การวิเคราะห์ข้อมูล (What-if Analysis)

            ในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ What-if ซึ่งเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ที่อยู่ใน Excel การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ What-if เป็นการเอาสูตรหรือข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อหาทางเลือกจากสถานการณ์ต่างๆ โดยมีการวิเคราะห์ 3 แบบ คือ สถานการณ์สมมติ(Scenario), ตารางข้อมูล(Data Table) และการค้นหาค่าเป้าหมาย(Goal Seek) สถานการณ์สมมติและตารางข้อมูลจะรับชุดของค่าข้อมูลเข้า(Input) และประเมินล่วงหน้า เพื่อหาผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ ส่วนการค้นหาค่าเป้าหมายต่างจากสถานการณ์สมมติและตารางข้อมูลตรงที่ นำผลลัพธ์มาประเมินย้อนกลับ เพื่อหาค่าข้อมูลเข้าที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆ 1. การค้นหาค่าเป้าหมาย(Goal Seek)             ปกติเวลาคำนวณเราจะคำนวณตามลำดับ เช่น ยอดขาย–ค่าใช้จ่าย = กำไร แต่ Goad Seek ใช้การระบุผลลัพธ์ที่ต้องการ(Output) แล้วคำนวณค่าข้อมูลเข้า(Input) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ             ตัวอย่าง1 การคำนวณเงินกู้ ปกติจะคำนวณจากเงินต้น ระยะเวลาที่กู้ และดอกเบี้ย และใส่สูตรด้วยฟังก์ชัน PMT (ดูภาพที่ 1) ซึ่งจะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน (ดูภาพที่ 2) ภาพที่ 1 คำนวณอัตราผ่อนชำระต่องวด ภาพที่ 2 จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน   เงื่อนไขที่ 1 : ถ้ามีต้องการผ่อนต่อเดือน 10,000 บาท ในระยะเวลา 10 ปี สามารถใช้ Goal Seek คำนวณให้ได้ว่า จะสามารถกู้เงินได้เท่าไหร่? ไปที่ Data > What-if Analysis > Goal Seek (ดูภาพที่ 3) ภาพที่ 3 เลือกคำสั่ง Goal Seek ในหน้าต่าง Goal Seek (ดูภาพที่ 4) : Set cell – cell ที่จะใช้ตั้งค่า โดยคลิกเลือก cell ที่เขียนสูตรเอาไว้ (ในตัวอย่างนี้คือ B5) To value – ระบุค่าเป้าหมายที่ต้องการ (ต้องการผ่อนเดือนละ 10,000) By changing cell – ระบุ cell ที่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงค่าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (จำนวนเงินที่กู้ได้) ภาพที่ 4 กำหนดค่าเป้าหมาย สรุป ถ้าต้องการผ่อนเดือนละ 10,000 เป็นระยะเวลา 10 ปี จะต้องกู้เงินจำนวน 949,363 บาท (ดูภาพที่ 5) ภาพที่ 5 คำตอบที่ได้ของเงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขที่ 2 : ถ้าต้องการกู้เงิน 1,000,000 บาท และผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท จะต้องใช้เวลาเท่าไหร่? (ดูภาพที่ 6) ภาพที่ 6 กำหนดค่าเป้าหมาย สรุป ถ้าต้องการกู้เงิน 1,000,000 บาท และผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท จะต้องใช้เวลาประมาณ 129 เดือน (ดูภาพที่ 7) ภาพที่ 7 ระยะเวลาผ่อนชำระ(เดือน) 2. สถานการณ์สมมติ(Scenario)             ตัวอย่าง2 เปิดร้านขายเบเกอรี่มีเค้กขายอยู่ 12 ชนิด ในการวิเคราะห์กำไรจากการขาย (ดูภาพที่ 8) อาจแบ่งยอดขายได้หลายกรณี เช่น กรณีขายดี(Best Case), กรณีขายไม่ค่อยดี(Worst Case) และกรณีที่น่าจะเป็น(Most Likely) เป็นต้น

Read More »

