ว่าด้วยเรื่องการคำนวณตัวเลขตรวจสอบ (Check Digit)

ได้รับมอบหมายจากทีมในการสร้าง Oracle Function เพื่อคำนวณตัวเลขตรวจสอบ (check digit) ของการชำระเงินค่าสมัครผ่านช่องทางการชำระเงินช่องทางหนึ่ง โดยได้รับ requirement มาดังภาพข้างล่างนี้ จากภาพข้างต้นจะมีข้อมูลสำหรับการนำเข้า 4 ชุดซึ่งประกอบด้วย ชุดที่ 1 : Customer No.1/Ref.1  ชุดที่ 2 : Due Date (DDMMYY : พ.ศ.)   ชุดที่ 3 : Customer No.2/Ref.2 ชุดที่ 4 : จำนวนเงินที่ต้องชำระ พร้อมด้วยขั้นตอนวิธีในการคำนวณตัวเลขตรวจสอบ (check digit) ดังนี้ มาทำความเข้าใจกับวิธีคำนวณกันก่อนที่จะเริ่มต้นสร้าง Oracle Function ถ้ามาดูรายละเอียดของวิธีการคำนวณในข้อที่ 1 ซึ่งเป็นการหาค่าประจำหลักของข้อมูลนำเข้า โดยวิธีการคือ นำข้อมูลแต่ละหลักคูณค่าคงที่ คือ 6, 4, 5, 8, 7 ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ การหาค่าประจำหลักของข้อมูลนำเข้า จะสังเกตุว่าถ้านำข้อมูลนำเข้าทั้ง 4 ชุดข้อมูลมาเรียงต่อกันจะมีความยาวเท่ากับ 35 โดยที่ ลำดับที่ 1, 6, 11, 16, 21, 26, 31 นำค่าข้อมูลคูณด้วย 6 ลำดับที่ 2, 7, 12, 17, 22, 27, 32 นำค่าข้อมูลคูณด้วย 4 ลำดับที่ 3, 8, 13, 18, 23, 28, 33 นำค่าข้อมูลคูณด้วย 5 ลำดับที่ 4, 9, 14, 19, 24, 29, 34 นำค่าข้อมูลคูณด้วย 8 ลำดับที่ 5,10, 15, 20, 25, 30, 35 นำค่าข้อมูลคูณด้วย 7 กรณีถ้าไม่ต้องคิดให้ซับซ้อนเราก็บอกว่า fix ค่าไปเลยตามเงื่อนไขข้างต้น ก็สามารถจะหาค่าประจำหลักของข้อมูลนำเข้าแต่ละตัวได้ แต่ถ้าจะยืดหยุ่นกว่านั้นก็สามารถมองได้ว่า ลำดับที่ 1, 6, 11, 16, 21, 26, 31 เมื่อ mod ด้วย 5 จะได้ค่ากับ 1 ลำดับที่ 2, 7, 12, 17, 22, 27, 32 เมื่อ mod ด้วย 5 จะได้ค่ากับ 2 ลำดับที่ 3, 8, 13, 18, 23, 28, 33 เมื่อ mod ด้วย 5 จะได้ค่ากับ 3 ลำดับที่ 4, 9, 14, 19, 24, 29, 34 เมื่อ mod ด้วย 5 จะได้ค่ากับ 4 ลำดับที่ 5,10, 15, 20, 25, 30, 35 เมื่อ mod ด้วย 5 จะได้ค่ากับ 0 ดังนั้นเราก็สามารถค่าประจำหลักของข้อมูลนำเข้าได้ดังต่อไปนี้ ค่าลำดับที่ mod ด้วย 5 ได้เท่ากับ 1 ให้นำค่าข้อมูลคูณด้วย 6 ค่าลำดับที่ mod ด้วย 5 ได้เท่ากับ

Read More »

UX, everything related!

