ทำให้แอปพลิเคชันอ่านหรือสร้าง Barcode ได้ด้วย ZXing (“zebra crossing”)

เนื่องด้วยได้รับโจทย์ให้พัฒนาแอปพลิเคชัน ที่สามารถแสกนบาร์โค้ดได้เมื่อได้ค้นหาดูก็พบชื่อของ Library ที่แรกเริ่มเขียนด้วยภาษา Java และถูก Port ให้รองรับภาษาอื่นๆอีกมากมาย เป็นที่นิยม และเป็น Open Source นั้นคือ ZXing โดยในบทความนี้จะแสดงตัวอย่างวิธีการนำ ZXing.Net.Mobile มาใช้งานร่วมกับ Xamarin.iOS ขั้นตอนการนำมาใช้งาน ตัวอย่างในบทความใช้ Visual Studio 2019 16.8.0 ติดตั้ง Work Load Xamarin.iOS 1.สร้างโปรเจคใหม่โดยเลือก Template ชื่อ iOS App (Xamarin) และกำหนดค่าดังรูป 2. โดยโครงสร้างไฟล์ของโปรเจคมีดังรูป 3. เปิดไฟล์ Main.storybord สร้าง View และเพิ่มปุ่ม btnScanBarcode (สำหรับ Xamarin.iOS บน Windows จะไม่สามารถแก้ไขไฟล์ .storybord ได้แล้วในเวอร์ชันนี้ ต้องทำบน macOS เท่านั้น) 4.ติดตั้ง ZXing.Net.Mobile ผ่าน Nuget Package โดยคลิกขวาที่ชื่อโปรเจค เลือก Manage Nuget Packages ค้นหาคำว่า ZXing เลือก Install 5.สร้าง Controller สำหรับ View ที่ได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้ และเพิ่มโค้ดดังนี้ 6. จากนั้นให้เปิดไฟล์ info.plist เพื่อเพิ่มข้อมูลคำอธิบายการขอสิทธิการใช้กล้อง และส่วนอื่นๆที่ ZXing ต้องการดังรูป (ในส่วนคำอธิบายสามารถปรับเปลี่ยนให้ดีกว่านี้ได้) 7.เพียงเท่านี้ก็สามารถกด Run เพื่อทดสอบกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้แล้ว (ไม่สามารถทดสอบบน Simulator ได้เนื่องจากต้องใช้กล้อง) สำหรับบทความนี้ค่อนข้างจำเพาะเจาะจงกับเครื่องมือที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน ที่จะต้องเป็น Xamarin.iOS บน Visual Studio เท่านั้น แต่ด้วยชื่อของ ZXing ท่านที่ใช้เครื่องมืออื่นๆสามารถนำไปค้นหาเวอร์ชัน และวิธีการใช้งานสำหรับเครื่องมือนั้นๆเพิ่มเติมได้ อย่างน้อยก็เป็นการแนะนำให้นักพัฒนาที่ได้อ่านบทความนี้ ได้รู้จัก Library ในงานด้านนี้เพิ่มอีก 1 ตัวครับ

Read More »

การเชื่อมต่อ AwesomeTable กับ Google Site

ต่อเนื่องจาก Blog : การใช้งานโปรแกรม AwesomeTable แบบง่ายเมื่อสร้าง AwesomeTable เรียบร้อยแล้ว สามารถนำมาใช้งานบน Google Site ได้ ลองมาดูวิธีการทำกันนะคะ ต้องการนำ AwesomeTable ไปเชื่อมต่อกับ Google site โดยคลิกที่ “EMBED” 2. เลือกแท็บ Direct Link ให้คลิกปุ่ม “Copy” 3. เปิด Google Site ที่ผู้ใช้ต้องการนำ AwesomeTable ไปใช้งาน คลิก “Embed” 4. วาง Embed แล้วคลิกปุ่ม “Insert” 5. ข้อมูล AwesomeTable ที่ได้สร้างไว้ ก็จะมาอยู่ใน Google site ผู้ใช้สามารถปรับการใช้งานได้ เช่น FQAs โดยแบ่งเป็นระบบ ระบบย่อย ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้ และหากต้องการเพิ่มข้อมูลต้องไปเพิ่มใน Google Sheet หวังว่า Blog นี้ผู้ใช้จะได้รับความรู้ที่เป็นระบบที่ใช้งานแบบง่ายให้สามารถปรับใช้งานให้เข้ากับที่ต้องการได้ค่ะ

