ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงานด้วย PSU12-Sritrang และ PSU Installer”

กิจกรรมของ CoP PSU sysadmin ของเราในลำดับต่อไป ติว “การจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงานด้วย PSU12-Sritrang และ PSU Installer” วันที่ 27-28 มิ.ย. 56 เวลา 09.00-16.00 น. ห้อง 101 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. ท่านที่สนใจให้สมัครโดยส่งอีเมลมาที่ wiboon.w@psu.ac.th เนื้อหา 1. เหมาะสำหรับ admin ที่กำลังมองหาวิธีการลดเวลาในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ และเหนื่อยกับการเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์และสำนักงาน โดยการนำโอเพนซอร์สและฟรีแวร์มาประยุกต์ใช้ และที่สำคัญคือลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และประหยัดค่าใช้จ่าย 2. ฝึกปฏิบัติชุดโปรแกรม PSU12-Sritrang ซึ่งติดตั้งเป็น serverได้ง่ายด้วยเทคนิค Cloning ชุดโปรแกรมมีสรรพคุณดังนี้ DHCP + PXE Server – ทำงานเป็น DHCP server และ PXE server Cloning Server – ระบบ Cloningผ่าน network ใช้ทดแทนโปรแกรม GHOSTสามารถ Cloning ได้ทั้ง MS Windows และ Linux Boot Manager Server – ห้องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ ควบคุม boot manager จาก serverสามารถกำหนดให้ PC ลูกข่ายบูทเข้า partition ไหนก็ได้ Diskless Client – สามารถให้ PC ลูกข่ายบูทแผ่นซีดีที่เก็บไว้บน server ได้ 3. ฝึกปฏิบัติชุดโปรแกรมประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่าน network (prnews) เปลี่ยนข้อความได้ทุกวัน ทำให้ไม่พลาดข่าวกิจกรรมสำคัญของหน่วยงาน 4. ฝึกปฏิบัติโปรแกรม Cygwin ใช้ในการเปลี่ยนชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์และสั่ง shutdown เครื่องได้ ไม่ต้องเดินปิดทีละเครื่อง program สั่ง shutdown automatic 5. ฝึกปฏิบัติโปรแกรม pGinaสามารถควบคุมการเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยตั้งค่าให้ใช้ radius server ที่พร้อมใช้งานอยู่ใน PSU12-Sritrang และมีระบบบันทึก log accounting 6. แนะนำชุดโปรแกรม PSU Installer ที่นำไปติดตั้งเพิ่มลงใน ubuntu server 12.04 แล้วกลายเป็น server ที่ลดขั้นตอนการติดตั้ง เช่น PSU-Radius ติดตั้งเป็น radius server หรือ PSU-Netdrive ติดตั้งเป็น file server เป็นต้น รายละเอียดการฝึกปฏิบัติ วันที่ 1 เรื่อง cloning และ PRNews 1. สาธิตให้ดู PSU12-Sritrang ทำอะไรได้บ้าง 2. ลองให้เข้าใจการ cloning (เรียนรู้การทำ server และ cloning ด้วย client พร้อมใช้) 3. ลองให้เข้าใจ PRNews และ Shutdown PC 4. ลองให้เข้าใจการทำต้นฉบับอีกรอบหลังปรับแต่งโปรแกรม 5. ลองให้เข้าใจการทำต้นฉบับมากกว่า 1 partition 6. ลองให้เข้าใจการทำโครงสร้าง MS-DOS partition วันที่ 2 เรื่อง diskless และ file server and share file 7. ลองให้เข้าใจการใช้งาน diskless -การประยุกต์ใช้งาน diskless ทำเป็น client เฉพาะงาน เช่น psu-lib -การประยุกต์ใช้งาน diskless ทำเป็น kios presentation 8. แนะนำ

Read More »

