การเพิ่ม Wireless Profile PSU WiFi (802.1x) บน Windows 8/8.1

“บทความนี้ไม่ใช่บนความใหม่ แค่เป็นวิธีลงบน Windows 8/8.1 เท่านั้นนะครับ ใครชำนาญแล้วให้ข้ามไปได้เลยครับ” ทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 1. เปิดหน้า Network and Sharing Center เลือก Set up a new connection or network 2. เลือก Manually connection to a wireless network 3. ให้ตั้งค่าดังรูป *ขอแนะนำให้ใส่ชื่อ Network name ตัวเล็กตัวใหญ่แป๊ะ ๆ นะครับ มีวรรค 1 วรรคหน้า ( ด้วยนะครับ 4. หลังจากนั้นให้เลือก Change connection settings *ถ้ามันบอกว่ามีอยู่แล้วให้ลบ profile ทิ้ง วิธีลบด้วย command line อ่านบทความได้ที่นี่ครับ (http://sysadmin.psu.ac.th/2013/12/10/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-wireless-profile-%E0%B8%9A%E0%B8%99-windows-88-1-%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99-command-line/) 5. เลือก Tab Security จากนั้นเลือกหัวข้อ Settings 6. ให้ ติก Verify the server…. ออก จากนั้นกด OK 7. จากนั้นเลือก Advance Settings ต่อ 8. ให้ติกในส่วนของ Specify authentication mode : และเลือกให้ authen แบบ User authentication ในกรณีที่เป็นเครื่องส่วนตัวสามารถเลือก Save credentials (Save Username Password) จะได้ไม่ต้องกรอกทุกครั้งที่ต่อครับ  * ในการ Save credentials ในกรณีเปลี่ยนรหัสผ่านต้องมาเปลี่ยนที่นี่ด้วยครับไม่งั้น Windows จะ authen ผิดถี่จนระบบ PSU Passport ทำการ lock account ของท่านครับ (ระบบจะปลด lock อัตโนมัติหลังจากหยุด login จากทุกระบบ 20-30 นาทีโดยประมาณ) 9. หน้าจอสำหรับ Save credentials 10. เป็นอันเสร็จ ปิดหน้าต่างที่เปิดไว้ให้หมดครับ แล้วลองกลับไปเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งก็จะขึ้นหน้าให้ Login ดังรูปครับ ถ้าหน้าตาต่างจากนี้แสดงว่า Set ผิดครับ

Read More »

การจัดการ Wireless Profile บน Windows 8/8.1 ผ่าน Command line

“บางท่านอาจประสบปัญหาลบ Wireless Profile บน Windows 8/8.1 ไม่ได้ไม่รู้จะทำอย่างไร” ผมจึงเสนออีก 1 วิธี คือการลบผ่าน Command Line ดังนี้ 1. เปิดโปรแกรม CMD ขึ้นมาตามปกติ 2. ในกรณีที่ต้องการดูว่าตอนนี้มี Profile อะไรบ้างให้สั่งคำสั่ง netsh wlan show profile * หมายเหตุ : สำหรับคนที่ผูก account ไว้กับ Microsoft ทาง Microsoft จะมีการจำ Profile ไว้บน Cloud ให้เวลาท่านลงเครื่องใหม่ หรือนำ account ไปใช้กับเครื่องอื่น ถ้าเข้า SSID ไหนที่ต้องใส่รหัสผ่าน สามารถเข้าได้เลยโดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน (งงอยู่หลายครั้งว่าทำไมไม่ขึ้นให้ใส่รหัสผ่าน) ก็ไม่ต้องแปลกใจ แต่ในส่วนของ 802.1x ยังไงก็ต้องตั้งใหม่อยู่ดีครับ (มันไม่ได้จำทุก ๆ SSID นะครับ ไม่รู้มันเลือกยังไง) 3. ทำการสั่งคำสั่งลบ Profile นั้น ๆ ดังนี้ netsh wlan delete profile “xxxx” เท่านี้ก็สามารถเพิ่มข้อมูล Profile ใหม่ได้แล้วครับ *แถม : สำหรับคนที่ต่อติดแล้แต่อยากกลับไปแก้ Wireless Profile ที่ตั้งค่าไว้ให้เข้าไปแก้ได้ตามรูปครับ 1. เปิด Wifi Status ผ่านหน้า Network and Sharing Center 2. คลิกเลือก Wireless Properties จากนั้นจะปรากฎหน้าการตั้งค่า Profile จะแก้อะไรก็แก้ได้เลยครับ

Read More »

ติดตั้ง VPN บน Windows 8.1 ภายใน 6 ขั้นตอน (นิกาย L2TP)

เอาว่า ใครอยากติตตั้งง่าย ลองดู (เชื่อมั่นใน L2TP ว่าจะอยู่รอดได้) 1.คลิกขวาที่ System Tray ตรง Connection แล้วเลือก Open Network and Sharing Center   2.คลิก Set up a new connection or network 3.คลิก Connect to a workplace 4. คลิก Use my Internet connection (VPN) 5. ใส่ Internet Address : vpn.psu.ac.th Destination name: PSU-VPN   6. เวลาจะใช้ ก็เลือก PSU-VPN    

Read More »

