Windows Subsystem for Linux in Windows 10 – (Installation Scripts)

บทความนี้แนะนำวิธีการติดตั้ง Windows Subsystem for Linux ด้วย Installation Scripts เพื่อติดตั้ง Ubuntu 18.04 LTS ลงใน Windows 10 version 1903 การรัน Installation Scripts ที่เป็น PowerShell จำเป็นต้องเปิดอนุญาตรัน script (ตั้งค่า execution policy มีขั้นตอนตรงจุดนี้ ดังนี้ 1.คลิก Start หรือ ไอคอน Search 2.พิมพ์คำว่า PowerShell คลิกขวาเพื่อเลือก Run as administrator 3.พิมพ์คำสั่งนี้ Set-ExecutionPolicy RemoteSigned 4.พิมพ์ A แล้วกด Enter ถัดไป เราก็จะดาวน์โหลดไฟล์ 2 ไฟล์เลือกว่าจะวางไฟล์ไว้ที่ Downloads ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ cd $ENV:HOMEDRIVE\$ENV:HOMEPATH\Downloads ดาวน์โหลดไฟล์ที่ 1 Invoke-WebRequest ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/step1_enable_wsl.ps1 -OutFile step1_enable_wsl.ps1 ดาวน์โหลดไฟล์ที่ 2 Invoke-WebRequest ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/windows/step2_install_wsl.ps1 -OutFile step2_install_wsl.ps1 เมื่อได้ไฟล์แล้ว ก็มาทำคำสั่งนี้กัน คำสั่งเพื่อเปิดใช้ (enable) Windows Subsystem for Linux & “.\step1_enable_wsl.ps1” หลังจากทำคำสั่งนี้ Windows จะสั่งให้เรา restart 1 ครั้งDo you want to restart the computer to complete this operation now?พิมพ์ Y และกด Enter เมื่อ Windows restart เสร็จแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงขั้นตอนติดตั้ง ubuntu 18.04 LTS ลงใน WSL เปิด PowerShell ตั้งค่า execution policy Set-ExecutionPolicy RemoteSigned พิมพ์ A แล้วกด Enter พิมพ์คำสั่งเหล่านี้ cd $ENV:HOMEDRIVE\$ENV:HOMEPATH\Downloads& “.\step2_install_wsl.ps1” หลังจากทำคำสั่งนี้ หน้าต่าง WSL ก็จะเปิดขึ้นมา รอสักครู่ใหญ่ ๆ ก็จะมีคำถามให้ตั้ง username อันแรก พร้อมตั้ง password แล้วจะได้ Ubuntu 18.04 พร้อมใช้งาน สุดท้าย ให้เราออกจาก WSL console ด้วยคำสั่ง exit และ ปิดหน้าต่าง PowerShell เมื่อมาถึงตรงนี้ เราก็ได้ Windows Subsystem for Linux ซึ่งเรียกใช้งานด้วยคำสั่ง wsl วิธีเรียกใช้งาน WSL 1.คลิก Start หรือ ไอคอน Search 2.พิมพ์คำว่า wsl แล้วเลือก Open หรือ Run as administrator (ต้องการสิทธิ) จบเรื่องแรก การติดตั้ง WSL ด้วย Installation Scripts เรื่องที่สองในบทความนี้ หากเราต้องการให้ทุกครั้งที่ Windows เปิดขึ้นมาแล้วสั่งให้ service sshd ทำงานทันที เพื่อให้เราใช้คำสั่ง ssh เข้ามายัง Ubuntu ใน Windows ได้ ผมก็ได้เขียน shell script installsshd.sh นี้ไว้ ซึ่งรันที่ WSL นะครับ วิธีใช้ shell

Read More »