Mount & fstab

วันนี้หลังจากติดตั้ง OS ใหม่ ก็มานั่งคิดๆ ดูว่าจะใช้ อะไรในการ mount โฟลเดอร์ที่ได้แบ่งแยกไว้แต่แรกมาใช้ได้อย่างไร ซึ่งจากเดิมจะใช้วิธีแก้แฟ้ม /etc/rc.local โดยเพิ่มข้อความเข้าไปประมาณว่า mount –bind /home/sipa /usr/share/fonts/truetype/sipa ซึ่งวันนี้ก็พบว่า มันไม่ทำงาน และเหมือนกับว่าถ้ามีการอัพเดต kernel แฟ้มนี้จะถูกเปลี่ยนกลับเป็นเหมือนเดิม คือ ไม่มีข้อความข้างต้นอยู่ข้างใน (อันนี้ยังไม่ยืนยันเพราะเจอแค่ครั้งเดียว) ต่อมาเลยนั่งมองว่าแล้วเราจะใส่แบบข้างบนลงไปในแฟ้ม /etc/fstab ได้มั้ย ทำอย่างไร ก็ค้นไปเรื่อยๆ พบว่าทำได้ โดยให้ใส่เพิ่มเข้าไปดังนี้ /home/sipa /usr/share/fonts/truetype/sipa none  bind    0 0 เมื่อแก้แฟ้มนี้เสร็จออกมาสั่ง sudo mkdir /usr/share/fonts/truetype/sipa ; sudo mount -a ได้ทันที ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีอีกวิธี คือการสร้างเป็น Upstart job ทำได้โดย สร้างแฟ้ม /etc/init/mount-bind.conf โดยมีข้อความว่า # # bind mounts # description “bind” start on stopped mountall script mount –bind /home/sipa /usr/share/fonts/truetype/sipa end script ขอให้สนุกครับ ที่มา http://ubuntuforums.org/showthread.php?t=1642616 http://www.linuxforums.org/forum/servers/28252-fstab-mount.html

Read More »

update ownCloud new version (5.0.6 to 5.0.7)

หลังจากวันก่อนเมื่อช่วงต้นเดือนเขียนบทความ เรื่อง “มาทำ Self-hosted cloud storage ด้วย ownCloud ใน PSU กันเถอะ” ผมก็ทดสอบการใช้งานไปเรื่อยๆ มีเพื่อนชาว PSU sysadmin มาร่วมกันทดสอบกัน 5-6 คน ซึ่งเป็นเวอร์ชั่น 5.0.6 มาวันนี้เมื่อเข้าในหน้า admin ก็จะพบว่ามีแจ้งเตือนว่ามีเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่าแล้ว คือ 5.0.7 แล้ว ก็ทำการอัปเดตผ่านหน้าเว็บได้เลย ถ้ากำหนด file permission ให้แก่ webserver user (www-data) ที่ไดเรกทอรี /var/www/owncloud ผลลัพธ์คือเมื่ออัปเดตเสร็จจะพบว่าเข้าสู่โหมด maintenance เราในฐานะผู้ดูแลต้องไปปลดล็อกที่ไฟล์ config.php ด้วยครับ จากนั้นก็จะใช้งานได้แล้ว ย้อนสักนิด การติดตั้ง owncloud นั้นจะมีอยู่ 3 วิธี คือ Tar or Zip File เหมาะสำหรับมีเครื่อง server เอง, Web Installer เหมาะสำหรับ shared hosting และสุดท้ายคือ Linux packages เหมาะสำหรับอัปเดตแบบอัตโนมัติเมื่อทำ apt-get update และ apt-get upgrade นั่นเอง วิธีที่ผมเลือกติดตั้งคือแบบ Tar File เอามาลงในเครื่อง server เอง ดังนั้นเมื่อมีอัปเดตเวอร์ชั่นใหม่ เราจะควบคุมเองได้ว่าจะทำเมื่อไร หลังจากทราบว่ามีเวอร์ชั่นใหม่ แตกต่างจากแบบ Linux packages ซึ่งจะอัปเดตไม่รอเรา อาจทำให้มีปัญหาได้หากเรามีการ manual ปรับปรุงไฟล์ php บางไฟล์ เช่นที่ผมทำคือต้องมีการแก้ไขไฟล์ ftp.php, base.php และ app.php ดังนั้นวันนี้ผมจึงมาบอกเล่าให้ฟังว่า การอัปเดตจากเวอร์ชั่นหนึ่งไปอีกเวอร์ชั่นหนึ่งแบบเล็กน้อย เรียกว่า update นะครับ และหากเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ จะเรียกว่า upgrade อันนี้อ่านมาจากเว็บ ownCloud ซึ่งวิธีการทำจะแตกต่างกัน วันนี้มาแนะนำวิธีการอัปเดต (update) ownCloud จากเวอร์ชั่น 5.0.6 ไปเป็น 5.0.7 ซึ่งหลังจากอัปเดตตามเค้าว่าแล้ว ผมก็มาปรับแต่งเพื่อให้เข้ากันกับ PSU อีกที ผมจึงเขียนเป็น wiki ไว้ที่เว็บ opensource.cc.psu.ac.th เรื่อง อัปเดต owncloud (5.0.6) เป็นเวอร์ชั่นสูงกว่า (5.0.7) สำหรับ PSU ซึ่งมีรายละเอียดการทำงานเป็นขั้นตอน โดยสรุปพบว่า เวอร์ชั่นใหม่นี้ยังไม่ได้แก้ไข bug ที่พบในไฟล์ 3 ไฟล์ที่จำเป็นสำหรับ PSU ครับ