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #4

(ตอนนี้ จะเน้นการตรวจสอบ Joomla เป็นหลักครับ) จาก “วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #3” ซึ่ง เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นว่า มีการบุกรุกผ่านช่องโหว่ต่างๆของ Web Server เข้ามาวาง Backdoor หรือไม่ ซึ่ง ตั้งสมมุติฐานว่า Hacker จะเอาไฟล์ .php มาวางไว้ในไดเรคทอรี่ images/stories เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว … ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะ Hacker ต้องคิดต่อไปอีกขั้นหนึ่ง คือ ต้องวางไฟล์ Backdoor ไว้ในที่อื่นๆด้วย รวมถึง พยายามแก้ไขไฟล์ .php ของ Joomla เพื่อไม่ให้ผิดสังเกต และเป็นช่องในการกลับเข้ามาในภายหลัง ในบทความนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติที่พึงดำเนินการ เพื่อการสืบสวน ค้นหา และทำลาย Backdoor ที่อื่นๆ รวมถึง เสนอแนวทางปฏิบัติ เพื่อผู้ดูแลระบบจะได้ทราบว่า มีไฟล์ใดบ้างที่เปลี่ยนแปลง ในอนาคต ภาพรวมขั้นตอนการปฏิบัติ 1. ทำการตรวจสอบไฟล์ .php ใน images/stories แล้วเก็บเป็น List เอาไว้ 2. ดึงไฟล์ Backdoor ที่พบ มาเก็บไว้ก่อน ด้วยคำสั่ง tar 3. ค้นหาไฟล์ ที่เกิดขึ้นหรือถูกแก้ไข ในเวลาใกล้เคียงกันกับ Backdoor นั้นๆ แล้วเก็บเป็น List เอาไว้ 4. ดึงไฟล์ ต้องสงสัย มาเก็บไว้ก่อน แล้ว ตรวจสอบ เป็นรายไฟล์ 5. ลบไฟล์ Backdoor จาก List ในข้อ 1. 6. ลบไฟล์ ต้องสงสัย หลังจากการตรวจสอบในข้อ 4. 7. ตรวจสอบ Web User คือใคร 8. ค้นหา Directory ที่ Web User จากข้อ 7. ที่สามารถเขียนได้ 9. ค้นหา Backdoor พื้นฐานเพิ่มเติม รายละเอียดการปฏิบัติ คำสั่งต่อไปนี้ อยู่บนพื้นฐานที่ว่า Document Root ของ Web Server อยู่ใน /var/www/ ของแต่ละผู้ใช้ ดังนั้น ขอให้ปรับเปลี่ยนตามระบบของท่าน 1. ทำการตรวจสอบไฟล์ .php ใน images/stories แล้วเก็บเป็น List เอาไว้ ใช้คำสั่งต่อไปนี้ find /var/www/ -name “*.php” -type f | grep ‘images/stories’ > /tmp/backdoor.txt 2. ดึงไฟล์ Backdoor ที่พบ มาเก็บไว้ก่อน ด้วยคำสั่ง tar เพื่อให้ในการตรวจสอบ และภายหลัง cat /tmp/backdoor.txt | xargs tar -cvf /tmp/backdoor.tar ลองตรวจสอบว่า คำสั่งดังกล่าว เก็บไฟล์ได้จริงหรือไม่ ด้วยคำสั่งต่อไปนี้ tar -tvf /tmp/backdoor.tar 3. ค้นหาไฟล์ ที่เกิดขึ้นหรือถูกแก้ไข ในเวลาใกล้เคียงกันกับ Backdoor นั้นๆ แล้วเก็บเป็น List เอาไว้ ให้สร้างไฟล์ ชื่อ findbackdoor.sh แล้วใส่เนื้อหาตามนี้ #!/bin/sh BD=”/tmp/backdoor.txt” TMP01=”/tmp/otherbackdoor.txt” DMROOT=”/var/www/” for f in $(cat $BD) ; do     echo “:: $f ::”

Read More »

How to: install Owncloud (Easy method)

สำหรับ Ubuntu 12.04 เท่านั้น เปิด terminal พิมพ์คำสั่ง (ไม่ต้องพิมพ์ $) $wget -q -O – http://download.opensuse.org/repositories/isv:ownCloud:community/xUbuntu_12.04/Release.key|sudo apt-key add – wget -nv https://download.owncloud.org/download/repositories/stable/xUbuntu_12.04/Release.key -O Release.key apt-key add – < Release.key ต่อด้วย $sudo sh -c “echo ‘deb http://download.opensuse.org/repositories/isv:ownCloud:community/xUbuntu_12.04/ /’ >> /etc/apt/sources.list.d/owncloud.list” sh -c “echo ‘deb http://download.owncloud.org/download/repositories/stable/xUbuntu_12.04/ /’ >> /etc/apt/sources.list.d/owncloud.list” apt-get update apt-get install owncloud ปิดท้าย $sudo apt-get update $sudo apt-get install -y owncloud ต่อด้วยคำสั่ง $sudo /etc/init.d/apache2 restart เปิดเว็บ http://localhost/owncloud เพื่อสร้าง user ที่เป็น admin ชื่ออะไรก็ได้ตามสะดวก และตั้งรหัสผ่านให้เรียบร้อย คลิก Advanced เพื่อดูค่าอื่นๆ เช่น โฟลเดอร์ที่ใช้เก็บข้อมูล การตั้งค่าฐานข้อมูลว่าจะใช้อะไร แบบง่ายนี้ขอใช้ sqlite ไปก่อนเพื่อความรวดเร็ว คลิก Finish Setup ระบบจะล็อคอินเป็น user ที่สร้างให้คนแรกโดยอัตโนมัติ ที่เหลือ … ขอให้สนุกครับ ที่มา http://software.opensuse.org/download/package?project=isv:ownCloud:community&package=owncloud https://download.owncloud.org/download/repositories/stable/owncloud/

Read More »