จับภาพ แชร์ภาพ ด้วย shareX Ep 2

Blog นี้ ขอมาต่อในส่วนของโปรแกรม shareX โดยจะมาว่ากันในเรื่องของการบันทึกหน้าจอในรูปแบบ VDO กันค่ะ สำหรับการบันทึกภาพหน้าจอเป็นวิดีโอ ผู้ใช้สามารถทำได้ทั้งแบบเต็มหน้าจอ หรือจะเลือกเป็นพื้นที่ก็ได้เช่นกัน แต่ก่อนที่เราจะบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอด้วย shareX ได้นั้น เครื่องของเราก็ต้องมี plugin ที่ชื่อ “FFmpeg” ติดตั้งอยู่ในเครื่องก่อน แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรนะ ไม่ต้องตกใจหรอก เพราะว่าพอเราเลือกฟังก์ชันบันทึกภาพหน้าจอแบบวิดีโอ (Screen recording) โปรแกรมก็จะบอกเราว่า เราไม่มี plugin ตัวนี้ จะไปดาวน์โหลดมาติดตั้งเลยมั้ย ก็ให้ตอบตกลงไปเลย แค่นี้เราก็สามารถใช้งานการบันทึกภาพหน้าจอได้แล้ว หรืออีกวิธีนึง !!! เราสามารถไปดาวน์โหลดด้วยตัวเองก่อนก็ได้ โดยไปที่ “Task settings” จากนั้นก็ปรากฏหน้าจอดังรูป ให้เลือก “Screen recorder” –> “Screen recording options….” –> คลิก Download รอสักครู่ ไฟล์ไม่ใหญ่ โหลดไม่นาน หน้าตาก็ประมาณนี้น่ะ เพิ่มเติมอีกนิดนึง นอกจากเราจะบันทึกการจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอเป็นแบบวิดีโอแล้วเรายังสามารถบันทึกในแบบ  GIF Animation ได้อีกด้วย ซึ่งตรงนี้คือดีมากๆ เลย อะ มาๆ เรามาลองบันทึกภาพเคลื่อนไหวจริงๆ กันเลย Step 1 : เลือก capture –> Screen recording  Step 2 : โปรแกรมก็จะให้เราเลือกพื้นที่ ที่เราต้องการจะบันทึก เราก็ลองลากเลือกเลยว่าจะบันทึกตรงไหน ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนะ เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วก็ให้สังเกตุ โปรแกรมจะขึ้นเส้นประรอบๆ พื้นที่ที่เราเลือก พร้อมทั้งเริ่ม Record หน้าจอของเราละ Step 3 : เราก็เริ่มต้นทำงานบนหน้าจอของเราได้เลย โปรแกรมจะบันทึกวีดีโอเก็บไว้ เมื่อเราดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้คลิกปุ่ม “Stop” เพื่อหยุดการบันทึกได้เลย โปรแกรมก็จะแสดงให้เราเห็นว่าบันทึกวีดีโอเสร็จแล้ว จากรูป สามารถคลิกบนลิงค์เพื่อ Play วีดีโอของเราได้เลย หรือหากไม่คลิกจากลิงค์ ก็สามารถเข้าไปดูใน Folder ตาม path ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ก็ได้นะ ได้ทั้ง 2 วิธีนั่นแหละ หรือใครไม่รู้ว่าไปตั้ง path ได้จากไหน ก็ทำตามวิธีนี้ดูนะ คลิกเลือก Application settings …… –> เลือก path –> คลิก Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ได้เลย ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ลองเล่นเจ้า shareX ตัวนี้จริงๆ นี่ขนาดผู้เขียนลองเล่น ลองใช้มาจะสัปดาห์นึงละ ยังทำความรู้จักเจ้าโปรแกรมตัวนี้ได้แค่ผิวเผิน เท่านั้นเอง ลูกเล่นเค้าเยอะดีจริงๆ เยอะจนบางทีก็ทำให้เราสับสน งงๆ ได้เหมือนกันนะ 55 เอาเป็นว่า เดี๋ยว Blog หน้า Ep 3 จะมาเล่าต่อนะ ว่าหลังจากบันทึกวีดีโอ หรือรูปภาพเสร็จแล้วสามารถสั่งให้โปรแกรมทำอะไรต่อได้บ้าง วันนี้ก็ลากันไปเท่านี้ก่อน อย่าลืม อ่านแล้ว ลองเล่นดูนะ ^__^

Read More »

