• Mozilla Thunderbird & Google Calendar


    1. ติดตั้ง extension 2 ตัวใน Thunderbird ได้แก่ Lightning และ Provider for Google Calendar ดังรูป 2. รีสตาร์ท Thunderbird จะพบปุ่ม อยู่ทางมุมบนขวา 3. เข้า gmail.psu.ac.th ล็อคอินให้เรียบร้อย คลิก  แล้วเลือก Calendar 4. ที่หน้า Calendar คลิก เลือก Setting 5. คลิก Calenders ทีี่มุมซ้ายบน 6. เลือกปฏิทินที่ต้องการ 7. ตรวจสอบว่าใช่ปฏิทินที่ต้องการหรือไม่ดูที่ ช่อง Calender Owner ว่าเป็นอันเดียวกับ Username ที่ล็อคอินเข้า gmail 8. เลื่อนดูด้านล่างในส่วนของ Private Address: 9. คลิกขวาที่ ICAL เลือก…

    >> Read More <<

  • เตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนา Web Application


    ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา หรือแม้กระทั่งวงการทหาร ดังนั้นแนวโน้มของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเน้นไปทางด้านโปรแกรมที่สามารถทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ประกอบกับอุปกรณ์ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นจึงมีผลต่อการพิจารณาเทคนิค วิธีการต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบของผู้พัฒนาว่าควรจะเลือกใช้เทคโนโลยีใดบ้าง เพื่อให้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีความทันสมัย รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Computer, Tablet หรือ Mobile จะมีโปรแกรมพื้นฐานที่เรียกว่า Web Browser สำหรับเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ อยู่แล้ว ดังนั้นการพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบ Web หรือที่เรียกว่า Web Application จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ก่อนการพัฒนาโปรแกรมทุกครั้ง ผู้พัฒนาระบบจะต้องทำการรวบรวมความต้องการของโปรแกรม (เป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาโปรแกรมตามกระบวนการ SDLC) เพื่อนำมาวิเคราะห์ และออกแบบระบบในขั้นตอนต่อไป ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการในบางครั้งพบว่าเราไม่จำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปบางตัวสามารถตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้แล้ว เช่น Joomla, Moodle, WordPress เป็นต้น แต่ถ้าหากไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ก็จะเป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาที่จะต้องพัฒนาระบบขึ้นมาเอง ซึ่งในการที่จะพัฒนาระบบได้นั้น ผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้นำมาประกอบการตัดสินใจเลือกเทคนิคเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจพื้นฐานที่ควรรู้สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์มือใหม่ได้แก่ความหมายของ Front-end,  Back-end และ Front-end…

    >> Read More <<

  • ติดตั้ง ownCloud เลือกใช้ user PSU Passport หรือ ftp server หรือ RADIUS Server


    เหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการทำ private cloud storage ของตนเอง โดยใช้ open source software ชื่อ ownCloud สภาพแวดล้อม     ติดตั้ง ownCloud ลงบน ubuntu server 14.04     ติดตั้ง ownCloud เวอร์ชั่น ownCloud 7.0.4 (stable) แบบ apt-get install     ติดตั้ง ownCloud เลือกใช้กับ MySQL/MariaDB Database     ติดตั้ง ownCloud เลือกใช้ user PSU Passport หรือ เลือกใช้ user เดียวกับ ftp server หรือ RADIUS Server (โดยเลือกใช้ user name ผ่าน…

    >> Read More <<

  • วิธีตรวจสอบขณะเข้าเว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บ login ด้วย username


