Ubuntu 12.04 – วิธีการ Upgrade VirtualBox เป็น 4.2.4 ——————————————————————————- หาก Ubuntu 12.04 ของท่านมีการติดตั้ง VirtualBox ต่ำกว่ารุ่น 4.2.4 และต้องการจะปรับปรุงโดยการ Upgrade VirtualBox สามารถทำได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม VirtualBox ใหม่ดังนี้ -ในระบบปฎิบัติการ Ubuntu 12.04 เรียกใช้งาน Termial โดยกดปุ่มแป้นพิมพ์พรอ้มกัน Ctrl + Alt + T $ wget -q http://download.virtualbox.org/virtualbox/debian/oracle_vbox.asc -O- | sudo apt-key add – $ sudo sh -c ‘echo “deb http://download.virtualbox.org/virtualbox/debian precise contrib” >> /etc/apt/sources.list’ $ sudo apt-get update && sudo apt-get install virtualbox-4.2 – หลังจากพิมพ์คำสั่งข้างต้นเรียบร้อยแล้วโปรแกรม VirtualBox ในเครื่องก็จะถูกปรับเป็น Version ใหม่เรียบร้อยแล้ว
กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในปีนี้ในลำดับต่อไป จะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ย. 55 เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยประมาณ ที่ห้อง 106 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่ รอบนี้ต้องขอรับจำนวนจำกัดเพียง 15 ที่เท่านั้น หากท่านสนใจรีบแจ้งอีเมลมาที่ผมโดยตรง ( wiboon.w@psu.ac.th ) และผมจะนำรายชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างของบล็อกนี้ รายละเอียดเรื่องที่ติว การปรับแต่ง ubuntu server ให้เป็น file server เพื่อแชร์ไฟล์แก่ MS client ทำให้สามารถ map network drive โดยไม่ต้องใช้ SAMBA เพียงแค่ติดตั้งเป็น SSH File System รวมทั้ง client ใดๆ ในอินเทอร์เน็ต เช่น Linux desktop หรือ Android smart phone เป็นต้น ก็สามารถแชร์ไฟล์ผ่านเน็ตเวิร์คร่วมกันกับ MS client ได้แล้วโดยใช้โปรแกรมที่รองรับโปรโตคอล SFTP หากองค์กรมี user account อยู่แล้วสามารถติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account นั้นมาแชร์ไฟล์ร่วมกันได้ด้วย หัวข้อมีดังนี้ ติดตั้ง VirtualBox for Windows ติดตั้ง Ubuntu server บน VirtualBox ติดตั้ง Ubuntu desktop บน VirtualBox ติดตั้ง Android บน VirtualBox ติดตั้ง PSU-netdrive บน Ubuntu server ติดตั้ง SFTP net drive for Windows บน MS client ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ map network drive บน MS client ทดสอบการแชร์ไฟล์ แบบ mount SSHFS บน Ubuntu desktop client ทดสอบการแชร์ไฟล์ ด้วย AndFTP บน Android client เบื้องหลังการจัดการไฟล์ของ PSU-netdrive บนระบบปฏิบัติการ Linux ติดตั้ง FreeRADIUS เพื่อใช้ user account ที่มีอยู่แล้วมาแชร์ไฟล์ร่วมได้ (เพิ่มเติม) การตั้งค่าเพื่อใช้งานร่วมกับบริการ anonymous ftp server (เพิ่มเติม) การป้องกันและจัดการผู้ลักลอบเดารหัสผ่านด้วย fail2ban รายชื่อทีมวิทยากร นายวิบูลย์ วราสิทธิชัย นายวิศิษฐ โชติอุทยางกูร (อาหารมังสวิรัติ) นายเกรียงไกร หนูทองคำ รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมติว ชัยวัฒน์ ศรีจันทร์กุล คณะวิทยาการจัดการ สาวิตรี วงษ์นุ่น คณะมนุษย์ฯ ลักขณา ฉุ้นทิ้ง คณะมนุษย์ฯ อำนาจ สุคนเขตร์ ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการ อาทิตย์ อรุณศิวกุล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ งานสารสนเทศ คณะศิลปศาสตร์ ธีรเดช เขมะธีรรัตน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ นิติ โชติแก้ว งานเทคโนโลยีสารสนเทศและงานโสตทัศนูปกรณ์ คณะการแพทย์แผนไทย ม.สงขลานครินทร์ เอกภพ ถาวรจิตร สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (อาหารมังสวิรัติ) นนทพน รัตนพิทยาภรณ์ ศูนย์คอมพิวเตอร์
CoP KM6 หัวข้อเรื่อง IPv6 ที่จะจัดอบรมให้กับผู้ดูแลเครือข่ายคณะหน่วยงานวิทยาเขต วันที่ 20 พ.ค. 2556 Basic IPv6 การกำหนด DHCPv6 Server คำแนะนำในการจัดแบ่ง IPv6 Address DNSv6 IPv6 Security
KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress ในวันนี้จะเล่าให้ฟังถึงเรื่องต่างๆดังนี้ การเขียนเนื้อเรื่อง หลังจากมีเรื่องที่จะเขียน ให้ login เข้า โดยไปที่เมนูด้านบน “เขียนเล่าเรื่อง” คลิก Add New ที่ช่องตั้งชื่อเรื่อง ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นภาษาไทย เช่น เรื่องที่เขียนนี้คือ “KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress” ผมก็ตั้งเป็นว่า “KM How to authoring in wordpress” แล้วสังเกตที่บรรทัด Permalink มันตั้งให้เสร็จ สวยด้วย แล้วกลับไปแก้ไขเป็นชื่อภาษาไทย ตัวเอดิเตอร์ที่ใช้งานสามารถทำฟังก์ชันนี้ได้ คือ หากข้อความที่เขียนยาวมากๆ แนะนำให้ใช้เครื่องมือ Insert More Tag เพื่อแทรกแบ่งไปหน้าถัดไป อย่าลืมเพิ่ม Categories ของเรื่อง อยู่ทางด้านขวามือนะครับ รวมถึงเพิ่ม Tags ด้วยเพื่อใช้เป็นคำค้นนั่นเอง แล้วคลิก Add ด้วย โปรแกรม WordPress สามารถเก็บข้อความรอให้เขียนครบถ้วนก่อน เรียกว่า Save Draft ทำให้ได้ผลงานมากขึ้น คลิก View Post เพื่อดูว่าหากเผยแพร่โดยคลิก Publish แล้วผู้ใช้ทั่วไปจะเห็นอย่างไร การปรับแต่ง สำหรับ Profile ของผู้เขียน ถ้าใส่รายละเอียดในช่อง Biographical Info (อยู่ด้านล่าง) ไว้ เมื่อเผยแพร่ Post ไปแล้ว ผู้อ่านทั่วไปจะเห็นว่าผู้เขียนคือใคร มีอะไรที่ผู้เขียนอยากให้รู้เกี่ยวกับผู้เขียน และ อย่าลืมใส่รูปภาพที่คลิก Update Picture ด้วย หรือหากเคยสมัคร GRvatar ไว้แล้วก็ไม่ต้อง wordpress จะไปเอารูปภาพมาใส่ให้เอง