Read More »

การใช้งานโปรแกรม AwesomeTable แบบง่าย

เป็นเว็บที่จัดทำเป็น Data Table มีการใช้งานผ่าน Google sheet ที่มีรูปแบบ Template หลากหลายให้เลือกใช้งานได้ และสามารถนำไปใช้งานกับ Google site ได้ทันที เว็บไซต์ : https://awesome-table.com/สามารถอ่านรายละเอียดจาก AwesomeTable : https://support.awesome-table.com/hc/en-us ตัวอย่างนี้จะเป็นการใช้จาก Template ที่มีให้เลือก ลองมาดูกันเลยว่าทำกันอย่างไร ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้ค่ะ 1. เข้าเว็บไซต์ : https://awesome-table.com/ เลือก “TEMPLATE GALLERY” 2. แสดง Template ที่ให้เลือกใช้งานได้มากมาย ผู้ใช้สามารถเลือกตัวอย่าง Template ที่รูปแบบลักษณะคล้ายกับงานที่ต้องการ แล้วค่อยมาปรับแก้ เป็นแนวทางที่ใช้งานง่ายที่สุด 3. ตัวอย่างนี้จะใช้ Template ที่มีชื่อว่า “Editable List with Google Forms” 4. แสดงข้อมูลตาม Template ที่ได้เลือกไว้ หากเราต้องการใช้งานให้คลิก “USE TEMPLATE” 5. แสดงตัวอย่างข้อมูล การ Filters ข้อมูลตามรูป หากต้องการปรับแก้ข้อมูล หรือการ Filters สามารถไปปรับได้ที่ Google Sheet คลิก “OPEN” เพื่อไปแก้ไขตามที่ผู้ใช้ต้องการ 6. เมื่อเปิดแล้วจะได้ไฟล์ Google Sheet ดังรูป โดยเราสามารถปรับส่วนของการ Filters ข้อมูลได้ 7. หากต้องการปรับแก้การ Filters ดูตัวอย่างได้จากURL : https://support.awesome-table.com/hc/en-us/articles/115001068189-Filters-select-data-to-displayการ Filter จะมีดังนี้ สามารถศึกษาได้จาก url 1. StringFilter2. NumberRangeFilter3. DateFilter4. CategoryFilter5. csvFilterAnd6. csvFilterOr7. Dependency filters8. Filter captions 8. ตัวอย่างที่นำไปใช้งานกับการทำ FAQs ให้สามารถค้นหาตามระบบ ระบบย่อย หรือคำค้นได้ 9. ตัวอย่างการ Filter ใน Google Sheet

Read More »

