Category: Spam

Beware of open large 700+ MB PDF, SCR File

ระวังการเปิดอ่านไฟล์ PDF, SCR ขนาดใหญ่กว่า 700 MB ด้วยอาจจะเป็น มัลแวร์ ที่สามารถสำเนาคุกกี้ในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่ไปให้กับคุณแฮกเกอร์ได้ คุณแฮกเกอร์ เมื่อได้ คุกกี้ ไปแล้วก็สามารถนำไปใช้เข้าเว็บไซต์ที่แม้จะได้มีการป้องกันด้วยระบบตรวจสอบตัวจริงหลายชั้น Multi-factor Authentication : MFA เอาไว้ ก็หลุดรอดวิธีเข้าเว็บไซต์ด้วยคุ๊กกี้นี้ไปได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ด้วยช่องโหว่โปรแกรมป้องกันไวรัสจะไม่ตรวจสอบไฟล์ขนาดใหญ่กว่า 700 MB ก่อนคลิก คิดทบทวนกันก่อนนะครับ อ้างอิงจาก YouTube https://youtu.be/yXYLR8MfSz8

Patch Your Website NOW

เรียนท่านผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ภายใต้โโเมน psu.ac.th เนื่องด้วยเว็บไซต์หลายส่วนงานไม่ได้มีการปรับปรุงซอฟแวร์บริการเว็บไซต์และระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยล่าสุดปิดกั้นช่องโหว่ ส่งผลให้เว็บไซต์จำนวนมากมีช่องโหว่ พร้อมให้ถูกโจมตีได้ง่ายมาก ไม่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงในการเจาะระบบ หากท่านยังไม่ได้เคยตรวจสอบปรับปรุงเว็บไซต์ก็ขอให้ใช้เครื่องมือที่ หากด้านซ้ายล่างมีข้อความVulnerabilities และแสดงCVE เลบต่างๆ ท่านผู้ดูแลเว็บไซต์ งานเข้าเร่งด่วน ให้ ปรับปรุง ปิดกั้น ช่องโหว่ เว็บไซต์ที่ท่านดูแลโดยเร็วที่สุด ซึ่งหากท่านดูแลเว็บไซต์เองไม่ได้ก็ขอให้ย้ายเนื้อหามาใช้บริการที่https://webhost.psu.ac.th/ที่ท่านจะดูแลเฉพาะส่วนเนื้อหาในเว็บไซต์ ในที่สุด เว็บไซต์ ที่ดูแลไม่ต่อเนื่อง มีช่องโหว่ ก็จะถูกโจมตี แบบเบาๆ ก็จะถูกวาง Link การพนัน ลามกอนาจาร ตัวอย่างเช่นค้นหาด้วย Google ใช้คำว่า slot site:*.psu.ac.th ก็จะปรากฎชื่อเว็บไซต์ต่างๆ ภายใต้โดโเมน psu.ac.th ที่ถูกโจมตี จากช่องโหว่ที่ปล่อยทิ้งไว้ไม่ปรับปรุงป้องกันซึ่งตัวอย่างนี้ฝัง Link…

Spam Alert – หลอกเป็นธนาคารส่งแจ้งเตือนเรื่องการลงชื่อเข้าใช้อุปกรณ์ใหม่

มุขเดิม เปลี่ยนธนาคาร 28 เมษายน 2563 08:18 พบอีเมล “หลอกลวง” ว่ามาจากธนาคาร ไทยพานิชย์ แจ้งเกี่ยวกับ อุปกรณ์ใหม่ลงชื่อเข้าใช้ ลักษณะอีเมลเป็นดังภาพ หากผู้ใดได้รับ ลบทิ้งได้ทันที รายละเอียดวิธีการสังเกต อ่านได้จาก Spam Alert – หลอกเป็นธนาคารส่งแจ้งเตือนเรื่องการลงชื่อเข้าใช้อุปกรณ์ใหม่ คราวนี้ ผมลองคลิกเข้าไปดู ว่าหน้าตา Phishing เป็นอย่างไร เหมือนหน้าตาของ SCB Easy เป๊ะ ใครหลงเชื่อ (โดนหลอกสำเร็จ) ก็อาจจะสูญเงินในบัญชีไปได้ เพราะ Hacker ได้ username/password ของธนาคารไปแล้ว แถม เดี๋ยวนี้ เข้ารหัส…

ฉันโดนแฮ๊กหรือเปล่า !?!?!