Pass special characters in JavaScript function

ในการพัฒนาโปรแกรมไม่ว่าจะพัฒนาด้วยภาษาใดก็ตาม ทุกภาษาจะมี special characters ซึ่ง special characters บางตัวอาจจะถูกระบุให้เป็นตัวแปร หรือ ใช้อักขระพิเศษเพื่อระบุอยู่ลำดับสุดท้ายของข้อความของบรรทัด เป็นต้น   ซึ่งตรงส่วนนี้จะทำให้ประสบปัญหาในการนำ special characters ไปใช้งาน นั่นคือจะทำให้เกิด Error ทำให้โปรแกรมไม่สามารถทำงานต่อได้ ซึ่งJavaScript ก็เป็นอีกหนึ่งภาษาที่ประสบปัญหานี้ เช่น การส่ง parameter ผ่าน function ของ JavaScript โดยค่าของ parameter ที่ส่งไปเป็น special characters ทำให้เกิด Error และโปรแกรมไม่สามารถทำงานต่อได้   วันนี้จะขอแนะนำเทคนิคในการแก้ปัญหาดังกล่าว นั่นก็คือ การ Encoding และ Decoding ในที่นี้ผู้เขียนได้พัฒนาในรูปแบบ MVC โดยใช้ JavaScript ในการเรียก Controller จึงใช้วิธีการ Encoding กับ JavaScript และ ทางฝั่ง Controller จะใช้ C# จึงใช้ C# ในการ Decoding ค่ะ 1.วิธีการ Encoding in JavaScript ในการจะส่ง parameter ผ่านทาง function ของ JavaScript โดยข้อความนั้นมี special characters จำเป็นที่จะต้องมีการ Encoding ในที่นี้เราจะใช้ฟังก์ชัน Escape() ของ JavaScript ตัวอย่าง Encoding in JavaScript <script> function SaveData() { var txtDocTitle = $(‘#txtDocTitle’).val(); $(‘#pleaseWaitDialog’).modal(); $.ajax({ type: ‘POST’, contentType: ‘application/json; charset=utf-8’, url: “@Url.Action(“SaveDataToTable”, “I_EXPENSE”)”, data: “{‘budgetYear’:'” + valueYear + “‘ ,’docTitle’:'” + escape(txtDocTitle) + “‘}”, success: function (data) { }, error: function (data) { alert(data); } }); } </script> จากตัวอย่างกรณีป้อนข้อมูลที่มี special characters เช่น “I’m *&^$ special characters” เมื่อใช้ function escape(“I’m *&^$ special characters”) จะได้ผลลัพธ์ดังนี้  ผลลัพธ์จากการเรียกใช้ escape() I%u2019m%20*%26%5E%24%20special%20characters หลังจากที่มีการเรียกใช้ escape() จะทำให้สามารถส่ง parameter ที่มี special characters ไปได้โดยไม่พบ Error โปรแกรมสามารถทำงานได้ปกติ เป็นอันผ่านไปหนึ่งด่านในส่วนของการเรียกใช้งาน function ของ JavaScript แต่ทว่าการที่เราจะนำข้อความที่ผ่านการ Encoding มาใช้งานไม่ได้ เนื่องจากจะไม่ถูกต้องตามความต้องการของผู้ใช้งาน จากตัวอย่างข้างต้น ผู้ใช้งานป้อนข้อมูล “I’m *&^$ special characters” สิ่งที่โปรแกรมต้องทำการบันทึกก็ต้องเป็น “I’m *&^$ special characters” ไม่ใช่ “I%u2019m%20*%26%5E%24%20special%20characters” ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการ Decoding เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง 2.Decoding in C# เมื่อมีการ Encoding เราจำเป็นที่จะต้อง Decoding เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ผู้ใช้งานได้ป้อนข้อมูล ตัวอย่าง Decoding in C# var docTitle = HttpUtility.UrlDecode(docTitle, System.Text.Encoding.Default); //ตรงส่วนนี้ตัวแปร docTitle

Read More »

Removing duplicate records by using Oracle’s ROWID

ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ?   การหาแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน เราสามารถหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้   select a,b,count(*) from test group by a,b having count(*) > 1; ผลลัพธ์ที่ได้ : A          B   COUNT(*) ———- ———- ———- 1          2        259 2          2          5   จากตัวอย่างในตาราง test นี้เราจะกำหนดว่าให้ค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว   การกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน เราสามารถกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยการใช้ rowid เข้ามาช่วย คราวนี้คุณต้องเลือกว่าจะเลือกเก็บข้อมูลแถวไหนไว้ เราลองมาดูข้อมูลที่ควรจะเป็นที่ไม่ซ้ำกันว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง โดยสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้ select a,b,count(*) from test group by a,b; A          B   COUNT(*) ———- ———- ———- 1          2        259 2          2          5 3          0          1   กรณีที่ต้องการลบและคงเหลือไว้เฉพาะแถวแรกที่ซ้ำสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้   — เราต้องการกำจัด 258 แถวที่ซึ่ง A = 1 และ B = 2 บวกกับ — 4 แถวที่ซึ่ง A = 2 และ B = 2 — ลองมา select แถวที่เราจะคงไว้ดูก่อน select min(rowid),a,b from test group by a,b; MIN(ROWID)                             A          B ——————————- ———- ———- AAAAyvAAGAAAABYAAA          1          2 AAAAyvAAGAAAABYAED          2          2 AAAAyvAAGAAAABYAEI           3          0   — คราวนี้ก็ถึงเวลาลบข้อมูลกันแล้ว — เริ่มกันเลย delete from test where rowid not in ( select min(rowid) from test group by a,b); 262 rows deleted.   — คราวนี้มาตรวจสอบกันว่าข้อมูลที่คงเหลือถูกต้องหรือไม่ select rowid,a,b from test; ROWID                                    

Read More »

