การ Save ภาพแผนที่จาก Google Earth เป็นภาพละเอียดคุณภาพสูง

วันนี้มาแบบ clip vdo เนื่องด้วยเวลาอันจำกัดในการนำเสนอ ไม่อยากจะพูดเลยว่า “งานยุ่งมากกกกกกกกกกกกกกกกกก” แต่ก็ไม่อยากดองความรู้นี้ไว้ 555+

….. จริงแล้ว Google Earth Pro สามารถ save ภาพแผนที่ขนาดความละเอียดสูงได้ แต่ด้วยโปรแกรม Google Satellite Maps Downloader นี้ จะสามารถเลือก save พื้นที่ขนาด(area)ที่กว้างขึ้นได้ โดยจะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นกัน เหมาะสำหรับนัก GIS ที่จะนำภาพนี้ไปใช้งานต่อ โดยการทำ GCP (Ground Control Point / การฝังค่าพิกัดในแผนที่) เพื่อใช้ในการแปลภาพถ่ายหรืองานอื่นๆ ต่อไป

*** สามารถนำไฟล์นี้ไปสั่งพิมพ์โปสเตอร์ความละเอียดสูงขนาดใหญ่ ได้ตามร้านพิมพ์ไวนิลหรือโปสเตอร์ก็ได้เช่นกันนะคับ

ไฟล์ที่ได้จากการ save ภาพแผนที่ด้วยโปรแกรมนี้ คลิกที่นี่ (49.8MB)

หากมีโอกาส จะนำเสนอการทำ GCP จากภาพที่ได้จากการ save นี้ ด้วยโปรแกรม QGIS นะคับ

** โปรแกรมสามารถหา download ได้จากการค้นหาใน Google นะคับ “Google Satellite Maps Downloader”

การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS

Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS) วันนี้เลยอยากจะนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ OpenLayers plugin for QGIS 2.8 เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย   *** ส่วนใครที่ใช้ ArcGIS ก็ลองแวะเข้าไปอ่านวิธีการ การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน ได้นะคัับ ^^   ขั้นตอน … Read more

การตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน เบื้องต้นด้วยตัวเอง

ตอนนี้มีประเด็นข่าวร้อนแรงเกี่ยวกับการบุกรุกที่ป่าและการใช้พื้นที่ผิดประเภทของรีสอร์ท แห่งหนึ่งที่เขาใหญ่ โดยประเด็นเด่นคือ สนามแข่งรถ ถูกตรวจพบว่า เป็นที่ดิน ส.ป.ก. ที่ใช้พื้นที่ผิดประเภทของการให้เอกสารสิทธิ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า เขามีการตรวจสอบกันอย่างไร? เกี่ยวข้องกับ GIS ไม๊? วันนี้เลยขอนำเสนอแบบคร่าวๆ พอให้ได้เห็นภาพกันนะคับ ว่าเขาดูและตรวจสอบกันอย่างไร หมายเหตุ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลที่สุด ควรตรวจสอบที่หน่วยงานราชการที่ให้บริการ หลักการ คือ การนำชั้นข้อมูล (Layer) ในแต่ละข้อมูล มาซ้อนทับกัน(Overlay) เพื่อแสดงผล ในตัวอย่างจะประกอบด้วย 3 ชั้นข้อมูลคือ ชั้นข้อมูลแผนที่ฐาน (base map) , ชั้นข้อมูล พื้นที่สปก. และชั้นข้อมูล เขตป่าสงวน มีขั้นตอนดังนี้ 1. เปิดหน้าเว็บ dsi-map > เลือกพื้นที่ที่ต้องการจะตรวจสอบ ลองขยายชัดๆ จะเห็นสนามแข่งรถได้อย่างชัดเจน 2. ติ๊กถูกที่เลเยอร์ พื้นที่สปก. > จะเห็นได้ว่า มีแสดงพื้นที่สีขาวโปร่งแสง ซึ่งจะเป็นการแสดงอาณาเขตพื้นที่ส.ป.ก. *** ตามภาพคือ สนามแข่งรถอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก. แน่ๆ … Read more

ทำความรู้จักกับ Web Map Application

หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์ คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน? ตอบ … Read more