แก้ปัญหาอัปโหลด Android App ไม่ผ่านเพราะเปลี่ยนคนอัปโหลด

เคยไหมที่ฝากทีมอื่นที่เขามี account google play console อยู่แล้ว เพื่อฝากอัพเดทแอปที่เราเพิ่ม feature ใหม่ๆของแอปที่เราพัฒนา ตอนนั้นก็ได้ลองผิดลองถูกกันไปเรื่อยๆ เพราะว่าตอนที่เรา build app มันจะสร้าง signing key ในการอัปโหลดที่ผูกติดกับ user ดังนั้นเมื่อเปลี่ยน user ในการอัปโหลดก็ต้องอัปโหลด signing key ใหม่ วันนี้จะมา KM การเปลี่ยน signing key เผื่อใครเคยเจอปัญหาเดียวกัน หน้าจอแสดงการอัปโหลด Android app ไม่ผ่าน เพราะ signing key ไม่ตรงกับ user เก่า โดยเข้าที่เมนู App signing เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม หน้าจอแสดงรายละเอียด signing key ที่สามารถอัปโหลดจะเห็นได้ว่า SHA ผูกติดกับ user เก่า ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ เราต้อง Upload certificate ใหม่ โดยที่เราต้องไปที่ project ของเราเพื่อดึงค่า key store ใหม่ โดยใช้คำสั่ง expo fetch android:keystore (คำสั่งขึ้นอยู่กับ project ว่าใช้ Tool อะไร ถ้าใช้ Expo ใช้คำสั่งนี้) ก็จะเห็นค่า Key password ที่เราตั้งไว้ (ขั้นตอนนี้จะได้ไฟล์ .jks) การสร้าง signing key ใหม่ โดยใช้คำสั่ง expo fetch android:upload-cer (ขั้นตอนนี้เราจะได้ไฟล์ .pem) จากนั้นเราเราก็ส่งข้อมูลไฟล์ .pem โดยคลิก https://support.google.com/googleplay/android-developer/contact/key อัปโหลดไฟล์ .pem ใหม่ จากนั้นก็รอ mail แจ้งกลับจาก Google play console เมื่อ approved เรียบร้อยแล้ว เราก็จะอัปโหลดแอปได้ตามปกติ ที่มา : https://support.google.com/googleplay/android-developer/answer/9842756

Read More »

Word : การปรับรูปแบบ font สารบัญตามที่เราต้องการ

กลับมาอีกครั้งกับเรื่อง Word สืบเนื่องมาจาก Blog ที่แล้วที่กล่าวถึงเรื่องการได้มีส่วนช่วยเพื่อนร่วมงานในการทำคู่มือ จึงได้มีโอกาสในการใช้งาน Word ซึ่งปัญหาที่พบอีกเรื่องก็คือ Font สารบัญ ไม่ใช่รูปแบบ Font ที่ต้องการคือ TH SarabunPSK ผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่าง ผู้เขียนได้ทำการสร้างเนื้อหาทดสอบ ใน Style Heading และใส่สารบัญเรียบร้อย ดังภาพ จะเห็นได้ว่า Font ในเนื้อหา เป็น TH SarabunPSK ตามที่ตั้งค่าใน Style Heading1 ไว้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนสารบัญนั้นเป็น Font แปลก ๆ ไม่ใช่ Font ที่เราต้องการ เริ่มทำการเปลี่ยน Font โดยไปที่ที่เราเลือกสารบัญแบบอัตโนมัติมาใส่ คือไปที่ Menu References -> Table of Contents -> Custom Table of Contents… จะพบหน้าต่าง Modify Style ที่ส่วนล่างซ้าย เลือก Format -> Font ที่หน้าต่าง Table of Contents มุมล่างขวา เลือก Modify… เพื่อเข้าไปแก้ไขรูปแบบ Font จากนั้นหน้าต่าง Style เลือก Level สารบัญที่ต้องการแก้ไขรูปแบบ ในที่นี้เลือกแก้ไขสารบัญ Level 1 จากนั้นกดปุ่ม Modify เรื่องน่ารู้ TOC ย่อมาจาก Table of Contents ซึ่งก็คือ สารบัญนั่นเอง จะพบหน้าต่าง Font นี่คือ Font ตั้งต้นที่เราได้ จะเป็นว่าไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แก้ไขได้เลย แก้ไขให้เป็น Font ที่เราต้องการทั้ง 2 จุด คือ Latin Text และ Conplext scripts จากนั้น กดปุ่ม OK ออกมาเรื่อย ๆ กลับออกมาจนเกือบจะถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีหน้าต่างถามว่า จะเปลี่ยนจริง ๆ ละนะ จะทับของเดิมละนะ ตอบ Yes ไปเล้ย แถ่นแท๊นนน ผลลัพธ์สุดท้าย สวยงามอย่างที่เราต้องการ เย้! หวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้คงจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณค่าา 😀😍

Read More »