Read More »

มาทำ Self-hosted cloud storage ด้วย ownCloud ใน PSU กันเถอะ

เมื่ือช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ผมได้รับอีเมลเกี่ยวกับรายชื่อ cloud storage ที่มีให้บริการ เช่น dropbox เป็นต้น แล้วมีพูดถึงว่านอกจากบริการบนอินเทอร์เน็ต ยังมี open source software ชื่อ owncloud อีกตัวนึงที่มีคนทำไว้ใช้งานเองและใช้ได้จริง และเป็นที่นิยมกันมากมาย ผมเลยตามไปดูที่ owncloud.org และก็จุดประกายความคิดขึ้นมาต่อยอดจากที่งาน WUNCA26 ว่ามีอาจารย์ท่านนึงบรรยายเกี่ยวกับ cloud ว่าอยากให้มหาวิทยาลัยมี private cloud ใช้งาน อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งคือ self-hosted cloud storage หมายถึง ตั้งเซิร์ฟเวอร์เองไว้เก็บไฟล์ owncloud ทำอะไรได้บ้าง ผมจินตนาการอย่างนี้นะครับ ผมจะมี directory เก็บไฟล์ทำงาน ซึ่งแน่นอนอาจต้องการอีกสักหนึ่งเพื่อไว้กิจกรรมอะไรก็ได้ และนำไฟล์เหล่านี้ไปเก็บบน server ทำให้ผมจะมีข้อมูลเก็บอยู่สองแห่ง (เครื่องผมและserver)  เมื่อผมแก้ไข เพิ่ม หรือ ลบไฟล์ แล้วจะมี sync client สักตัวทำการ sync ให้เท่ากัน เมื่อผมไม่ได้ใช้เครื่องคอมฯของตนเอง ผมก็สามารถเข้าเว็บเบราว์เซอร์แล้วเข้าไปที่ URL ที่กำหนดไว้ เช่น [ http://cloud.in.psu.ac.th ] เป็นต้น ผมก็สามารถ login เข้าทำงานกับไฟล์ของผมได้แล้ว จากนั้นก็คิดต่อไปว่าแล้วผมมี Android smart phone จะต้องใช้ได้ด้วย คือเปิดดูพวกไฟล์ pdf ได้เลย รวมถึงเมื่อถ่ายรูป ไฟล์รูปภาพก็จะอัพโหลดไปเก็บอยู่บน server ของผม และเมื่อผมกลับมาเปิดเครื่องคอมฯของตนเองอีกครั้ง โปรแกรม sync client ก็จะทำการ sync ไฟล์รูปภาพจาก server ลงมาเก็บไว้ใน directory ที่กำหนดไว้ เป็นไงครับอ่านมาถึงตรงนี้ นึกออกแล้วใช่ไม๊ครับ ไม่เห็นภาพ ลองดูตัวอย่างจาก presentation เรื่อง คู่มือสำหรับผู้ใช้งาน ownCloud ครับ ตามนี้ [ https://sharedrive.psu.ac.th/public.php?service=files&t=494382205a552cc52f07e6855c991162 ] สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจึงลงมือทำการทดสอบ ติดตั้งง่ายครับใช้ ubuntu server 12.04.2 มีเรื่องที่ต้องสนใจ 2-3 เรื่อง เรื่องแรกคือจะใช้ฐานข้อมูลอะไร มีให้เลือก sqlite, MySQL, PostGresSQL เรื่องที่สองคือจะใช้ user name อะไรในการ login เข้าใช้งาน เรื่องที่สามคือจะกำหนดพื้นที่ดิสก์รวมอยู่กับ system หรือแยก partition ต่างหากสำหรับเก็บ data นอกจากนี้ก็เป็นการคอนฟิกเพิ่มเติมโปรแกรม (owncloud จะเรียกว่า Apps) เช่น Bookmark, News Feed, Web mail client เป็นต้น และสุดท้ายคือตั้งค่า disk quota สำหรับผู้ใช้แต่ละคน เริ่มต้นด้วยแบบง่ายๆก็ใช้ local user ของโปรแกรม owncloud เองเลย ซึ่งเก็บอยู่บนฐานข้อมูล sqlite ในขั้นตอนติดตั้ง แบบยากขึ้นมานิด จะใช้ External user support ได้อย่างไร ก็พบว่าทำได้จาก LDAP, IMAP, FTP server ผมเลือกใช้ FTP server เพราะว่าเราสามารถผสมใช้ linux user name พร้อมๆไปกับ PSU Passport ของมหาวิทยาลัยได้ด้วย ผ่านทาง FTP server และอนุญาตเฉพาะ user name ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับจากหลวงพี่วิภัทรสั่งสอนไว้นั่นเอง คือ PSU-radius + vsftpd + pam_radius_auth ถัดมาก็ทดสอบเปลี่ยนไปใช้ MySQL database ก็ไม่ยุ่งยากอะไร คือ ต้องเตรียม database name, database user, database password

