอนหลักๆก็มีเพียงเท่านี้ครับ 6.หน้าฟอร์ม และตัวอย่างโค้ดเรียกใช้งาน (อยู่ในหน้า Main.aspx,Main.aspx.cs เพื่อใช้ทดสอบการส่ง) สังเกตุว่าในส่วนของการส่งจาก Client อื่นๆผ่าน Web API นั้นต้องการเพียงแค่ HttpWebRequest, Newtonsoft.Json เท่านั้นทำให้มีขนาดเล็ก และลดปัญหาความเข้ากันได้ในการติดตั้ง Client ไปได้อย่างแน่นอนครับ ขั้นตอนที่มีความสำคัญแต่ยังไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้นั้นคือการขอ Token ระบุเครื่องเป้าหมายจากผู้ใช้ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันของเราครับ เนื่องจากวิธีการจะจำเพาะกับเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน

Read More »

วิธีการส่ง Line Notify เมื่อมีการเปิดคอมพิวเตอร์

เริ่มจากต้องทำการขอ Line Token ซึ่งดูได้จากบทความ การส่ง Line Notify ด้วย Command Line จากนั้นให้สร้าง bat file โดยเปิด notepad แล้วใส่คำสั่ง command line ดังนี้ curl -X POST -H “Authorization: Bearer Token” -F “message=XXX” https://notify-api.line.me/api/notify โดยที่ตัวอักษรสีแดงให้ทำการแทนที่ดังนี้Token แทนที่ด้วย Line Token ที่ขอไว้ตอนต้นXXX แทนที่ด้วย ข้อความที่ต้องการส่ง แล้วให้ save file ด้วยนามสกุล .bat เปิด Task Scheduler ขึ้นมา แล้วกดที่ Create Task ใส่ชื่อ task ที่ช่อง Name กดที่tab Triggers แล้วกดปุ่ม New ที่ Begin the task เลือกเป็น At startup ติ๊กที่ Delay task for แล้วเลือกเป็น 1 minute แล้วกดปุ่ม OK จะได้ผลดังรูป กดที่tab Actions แล้วกดปุ่ม New กดปุ่ม browse เลือก file bat ที่สร้างไว้ตอนต้น แล้วกดปุ่ม OK กดที่tab Conditions ตรงส่วนของ Network ให้ติ๊กหน้า Start only if the following network connection is available กดปุ่ม OK กดที่ปุ่ม OK อีกครั้งตามรูป จะมี task ที่สร้างขึ้นปรากฏดังรูป เมื่อมีการ start computer จะมีข้อความส่งไปทาง Line ดังรูป

Read More »

การส่งภาพหน้าจอโทรศัพท์มือถือระบบ Android ไปยัง PC (Windows 10) โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม

ในการนำเสนอข้อมูลจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง Projector บางครั้งอาจจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษในการส่งข้อมูลภาพ แต่มีอีกวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้หากมี PC ที่ติดตั้ง Windows 10 นั่นคือ การส่งข้อมูลหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือไปยัง PC จากนั้นจึงส่งภาพจากหน้าจอ PC ขึ้นไปยัง Projector อีกต่อหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้ผู้นำเสนอก็จะสามารถนำเสนอได้ทั้งข้อมูลจากหน้าจอมือถือ และข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่บน PC ด้วย สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการดังกล่าว โดยจะเป็นการส่งภาพหน้าจอจากโทรศัพท์มือถือระบบ Android ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มบนโทรศัพท์มือถือ หรือบน PC สิ่งที่ควรรู้ก่อนการตั้งค่า เนื่องจากวิธีการนี้เป็นการส่งผ่านข้อมูลถึงกันผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ WiFi ดังนั้นทั้งอุปกรณ์ Android และ PC ควรเชื่อมต่อผ่าน WiFi บน Access Point ชื่อเดียวกัน เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดจากการที่อุปกรณ์ทั้งสองหากันไม่เจอ ขั้นตอนการตั้งค่าบน Windows 10 บน PC ไปที่ Setting 2. เลือก System จะปรากฏเมนูด้านซ้ายมือ จากนั้นเลือก Projecting to this PC 3. การตั้งค่าลำดับแรก “Some Windows and Android devices can project this PC when you say it’s OK” จะมี 3 ตัวเลือก ให้ตั้งค่าเป็นตัวเลือก Available everywhere on secure networks หรือ Available everywhere ส่วนตัวเลือก Always Off เป็นการเลือกที่จะไม่ให้มีการเชื่อมต่อเข้ามา 4. การตั้งค่า “Ask to project to this PC” เป็นการตั้งค่าให้มีข้อความแจ้งบน PC เมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามาจากโทรศัพท์มือถือ โดยบนฝั่ง PC จะเป็นการเลือกว่าจะยอมรับการเชื่อมต่อหรือไม่ โดยเมื่อมีการขอเชื่อมต่อเข้ามายัง PC จะมีกล่องข้อความแจ้งเตือนดังรูป ส่วนตัวเลือกในการยอมรับการเชื่อมต่อจะมีสี่ตัวเลือกดังรูป ตัวเลือก First time only เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนครั้งแรกที่ขอเชื่อมต่อเข้ามาเท่านั้น หากมีการขอเชื่อมต่อหลังจากนี้ครั้งต่อไปจะสามารถทำการเชื่อมต่อได้เลย (ตอนยอมรับการเชื่อมต่อต้องเลือก Always allow ด้วย หลังจากนี้หากมีการขอเชื่อมต่ออีกก็จะไม่มีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมาอีก) ตัวเลือก Every time a connection is requested เป็นการตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนทุกครั้ง เมื่อมีการเชื่อมต่อ 5. การตั้งค่า Require PIN for pairing เป็นการกำหนดว่าเมื่อมีการเชื่อมต่อกัน จะต้องมีการยืนยันรหัส PIN หรือไม่ โดยฝั่ง PC จะออกรหัส PIN ให้ และฝั่งโทรศัพท์มือถือต้องกรอกรหัส PIN นี้เพื่อยืนยัน ตัวเลือกการตั้งค่ามี 3 ตัวเลือก คือ ตัวเลือก Never เลือกตัวเลือกนี้หากไม่ต้องการใช้รหัส PIN ในการยืนยัน ตัวเลือก First Time ใช้สำหรับยืนยันรหัส PIN ครั้งแรกครั้งเดียว ตัวเลือก Always ต้องมีการยืนยันรหัส PIN ทุกครั้ง ตัวอย่างรหัส PIN 6. การตั้งค่า “This PC can be discovered for projection only when it’s plugged into a power source” ถ้าเลือกเป็น On สามารถเชื่อมต่อได้เฉพาะกรณีที่ PC ต่อเข้ากับสาย power adapter ที่ต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟเท่านั้น ส่งภาพจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือไปยัง PC

