การสร้าง Web Map Service (WMS) บน Geoserver

จากบทความ ELK #5 การประยุกต์ใช้ ELK ในงานด้าน GIS ของคุณคณกรณ์ ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจัดทำแผนที่ GIS ซึ่งอาศัย Web Map Service หรือเรียกย่อๆว่า WMS ก็เลยทำให้คันไม้คันมือ อยากนำเสนอวิธีการสร้าง WMS บน Geoserver เพื่อนำ shape file ที่เราได้จัดทำขึ้น(ไม่ว่าจะเป็น point , line, polygon) มาใช้งานบน GIS Web Application ซึ่งทั่วไปก็จะใช้ UI เป็น Openlayers, Leaflet ฯลฯ **ลองแวะเข้าไปอ่านบทความเก่าๆของผู้เขียน จะมีการนำเสนอวิธีการนำ WMS ไปใช้ อาทิเช่นกับ Google Earth, ArcGIS เป็นต้น ขั้นตอนการสร้าง WMS บน Geoserver สร้างและกำหนด style ของข้อมูลในโปรแกรม QGIS … Read more

การสร้างแผนที่ออนไลน์ (Web Map) ด้วยลิงค์ KML/KMZ

นักพัฒนาเว็บหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการสร้าง web map ด้วย google map api กันนะคับ (เป็นที่นิยมเลยล่ะ) แต่ในยุคปัจจุบันที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็น near real time กันมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากหลายหน่วยงานมีการเผยแพร่ Web Map Services กันเยอะมากยิ่งขึ้น และแย่งชิงความเป็นผู้นำในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันด่วนที่สุด แต่ด้วยปัจจัยในการต้องติดตั้งโปรแกรมบน Web Map Server เพื่อให้สามารถใช้งาน web map ผ่าน server ได้ (เสียงบประมาณเพิ่ม) ***ใครมี ArcGIS Server จะลองทำ การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ดูได้นะคับ   วันนี้เลยจะขอนำเสนอโค้ดง่ายๆ ในการนำลิงค์ KML/KMZ จากเว็บที่ให้บริการฟรี! มาสร้างเป็นหน้าเว็บเพจของเราโดยที่ไม่ต้องติดตั้ง map server กันคับ ^^ ที่สำคัญ ต้นทางข้อมูลอัพเดทข้อมูล หน้าเว็บเราก็อัพเดทไปด้วย อิอิ … Read more

การนำเข้า Web Map Services บนโปรแกรม ArcGIS

จากคราวก่อนเคยพูดถึง การนำเข้า Web Map Service บน Google Earth มาแล้ว วันนี้จะขอนำเสนอ การนำเข้า Web Map Services (WMS) บนโปรแกรม ArcGIS กันบ้าง ปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ ข้อดีของ WMS ที่เห็นได้ชัดคือ 1. เจ้าของข้อมูลไม่ต้องเผยแพร่ shape file (ซึ่งหลายๆท่านอาจจะได้มาซึ่งความยากลำบากในกระบวนการทำงานกว่าจะได้ข้อมูลนั้นมา) แต่สามารถเผยแพร่ให้สาธารณะทราบได้ว่า เรามีข้อมูลนี้อยู่นะ ถ้าอยากได้ข้อมูลดิบ ก็ติดต่อหรือเจรจาเรื่องค่าเหนื่อยกันหลังไมค์ >*< 2. ผู้นำไปใช้ ก็ไม่ต้องคอยอัพเดทข้อมูล เพราะทุกครั้งที่ต้นทางเจ้าของข้อมูลอัพเดทข้อมูล ข้อมูลเราก็จะอัพไปด้วย สบายยยยย   *** หากยังไม่มีโปรแกรม ArcGIS for Desktop ก็สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรี … Read more

การนำเข้า Web Map Services บน Google Earth

จากคราวที่แล้วพูดถึงเรื่อง การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server ไปแล้วนะคับ วันนี้เลยว่าจะมาพูดถึงเรื่อง การนำเข้า WMS บน Google Earth กันบ้าง เพราะปัจจุบันนี้ กระแส Web Map Service (WMS) กำลังมาแรงทีเดียวเชียว ซึ่งจะเห็นได้จากหลายๆหน่วยงานของรัฐที่จะมีการเผยแพร่ลิงค์ WMS ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ต่อยอดกับงานด้าน GIS ได้ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์ เข้ากับยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรหมแดนไร้ขอบเขตกันอีกด้วยนะครับ   WMS ย่อมาจาก Web Map Service ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ การนำลิงค์ที่เว็บหรือหน่วยงานอื่นๆได้เผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศ(GIS)ให้เรานำมาใช้นำเข้าชั้นข้อมูล เพื่อที่เราจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในงานด้าน GIS หรือเผยแพร่เป็นแผนที่ออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น เรานำ WMS จุดความร้อน(hotspot) ของ NASA มาจัดทำเป็นแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (โดยมีรายละเอียดในการทำเพิ่มเติมนิดหน่อย) แล้วมาแปะไว้ที่หน้าเว็บของเรา เป็นต้น ตัวอย่าง แผนที่แสดงจุดความร้อนทั่วโลก 2559 (updated every … Read more

การสร้างเว็บแผนที่จุดความร้อน(Hotspot) โดยใช้ WMS บน ArcGIS Server

จากกระแสไฟไหม้พื้นที่ทางการเกษตรทางภาคเหนือของไทย ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลในการเตรียมพื้นดินสำหรับการเพาะปลูกทั้งของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดวิกฤตหมอกควันไฟครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองได้ที่เว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ผู้เขียนจึงได้จัดทำแผนที่ออนไลน์แสดงจุดความร้อน (Hotspot) แบบ Real Time (มีการอัพเดทข้อมูลจุดความร้อนทุกๆชั่วโมง) โดยใช้การนำเข้าข้อมูล WMS (Web Map Service) จากเว็บไซต์ NASA มาดูวิธีการสร้างเว็บแผนที่(Web Map Application) ด้วยการนำเข้า WMS บน ArcGIS Server 10 กันนะคับ ขั้นตอนหลักๆ จะมี 3 ส่วนคือ การสร้างไฟล์นำเข้า WMS ด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop การสร้าง Services บน ArcGIS Server การสร้าง Web Map Application บน ArcGIS Server โดยมีขั้นตอนดังนี้ เข้าไปที่เว็บไซต์ https://firms.modaps.eosdis.nasa.gov/web-services/ คลิกขวาที่ลิงค์ MODIS 1km > Copy link … Read more