SQL Expression สำหรับหาช่วงเวลาที่ต้องการ

ใครที่เคยสร้าง Materialized View จะทราบว่าต้องมีการกำหนดช่วงเวลาเพื่อให้ Materialized View นั้นทำการ Refresh ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน หรือแม้แต่ Job ก็เช่นกันต้องกำหนดช่วงเวลาเพื่อให้ Job ทำงานตามช่วงเวลาที่กำหนด บางคนอาจจะเจอปัญหาว่าไม่รู้ว่าต้องกำหนดอย่างไร เช่น อยากให้ทำงานทุก 8 โมงเช้า หรืออยากให้ทำงานทุกเที่ยงคืน เป็นต้น เพื่อให้ปัญหานั้นหมดไป เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลาบน Oracle กันดีกว่า จากที่เราทราบกันว่า 1 วันมี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงมี 60 นาที และ 1 นาทีมี 60 วินาที บน Oracle เราสามารถเขียนเป็น Expression ได้ตามตัวอย่างข้างล่างนี้ ช่วงเวลา : Period Expression 1 Expression 2 1 Day 1 1 1 Hour 1/24 1/24 1 Minute 1/(24*60) 1/1440 1 Second 1/(25*60*60) 1/86400 ดังนั้นจาก Expression ข้างต้นเราก็สามารถเขียนช่วงเวลา ด้วย SQL Expression ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ช่วงเวลาที่ต้องการ SQL Expression Now sysdate Tomorrow sysdate+1 Yesterday sysdate-1 One hour from now sysdate + 1/24 Ten minutes from now sysdate + 10/1440 Thirty seconds from now sysdate + 30/86400 Tomorrow at 12 Midnight trunc(sysdate+1) Tomorrow at 8 AM trunc(sysdate+1) + 8/24 Yesterday at 10 AM trunc(sysdate-1) + 10/24 Next Monday at 12 Noon next_day(trunc(sysdate),’MONDAY’) + 12/24 คราวนี้เราลองมาเขียนคำสั่งในการ select ข้อมูลตามช่วงเวลาที่ต้องการกันดีกว่าค่ะ ตัวอย่างที่ 1 ต้องการ query ข้อมูลเพื่อหาข้อมูลช่วงเวลาดังนี้ วันเวลาปัจจุบัน, หนึ่งชั่วโมงถัดไปจากปัจจุบัน, พรุ่งนี้ตอนเที่ยงคืน และพรุ่งนี้ตอน 8 โมงเช้า สามารถเขียน query เพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่ต้องการได้ดังนี้ค่ะ ผลลัพธ์ที่ได้จาก query ตัวอย่างที่ 1 ตัวอย่างที่ 2 ต้องการ query ข้อมูลเพื่อหาข้อมูลช่วงเวลาดังนี้ วันเวลาปัจจุบัน, สิบนาทีถัดไปจากปัจจุบัน, 30 วินาทีถัดไปจากปัจจุบัน และเวลาเที่ยงของวันศุกร์ถัดไป สามารถเขียน query เพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่ต้องการได้ดังนี้ค่ะ ผลลัพธ์ที่ได้จาก query ตัวอย่างที่ 2 จาก 2 ตัวอย่างข้างต้นคิดว่าก็พอจะเป็นแนวทางให้กับทุกท่านได้สามารถกำหนดช่วงเวลาที่ต้องการได้ไม่มากก็น้อย

Read More »