Read More »

การติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET บน IIS

สำหรับนักพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ที่จะต้องทำหน้าที่ครบวงจร (Full Stack Programer) สิ่งที่ต้องทำหลังจากพัฒนาเว็บขึ้นมาเสร็จแล้ว คือการติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ (Deploy) ในบทความนี้จะเล่าขั้นตอนหลักๆ ในการติดตั้งเว็บไซต์ ที่พัฒนาด้วย ASP.NET (ไม่ว่าจะพัฒนาด้วย .Net Framework เวอร์ชันไหนก็ขั้นตอนเดียวกัน เปลี่ยนแปลงแค่ .Net Runtime ที่ใช้งาน) บนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ IIS (Internet Information Services) ซึ่งหน้าตาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามเวอร์ชันของ IIS แต่ขั้นตอนการตั้งค่ายังคงคล้ายคลึงกัน Publish เว็บไซต์ (กรณีใช้ Visual Studio) 1.คลิกขวาที่ชื่อโปรเจ็ค เลือก Publish 2.จะได้หน้าจอเลือกประเภทในบทความนี้เลือกเป็น Folder เพื่อใช้วิธีการ Deploy แบบนำไฟล์ไปวางที่ Server เอง ดังรูป 3. เลือกที่ตั้งไฟล์ กด Finish 4. ตั้งค่าการ Publish จากในรูปคือให้ลบไฟล์ที่มีอยู่ก่อน และใช้รูปแบบ Release ในการ Compile 5. ตัวอย่างไฟล์ที่ทำการ Publish เสร็จแล้ว 6. ทำการ Copy ไฟล์ทั้งหมดไปวางใน wwwroot บน Server ติดตั้ง Component ต่างๆ 1.ในบทความนี้ใช้ Windows Server 2016 Datacenter เป็นตัวอย่าง ซึ่งการติดตั้ง Component ต่างๆ สามารถทำได้ผ่าน Server Manager > Manage > Add Roles and Features ได้เกือบทั้งหมด ยกเว้น Runtime อื่นๆที่เว็บไซต์มีการนำมาใช้งานเพิ่มเติม 2. ติดตั้ง IIS , ASP.NET และ Component ที่เกี่ยวข้อง โดยไปที่ Server Role > Web Server (IIS) และทำการเลือก Component ต่างๆดังรูป จากนั้นกด Next 3. ติดตั้ง .Net Framework เวอร์ชันที่เว็บไซต์ใช้งาน ในตัวอย่างใช้ .Net Framework 4.6 โดยสามารถเลือกจาก เมนู Features ดังรูป 4. เท่านี้ก็จะมี Component ที่จำเป็นในการติดตั้งเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย ASP.NET แล้ว สร้าง และตั้งค่า Application Pool 1.เปิดโปรแกรม IIS โดยไปที่ Start > Windows Administrative Tools > Internet information Services (IIS) จะได้หน้าจอดังรูป 2. เลือกเมนู Application Pool จากนั้นคลิก Add Application Pool จะได้หน้าจอการตั้งค่าดังรูป โดยที่ .Net CLR Version จะแยกเป็น 2.0.xxx และ 4.0.xxx โดยหากต้องการใช้งาน .Net Runtime 3.5 – 4.x สามารถเลือกเป็น 4.0.x ได้ทั้งหมด 3. เมื่อสร้างสำเร็จ จะมีรายการ Application Pool ที่เราสร้างดังรูป สร้าง และตั้งค่าเว็บไซต์ ทดสอบเรียกใช้งาน 1.ในการสร้างไซต์นั้น หากบน Server นั้นยังไม่มีเว็บไซต์ใดๆ สามารถใช้ Default Web Site ได้เลย แต่ถ้ามีเว็บไซต์อื่นๆอยู่ก่อนแล้ว จะต้องพิจารณาว่าจะให้บริการในแบบใด เป็น Application ที่อยู่ภายใต้เว็บไซต์เดิม

Read More »