วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Laptop ไม่สามารถปรับควบคุมแสงสว่าง Brightness Control ใน Ubuntu 14.04

วิธีแก้ไขปัญหาเครื่อง Laptop ไม่สามารถปรับควบคุมแสงสว่าง Brightness Control ใน Ubuntu 14.04 ปัญหานี้เกิดกับ Laptop ที่มีการ์ดแสดงผลของยี่ห้อ [Intel Graphics] ซึ่งจะไม่สามารถปรับควบคุมความเข้มความสว่างของจอภาพเพื่อปรับลด/เพิ่ม แสงได้ตามปกติ – ให้ลองใช้คำสั่งตรวจสอบ video/graphic card ของท่านดูก่อนว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใด ls /sys/class/back light/ ถ้าปรากฎว่าแฟ้มข้อมูลที่แสดงออกมามีแฟ้มชื่อ intel_backlight อาจจะเกิดปัญหากับการปรับลด/เพิ่ม แสงของหน้าจอ ให้แก้ไขดังนี้ touch /usr/share/X11/xorg.conf.d/20-intel.conf sudo vi /usr/share/X11/xorg.conf.d/20-intel.conf จากนั้นพิมพ์ข้อมูลดังนี้ Section “Device” Identifier “card0” Driver “intel” Option “Backlight” “intel_backlight” BusID “PCI:0:2:0” EndSection หลังจากพิมพ์ข้อความเสร็จให้ทำการบันทึกแฟ้มดังกล่าว จากนั้นให้ลองล็อกเอาท์ logout หรือทำการ restart เครื่องใหม่ และลองใช้ฟังค์ชั่นคียร์ปรับลด/เพิ่ม แสงของจอภาพ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย… ^_^

Read More »

Sticky Note – โปรแกรม Post it ที่มาพร้อม Windows 7/8/8.1

“เคยไหมเวลางานเยอะ ๆ แป๊ะ post it ไว้รอบจอ แต่เวลากลับบ้านมันดันไม่ตามไปด้วย !!!” http://windows.microsoft.com/th-th/windows7/products/features/sticky-notes โปรแกรมนี้มีมาตั้งแต่ Windows 7 แล้วครับ โดยใน Windows 7 มีในรุ่น Home Premium, Professional, Ultimate และ Enterprise เท่านั้น โปรแกรมนี้ง่าย ๆ คือโปรแกรม Post It สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการอะไรเลย ไม่มีเวลานัดหมาย ไม่มีอะไรทั้งสิ้น มีแต่เหมือนกระดาษแผ่นเดียวเขียนอะไรก็ได้ตามแต่ใจนึก โปรแกรมนี้ไม่ต้องติดตั้งนะครับแค่ทำตามง่าย ๆ ดังนี้ OS : Windows 8.1 Enterprise   วิธีเปลี่ยนสีคลิกขวาตรงพื้นที่ว่าง ๆ แค่นี้ก็ได้ Post It บ้าน ๆ ใช้งานแล้วครับ เขียนมาให้อ่านกันบ้างนะครับ วิธีใช้ shortcut ต่าง ๆ : <Credited : http://thaiwinadmin.blogspot.com/2010/06/how-to-use-sticky-notes.html> • ตัวหนา (Bold): Ctrl+B• ตัวเอียง (Italics): Ctrl+I• ขีดเส้นใต้ (Underline): Ctrl+U• ขีดฆ่า (Strikethrough): Ctrl+T• ใส่บุลเล็ต (Bullet list): Ctrl+Shift+L• ปรับขนาดฟอนท์ให้ใหญ่ขึ้น (Bigger font): Ctrl+Shift+>• ปรับขนาดฟอนท์ให้เล็กลง (Smaller font): Ctrl+Shift+<• ปรับข้อความเป็นตัวพิมพ์โหญ่ (Capitalize): Ctrl+Shift+A • จัดเรียงให้ชิดขอบด้านขวามือ (Right Align): Ctrl+R• จัดเรียงให้อยู่ตรงกลาง (Center align): Ctrl+E• จัดเรียงให้ชิดขอบด้านซ้ายมือ (Left Align): Ctrl+L

Read More »

