วิธีแก้ปัญหาวินโดวส์บูตไม่ได้หลังจาก resize

ผมต้องการขยายเนื้อที่ (resize) ให้กับ Windows โดยมีพื้นที่ data (linux partition EXT4) อยู่ที่ partition ที่ 1 และ Windows 8.1 อยู่ที่ partition ที่ 2 ผมจึงต้องการไปดึงส่วนท้ายของ partition ที่ 1 มาเพิ่มให้กับ Windows วิธีทำก็คือ ผมก็ resize เนื้อที่ partition ที่ 1 ให้เล็กลง 25 GB จากนั้นผมก็ resize เนื้อที่ partition ที่ 2 ขยายไปทางซ้ายเพื่อเอาพื้นที่ว่างที่ได้มารวมกับเนื้อที่ Windows เดิม จากนั้นทำการ save ในระหว่างนั้นมีคำแนะนำโผล่ขึ้นมาว่า ระวังนะการทำอย่างนี้ใน partition ที่มีส่วนที่เป็น boot ของ Windows จะเสียหายและจะต้องซ่อมแซมเป็นนะ ประมาณนั้น ผมก็ตอบ Yes เพื่อลองดู (ผมบูตแผ่น SystemRescueCd  และใช้โปรแกรม gparted ในการ resize) ผลที่ได้คือวินโดวส์บูตไม่ได้จริง ๆ ก็ค้นหา google search พบในเว็บไซต์หลายแห่งว่าให้ไปหาแผ่นติดตั้ง Windows ที่ใช้อยู่นั้นมาบูตแล้วจะแก้ไขได้ ผมจึงมาเล่าถึงวิธีที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา 1. บูตจากแผ่นติดตั้ง Windows 8 2. เลือก Repair My Windows 3. เลือก Troubleshoot 4. เลือก Advanced options 5. เลือก Command Prompt 6. ทำคำสั่งเหล่านี้ทีละคำสั่งตามด้วยกด Enter bootrec.exe /FixMBR bootrec.exe /FixBoot bootrec.exe /RebuildBcd exit 7. เลือก Turn off your PC 8. เปิดเครื่องเพื่อดูผลลัพธ์ ผมก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังครับ หวังว่าทุกท่านจะไม่ต้องทำขั้นตอนเหล่านี้นะ Reference: http://www.sevenforums.com/backup-restore/372700-windows-wont-boot-after-resize-windows-partition.html

Read More »

ตั้งค่าให้ใช้ IPv6 ที่ Firefox web browser

เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากผมใช้ Linux Mint และจะทดสอบว่า network ที่ทำงานสามารถใช้งานเว็บไซต์ที่รองรับ IPv6 แล้วได้หรือไม่ พบว่า ไม่สามารถเข้าถึงได้ ลองทดสอบกับ Firefox บน Windows อ้าว ใช้งานได้  และในขณะเดียวกัน Google Chome ใช้ได้ทั้งบน Linux และ Windows ค้นหาดูใน google search ได้คำตอบว่าหากจะใช้งาน IPv6 ให้ตั้งค่า network.dns.disableIPv6 เป็น false โดยเข้าไปตรวจสอบหรือแก้ไขที่ URL about:config จึงตรวจสอบดู พบว่า Firefox บน Linux Mint ตั้งค่าตัวเลือก network.dns.disableIPv6 เป็น true ในขณะที่ Firefox บน Windows เป็นค่า false ซึ่ง ค่า false ทำให้ใช้งานเว็บไซต์ที่เป็น IPv6 ได้ แก้ไขตั้งค่า network.dns.disableIPv6 เป็น false ทำให้ใช้งานเว็บไซต์ที่เป็น IPv6 ได้ ผมยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมค่า default จึงตั้งไว้อย่างนั้น ซึ่งแตกต่างกันระหว่าง Firefox บน Linux Mint กับ Firefox บน Windows ส่วน Google Chome นั้นไม่มีให้เลือก จึงใช้งานได้ทันทีที่ network ที่ใช้งานรองรับ IPv6 การทดสอบว่าเครื่องเราใช้งาน IPv6 ได้ สามารถทดสอบได้กับเว็บไซต์ http://www.v6.psu.ac.th http://www.kame.net http://whatismyipv6address.com/ http://test-ipv6.com/ See also: http://techglimpse.com/disable-enable-ipv6-firefox-chrome-browser/ http://ask.xmodulo.com/disable-ipv6-linux.html