เรามักได้ยินคำว่า UI เป็นประจำเมื่อเราพัฒนาระบบแต่ รู้หรือไม่ว่านอกจาก UI แล้วมันมีอีกหนึ่งอย่างที่ควรรู้และสำคัญยิ่งกว่าแต่ถูกมองข้ามไปคือ UX (ย่อมาจาก User experience) หลายๆคนมักจะสับสนว่า UI และ UX มันคือสิ่งเดียวกัน จริงๆแล้วมันคือคนละอย่างกันเลย วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง UI :: User Interface User Interface คือหน้าตาของระบบที่ผู้ใช้ได้เห็น ได้ตอบสนอง ไม่ใช่ระบบในทางคอมพิวเตอร์อย่างเดียวที่มี UI ถ้าเทียบกับขวดซอสมะเขือเทศ ขวดก็คือหนึ่งใน UI เช่นกันหรืออาหาร 1 จาน หน้าตาของอาหารก็ถือว่าเป็น UI ด้วย “UI เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้หรือจับต้องได้“ UX :: User Experience User Experience คือ Experience หรือประสบการณ์ของผู้ใช้ที่เราได้ส่งมอบให้ มากกว่า Interface ที่ผู้ใช้งานได้ตอบสนอง เราจะไป focus ที่ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ผู้ใช้ใช้สินค้าเราแล้วได้บรรลุวัตถุประสงค์ของเราหรือไม่ “UX คือสิ่งที่อยู่กับความรู้สึก จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่วัดประเมินผลได้” ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพ การออกแบบ UX ของการรับประทานอาหารจานหนึ่ง เราอยากให้ผู้ใช้รู้สึก fresh ก่อนตามด้วยความแน่นของรสชาติที่ตั้งใจปรุงตามมา ก็ต้องออกแบบจานอาหาร การเลือกใช้วัตถุดิบ หรือการให้กินคู่กับเครื่องดื่มบางอย่าง จะช่วยส่งเสริม/เติมเต็มให้ผู้กินได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ได้ จริงๆแล้ว นอกจาก website หรือ application ที่ต้องมี UX ที่ดีเป็น 1 ในองค์ประกอบแล้ว ทุกๆอย่างรอบตัวในชีวิตประจำวันก็ต้องมี UX ที่ดีเช่นกัน Why should we have to care on UX? UX เรียกได้ว่าเป็นสารต้นต้นของสินค้าก็ว่าได้ การทำให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีมักจะเป็น 1 ในวัตถุประสงค์หลักในการออกแบบสินค้าและบริการ เพราะถ้าทำออกมาแล้ว ผู้ใช้ไม่ enjoy ใช้แล้วลำบากกว่าเดิม แล้วใครจะมาใช้งาน? สินค้าบางอย่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นซอสมะเขือเทศออกแบบขวดซอสแบบทั่วไป เวลาใช้ผู้ใช้จะต้องเคาะ/เขย่าขวด ซอสจึงจะออกมา การออกแบบขวดให้เป็นแบบคว่ำ บีบแล้วซอสออกเลย เป็นการแก้ปัญหาของผู้ใช้ เมื่อผลิตออกมาจึงขาย ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ใช้ ผู้ใช้ก็ happy, win win ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ แล้วเราจะไปหาข้อมูลอะไรมาวิเคราะห์หละ แน่นอน UX = Research Research เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบสอบถาม การสัมภาส การสังเกตการใช้งาน การลงพื้นที่จริง หรือการอิงข้อมูลทางสถิติหรือข้อมูล log ยิ่งทำเยอะยิ่งทำให้เกิด UX ที่ดี การมี user experience ที่ดีมาจากการทำ Research หรือการค้นความหาข้อมูล ถามว่าการตามหาข้อมูลจะทำได้อย่างไรหละ User Research การ research ข้อมูลของผู้ใช้งาน/กลุ่มผู้ใช้งาน จะได้ออกแบบได้ตรงจุด ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เช่น อายุ เพศ ที่อยู่ เป็นต้น ผู้ใช้ที่เราขายคือใคร กลุ่มไหนบ้าง ทำงานอะไร ผู้ใช้สินค้าเรามีบุคลิกอย่างไร นิสัยเป็นอย่างไร รวมไปถึง รูปภาพของผู้ใช้ ควรเป็นรูปที่สามารถสื่อถึง Lifestyle ของคนๆนั้นได้ จะดีมากๆ ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวแปรตั้งต้นที่เราจะต้องมาออกแบบระบบอย่างไรให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ที่เราเก็บข้อมูลมา จะเห็นได้ว่า ยิ่งเราทำ research มาเท่าไหร โอกาสของการสร้างสินค้ามาให้ตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้ จะทำให้สินค้าเราขายออกได้ง่ายกว่าเช่น การออกแบบระบบสารสนเทศที่กลุ่มผู้ใช้ระบบ 90%เป็นผู้มีอายุ การทำระบบให้เขาใช้งานก็ควรมีตัวอักษรที่ใหญ่กว่าทั่วไป มีการทำ Shortcut เมนูที่ง่าย ไม่สับซ้อน Brand Research คนที่ว่าจ้างหรือว่าง่ายๆคือเจ้าของระบบคือใคร Brand หรืออัตลักษณ์ของเขาเป็นอย่างไร วัตถุประสงค์ขององค์กร สีขององค์กร design token ขององค์กร ก็เป็นอีก 1 อย่างที่ต้องมีการศึกษาข้อมูลด้วยเช่นกัน Problem Research นอกจากการ research ผู้ใช้แล้ว เราก็ควรศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะอะไรผู้ใช้ถึงเลิกใช้ ทำไมผู้ใช้ถึงไม่ใช้ feature นี้ ทำไมผู้ใช้สับสนในการใช้งาน ปัญหาเหล่านี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งสารตั้งต้นที่จะทำไปออกแบบและพัฒนาสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถสำรวจปัญหาเหล่านี้ได้จากการให้ผู้ใช้ทำแบบสอบถาม การลงพื้นที่จริงไปสังเกตการใช้งานระบบ

