Case Study: ระบบประเมินผลออนไลน์ด้วย Google Sheets แบบแก้ไขได้เฉพาะส่วนของตนเอง แต่มองเห็นของคนอื่นได้ด้วย

โจทย์มีอยู่ว่า ต้องการระบบประเมินผล Online ให้อาจารย์จากหลาย ๆ มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ท่าน ประเมินผลการทำงาน ในมุมมองต่าง ๆ แยกตาม Sheet และ ในแต่ละมุมมอง อาจารย์แต่ละท่าน สามารถเลือกตัวเลือกจาก Dropdown ในคอลัมน์ของตนเองในแต่ละหัวข้อย่อย แต่ในขณะเดียวกัน สามารถมองเห็นได้ด้วยว่า อาจารย์ท่านอื่นให้คะแนนหัวข้อย่อยนั้นว่าอย่างไร แต่จะไม่สามารถแก้ไขของท่านอื่น หรือ แก้ไขส่วนอื่น ๆ ได้ มีระบบสรุปคะแนนอัตโนมัติ เริ่มกันเลย ลองคลิกไปดูตัวอย่างได้ที่นี่ สร้าง Google Sheets โดยมีทั้งหมด 5 Sheets แต่ละ Sheet มีคอลัมน์แรก เป็นรายการที่จะประเมิน คอลัมน์ B – F เป็นส่วนที่ผู้ประเมินแต่ละท่านใช้ในการประเมิน ชีตที่ 1 -3 เป็น มุมมองในการประเมิน ชีตที่ 4 เป็น Rubric Score หรือ ค่าที่จะใช้ทำ Dropdown ด้วย V Lookup ชีตที่ 5 เป็น Summary เอาไว้แสดงภาพรวมการประเมิน (ใช้ในภายหลัง) สร้าง Dropdown ไปที่ ชีต “มุมมองที่ 1” ที่เซล B7 (หัวข้อประเมินแรก ของผู้ประเมินคนแรก) แล้ว “คลิกขวา” เลือก Data Validation … จากนั้น ในบรรทัด On invalid data เลือก Reject inputในบรรทัด Criteria คลิกที่ช่องด้านหลัง แล้วไปคลิก ชีต “RubricScore” และเลือกส่วนที่จะมาแสดงใน Dropdown นั่นคือ “Not Met”, “Partially Met” และ “Met” แล้วคลิกปุ่ม OK จากนั้น กลับมาคลิกปุ่ม Save จากนั้น ก็ Copy เซล B7 ไปยังทุก ๆ ส่วนที่จะทำการประเมิน เพิ่มผู้ประเมินเป็น Editor คลิกปุ่ม Share แล้วกรอก Email Address ซึ่งเป็น Google Account ของผู้ประเมินทั้ง 5 คนลงไป ให้เป็น Editor จากนั้นคลิกปุ่ม Send ในขั้นตอนนี้ ทุกคนที่เป็น Editor สามารถเข้ามาแก้ไข ทุกส่วน ของ Google Sheets นี้ได้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ ต่อไป จะเป็นการกำหนด ส่วนที่ แต่ละคนจะสามารถแก้ไขได้ กำหนดส่วนที่ผู้ประเมินแก้ไขได้ คิดเหมือนกับ การเจาะช่อง ให้เฉพาะส่วนที่กำหนดนี้ ให้มีการแก้ไขได้ คลิกเมนู Tools > Protect sheetแล้วคลิก Except certain cellsในที่นี้คือ B:F แล้วเลือก Editor ทุกคน ให้สามารถ แก้ไขได้จากนั้นคลิกปุ่ม Done ตอนนี้ ทั้ง 5 คนจะสามารถแก้ไขสิ่งที่อยู่ในคอลัมน์ B-F ได้ แต่ยังมีปัญหาคือ อ.สมชาย สามารถแก้ไขข้อมูลในคอลัมน์ของ อ.สมหญิง ได้อยู่ กำหนดให้ผู้ประเมินแก้ไขได้เฉพาะคอลัมน์ของตนเอง ต่อไป กำหนดให้ อ.สมศรี แก้ไขได้เฉพาะคอลัมน์ C ซึ่งเป็นของตนเองเท่านั้นเลือก คอลัมน์ Cคลิกเมนู Data > Protected sheets and ranges …คลิกปุ่ม Set Permissions จากนั้น