Read More »

Google Classroom Manager

มีคำถามว่า เราจะสามารถทราบได้หรือไม่ว่ามี Google Classroom อะไรบ้างในโดเมนของเรา  อาจารย์แต่ละคนสร้างกี่ Class และแต่ละ Class นั้นมีจำนวนกี่คน ผมจึงได้ศึกษา Google Classroom API และพัฒนาต่อยอดด้วย Google Apps Script สำหรับใช้งานจาก Google Sheets ดังมีวิธีการติดตั้งและใช้ดังนี้ Credit:  Classroom API : Google Apps Script Quickstart https://developers.google.com/classroom/quickstart/apps-script (่ใช้แบบนี้ไปพลางๆก่อน เดี๋ยวจะทำเป็น Google Sheets Add-On เร็วๆนี้) วิธีการใช้ติดตั้ง เปิดวิธีการติดตั้งและใช้งานที่ http://sysadmin.psu.ac.th/?p=5978 Login เป็น Super Admin ใน GAFE ของท่าน สร้าง Google Sheets ใหม่ขึ้นมา ตั้งชื่อตามต้องการ เปิดเมนู Tools > Script Editor นำ Source Code มาใส่ จาก https://github.com/nagarindkx/GAS/blob/master/gcrmanager.gs Save ไฟล์ ตั้งชื่อ Project คลิกเมนู Resources > Advanced Google Services เปิด (On) Google Classroom API คลิก Google Development Console แล้วค้นหา classroom คลิก Google Classroom API คลิก Enable แล้วปิด Tab นี้ คลิก OK แล้วปิดไฟล์ เปิดไฟล์นี้ ขึ้นมาอีกครั้ง วิธีการใช้งาน คลิกเมนู GCR Manager > List All Courses เพื่อแสดง รายการ Google Classroom ทั้งหมดที่มีในโดเมน หน้าต่าง Authorization Required คลิก Continue หน้าต่าง Request for Permission คลิก Allow เมื่อต้องการดูว่า อาจารย์แต่ละท่าน สอนวิชาอะไรบ้าง ให้เลือก email address ในคอลัมน์ course.ownerID (เลือกหลายคนได้) แล้ว คลิก GCR Manager > List by Selected Teacher จะสร้าง Sheet ใหม่ มีชื่อตาม email address ของอาจารย์แต่ละท่าน วิธีการดูว่า นักเรียนแต่ละคน เรียนวิชาอะไรบ้าง ให้สร้าง Sheet ใหม่ แล้วใส่ email address ของนักเรียนที่ต้องการดูข้อมูล แล้ว เลือกข้อมูลเหล่านั้น แล้ว คลิก GCR Manager > List by Selected Student จะสร้าง Sheet ใหม่ มีชื่อตาม email address ของนักเรียนแต่ละคน

Read More »

ข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้ PSU Email ในจดหมายทุกฉบับ

ตั้งแต่ 8 กันยายน 2558 ทางระบบ PSU Email ได้เพิ่มข้อความเตือนผู้ใช้ ท้ายจดหมายทุกฉบับที่ผ่านระบบ ดังนี้ — มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่มีนโยบายสอบถาม รหัสผ่าน (Password) ของผู้ใช้เด็ดขาดไม่ว่ากรณีใดๆ หากพบอีเมลในลักษณะดังต่อไปนี้ 1. สอบถามรหัสผ่านของท่าน แล้วตอบกลับไปทาง Email 2. พยายามให้คลิก Link ออกไปภายนอกโดเมน (Domain) psu.ac.th และถามรหัสผ่าน ให้สงสัยไว้ว่าเป็นจดหมายหลอกลวง (Phishing Email) แน่นอน หากพบข้อสงสัย กรุณาติดต่อ report-phish@psu.ac.th หรือ โทร (หมายเลขภายใน) 2121 ในวันเวลาราชการ ———————————————————————————- ::: PSU Security Policy ::: ———————————————————————————- Prince of Songkla University will never ask for your user’s password. If you receive an email that either: – Asks for your password, or – Tells you to click a link that redirects to a website outside psu.ac.th domain and ask for password confirmation/reset. It is definitely a dangerous phishing/scam email. If you get such an email, please contact report-phish@psu.ac.th or dial ext. 2121. — จึงเรียนมาเพื่อทราบ

Read More »