Read More »

สร้าง Modal dialog อย่างง่ายด้วย jquerymodal

เนื่องจากตอนนี้มีพรบ.คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องมี pop up Modal dialog ถามผู้ใช้ วันนี้จะมาแนะนำการใช้งาน jQuery ที่เรียกใช้ไม่กี่บรรทัดเราก็ได้ Modal dialog โดยจะยกตัวอย่าง Modal dialog แบบไม่ให้ปิดได้ โดยต้องอ่านข้อความก่อน ถึงจะปิดได้ ขั้นตอนที่ 1 เพิ่ม jquery.min.js, jquery.modal.min.js, jquery.modal.min.css เพื่อเรียกใช้งาน ขั้นตอนที่ 2 เพิ่มการตั้งค่า Modal dialog ตามตัวอย่างไม่ให้แสดงปุ่ม “ปิด” ขั้นตอนที่ 3 เพิ่ม User interface Modal dialog โดยใช้ tag div ขั้นตอนที่ 4 ได้ผลลัพธ์ Modal dialog ออกมาอย่างสวยงาม ที่มา : https://jquerymodal.com

Read More »

Excel : ลำดับที่แบบตัวเลขด้วยคำสั่งง่าย ๆ ไม่ต้องลากเมาส์!

เคยไหม ที่พยายามใส่เลข 1-100 ใน Column ใด ๆ เอง ด้วยวิธีการต่าง ๆ แบบนี้ บางคนใช้วิธีพิมพ์เอง 😒 บางคนใช้วิธีพิมพ์เลข 1 2 3 คลุมแล้วลาก 😂 แต่!!! จะดีกว่าไหม ถ้ามีวิธีที่เร็วและเราสามารถระบุได้ว่าจะสิ้นสุดที่เลขใด 😍 มาดูวิธีกันเลยค่ะ ใน Cell A1 พิมพ์คำสั่งดังนี้ค่ะ แล้วกดปุ่ม Enter! โดยตัวอย่างในวีดีโอ ให้แสดงถึงเลข 20 ดังนั้นคำสั่งจึงเป็นดังนี้ค่ะ เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ Running Number จาก 1-100 โดยที่ไม่ต้องลากเมาส์แล้วค่ะ 😁👍💖 หวังว่าโพสนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่าาา

Read More »

Screen Recording with Xbox Game Bar

หลาย ๆ ครั้งที่เราต้องการอัดวิดีโอหน้าจอ เพื่อนำไปนำเสนองาน ไม่ว่าจะเป็นการเขียน Blog ทั้งหลาย เพื่อให้ผู้อ่านเห็นวิธีการชัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ Capture ภาพปกติ 💖 และเป็นอีกหลาย ๆ ครั้งที่หลาย ๆ คนต้องหาโปรแกรมฟรีต่าง ๆ เพื่อมาทำสิ่งนี้ 😂 แต่เดี๋ยวก่อน!!! ทางผู้เขียนมีโปรแกรมติดเครื่อง Window10 หรือแม้จะใช้ Window11 ก็ยังมี นั่นก็คือ Xbox Game Bar ใช่ค่ะ ทางผู้เขียนไม่ได้ให้เชิญชวนท่านมาเล่นเกมนะคะ แต่จะอะแด๊บแอปพลายเพื่อจะนำมาใช้ในการทำ Screen Recording ค่า 😁 แต่เนื่องจากโปรแกรมนี้ไม่สามารถ Screen Recording Window Desktop หรือ File Explorer ได้ สำหรับ Blog นี้จึงจำเป็นต้องใช้ภาพประกอบแทนวิดีโอนะคะ วิธีการเป็นยังไง ไปดูกันเล้ยยยย 😎 ขั้นตอนแรก ไปเปิดการใช้งานก่อนเลยค่ะ เริ่มจาก กดปุ่ม window พิมพ์ setting ที่เมนูฝั่งซ้าย เลือกเมนู Gaming จากนั้นที่เมนู Open Xbox Game Bar using this button a controller เลือก on เริ่มต้นใช้งาน ก่อนที่จะเริ่มบันทึก ให้อยู่ที่หน้าจอที่จะบันทึกก่อน จากนั้นกดคีย์ลัด windows key+G เพื่อเรียก Xbox Game Bar หรือจะกดปุ่ม window พิมพ์ xbox จากนั้น เลือก Xbox Game Bar ก็ได้ทั้ง 2 วิธีค่ะ แต่แนะนำคีย์ลัดสะดวกกว่าค่ะ👌 เมื่อกดแล้วจะพบหน้าต่างมากมายดังรูปด้านล่างค่ะ จากนั้นที่หน้าต่างเล็ก ๆ ที่ชื่อว่า Capture ให้กดปุ่มที่ 3 เพื่อเริ่มต้นอัดวิดีโอดังภาพด้านล่าง เมื่อกดปุ่มเริ่มอัด จะมีหน้าต่างเล็ก ๆ มีเวลานับแสดงแบบนี้ค่ะ เมื่ออัดเสร็จกดปุ่มหยุด จากนั้นไฟล์วิดีโอจะถูกบันทึกไว้ที่ This PC -> Videos -> Captures หมายเหตุ ผู้เขียนใช้ Window 11 นะคะ แต่ Window10 ก็ไม่ต่างกันมากค่ะ Tips สามารถกดปุ่ม windows key+alt+r เพื่อเริ่มต้นอัดวีดีโอได้โดยไม่ผ่านขั้นตอนข้างต้น 😁😁 หวังว่าเนื้อหารอบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่าาา ❤️😘

Read More »