WordPress file owner and permission

ตอนนี้เราควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของเว็บไซต์ wordpress โดยการตั้งค่าสิทธิของไดเรกทอรีและไฟล์มากขึ้นเพราะมีข่าวที่เว็บไซต์มีช่องโหว่แล้วถูกฝังโค้ด เช่น แต่เดิมเราติดตั้ง wordpress ไว้ในไดเรกทอรี /var/www/wordpress แล้วเพื่อให้ทำงานติดตั้ง plugins เพิ่ม ปรับแต่งหน้าเว็บด้วย themes ใหม่ๆ หรือการอัปโหลดรูปภาพและสื่อ รวมทั้งการ upgrade เวอร์ชั่นของ wordpress ทำได้สะดวกง่ายๆ ด้วยการกำหนดสิทธิอย่างง่ายคือ sudo chown -R www-data.www-data /var/www/wordpress ก็ใช้งานได้แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสักวันหนึ่งเราอาจจะเป็นเหยื่อได้ ผมได้คุยกับน้องใหญ่ แล้วก็ลงความเห็นกันว่า เราควรตั้งค่า file owner และ file permission ให้มันเข้มขึ้นแต่ยังสะดวกในการทำงานติดตั้งอะไรๆได้ด้วย ก็เป็นที่มาของคำสั่งข้างล่างนี้ อันดับแรกก็จะต้องกำหนด file owner กันก่อน ถ้า ubuntu server ของเรา ใช้ username คือ mama และมี group ชื่อ adm ซึ่งเป็นชื่อ … Read more

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #1

จากการเข้าแก้ไขเว็บไซต์ต่างๆที่โดน Hack ในช่วง 2 ปีที่ผ่าน พบว่า จะมีรูปแบบเดิมๆคือ 1. มีการเปิด Permission ของ directory เป็นแบบ 777 หรือ world writable หรือแม้แต่เปิดสิทธิ์ให้ web user เช่น apache/httpd/www-data สามารถเขียนได้ 2. เมื่อมีพื้นที่ให้ web user เขียนได้ แล้ว Web Application นั้นๆ มีช่องโหว่ หรือไม่ก็มีการทำงานปรกติที่เปิดให้ Web User เขียนไฟล์ได้ตามปรกติ ก็เป็นช่องให้เกิดการ “วางไฟล์” ซึ่ง Hacker จะเข้ามาเรียกไฟล์ดังกล่าว ซึ่งจะได้สิทธิเป็น Web User ทำการแก้ไขไฟล์, นำไฟล์ .c มาวางแล้ว compile ต่อไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิด Buffer Overflow จนกระทั่งสามารถครอง … Read more

Facebook นั่นแหล่ะ ทำให้มีจดหมายขยะมากขึ้น ?!?!

ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้ ใครที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ เริ่มต้นสิ่งแรกๆที่มักจะทำ คือ เปิด Internet Browser แล้ว เว็บไซต์ที่จะเปิดลำดับแรกๆ คือ Facebook และพฤติกรรมที่มันจะทำคือ Login ค้างเอาไว้ แล้วไปทำงานอย่างอื่นต่อ แล้วเมื่อ Facebook เป็นที่นิยมอย่างมาก ก็ทำให้ website ต่างๆ อำนวยความสะดวกในการใช้งานกับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น โดยให้ผู้ใช้ สามารถ Login เข้าใช้งานได้ โดยไม่ต้องสมัคร ขอเพียงมี Facebook Account ก็สามารถเข้าใช้งานได้ สิ่งที่ตามมา แต่ผู้ใช้จำนวนมาก “ไม่รู้” เนื่องจาก “ไม่อ่าน” คือ เมื่อใช้ Facebook Account ในการ Login แล้ว ระบบเหล่านั้น จะสอบถาม “สิทธิ” การเข้าถึงข้อมูล ส่วนตัว บน Facebook Account ด้วย และมันจะเสริมด้วยบริการ “แจ้งให้เพื่อนๆทราบ” ว่าเราได้เข้าใช้งานแล้ว … Read more

การจัดการกับ Backscatter Mail

(อยู่ระหว่างการปรับปรุง) เมื่อ Spammer หรือ Virus ในระบบเครือข่ายของเรา พยายามที่จะส่ง email ซึ่ง ส่งจาก (From) email address ปลอมซึ่งไม่มีอยู่จริง ถึง (To, CC, BCC) email address ซึ่งบางส่วนไม่มีอยู่จริง หรือ ผิดรูปแบบ หรือ ปลายทางไม่ยอมรับ email จาก domain ของเราแล้ว จดหมายเหล่านั้นจะมีการแจ้งถึงความล้มเหลวของการส่ง ที่เรียกว่า “Undeliverable mail notification” ไปยังผู้ส่ง ซึ่ง ไม่มีอยู่จริง ดังนั้น จะเกิดจดหมายพวกนี้ ค้างใน mail queue จำนวนมาก ทำให้เกิดความล้าช้าในการส่งจดหมายปรกติ โดยจดหมายพวกนี้เราจะเรียกว่า Backscatter mail     Reference http://www.postfix.org/BACKSCATTER_README.html

20130227-Kbank-Phishing

มีจดหมายหลอกลวง หน้าตาประมาณนี้ เมื่อคลิก Link เข้าไป โดยผ่าน Google Chrome จะได้หน้าจอเตือนอย่างนี้ แต่ถ้าเป็น IE, Firefox จะไม่ได้รับการเตือน !!!! ซึ่งจะได้หน้าจอประมาณนี้ ซึ่งหน้าตา ช่างเหมือนกับของจริงมากๆ แต่นี่คือ Website หลอกลวง เพื่อเอาข้อมูลทางการเงินของท่าน  โปรดระวัง !!! เปรียบเทียบ ของปลอม (ซ้าย) และ ของจริง (ขวา)   วิธีสังเกต เวปไซต์ของจริง จะต้องมี รูปกุญแจ และเป็นสีเขียว (เข้ารหัสในการส่งข้อมูลด้วย HTTPS และ ใช้ SSL Certificate ที่ได้รับการยอมรับ) ด้านซ้ายคือ ของหลอกลวง ด้านขวาคือ ของจริง โปรดใช้ความระมัดระวัง