ติดตั้ง FOG Project แบบใช้ Proxy DHCP

บทความนี้เป็นตอนต่อจาก “ติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server” หลังจาก แตกไฟล์ มาเสร็จแล้ว มาดูขั้นตอนติดตั้ง sudo ./installfog.sh เลือก 2 กด Y และ Enter กด N และ Enter ตัวอย่าง จะติดตั้ง fog server ให้ใช้ IP 10.0.100.254 และ ตอบ N ทุกคำถาม Would you like … ตรงนี้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ DHCP server ว่า จะติดตั้งลงใน fog server มั้ย ตรวจสอบ พร้อมแล้ว ก็กด Y และ Enter สำหรับ Ubuntu 18.04 นั้น ถ้าเราติดตั้ง MySQL ไม่จำเป็นต้องตั้ง password เราก็ใช้คำสั่ง mysql เพื่อเข้าไปทำงานได้ ก็ต่อเมื่อ เราเป็น user ที่เป็น sudo จึงไม่ต้องตั้ง password แต่จะตั้งก็ได้ ไม่ผิด ใกล้เสร็จแล้ว ให้ไปที่หน้าเว็บ http://fog_server_ip/fog/management เพื่อตั้งค่า database แล้วกลับมาทำการตั้งค่าต่อ กด Enter สังเกต มีคำว่า Skipped ที่บรรทัด DHCP Server เสร็จกระบวนการติดตั้ง fog server ถัดไปจะติดตั้ง dnsmasq เพื่อเป็น Proxy DHCP ไปติดต่อกับ DHCP server ของตึก ทำตาม link นี้ https://wiki.fogproject.org/wiki/index.php?title=ProxyDHCP_with_dnsmasq พิมพ์คำสั่งเพื่อติดตั้ง ดังนี้ sudo apt install dnsmasq -y เสร็จแล้ว ไปหาเครื่องที่สามารถใช้งานแบบ กราฟิก GUI เพื่อ copy ข้อความหลาย ๆ บรรทัดได้ เช่น เปิด bash ใน Windows แล้วใช้คำสั่ง ssh เข้าไปยัง fog server IP ดังนี้ ssh mama@10.0.100.254 จะทำให้สะดวกกว่า คีย์เอง ทีละบรรทัด สร้างไฟล์ชื่อ fog.conf ไว้ภายในไดเรกทอรี /etc/dnsmasq.d ใส่ข้อความ ดังนี้ ข้อความที่จะให้ copy ไป paste คือ # Don’t function as a DNS server: port=0 # Log lots of extra information about DHCP transactions. log-dhcp # Set the root directory for files available via FTP. tftp-root=/tftpboot # The boot filename, Server name, Server Ip Address dhcp-boot=undionly.kpxe,,10.0.100.254 # Disable re-use of the DHCP servername and filename fields as extra #

Read More »

ติดตั้ง FOG Project แบบมี DHCP Server ด้วย

บทความนี้เป็นตอนต่อจาก “ติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server” หลังจาก แตกไฟล์ มาเสร็จแล้ว มาดูขั้นตอนติดตั้ง sudo ./installfog.sh เลือก 2 กด Y และ Enter กด N และ Enter ตัวอย่าง จะติดตั้ง fog server ให้ใช้ IP 10.0.100.208 และ ตรงนี้ จะเกี่ยวข้องกับ DHCP server ว่า จะติดตั้งลงใน fog server มั้ย ในตัวอย่าง คือ router address ที่ใช้คือ 10.0.100.1 และเป็น DNS server ด้วย ตรงนี้ สำหรับ FOG รุ่น 1.5.6 ขึ้นไป จะมีเพิ่มมาให้ตั้งชื่อ hostname ถ้าไม่ต้องการตั้งก็กด Enter ตรวจสอบ พร้อมแล้ว ก็กด Y และ Enter สำหรับ Ubuntu 18.04 นั้น ถ้าเราติดตั้ง MySQL ไม่จำเป็นต้องตั้ง password เราก็ใช้คำสั่ง mysql เพื่อเข้าไปทำงานได้ ก็ต่อเมื่อ เราเป็น user ที่เป็น sudo จึงไม่ต้องตั้ง password แต่จะตั้งก็ได้ ไม่ผิด ใกล้เสร็จแล้ว ให้ไปที่หน้าเว็บ http://fog_server_ip/fog/management เพื่อตั้งค่า database แล้วกลับมาทำการตั้งค่าต่อ กด Enter สังเกต มีคำว่า OK ที่บรรทัด DHCP Server เสร็จกระบวนการติดตั้ง fog server ทดสอบเปิดเครื่อง Windows 7 ดูว่า ได้ DHCP IP จาก fog server ในที่นี้คือ 10.0.100.208 ต่อไปเป็นการใช้งาน เพื่อทดสอบว่า กระบวนการติดตั้ง fog server ใช้งานแบบมี DHCP Server ด้วยทำงานได้จริง เลือกรายการ Quick Registration and Inventory เพื่อลงทะเบียนแบบ manual ทีละเครื่อง แล้วกลับมาอีกรอบ คราวนี้ก็เลือก Boot from hard disk เมื่อเข้า Windows ได้แล้วลองไปตรวจสอบ IP หน้าต่าง login ก็ใส่ค่า default username คือ fog และ password คือ password ต่อไปมาดูในหน้าเว็บ ของ fog จะเห็นว่า มีเครื่องที่เรากด ลงทะเบียน เข้ามาแล้ว ต่อไป เราจะไปหน้าเว็บเพจ images เพื่อสร้าง image ตั้งชื่อว่า windows7 ก่อนที่จะ cloning ได้ กดเลือก Create New Image ตั้งค่าเลือก Operating System เป็นชนิด Windows 7 – (5) และใช้ค่า default แล้วกด Add (วันหลังค่อยลองเปลี่ยนใช้แบบอื่น ๆ) เราต้องผูก image เข้ากับ host ให้คลิกเข้าไปที่ชื่อ host ในตัวอย่างคือ 080027888888 ผูก host นี้กับ