CrystalReport : ข้อมูลส่วน DetailSection กับการแสดงผลส่วน PageFooterSection

เนื่องจากผู้เขียนได้รับมอบหมายให้มีการตรวจสอบข้อมูลว่า ถ้ามีข้อมูลใน Field1 ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย “*” ต้องแสดงข้อความที่ส่วนท้ายของรายงานทุกแผ่นว่า “มีข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * นำหน้า” ผู้เขียนจึงได้ทำการสร้าง Formula Field ขึ้นมาทั้งหมด 4 อัน คือ ffCountSubjectStar : ใช้สำหรับเก็บค่าจำนวนข้อมูลใน Field1 ที่ขึ้นต้นด้วย * ffResetCountStarSubject : ใช้สำหรับ Reset ค่าเมื่อขึ้นหน้าใหม่ ffSumStarSubjectCode : ใช้สำหรับเก็บค่าจำนวนรวมของ Field1 ที่ขึ้นต้นด้วย * ffPageFooter : ใช้สำหรับเก็บข้อความที่ต้องการให้แสดงท้ายกระดาษ 1. ffCountSubjectStar WhilePrintingRecords;Global numberVar isStarSubjectCode; if (Left({@Field1 },1) = “*”) then isStarSubjectCode := 1else isStarSubjectCode := 0 โค้ดส่วนนี้เป็นการตรวจสอบว่าถ้า Field1 นั้นมี * นำหน้า ให้เก็บค่านั้นไว้ในตัวแปร isStarSubjectCode โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ DetailSection เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทุก Record 2. ffResetCountStarSubject WhilePrintingRecords; Global numberVar isStarSubjectCode := 0; Global numberVar countStarSubjectCode := 0; โค้ดส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้สำหรับ Reset ค่าตัวแปร โดยกำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปร ให้เท่ากับ 0 โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ Page Header เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทุก Record 3. ffSumStarSubjectCode whileprintingrecords; //ทำราย Rec ที่มีการพิมพ์Global numberVar countStarSubjectCode;Global numberVar isStarSubjectCode; countStarSubjectCode := countStarSubjectCode + isStarSubjectCode โค้ดส่วนนี้เป็นการนับจำนวน Field1 ที่มี * นำหน้า ให้เก็บผลรวมไว้ในตัวแปร countStarSubjectCode โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ DetailSection เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบข้อมูลทุก Record 4. ffPageFooter ” มีข้อมูลที่มีเครื่องหมาย * นำหน้า” เก็บข้อมูลที่ต้องการให้แสดงในส่วนของ PageFooter โดย Formula Field นี้จะต้องนำไปใช้ในส่วนของ PageFooterSection ผู้เขียนหวังว่าบทความครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าจ้าาาาา ^^

Read More »

AutoMapper

AutoMapper คือ component ที่ใช้ในการ map ข้อมูลระหว่าง object ต่างชนิดกัน โดยทำการแปลงข้อมูลจาก object ชนิดหนึ่ง ไปกำหนดค่าให้กับ object อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้า object ปลายทางตรงตามข้อกำหนดของ AutoMapper ก็ไม่จำเป็นต้อง config ค่าใดๆเลย การแปลงข้อมูลจาก object ชนิดหนึ่งไปยัง object อีกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นได้บ่อยในการพัฒนา application โดยเฉพาะ application ที่อยู่ในลักษณะ multi tiers ที่ต้องมีการส่งผ่าน object ระหว่างกัน เช่น UI layer กับ Service layer หรือ Data access layer กับ Service layer การใช้งาน AutoMapper เมื่อต้องการแปลงข้อมูลจาก object ต้นทางไปยัง object ปลายทางอีกชนิดหนึ่ง ถ้า object ปลายทางมี property name ชื่อเดียวกับ object ต้นทาง AutoMapper จะทำการกำหนดค่าให้กับ property ของ object ปลายทางโดยอัตโนมัติ การกำหนดค่า config การแปลงข้อมูลระหว่าง object ทำได้โดยใช้ MapperConfiguration ซึ่งจะมีเพียงหนึ่งเดียว และสร้างขึ้นตอนเริ่ม application หรือ ใช้ Mapper.Initialize static method //static method Mapper.Initialize(cfg => cfg.CreateMap<Person, PersonPoco>()); //instance method var config = new MapperConfiguration(cfg => cfg.CreateMap<Person, PersonPoco>()); type ที่อยู่ทางซ้ายของ cfg.CreateMap<>() คือ type ต้นทาง ส่วนทางด้านขวาคือ type ปลายทาง ซึ่งเราจะทำการ mapping โดยใช้ static Mapper method หรือจะใช้ instance method ก็ได้ var mapper = config.CreateMapper(); //instance method var mapper = new Mapper(config); PersonPoco poco = mapper.Map<PersonPoco>(person); //static method PersonPoco poco = Mapper.Map<PersonPoco>(person); ในกรณีที่เรามี object ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ซึ่งการใช้งานในบางโอกาสที่ต้องการดูข้อมูลเพี่ยงบางส่วน เราสามารถใช้งาน AutoMapper mapping ข้อมูล มาสู่ object ที่มีโครงสร้างเรียบง่ายใช้งานได้สะดวก ตัวอย่างเช่น object Order ที่มีโครงสร้างค่อนข้างซับซ้อนด้านล่างนี้ public class Order { public Customer Customer { get; set; } public OrderLineItem[] OrderLineItems() public decimal GetTotal() { return OrderLineItems.Sum(li => li.GetTotal()); } } public class Product { public decimal Price { get; set; } public string Name { get; set; } } public class