อีกหนึ่งวิธีในการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันในตาราง

ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ? อีกวิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ในการกำจัดแถวที่ซ้ำซ้อนกันคือการใช้คำสั่ง select distinct และใส่ข้อมูลที่ได้ลงในตารางใหม่   จากที่เราสามารถตรวจสอบหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้ SQL> select a,b,count(*) from test group by a,b; ผลลัพธ์ที่ได้ A           B COUNT(*) ———- ———- ———- 1           2       259 2           2           5 3           0           1 จากตัวอย่างในตาราง test นี้ที่กำหนดไว้ว่าค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว   เรามาเริ่มต้นกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนอีกวิธีกันเลย   การหาแถวข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน เราสามารถหาข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select distinct ดังนี้ SQL> select distinct * from test; ผลลัพธ์ที่ได้          A           B ———- ———-           1           2           2           2           3           0   สร้างตารางใหม่ชั่วคราวเพื่อเก็บผลลัพธ์ที่ได้ SQL> create table new_test as (select distinct * from test);   ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ในตารางชั่วคราวนี้ SQL> select * from new_test; ผลลัพธ์ที่ได้          A           B ———- ———-           1           2           2      

Read More »

การค้นหาสถานที่ด้วย Places search box และแสดงผลภาพจากข้อมูล Street View บน Google Maps

       ความเดิมจากตอนที่แล้วของบทความ “การดึงค่าละติจูดและลองจิจูดของสถานที่ด้วย Places search box บน Google Maps” เพื่อแก้ปัญหาในการดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจากชื่อสถานที่ที่ผู้ใช้พิมพ์ค้นหาไว้ โดยมีการนำ “Places search box” มาใส่ไว้ในแผนที่ที่เราต้องการแทนนั้น ถือเป็นตัวช่วยให้กับผู้ใช้ในระดับหนึ่ง  แต่สำหรับในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอต่อยอดความรู้ดังกล่าว โดยได้ศึกษาและนำวิธีการแสดงผลภาพจากข้อมูล Street view มาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสถานที่จริงที่เลือกได้จากแผนที่ได้ด้วย ซึ่งจะยิ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ต้องการจะดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจริงหรือไม่ได้อีกทางหนึ่งนั่นเอง ซึ่งวิธีการบางส่วนจะขอยกยอดมาจากบทความก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับเรื่องการดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจากการค้นหาโดยใช้ Places search box และจะขอเพิ่มเติมความสามารถในการแสดงผลภาพ Street View  รวมทั้งสามารถคลิกจุดพิกัดใหม่บนแผนที่ เพื่อค้นหาตำแหน่ง สถานที่ตั้ง และรายละเอียด รวมถึงภาพจาก Street View ได้อีกด้วย เพื่อให้การดึงค่าพิกัดใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยมีวิธีการดังนี้ ส่วนของสไตล์ชีทในการแสดงผล ขึ้นกับการตกแต่งของผู้พัฒนาแต่ละท่าน <!—ส่วนของ Style Sheets-> <style> html, body { height: 100%; margin: 0; padding: 0; } #map { width: 100%; height: 400px; } .controls { margin-top: 10px; border: 1px solid transparent; border-radius: 2px 0 0 2px; box-sizing: border-box; -moz-box-sizing: border-box; height: 32px; outline: none; box-shadow: 0 2px 6px rgba(0, 0, 0, 0.3); } #searchInput { background-color: #fff; font-family: Roboto; font-size: 15px; font-weight: 300; margin-left: 12px; padding: 0 11px 0 13px; text-overflow: ellipsis; width: 80%; } #searchInput:focus { border-color: #4d90fe; } </style> ส่วนของการอ้างอิง libraries เพื่อใช้งาน Google API <script src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=AIzaSyCRbMoDPc_mTv3D3QPqe0Ar84nSvRhA8nk&libraries=places&callback=initMap” async defer></script> ส่วนของการประกาศค่าเริ่มต้นและตัวแปร รวมถึงการเรียกใช้งานฟังก์ชั่นเพื่อใช้ในการแสดงผล ฟังก์ชั่น initMap() ซึ่งจะเรียกใช้งานตอนเริ่มต้นโหลดหน้าจอขึ้นมา <script> var panorama; var map; var markers = []; /***** function ในการประกาศค่าเริ่มต้นให้กับแผนที่*****/ function initMap() { /***** ประกาศตำแหน่งพิกัดกึ่งกลางให้กับการแสดงผลแผนที่ ในที่นี้กำหนดเป็นกรุงเทพมหานคร*****/ var center_point = { lat: 13.7563309, lng: 100.50176510000006 }; var sv = new google.maps.StreetViewService(); /***** เป็นส่วนของการแสดงผลภาพจาก Street View *****/ panorama = new google.maps.StreetViewPanorama(document.getElementById(‘pano’)); /***** กำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของแผนที่*****/ var map = new google.maps.Map(document.getElementById(‘map’), { center: {lat: center_point.lat, lng: center_point.lng}, zoom: 13, streetViewControl: false // เป็นส่วนที่ Set เพิ่มเติมจากปกติ }); sv.getPanorama({ location:

Read More »