ตรวจเช็คพื้นที่และเฝ้าระวังน้ำท่วมด้วย Google Earth

#ฝนตกต่อเนื่อง ตรวจเช็คพื้นที่และเฝ้าระวังน้ำท่วมด้วย Google Earth มาดูวิธีการเฝ้าระวังพื้นที่บ้านเรา จะเสี่ยงน้ำท่วมไหม? และต้องเฝ้าระวังพื้นที่รอบๆด้วยนะคับ #GoogleEarth #GIS #เฝ้าระวังน้ำท่วม

การ Import KML / KMZ to Google Earth on Android device

Google Earth on Android ได้มี Feature ใหม่ ซึ่งสามารถนำเข้าหรือเปิด kml/kmz file ได้ และสามารถซ้อนทับชั้นข้อมูลได้หลาย layer เลยทีเดียว ถือว่าสะดวกมากๆ สำหรับคนที่ต้องการเปิดอ่าน kml/kmz file บนมือถือ   ขั้นตอนการทำ 1. ก่อนอื่น ต้องเตรียม kml หรือ kmz ไฟล์ก่อน หากไม่มี ลองเข้าไป download ได้ที่เว็บฐานข้อมูลลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา http://slb-gis.envi.psu.ac.th 2. update Google Earth บน Android device ให้เป็น version ล่าสุด (ตามตัวอย่างนี้ เป็นเวอร์ชั่น 9.0.4.2) หากยังไม่ได้ติดตั้ง คลิกที่นี่ 3. เปิดแอพ Google Earth > คลิกเมนู (ตามรูป) … Read more

การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ   WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every … Read more

การ Save ภาพแผนที่จาก Google Earth เป็นภาพละเอียดคุณภาพสูง

วันนี้มาแบบ clip vdo เนื่องด้วยเวลาอันจำกัดในการนำเสนอ ไม่อยากจะพูดเลยว่า “งานยุ่งมากกกกกกกกกกกกกกกกกก” แต่ก็ไม่อยากดองความรู้นี้ไว้ 555+

….. จริงแล้ว Google Earth Pro สามารถ save ภาพแผนที่ขนาดความละเอียดสูงได้ แต่ด้วยโปรแกรม Google Satellite Maps Downloader นี้ จะสามารถเลือก save พื้นที่ขนาด(area)ที่กว้างขึ้นได้ โดยจะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นกัน เหมาะสำหรับนัก GIS ที่จะนำภาพนี้ไปใช้งานต่อ โดยการทำ GCP (Ground Control Point / การฝังค่าพิกัดในแผนที่) เพื่อใช้ในการแปลภาพถ่ายหรืองานอื่นๆ ต่อไป

*** สามารถนำไฟล์นี้ไปสั่งพิมพ์โปสเตอร์ความละเอียดสูงขนาดใหญ่ ได้ตามร้านพิมพ์ไวนิลหรือโปสเตอร์ก็ได้เช่นกันนะคับ

ไฟล์ที่ได้จากการ save ภาพแผนที่ด้วยโปรแกรมนี้ คลิกที่นี่ (49.8MB)

หากมีโอกาส จะนำเสนอการทำ GCP จากภาพที่ได้จากการ save นี้ ด้วยโปรแกรม QGIS นะคับ

** โปรแกรมสามารถหา download ได้จากการค้นหาใน Google นะคับ “Google Satellite Maps Downloader”

การวัดระยะทางบน Google Earth

จากบทความที่แล้ว การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ. ทำให้สามารถมองเห็นภาพพื้นที่ห้ามฯ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ยังคงมีหลายๆท่านอยากรู้ว่าร้านนี้ ร้านนั้น จะอยู่ในเขตโซนนิ่งหรือเปล่า? วันนี้เลยมานำเสนอวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบด้วยตัวเอง ด้วยการวัดระยะทางจากสถานศึกษา ไปยังร้านที่เราสงสัยว่าจะอยู่ในข่ายโซนนิ่งหรือไม่? ขั้นตอน เปิดโปรแกรม Google Earth ถ้ายังไม่ได้ติดตั้งคลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม จากประกาศสำนักนายกฯ ในข้อ 1 ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณซึ่งอยู่ในระยะ 300 เมตร จากรั้วหรือแนวเขตของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ฉะนั้นเราต้องสร้างขอบเขตสถานศึกษาก่อน (ขั้นตอนนี้สามารถข้ามได้) คลิกไอคอน เพิ่มรูปหลายเหลี่ยม > คลิกลงบนแผนที่ที่เป็นขอบเขตสถานที่ > กำหนดให้พื้นที่เป็นแบบโปร่งแสง เพื่อแสดงเฉพาะเส้นขอบเขต > คลิก ตกลง จากนั้นจะเริ่มทำการวัดระยะทาง โดยคลิกที่ไอคอนไม้บรรทัด > กำหนดหน่วยระยะทางเป็น เมตร คลิก 1 ครั้งที่จุดเริ่มต้นบริเวณแนวเขตสถานศึกษา > คลิก 1 ครั้งที่จุดปลายทางสถานบันเทิงที่ต้องการตรวจสอบ จะเห็นว่า pop-up แสดงระยะทาง หากต้องการไปตรวจสอบจุดต่อไป … Read more