Read More »

เช็คฟอนต์สวย ด้วย WhatFont ~ Extension

อะ แฮ่ม และแล้วก็เดินมาถึง Blog สุดท้ายในรอบ TOR ของปีนี้จนได้ แต่กว่าจะได้ฤกษ์เขียนได้ก็ปาเข้าไปกลางปีกันเลยทีเดียว (55+) มาๆๆ เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ต้องบอกว่าหลายครั้งที่เราได้เข้าเว็บไซต์นู้นนั่นนี่ แล้วเห็น font สวยๆ แต่ไม่รู้ว่านั่นน่ะมันคือ font อะไร ชนิดไหน … วันนี้ทางผู้เขียนขอนำเสนอ Chrome Extension (อีกแล้วเหรอ !) ที่เรียบง่ายแต่ใช้งานได้จริง นั่นคือ * WhatFont * WhatFont คืออะไร ??? WhatFont เป็นหนึ่งในส่วนขยายของ Google Chrome ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดูได้ว่า Font ที่ใช้หรือแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซต์ต่างๆ นั้น คือ Font ชนิดอะไร ขนาดเท่าไหร่ และมีค่าสี เป็นอะไร อ๊ะๆ ยังไม่หมดนะ มันสามารถระบุได้แม้กระทั่งความหนา ความบาง ของ Font นั้นๆ กันเลยทีเดียว เพียงแค่เรานำเมาส์ไปวางบนตัวอักษรที่เราต้องการจะดูรายละเอียดเท่านั้นเอง วิธีการติดตั้ง ดาวน์โหลดได้จาก Chrome เว็บสโตร์ คลิก จากนั้นให้คลิกปุ่ม “เพิ่มใน CHROME” หรือ Add to Chrome ระบบจะแสดง pop up ขึ้นมาให้คลิกเลือก “เพิ่มส่วนขยาย” เมื่อเราติดตั้งเรียบร้อยแล้ว หน้าจอก็จะแสดง pop up ขึ้นมาแจ้งให้เราทราบว่าได้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับวิธีการใช้งาน ให้เข้าเว็บที่เราต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ Icon ที่มุมบนด้านขวาของ Browser ให้นำเมาส์ไปวางไว้บนข้อความ / ตัวอักษร ที่เราต้องการจะรู้ว่าเป็น font อะไร และหากต้องการจะดูรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ขนาด สี ความหนา ความบาง ก็ให้คลิกเลือกบนข้อความดังกล่าว จากนั้นจะมีส่วนแสดงข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นมาให้เราได้ดูกัน เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย ข้อมูลอันนี้นี่พอจะช่วยผู้อ่านได้บ้างมั้ย ?? ยังไงก็แล้วแต่ทางผู้เขียนอยากแนะนำให้ทุกคนไปลองใช้กันดูนะ ง่ายดี ฟรีด้วย แทนที่เรา จะมานั่งคาดเดา หรือมโน กันเองว่า เอ๊ ! ตัวนี้นี่มันเป็น font อะไรแล้วน๊าา แบบนั้นมันล้าสมัยไปแล้ว เสียเวลาเปล่าๆ ติดตั้งตัวนี้กันเลย ง่าย ครบ จบในตัวเดียว 55+ อย่าลืมลองเล่นกันดูนะ ไว้ปีหน้าฟ้าใหม่ เราจะมาเจอกันอีกใน Blog ถัดๆ ไปเน้ออออ ขอบคุณแหล่งอ้างอิง http://photoloose.com/what-font-chrome-extension/

Read More »