Read More »

How to install apache,php,mysql instead xampp on ubuntu (for newbie)

แรกเริ่มเดินทีวันนี้ก็ไม่ได้จะเขียน Post นี้หรอกครับ เพียงแต่ว่ามี บุคลากรในที่ทำงานเจอปัญหาในการติดตั้งโปรแกรม ห้องสมุด ULIB  โดยใช้ Ubuntu 12.04.1 LTS  เป็น server แล้วติดตั้ง xampp เพื่อให้ได้ครบทุก package ในการใช้งาน แต่ไม่สามารถทำการติดตั้งโปรแกรม ULIB ได้เนื่องจากโปรแกรมฟ้องเรื่อง permission  ในการติดตั้งโปรแกรมดังข้างล่าง   มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนโหมดไฟล์/File permission problem – ไม่อนุญาตให้ติดตั้ง [../inc/config.inc.sv.php] Notice: Undefined variable: dcrs in /opt/lampp/htdocs/ULIB/install/index.php on line 239 มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนโหมดไฟล์/File permission problem – ไม่อนุญาตให้ติดตั้ง [../inc/config.inc.php] Notice: Undefined variable: dcrs in /opt/lampp/htdocs/ULIB/install/index.php on line 239 มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนโหมดไฟล์/File permission problem – ไม่อนุญาตให้ติดตั้ง [../inc/c.inc.php] Notice: Undefined variable: dcrs in /opt/lampp/htdocs/ULIB/install/index.php on line 239 มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนโหมดไฟล์/File permission problem – ไม่อนุญาตให้ติดตั้ง [../webboard/c.inc.php] Notice: Undefined variable: dcrs in /opt/lampp/htdocs/ULIB/install/index.php on line 239 มีปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนโหมดไฟล์/File permission problem – ไม่อนุญาตให้ติดตั้ง [../web/c.inc.php] Notice: Undefined variable: dcrs in /opt/lampp/htdocs/ULIB/install/index.php on line 239 หากคุณเป็นผู้ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ Linux/If you are server administrator (Linux) Execute in command line chown apache:apache ‘/opt/lampp/htdocs/ULIB/inc/config.inc.sv.php’ ; chown apache:apache ‘/opt/lampp/htdocs/ULIB/inc/config.inc.php’ ; chown apache:apache ‘/opt/lampp/htdocs/ULIB/inc/c.inc.php’ ; chown apache:apache ‘/opt/lampp/htdocs/ULIB/webboard/c.inc.php’ ; chown apache:apache ‘/opt/lampp/htdocs/ULIB/web/c.inc.php’ ; * apache:apache คือชื่อ User และ Group ของโปรแกรม Apache หากเซิร์ฟเวอร์ของคุณมีการปรับแต่งเป็นอย่างอื่น ก็ต้องแก้ apache:apache ตามด้วย   ผมจึงลองเปลี่ยน user และ group เป็น www-data:www-data  แล้วแต่มันก็ยังไม่สามารถติดตั้งระบบได้อยู่ดี จึงลองลบ xampp ออกจากเครื่องเลย วิธีการลบตอนแรกก็งงๆเหมือนกัน เพราะผมดันไปใช้คำสั่ง apt-get install opt  และก็ dpkg -P opt  ซึ่งมันก็ไม่สามารถลบได้ เพราะเหมือนว่าไอ่เจ้าถูก opt มองเห็นเป็นเพียง directory หนึ่งเท่านั้น ดังนั้นวิธีการลบจึงแค่ใช้คำสั่ง rm -rf /opt แทน ครับ [1] จากนั้นเมื่อลบแล้วจึงลองติดตั้งแบบแยกทีบะตัวดูครับโดยเริ่มจาก 1.ติดตั้ง MySQL  ก่อนเป็นอันดับแรกเลยก็ได้ครับโดยใช้คำสั่ง   sudo  apt-get install mysql-server mysql-client   ระบบจะให้เราใส่รหัสผ่านของ root และก็ยืนยันอีกครั้ง [2] 2.ติดตั้ง apache2  โดยใช้คำสั่ง    sudo    apt-get install apache2 apache2-doc      [3] 3.ติดตั้ง php  โดยคำสั่ง                  sudo  apt-get install php5 libapache2-mod-php5    โดยตอนที่ระบบมันถามว่าจะเลือก

Read More »