Read More »

python #03 – Train/Validation/Test and Accuracy Assessment with Confusion Matrix

ต่อจาก python #02 – ติดตั้ง Tensorflow และ Keras ซึ่งกล่าวถึง ขั้นตอนการสร้าง Model และ วาง Layers ต่าง ๆ ของ Keras รวมไปถึง การใช้ model.summary() เพื่อแสดงโครงสร้าง Neural Network ที่สร้างขึ้นมาแล้ว ต่อไป เป็นการ นำข้อมูลมาแบ่งเป็นชุด สำหรับ Train/Validate/Evaluate การแบ่งข้อมูล สมมุติมีข้อมูล ที่อาจจะมาจาก CSV File ซึ่งมี field 0 – 9 คือ ตัวแปรต้น หรือ ที่มักเรียกว่า Features และ มี field 10 เป็น ตัวแปรตาม หรือ ที่เรียกว่า Label ทำการแบ่งข้อมูล เป็น X และ y(วิธีการ Slice ข้อมูล จะเป็นรูปแบบ data[ row, column]) ก่อนนำไปใช้ ต้องแปลง y ให้เป็น One-Hot Encode ซึ่ง Keras เองมีเครื่องมือให้อยู่แล้ว การแบ่งข้อมูลเป็น Train/Test สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ง่ายและสะดวก คือ ใช้ train_test_split จาก Scikit Learn ในตัวอย่างนี้ มีข้อมูลตัวอย่างน้อย คือ เพียง 5 samples จึงแบ่งสัดส่วน Test Size = 0.3 หรือ 30% การสร้าง Model สมมุติ เราออกแบบ Neural Network ตามภาพ กล่าวคือ มี Input Layer จำนวน 10 Nodes และ มี Hidden Layers เป็น Dense 2 ชั้น จำนวน 8 และ 5 Nodes ตามลำดับ โดยมี Activation Function เป็น Relu จากนั้น ส่งไปยัง Output Layer ที่มี 3 Nodes ใช้ Activation Function เป็น Softmax เพราะจะเป็น Categorial Classification และ ใช้ Code ตามนี้ แล้ว Compile โดยใช้ Loss Function เป็น Categorical Crossentropy, Optimizer เป็น Adam ที่ Learning Rate 0.001 (เลือกจะตั้งค่าหรือไม่ก็แล้วแต่กรณี) และกำหนด Metrics เป้น Accuracy การ Training ใช้คำสั่ง fit ในการ train โดยกำหนด X_train คือข้อมูลสำหรับการสอนโมเดล และ y_train เพื่อให้โมเดลเปรียบเทียบว่าต่างจากผลที่คำนวณแค่ไหน (ผ่าน Loss Function) จากนั้นจึงทำการ Adjust Weights กลับมา (ผ่าน Optimizer) ในกระบวนการ Backpropagationในตัวอย่างนี้ ตั้งค่า epochs หรือ จำนวนรอบที่จะ Train และ batch_size เพื่อกำหนดว่า

Read More »