Read More »

ติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server

FOG Project A free open-source network computer cloning and management solution บทความนี้เป็นคำแนะนำ การติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server และบอกเล่าถึงวิธีการเลือกตั้งค่าในขั้นตอนติดตั้ง แยกบทความออกเป็น 2 บทความ หลังจากเรามี Ubuntu 18.04 Server พร้อมแล้ว สร้างไดเรกทอรีชื่อ fog mkdir fogcd fog ดาวน์โหลดไฟล์ wget https://github.com/FOGProject/fogproject/archive/1.5.7.tar.gz แตกไฟล์ tar -xzvf 1.5.7.tar.gz หลังจาก แตกไฟล์ มาเสร็จแล้ว เข้าไปไดเรกทอรี cd fogproject-1.5.7/cd bin/ ต่อไปก็มาดูขั้นตอนติดตั้ง sudo ./installfog.sh ในหน้าจอการติดตั้งจะมีคำถามให้ตอบ Y หรือ N ไปเรื่อย ๆ ซึ่ง เราจะต้องเลือกว่าจะใช้งาน fogproject แบบใด ระหว่าง 2 แบบนี้ แบบที่ 1ติดตั้ง FOG Project แบบมี DHCP Server ด้วย เหมาะสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ดูแลจัดการ network และ IP ของ Windows ได้เอง หรือ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะตั้ง DHCP SERVER เพื่อให้บริการ IP แก่ Windows ด้วยตนเอง แบบที่ 2ติดตั้ง FOG Project แบบใช้ Proxy DHCP เหมาะสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ดูแลไม่ได้จัดการ network และ Windows จะได้รับ IP จาก DHCP Server ของ network หรือ ไม่สามารถตั้ง DHCP Server ขึ้นมาใช้งานเองได้ วิธีลบ FOG อย่างสมบูรณ์หากต้องการย้อนการทำงาน กลับไปเริ่มต้นขั้นตอนติดตั้งใหม่ ให้ทำคำสั่งนี้ delete fog database sudo mv /opt/fog/.fogsettings /opt/fog/fogsettings-firstInstall sudo userdel fogproject sudo rm /etc/systemd/system/multiuser.target.wants/FOGImageReplicator.service sudo rm /etc/systemd/system/multiuser.target.wants/FOGMulticastManager.service sudo rm /etc/systemd/system/multi-user.target.wants/FOGScheduler.service sudo mysqldrop database fog;quit Remove files sudo rm -rf /var/www/fogsudo rm -rf /var/www/html/fog sudo rm -rf /opt/fogsudo rm -rf /tftpbootsudo rm -rf /images #Warning, this line deletes any existing images. ทำขั้นตอนติดตั้งใหม่ sudo ./installfog.sh หวังว่าจะเป็นประโยชน์

Read More »