เรียนรู้ด้วยตนเอง Linux System Administration I และ II

ขอแนะนำแหล่งความรู้สำหรับทุกท่านที่ต้องการเรียนรู้ Linux ซึ่งผมและอาจารย์ฉัตรชัย จันทร์พริ้ม ได้รวบรวมเขียนไว้และจัดอบรมไปแล้ว 1 รุ่น ใน Workshop I สอนด้วย Ubuntu 12.04 และใน Workshop II Ubuntu 14.04 ออกมาพอทันให้ได้ใช้กันครับ Workshop Linux System Administration I (http://opensource.cc.psu.ac.th/WS-LSA1) เนื้อหา เป็นการให้ความรู้ในการทำหน้าที่ system administrator เพื่อดูแลระบบปฏิบัติการ Linux โดยจะใช้ Ubuntu ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานกันมาก โดยจัดเนื้อหาเป็น 2 ตอน ในตอนแรกนี้จะเป็นความรู้จำเป็นที่จะเป็นพื้นฐานไปสู่การเป็นมืออาชีพที่สามารถดูแล server ด้วยตนเองต่อไปได้อย่างมั่นใจ โดยใช้เวลา 2 วัน Workshop Linux System Administration II (http://opensource.cc.psu.ac.th/WS-LSA2) เนื้อหา เป็นการให้ความรู้ในการทำหน้าที่ system administrator เพื่อดูแลระบบปฏิบัติการ Linux โดยจะใช้ Ubuntu ในตอนที่ 2 นี้จะเป็นความรู้ในการติดตั้ง server การดูแล server การป้องกันและตรวจสอบความปลอดภัย server และ web application ที่ติดตั้งในเครื่อง โดยใช้เวลา 2 วัน วิธีการเรียนใน workshop ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติด้วย Ubuntu server ที่ติดตั้งใน Oracle VM Virtualbox ซึ่งเป็นโปรแกรมในการจำลองเครื่องเสมือนจริง สำหรับเพื่อนๆที่ไม่ได้เข้า workshop ลองเข้าไปอ่านกันได้นะครับ และเพื่อนๆที่เข้า workshop ก็ทบทวนได้เมื่อต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับ Linux System Administration I และ II

Read More »

วิธีตั้งค่า Apache web server 2.4.x แตกต่างจาก 2.2.x

เก็บตกจากวันวานเปิดอบรม Workshop Linux System Administration II (WS-LSA2) ที่ศูนย์คอมฯ 2 วัน ผมเตรียมเอกสาร workshop วิธีตั้งค่าหลายๆเรื่องบน ubuntu 12.04 แต่พอดีกับที่ ubuntu 14.04 ออกมาแล้ว จึงนำ ubuntu 14.04 มาให้ผู้เรียนใช้ติดตั้ง มันก็ไม่มีอะไรแตกต่างไปจาก ubuntu 12.04 ตั้งแต่เริ่มต้น installation จนกระทั่งมาถึงเรื่องที่เราจะตั้งค่าเกี่ยวกับ Apache web server ซึ่งทำให้ต้องแก้ไขเอกสารประกอบการสอนกันสดๆตอนนั้นเลย (ฮา) เพราะว่า Apache Web Server ที่อยู่ในแผ่น ubuntu 14.04 นั้นเป็นเวอร์ชั่น 2.4.7 ซึ่งมี Default Document Root อยู่ที่ /var/www/html ต่างจาก Apache Web Server เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้ (2.2.x) ที่มี Default Document Root อยู่ที่ /var/www เป็นต้น พอจะสรุปได้ดังนี้ Apache Web Server 2.2.x ทำแบบนี้ 1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/testjoomla 2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available จะมีไฟล์ชื่อ default และ default-ssl มาให้ และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็สร้าง config file ที่มีชื่อไฟล์อย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/sites-available/pma หลังจากนั้นเราก็ enable VirtualHost นี้ จาก config ที่เราสร้างขึ้นใหม่ โดยการใช้คำสั่ง sudo a2ensite pma แล้วก็สั่ง restart apache 3.เมื่อเข้าไปดูในไฟล์ default DocumentRoot จะอยู่ที่ /var/www 4.Apache2 config file จะอยู่ที่ /etc/apache2/conf.d สมมติว่าต้องการเพิ่มการป้องกัน joomla web server ด้วย config file ชื่อ jce จะต้องทำดังนี้ สร้างไฟล์ที่จะมีชื่ออย่างไรก็ได้ เช่น /etc/apache2/conf.d/jce แค่นี้ก็ได้แล้ว แล้วก็สั่ง restart apache และเมื่อจะไม่ใช้ config file jce นี้แล้ว ก็แค่ลบไฟล์นี้ทิ้ง แต่สำหรับ Apache Web Server 2.4.x วิธีการจะแตกต่างไป ดังนี้ 1.พื้นที่ default ของ Apache Web Server คือไดเรกทอรี /var/www/html หากจะติดตั้ง Joomla CMS เราจะต้องเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง joomla ไว้ที่ไดเรกทอรี /var/www/html/testjoomla ด้วยคำสั่ง sudo mkdir -p /var/www/html/testjoomla 2.website config file จะอยู่ที่ไดเรกทอรี /etc/apache2/sites-available จะมีไฟล์ชื่อ 000-default และ default-ssl มาให้ (ต่างจาก 2.2.x) และหากจะสร้าง VirtualHost pma.example.com เราก็ต้องสร้าง config file ที่มี

Read More »