คราวนี้ มาดูการประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS ต่อจาก ELK #01 > ELK #02 > ELK #03 > ELK #04 ซึ่งเป็นการติดตั้งทั้งหมด คราวนี้มาดูการประยุกต์ใช้งานกันบ้าง โจทย์มีอยู่ว่า มีการไปเก็บข้อมูลในภาคสนาม แล้วมีการบันทึก พิกัดด้วย GPS เป็น Latitude กับ Longitude พร้อมกับค่าบางอย่าง ทั้งหมดถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล MySQL การนำข้อมูลเข้า ELK ก็เลย Export ข้อมูลจาก MySQL มาเป็น CSV File ประกอบด้วย id,LATITUDE,LONGITUDE,something ตัวอย่างข้อมูล มีดังนี้ id,LATITUDE,LONGITUDE,something 1,6.97585,100.448963,100 2,6.975627,100.450841,19 3,6.973472,100.449196,65…
Tag: GIS
การ Import KML / KMZ to Google Earth on Android device
Google Earth on Android ได้มี Feature ใหม่ ซึ่งสามารถนำเข้าหรือเปิด kml/kmz file ได้ และสามารถซ้อนทับชั้นข้อมูลได้หลาย layer เลยทีเดียว ถือว่าสะดวกมากๆ สำหรับคนที่ต้องการเปิดอ่าน kml/kmz file บนมือถือ ขั้นตอนการทำ 1. ก่อนอื่น ต้องเตรียม kml หรือ kmz ไฟล์ก่อน หากไม่มี ลองเข้าไป download ได้ที่เว็บฐานข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา http://slb-gis.envi.psu.ac.th 2. update Google Earth บน Android device…
การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน
Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS) วันนี้เลยอยากจะขอนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย…
การรับชมภาพสถานที่และเส้นทางในมอ. ผ่าน Google Street View
ภาพจากข่าวฯ เว็บมอ. จากข่าวล่าสุดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “เริ่มบางส่วนแล้ว….มอง ม.อ.ผ่าน Google Street View” ผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย http://www.psu.ac.th/th/node/7448 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ด้วยความร่วมมือกับมอ.และ Google ในการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพแบบ 360 องศา เสมือนเรายืนอยู่ ณ จุดนั้นๆ แล้วสามารถมองได้แบบรอบทิศทาง มาถ่ายภาพสถานที่และเส้นทางในมอ.ของเรา โดยได้เริ่มถ่ายทำในวิทยาเขตหาดใหญ่เป็นวิทยาเขตแรก และจะดำเนินการในวิทยาเขตอื่นๆ ต่อไป คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า จะวิวหรือชมกันอย่างไร สำหรับใครที่ไม่ทราบวิธีการดูภาพผ่าน Google Street View นะคับ ขั้นตอนการรับชม 1. เปิด Google Maps 2. เลือกบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์…
การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth
จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS…
การ Save ภาพแผนที่จาก Google Earth เป็นภาพละเอียดคุณภาพสูง
วันนี้มาแบบ clip vdo เนื่องด้วยเวลาอันจำกัดในการนำเสนอ ไม่อยากจะพูดเลยว่า “งานยุ่งมากกกกกกกกกกกกกกกกกก” แต่ก็ไม่อยากดองความรู้นี้ไว้ 555+
….. จริงแล้ว Google Earth Pro สามารถ save ภาพแผนที่ขนาดความละเอียดสูงได้ แต่ด้วยโปรแกรม Google Satellite Maps Downloader นี้ จะสามารถเลือก save พื้นที่ขนาด(area)ที่กว้างขึ้นได้ โดยจะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นกัน เหมาะสำหรับนัก GIS ที่จะนำภาพนี้ไปใช้งานต่อ โดยการทำ GCP (Ground Control Point / การฝังค่าพิกัดในแผนที่) เพื่อใช้ในการแปลภาพถ่ายหรืองานอื่นๆ ต่อไป
*** สามารถนำไฟล์นี้ไปสั่งพิมพ์โปสเตอร์ความละเอียดสูงขนาดใหญ่ ได้ตามร้านพิมพ์ไวนิลหรือโปสเตอร์ก็ได้เช่นกันนะคับ
ไฟล์ที่ได้จากการ save ภาพแผนที่ด้วยโปรแกรมนี้ คลิกที่นี่ (49.8MB)
หากมีโอกาส จะนำเสนอการทำ GCP จากภาพที่ได้จากการ save นี้ ด้วยโปรแกรม QGIS นะคับ
** โปรแกรมสามารถหา download ได้จากการค้นหาใน Google นะคับ “Google Satellite Maps Downloader”
การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS
Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS) วันนี้เลยอยากจะนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ OpenLayers plugin for QGIS 2.8 เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย …
การตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน เบื้องต้นด้วยตัวเอง
ตอนนี้มีประเด็นข่าวร้อนแรงเกี่ยวกับการบุกรุกที่ป่าและการใช้พื้นที่ผิดประเภทของรีสอร์ท แห่งหนึ่งที่เขาใหญ่ โดยประเด็นเด่นคือ สนามแข่งรถ ถูกตรวจพบว่า เป็นที่ดิน ส.ป.ก. ที่ใช้พื้นที่ผิดประเภทของการให้เอกสารสิทธิ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เขามีการตรวจสอบกันอย่างไร? เกี่ยวข้องกับ GIS ไม๊? วันนี้เลยขอนำเสนอแบบคร่าวๆ พอให้ได้เห็นภาพกันนะคับ ว่าเขาดูและตรวจสอบกันอย่างไร หมายเหตุ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลที่สุด ควรตรวจสอบที่หน่วยงานราชการที่ให้บริการ หลักการ คือ การนำชั้นข้อมูล (Layer) ในแต่ละข้อมูล มาซ้อนทับกัน(Overlay) เพื่อแสดงผล ในตัวอย่างจะประกอบด้วย 3 ชั้นข้อมูลคือ ชั้นข้อมูลแผนที่ฐาน (base map) , ชั้นข้อมูล พื้นที่สปก. และชั้นข้อมูล เขตป่าสงวน มีขั้นตอนดังนี้ 1. เปิดหน้าเว็บ dsi-map >…
ทำความรู้จักกับ Web Map Application
หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น…