ระวังการเปิดอ่านไฟล์ PDF, SCR ขนาดใหญ่กว่า 700 MB ด้วยอาจจะเป็น มัลแวร์ ที่สามารถสำเนาคุกกี้ในโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่ไปให้กับคุณแฮกเกอร์ได้ คุณแฮกเกอร์ เมื่อได้ คุกกี้ ไปแล้วก็สามารถนำไปใช้เข้าเว็บไซต์ที่แม้จะได้มีการป้องกันด้วยระบบตรวจสอบตัวจริงหลายชั้น Multi-factor Authentication : MFA เอาไว้ ก็หลุดรอดวิธีเข้าเว็บไซต์ด้วยคุ๊กกี้นี้ไปได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ด้วยช่องโหว่โปรแกรมป้องกันไวรัสจะไม่ตรวจสอบไฟล์ขนาดใหญ่กว่า 700 MB ก่อนคลิก คิดทบทวนกันก่อนนะครับ อ้างอิงจาก YouTube https://youtu.be/yXYLR8MfSz8
Category: Virus & Malware
Patch Your Website NOW
เรียนท่านผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ภายใต้โโเมน psu.ac.th เนื่องด้วยเว็บไซต์หลายส่วนงานไม่ได้มีการปรับปรุงซอฟแวร์บริการเว็บไซต์และระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยล่าสุดปิดกั้นช่องโหว่ ส่งผลให้เว็บไซต์จำนวนมากมีช่องโหว่ พร้อมให้ถูกโจมตีได้ง่ายมาก ไม่ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงในการเจาะระบบ หากท่านยังไม่ได้เคยตรวจสอบปรับปรุงเว็บไซต์ก็ขอให้ใช้เครื่องมือที่ หากด้านซ้ายล่างมีข้อความVulnerabilities และแสดงCVE เลบต่างๆ ท่านผู้ดูแลเว็บไซต์ งานเข้าเร่งด่วน ให้ ปรับปรุง ปิดกั้น ช่องโหว่ เว็บไซต์ที่ท่านดูแลโดยเร็วที่สุด ซึ่งหากท่านดูแลเว็บไซต์เองไม่ได้ก็ขอให้ย้ายเนื้อหามาใช้บริการที่https://webhost.psu.ac.th/ที่ท่านจะดูแลเฉพาะส่วนเนื้อหาในเว็บไซต์ ในที่สุด เว็บไซต์ ที่ดูแลไม่ต่อเนื่อง มีช่องโหว่ ก็จะถูกโจมตี แบบเบาๆ ก็จะถูกวาง Link การพนัน ลามกอนาจาร ตัวอย่างเช่นค้นหาด้วย Google ใช้คำว่า slot site:*.psu.ac.th ก็จะปรากฎชื่อเว็บไซต์ต่างๆ ภายใต้โดโเมน psu.ac.th ที่ถูกโจมตี จากช่องโหว่ที่ปล่อยทิ้งไว้ไม่ปรับปรุงป้องกันซึ่งตัวอย่างนี้ฝัง Link…
Virus Total เครื่องมือตรวจสอบ Shorten URL (ช่วยย่อ URL, ย่อ Weblink, ลิ้งค์ย่อ)
ในโลก Web 2.0 มีการสร้างเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากมาย และหนึ่งในนั้นคือการแชร์ URL ข้อมูลต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน URL จะมีความยาวมาก เช่นจากการสร้าง Link แชร์เอกสาร แบบฟอร์ม ที่เก็บไฟล์ต่างๆ ซึ่งใน ม.อ. คุณ อัษฎายุธ ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชุมชนผู้ใช้ไอที ม.อ. ได้ใช้ Shorten URL กันตามข่าว แทนที่จะไปใช้บริการจากนอก ม.อ. เช่น bit.ly tiny.cc และในอีกทางหนึ่ง ทางด้านมืด สายมาร เหล่ามิจฉาชีพ ก็นำไปใช้ด้วยเช่นกัน ทำให้เหล่าผู้ใช้ น่าจะรู้สึกกังวลเวลาได้ลิ้งค์ย่อ กังวลว่ากดคลิกต่อไปแล้วจะนำไปสู่หน้าเว็บไซต์ไหน เจออะไร หรือเจอสายมืดก็เปิดเข้าไปเจอเว็บไซต์ประสงค์ร้าย…
ฉันโดนแฮ๊กหรือเปล่า !?!?!