การสร้าง RESTful API สำหรับใช้งานจริง ง่าย ๆ ด้วย Flask และ Waitress

จาก From LAB to Production – จาก Machine Learning Model สู่ Flask RESTful ซึ่งได้นำ Machine Learning แบบ Statistical Approach อย่าง Logistic Regression ที่สร้างโมเดล และ Train กับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว (บนเครื่อง Development) จากนั้น ได้นำโมเดลออกมาใช้งาน โดยใช้ วิธีการ Serialization ด้วย joblib ในภาษา Python ได้เป็นไฟล์ออกมา แล้วจึงนำไปใช้เพื่อใช้ในการทำนาย (predict) ชนิดของดอก Iris บนเครื่อง Production โดยรับ Input จากผู้ใช้ผ่าน HTTP Protocol ทั้ง GET/POST ที่ TCP/5000 ตัวอย่างดังกล่าว ยังเป็นเพียงการ “ทดสอบ” แต่ในบทความนี้ จะเป็นวิธีการ ซึ่งนำไปสู่การใช้งานจริง ๆ ซึ่ง Flask แนะนำให้ใช้งานกับ “waitress” (น่าจะเลียนแบบจาก Server) ซึ่งเป็น WSGI (Web Server Gateway Interface) อีกตัวหนึ่ง ใช้งานง่าย เพราะไม่ต้องติดตั้ง Apache/Nginx เลย ติดตั้ง waitress predict.py from flask import Flask, request, jsonify from flask_restful import Resource, Api, reqparse from flask_cors import CORS app = Flask(__name__) # Enable CORS CORS(app) @app.route(“/predict”, methods=[“POST”]) def predict(): result = 0 if request.method == “POST”: input_value = request.form[“input_value”] # ประมวลผล # … # ตัวอย่างเช่น รับค่ามา แล้ว คูณ 2 result=input_value * 2 # ### return jsonify( prediction=result ),201 ไฟล์ predict.py เป็นตัวอย่าง python ซึ่งรับค่า input_value จาก HTML form ผ่าน POST method เข้ามา ที่ /predict ซึ่งเขียนด้วย Flask ที่จะไปเรียกใช้ฟังก์ชั่น prediction() แล้วก็ทำการคำนวณที่ต้องการ จากนั้น ตอบค่ากลับไปเป็น JSON ด้วยฟังก์ชั่น jsonify โดยสามารถกำหนด key ชื่อ prediction และ value เป็น result ที่คำนวณได้ และแจ้ง Response Code เป็น 201 waitress_server.py from waitress import serve import predict serve(predict.app, host=’0.0.0.0′, port=8080) ไฟล์ waitress_server.py ก็เพียงแค่ import serve จาก waitress ที่ติดตั้งไป และ import predict ซึ่งก็คือไฟล์ predict.py ข้างต้น (อยู่ในไดเรคทอรีเดียวกัน)

Read More »

Protect Windows Computer LAB using Toolwiz Time Freeze and Cygwin

Toolwiz Time Freeze เป็น open source software freeware ติดตั้งเพิ่มใน Windows 10 สำหรับจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องบริการ ซึ่งจะทำให้เมื่อ restart เครื่อง จะกลับคืนสู่สภาพเหมือนครั้งที่ติดตั้งเสร็จไว้ให้บริการในตอนแรก Toolwiz Time Freeze ไม่ได้ให้ซอฟต์แวร์ควบคุมรวมศูนย์กลางแบบโปรแกรมอื่นประเภทเดียวกันนี้ เราจะต้องทำการเดินไปปลด Lock ที่หน้าเครื่อง Windows ทีละเครื่องเอง แต่อย่างไรก็ตาม Toolwiz Time Freeze ก็ให้คำสั่งรันแบบ command line มาด้วย ผมจึงลองเสนอไอเดีย วิธีใช้ linux ubuntu ในการควบคุมไม่ต้องเดินไปทำหน้าเครื่อง นั่นคือ ใช้คำสั่ง ssh ในการรัน ToolwizTimeFreeze.exe ด้วย option /freeze หรือ /freezealways หรือ unfreeze หลักการคร่าว ๆซอฟต์แวร์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ1.ติดตั้ง Windows 102.login เข้าใช้งานด้วยบัญชีผู้ใช้ (user) สิทธิเทียบเท่า Administrator3.ติดตั้ง Cygwin for Windows จะได้ Linux emulator โดยเลือกติดตั้ง service sshd ทำงานอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง Windows 4.ติดตั้ง Toolwiz Time Freeze ตั้ง Lock พร้อมตั้งค่า password ป้องกันการเปิดเข้าโปรแกรม ซอฟต์แวร์ที่เครื่องของ admin ผู้ดูแล1.ติดตั้ง Ubuntu server หรือ Desktop เพิ่ม 1 เครื่อง เพื่อที่จะสร้าง ssh key ด้วยคำสั่ง sshkeygen จะได้ key file ชื่อ id_rsa.pub และ id_rsa.key อยู่ในไดเรกทอรี .ssh 2.ทำขั้นตอนส่ง id_rsa.pub ไปใส่เพิ่มต่อท้ายไฟล์ authorized_keys ของ user ที่ติดตั้ง Cygwin for Windows 103.ตอนนี้ เราจะสามารถ ssh user@ip (IP ของ Windows 10) ได้แล้วโดยไม่มีการถาม password ทดสอบดู เมื่อต้องการปลด Lock (Unfreeze) Windows 10 ก็ใช้คำสั่งนี้ได้ คำสั่งเขียนต่อกันเป็นบรรทัดเดียว ssh -o UserKnownHostsFile=/dev/null -o StrictHostKeyChecking=no $user@$ip “/cygdrive/c/Program\ Files/Toolwiz\ Time\ Freeze\ 2017/ToolwizTimeFreeze.exe /unfreeze /usepass=$password” > /dev/null 2>&1 & โดยให้แทนที่ $user ด้วย ชื่อบัญชีผู้ใช้ที่ติดตั้ง Cygwin ให้แทนที่ $ip ด้วยไอพีแอดเดรสของ Windows 10 และให้แทนที่ $password ด้วย password ของโปรแกรม Toolwiz Time Freeze เมื่อรันคำสั่งนี้แล้ว Windows 10 จะ restart เมื่อตรวจสอบดูจะพบว่า Toolwiz Time Freeze อยู่ในสถานะ unprotect เมื่อต้องการ Protect Windows 10 (Freeze) ก็ใช้คำสั่ง 3 คำสั่งนี้ ต้องทำตามลำดับ คำสั่งเขียนต่อกันเป็นบรรทัดเดียว คำสั่งที่ 1/3 ssh -o UserKnownHostsFile=/dev/null -o StrictHostKeyChecking=no $user@$ip “/cygdrive/c/Program\ Files/Toolwiz\ Time\ Freeze\ 2017/ToolwizTimeFreeze.exe /freeze /usepass=$password”