หลายท่านอาจจะเคยได้รับ email หน้าตาประมาณนี้ ข้อเท็จจริงคือ เราสามารถปลอมเป็นใคร ส่ง email ออกไปให้ใครก็ได้ Truth … แล้ว จะรู้ได้อย่างไร !?! ต้องดูสิ่งที่เรียกว่า Header … โดยทำตามวิธีการต่อไปนี้ 1. คลิกที่ View Full Header จะได้ผลประมาณนี้ จากภาพ จะเห็นว่า ส่งจาก (ดูจาก ล่าง ขึ้น บน) Received: from [154.117.164.59] (unknown [154.117.164.59])     by mailscan.in.psu.ac.th (Postfix) with ESMTP id…

ELK #09 Anomaly Detection (Case Study)

ระบบ PSU Email ให้บริการผู้ใช้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีการใช้งานจากทั่วโลก ทั้งระบบประกอบขึ้นจากคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง การจะตรวจสอบ Log เมื่อเกิด Incident ขึ้น อาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน และเป็นการยากพอสมควรที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ และสรุปออกมาเป็นรายงานได้ จึงเริ่มใช้ ELK สำหรับรวบรวม Log ของทั้งระบบไว้ที่ส่วนกลาง และพัฒนาต่อยอดเพื่อการตรวจจับความผิดปรกติต่าง ๆ ได้ ในบทความนี้ จะนำเสนอวิธีการใช้ ELK เพื่อตรวจจับ การ Login ที่ผิดปรกติบน PSU Email โดยจะสนใจ ผู้ใช้ที่มีการ Login จากนอกประเทศเป็นหลัก การส่ง Log จาก Server เข้า…

วิธีเอา Boxbe ออกไปจากชีวิตของคุณ

Boxbe เป็น Free Service ที่พยายามจะจัดการกับ Spam โดยอยู่บนสมมุติฐานว่า ผู้ที่ไม่อยู่ใน Contact ของเรา หรือ อยู่ใน Guest List นั้น มีแนวโน้มจะเป็น Spam เมื่อมีการส่ง email จากกลุ่มนี้ ก็จะถูกเอาไปอยู่ในกล่องที่เป็น Wait List จึงทำให้กล่อง Inbox ซึ่งเราจะอ่าน email เป็นประจำนั้น มาจากคนที่อยู่ใน Contact เท่านั้น   โดยความตั้งใจ ดูดี แต่ …   คนใน Contact ของเรา…

จดหมายลอกลวง 23/4/61

ช่วง ศุกร์ที่ 20 ถึง เช้าวันนี้ จันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 พบว่า มีผู้ใช้หลายท่านได้รับ email ลักษณะประมาณนี้ แล้วมีคำถามว่า เป็นของมหาวิทยาลัยส่งจริงหรือไม่ ตอบก่อนเลยว่า “ไม่ใช่อีเมลของทางมหาวิทยาลัย” เป็นจดหมายหลอกลวง ทางระบบของมหาวิทยาลัยจะไม่ส่ง email แจ้งเตือนใดๆอย่างนี้ ข้อสังเกต ลิงค์ใน email ที่ให้คลิก จะเป็นอะไรที่ไม่ใช่ psu.ac.th (ทราบไม๊ครับ ? ว่าโดเมนเนมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ psu.ac.th ???) ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ของมหาวิทยาลัย จะต้องปรากฏ รูปกุญแจเขียว และ โดเมนเป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งใช้โดเมนเนม…

Facebook Spam ที่หลอกมาเป็น “ข่าวสด”

วันนี้พบเพื่อนคนนึง มีโพสต์ประหลาดๆขึ้นบน Profile ดังภาพ แต่พอลองเอา Mouse Over ดูพบว่า Link ไป khaosod.me/XXXXXX ลองมั่วตามไปดู พบว่าไปเปิด Web หนึ่ง เลียบแบบ kapook.com คาดว่า เกิดจาก ก่อนหน้านี้ไปคลิก Facebook App บางอย่าง ทำให้เกิดการ ให้สิทธิ์ App เขียน Wall ได้ วิธีแก้เคยเขียนไว้แล้วใน วิธีจัดการ Facebook Spam

มีโปรแกรมไวรัส “เรียกค่าไถ่” ระบาดทั่วโลก (Wana Decrypt0r)

หากท่านใช้ Windows และ ได้รับ Email ที่มีไฟล์แนบ โปรดระมัดระวังอย่างที่สุด สรุปความสั้นๆ: มีโปรแกรมเรียกค่าไถ่ระบาดทั่วโลก: หากติดไวรัส ไฟล์ในเครื่องเช่น Word, Excel หรือ งานวิจัยของท่านจะถูกเข้ารหัส ทำให้เปิดไม่ได้อีกเลย จนกว่าจะยอมจ่ายเงินค่าไถ่ให้กับ Hacker กระทบต่อผู้ใช้งาน Microsoft Windows โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องที่ใช้ Windows File Sharing (Drive I อะไรทำนองนั้น) ใช้ Windows เถื่อน โดนแน่ๆ เพราะจะไม่ได้รับการ Update จาก Microsoft ถ้าใช้ Windows ลิขสิทธิ์แต่ไม่เคย Update ก็น่าจะโดนได้ง่ายๆ…