หลายท่านอาจจะเคยได้รับ email หน้าตาประมาณนี้ ข้อเท็จจริงคือ เราสามารถปลอมเป็นใคร ส่ง email ออกไปให้ใครก็ได้ Truth … แล้ว จะรู้ได้อย่างไร !?! ต้องดูสิ่งที่เรียกว่า Header … โดยทำตามวิธีการต่อไปนี้ 1. คลิกที่ View Full Header จะได้ผลประมาณนี้ จากภาพ จะเห็นว่า ส่งจาก (ดูจาก ล่าง ขึ้น บน) Received: from [154.117.164.59] (unknown [154.117.164.59]) by mailscan.in.psu.ac.th (Postfix) with ESMTP id…
เตือนภัยอีเมลหลอกลวงว่าเป็นธนาคารกรุงไทย (Spam 2018-11-14)

เช้านี้มีอีเมลหลอกลวงหลุดเข้ามา อ้างว่ามาจาก Krungthai Bank PCL ดังภาพ จะเห็นว่า From ก็หลอกว่ามาจาก info@ktb.co.th และในเนื้อหาก็มี Logo ของธนาคาร แถมมี Link ที่วิ่งไป HTTPS://WWW.KTB.CO.TH/PERSONAL/DETAIL/VERIFY/172 แต่ไม่ใช่ของจริง !!! เพราะ ถ้าท่านดูอีเมลฉบับนี้แบบ HTML จะเป็นการส่ง Link ไปที่ “เว็บไซต์หลอกลวง” หรือเรียกว่า Phishing Site ไม่แนะนำให้คลิกตาม https://scrappse.tk/jssl/ktbnetbank/krungthai/index.html ซึ่งจะได้หน้าตาเหมือนกับของธนาคารจริง ๆ เพราะมันไปใช้ภาพจากเว็บไซต์จริง และใช้ HTTPS และได้ “กุญแจ” ที่บอกว่า valid…
มัลแวร์สวมรอยการใช้งาน Facebook
มีรายงานจากศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2559 พบว่ามีการแพร่กระจายมัลแวร์ประเภท Malicious Code ผ่าน Facebook โดยอาศัยช่องทางการแจ้งเตือนของ Facebook การทำงานของมัลแวร์ เมื่อผู้ใช้ได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ว่าถูกพาดพิงโดยบุคคลที่สาม หากผู้ใช้คลิกเข้าไปดูข้อความแจ้งเตือนดังกล่าวก็จะถูกนำไปยังไซต์อื่นทันที และเว็บไซต์ปลายทางที่ถูกนำพาไปจะปรากฏข้อความว่าเป็นส่วนขยายของ Browser สำหรับใช้เปลี่ยนสีของเว็บไซต์ Facebook และให้ดาวน์โหลดไฟล์ Instalador_Cores.scr มาติดตั้ง ซึ่งเป็นส่วนขยายของ Google Chrome หากผู้ใช้หลงเชื่อดาวน์โหลดและติดตั้งจะพบว่ามีการสร้างไฟล์ไว้ที่ไดเรกทอรี่ C:\User\[ชื่อผู้ใช้]\AppData\Local\Google\Update จากนั้นจะสร้าง Shortcut สำหรับเรียกใช้งาน Google Chrome ไว้ที่ Desktop โดยตัว Shortcut ดังกล่าวจะเป็นการเปิดใช้งาน…