Read More »

วิธีตรวจสอบรุ่นของ CPU ว่าสามารถใช้งาน Tensorflow ได้หรือไม่

ปัญหา สร้างเครื่องบน VMWare ESXi รุ่นล่าสุดก็แล้ว ลงเป็น Windows Server 2016 DataCenter ก็แล้ว ตาม Spec ของ Tensorflow (Version ล่าสุด 1.12) บอกว่า ใช้ Python 3.6 ก็ลงแล้ว (ยังใช้กับตัวล่าสุด 3.7 ไม่ได้)  ติดตั้ง Tensorflow ก็ลงตามปรกติ ก็สำเร็จเรียบร้อยดี แต่พอลอง import ปรากฏว่าเกิด Error “Failed to load the native TensorFlow runtime.” ทั้ง ๆ ที่ลงบน Physical Server ที่ไม่ใช่ VMWare ก็ใช้งานได้ปรกติ ทำไม ??? ตั้งสมมุติฐาน Hardware มีความแตกต่างอะไร ระหว่าง VMWare กับ Physical Server ? รวบรวมข้อมูล ไปดู Hardware Requirements พบว่า ตั้งแต่ Tensorflow 1.6 เป็นต้นมา ต้องใช้งานบน CPU ที่มี AVX Instruction และจาก  https://en.wikipedia.org/wiki/Advanced_Vector_Extensions#CPUs_with_AVX บอกว่า CPU ที่มี AVX Instruction คือ เก่าสุด ชื่อรุ่น Sandy Bridge แล้ว … เครื่อง Windows Server 2016 DataCenter ที่สร้างบน VMWare นั้น ได้ CPU อะไร ?? ค้นหาข้อมูล พบว่า Microsoft ให้ใช้เครื่องมือฟรี ที่ชื่อว่า coreinfo (ซึ่งบน Linux ใช้ cpuinfo) สามารถ Download ได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/sysinternals/downloads/coreinfo เมื่อลอง Download มาติดตั้ง และ ใช้คำสั่ง coreinfo ได้ผลว่า เป็นรุ่น Intel Xeon รุ่น E7  – 4870 ลองไปค้นหาดู ว่า รุ่น E7 – 4870 มี Code Name ว่าอะไร  จาก Intel ได้ความว่า ชื่อรุ่น Westmere ซึ่ง ไม่มี AVX !!!!! ไปดูลำดับ Codename จาก  https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Intel_CPU_microarchitectures พบว่า Westmere เป็นรุ่นสุดท้าย ก่อนจะมีการใส่ AVX นั่นเอง (Sandy Bridge, Ivy Bridge, Haswell … เป็นต้นมา มี AVX หมด) สรุปผล เครื่องบน VMWare ปัจจุบัน นั้นจะได้ Spec ตาม CPU ตัวต่ำสุดใน Cluster ดังนั้น …. เจ้าจึงได้ Westmere ที่ไม่มี AVX ไปใช้ และ ใช้งาน Tensorflow รุ่นตั้งแต่ 1.6 เป็นต้นมาไม่ได้ จบข่าว

Read More »