    วิธีตรวจสอบขณะเข้าเว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บ login ด้วย username สำหรับเบราว์เซอร์ Chrome ให้สังเกตว่าจะมีรูปกุญแจล๊อค(สีเขียว) หน้าคำว่า https แสดงว่า เว็บเพจหน้านี้ปลอดภัย หากแสดงเป็นอย่างอื่น เช่น กากบาทสีแดงคาดที่คำว่า https แสดงว่าไม่ปลอดภัย อาจจะกำลังโดนใครดักข้อมูล username และ password ของท่าน ตัวอย่างเว็บไซต์ gmail ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างๆของ PSU ที่เรียกใช้ด้วย Chrome browser และ แสดง https กุญแจสีเขียว สถานะปลอดภัย สำหรับเบราว์เซอร์ Firefox ก็แสดงเป็นรูปกุญแจล๊อค แต่เป็นสีเทา ไม่แสดงเป็นสีเขียว ก็คือปรกติครับ (ผมไม่ได้ใส่รูปตัวอย่างสำหรับ Firefox) สำหรับเบราว์เซอร์ IE (Internet Explorer) ในขณะที่เขียนบทความนี้ (19 ธันวาคม 2557) ผมไม่แนะนำให้ใช้ครับ ขอให้ตรวจสอบทุกครั้งก่อนใช้งานใส่ username ลงไปนะครับ

    >> Read More <<

  • เปลี่ยน Certificate!?


    เนื่อง Certificate *.psu.ac.th จาก Comodo เดิมซึ่งกลายเป็น Cert. ที่จัดว่า WEAK แล้ว ทางเจ้าหน้าที่เครือข่ายจึงได้ขอ Cert. ใหม่มา ที่ Strong ขึ้น 🙂 ก็ต้องมานั่งเปลี่ยน Cert. ในเครื่องที่ให้บริการขั้นตอนดังนี้ Download Cert. ใหม่มาซึ่งต้องติดต่อขอไปที่ Net@dmin โดยผ่านช่องทางของ help.psu.ac.th ไฟล์ที่จะโหลดมาใช้งานมีทั้งหมด 3 ไฟล์ได้แก่ STAR_psu_ac_th.ca-bundle, STAR_psu_ac_th.crt และ STAR_psu_ac_th_key.key เมื่อดาวน์โหลดมาเสร็จแล้วให้เอาไปแทนที่เก่าได้เลย ในตัวอย่างนี้จะเก็บไว้ที่ /etc/ssl/private ทีนี้ มาดู config เก่าของ apache2 <IfModule mod_ssl.c> <VirtualHost *:443> ServerName bahamut.psu.ac.th ServerAdmin cc-server-admin@group.psu.ac.th DocumentRoot “/var/www/html” ErrorLog ${APACHE_LOG_DIR}/bahamut.ssl_error_log TransferLog ${APACHE_LOG_DIR}/bahamut.ssl_access_log…

    >> Read More <<

  • การใช้งาน Google Drive ภายในหน่วยงาน


    สืบเนื่องจากหน่วยงานมีการส่งต่อไฟล์ข้อมูลด้วย Flash Drive ซึ่งปัญหาที่ตามมาในทุกครั้งคือ flash drive มีไวรัส อีกทั้งเห็นว่า ตอนนี้มอ.เราตื่นตัวเรื่อง Google Apps. ผมก็เลยนำเสนอให้หน่วยงานใช้ Google Drive เพื่อการแชร์ไฟล์ที่สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น (แว่วว่า คณะต้นสังกัดกำลังจะจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ทุกคนใช้ Google Drive อยู่ในเวลาอันใกล้นี้) ผมเลยทำคู่มือการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เลยขอนำมาแชร์นะคับ ผิด-ถูกอย่างไร แนะนำได้นะคับ ^^ มาเริ่มกันเลยดีกว่านะคับ ^^ จะมี 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ การยืนยันตัวตนเพื่อใช้ PSU Web Mail on Google Apps การ Login โดยใช้ PSU Mail on Google การสร้างรายชื่อ Contacts การสร้างโฟลเดอร์เพื่อแชร์ การยืนยันตัวตนเพื่อใช้ PSU Web Mail on Google Apps…

    >> Read More <<

  • การป้องกัน Man In The Middle (MITM) ดักบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน


    การป้องกัน Man In The Middle (MITM) ดักบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน Man In The Middle (MITM) คือ เทคนิคการโจมตีของแฮคเกอร์ที่จะปลอมเป็นคนกลางเข้ามาแทรกสัญญาณการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ (เบราว์เซอร์) และเซิร์ฟเวอร์  โดยใช้โปรแกรมดักฟังข้อมูลของเหยื่อ แล้วแฮกเกอร์ก็เป็นตัวกลางส่งผ่านข้อมูลให้ระหว่างเบราว์เซอร์กับเซิร์ฟเวอร์ วิธีการทำอย่างหนึ่งคือ การส่งข้อมูล MAC Address ของเครื่องของแฮกเกอร์ไปให้กับเครื่องของผู้ใช้โดยแจ้งว่าเป็น MAC Address ของ Gateway ของระบบเครือข่าย หลังจากนั้นเมื่อเครื่องเหยื่อรับ MAC Address ดังกล่าวไปใส่ไว้ใน ARP Table cached แล้ว กระบวนการส่งข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของเครื่องเหยื่อจะถูกส่งผ่านไปยังเครื่องแฮกเกอร์ก่อนที่จะส่งไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่มารูปภาพ: http://www.computerhope.com ดังนั้นเมื่อเครื่องเหยื่อเข้าไปยังหน้าเว็บเพจที่ต้อง login ด้วย Username และ Password โปรแกรมดักฟังข้อมูลก็จะทำการส่งหน้าเว็บเพจที่ไม่ได้ป้องกันไปให้เครื่องเหยื่อ ดังรูป ผู้ใช้ทั่วไปจะสังเกตไม่ออก (หรือไม่มีความรู้) ก็จะคลิกผ่านคำเตือนใดๆที่เบราว์เซอร์แจ้งเตือนไปแล้วสุดท้ายผู้ใช้งานก็จะใส่ Username และ Password ในหน้า login…

    >> Read More <<

  • ทำความรู้จักกับ Web Map Application


    หลายท่านคงพอจะเคยทำหรือเคยเห็นหรือเคยศึกษาเกี่ยวกับ Google maps API มากันเยอะบ้างแล้วนะคับ ในการที่จะทำ Map ลงเว็บ เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ โดยการพัฒนาด้วย PHP, Java, Phytan ฯลฯ ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics Technology) ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนของชั้นข้อมูลรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น หน่วยงานของรัฐหลายแห่งมีนโยบายในการจัดทำระบบภูมิสารสนเทศในด้านต่างๆ กันมากขึ้น เพื่อความง่ายในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน ตัวอย่าง ระบบภูมิสารสนเทศทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า จะมีชั้นข้อมูลให้เลือกดูได้หลากหลาย โดยการเลือกเปิด-ปิดชั้นข้อมูลนั้นๆ เพื่อแสดงผลแผนที่บนหน้าเว็บ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูล GIS (Geographic Information System) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS, ArcInfo, QGIS, uDIg เป็นต้น แล้วนำมาอัพขึ้น Map Server เพื่อแสดงข้อมูลแผนที่ในระบบออนไลน์ คำถาม : แล้วข้อมูล GIS เราจะหาได้จากที่ไหน? ตอบ…

    >> Read More <<

  • วิธีติดตั้ง Window Manager แบบน้อยที่สุดบน Ubuntu Server


    เนื่องจากต้องการสร้าง VirtualBox ขนาดเล็กสุดๆเพื่อใช้เตรียมทำ Workshop แต่จะไม่สะดวกสำหรับผู้อบรมที่ไม่คล่องเรื่องคำสั่งบน Linux มากนัก อยากให้ Copy-Paste ได้บ้าง จึงต้องหาวิธีลง Window Manager ให้พอใช้ได้ เริ่มต้นจากติดตั้ง ubuntu server version ที่ต้องการ จะใช้พื้นที่ประมาณ 890 MB คราวนี้เลือก Window Manager ที่เล็กที่สุดแต่ใช้งานง่าย นั่นคือ LXDE หรือ lubuntu-desktop ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าลงแบบ Default มันจะลากเอาสิ่งที่ไม่ต้องการมามากมาย ทำให้ขนาดที่ใช้ขยายจาก 890 MB ไปถึง 2.5 GB ซึ่งใหญ่เกินไป จึงไปค้นหาวิธีดูพบว่าให้ทำดังนี้ 1. sudo apt-get install –no-install-recommends lubuntu-desktop 2. เมื่อติดตั้งเสร็จ ให้ reboot เครื่องหนึ่งรอบ ก็จะเข้าสู่ lubuntu…

    >> Read More <<