วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #5

จากที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้จาก

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #1
วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #2
วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #3
วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #4

เราได้แต่ตามแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดเรื่องขึ้นกับ Website ของเราแล้ว ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้อง “Proactive” หรือ ทำงานเชิงรุกกันได้แล้ว

ในโลกเทคโนโลยี มีคนเก่งๆมากมายที่เขาทุ่มเทเวลา เพื่อค้นหาช่องโหว่ต่างๆ ในที่นี้ กรณีของ Joomla ก็สามารถไปดูได้ที่

Joomla Developer Network  http://developer.joomla.org/security.html

จากเวปไซต์ดังกล่าว จะเป็นรายงานอย่างเป็นทางการของ Joomla, สิ่งที่ต้องสนใจ คือ

  • Severity: ความร้ายแรง ถ้าเป็นระดับ High, Critical แสดงว่า ร้ายแรง ต้องแก้ไขทันที

  • Versions: รุ่นของ Joomla ที่ได้รับผลกระทบ (ผู้เป็นเจ้าของ ควรรู้ว่าตัวเองใช้รุ่นใด)

  • Exploit type: ลักษณะของช่องโหว่ เช่น XSS, SQL Injection, RFI, Buffer Overflow และอื่นๆ (จะอธิบายในลำดับต่อไป)

  • Reported Date/Fixed Date : แสดง วันที่ที่ตรวจพบ จนถึงวันที่ Joomla ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว

  • CVE Number: แสดงตัวเลขอ้างอิง สำหรับการตรวจสอบกับระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ ถ้ามีตัวเลข CVE แล้ว แสดงว่าปัญหาดังกล่าวมีการยืนยันว่าเป็นปัญหา และมีคนหาทางแก้ไขปัญหาแล้ว รวมถึง มักจะมี Exploited Tools หรือ เครื่องมือในการทดสอบแล้วด้วย ซึ่ง ก็จะมีพวก Script Kiddie หรือ พวกชอบลองของ เอาไปโจมตีเวปไซต์ต่างๆ ทั้งเพื่อความสนุกสนาน และทำลายล้าง (จะอธิบายในลำดับถัดไป)

  • Description และ Solution: รายละเอียดของปัญหา และแนวทางแก้ไข

CVE ย่อมาจาก Common Vulnerabilities and Exposures ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://cve.mitre.org/ เรียกได้ว่า เป็น ชื่อทางการของช่องโหว่ โดยมีรูปแบบเป็น CVE-YYYY-NNNN โดยที่ YYYY เป็นปี ค.ศ. ที่ค้นพบช่องโหว่ ส่วน NNNN แสดงลำดับในการค้นพบ ดังนั้น จะมีชื่อได้ 10,000 ชื่อ เช่น CVE-2013-5576 แสดงว่า เป็นช่องโหว่ เกิดขึ้นปี 2013 และเป็นลำดับที่ 5576 ของปีนั้น (แต่ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2014 จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ตัวเลขตั้งแต่ 0-9999 จะยังใช้ NNNN หรือ 4 Digit เหมือนเดิม แต่เมื่อมากกว่านั้น ก็สามารถขยายไปได้เรื่อยๆ เช่น CVE-0001 แต่เมื่อเกิน 10,000 ก็จะเป็น CVE-10001 หรือใช้ NNNNN เป็น 5 Digit นั่นเอง)

ปัญหาอยู่ที่ว่า จาก Website ของ Joomla Developer Network มักไม่ค่อยให้รายละเอียดมากนัก จึงขอแนะนำ อีก Website คือ

http://www.scip.ch/en/?vuldb

เวปไซต์ดังกล่าว จะแสดงรายการช่องโหว่ต่างๆที่ค้นพบ จัดลำดับเวลาในการเกิดเหตุ และความร้ายแรงได้อีกด้วย

ในกรณีที่ต้องการค้นหา ปัญหาของ Joomla 2.5 สามารถใช้ Google ช่วยค้นหาได้ โดยการค้นหาด้วยคำต่อไปนี้

joomla 2.5 site:scip.ch

จากผลการค้นหา จะพบว่า มีหลายช่องโหว่มาก ลองดูสักหนึ่งรายการ

http://www.scip.ch/en/?vuldb.9847

จากภาพ แสดงให้เห็นว่า เป็นช่องโหว่ระดับ Critical ของ Joomla รุ่น 2.5.1 / 3.1.4 ซึ่งทำให้ Hacker สามารถ Upload ไฟล์ Backdoor เข้าไปใน Website ได้ และ ช่องโหว่ดังกล่าว ได้ตัวเลข CVE คือ CVE-2013-5576 พบเมื่อ วันที่ 23 ส.ค. 2013

นอกจากนั้น ยังแสดงรายละเอียดอื่นๆ ได้แก่ CVSS และ OSVDB ซึ่งจะเป็นการแสดงขนาดของผลกระทบ และความยากง่ายในการโจมตี  ซึ่งจะอธิบายต่อไป

ต่อไป ลองไปดู รายละเอียดของ CVE-2013-5576 ที่
http://cve.mitre.org/cgi-bin/cvename.cgi?name=CVE-2013-5576

จะพบว่า มีคนทำ Exploits ไว้แล้วที่  http://www.exploit-db.com/exploits/27610/

สำหรับบางช่องโหว่ ก็มีคนไปสร้าง Patch หรือ วิธีแก้ไขให้แล้ว
จากรุ่น 2.5.13 เป็น 2.5.14 ทำตามนี้
https://github.com/joomla/joomla-cms/commit/fa5645208eefd70f521cd2e4d53d5378622133d8

จากรุ่น 3.1.4 เป็น 3.1.5
https://github.com/joomla/joomla-cms/commit/1ed07e257a2c0794ba19e864f7c5101e7e8c41d2

CVSS and  OSVDB (เดียวกลับมาเขียนเพิ่มเติม)
Common Vulnerability Scoring System (CVSS ) เป็นระบบการให้คะแนนช่องโหว่ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการ รายละเอียดการคำนวนทั้งหมด ดูได้ที่นี่ http://www.first.org/cvss/cvss-guide.html
Open Sourced Vulnerability Database (OSDB)

CWE (Common Weakness Enumeration)

นอกจากนั้น ยังมีเวปไซต์ ที่เราสามารถดู รายการช่องโหว่ ของ CMS หรือ Software ต่างๆ ได้ที่ CVE Details : http://www.cvedetails.com/

 Joomla มีประวัติช่องโหว่ดังนี้
http://www.cvedetails.com/vendor/3496/Joomla.html

 Wordpress มีประวัติช่องโหว่ดังนี้
http://www.cvedetails.com/vendor/2337/Wordpress.html

 

Mambo ในอดีต และหยุดพัฒนาไปตั้งแต่ปี 2008 มีประวัติช่องโหว่ดังนี้
http://www.cvedetails.com/vendor/842/Mambo.html

หวังว่าจะมีประโยชน์ครับ

Comments are closed.