การทำ Wireframe

ในการพัฒนาเว็บไซต์ จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงหลักๆ ได้แก่ 1. ทีมพัฒนาเว็บไซต์ หรือโปรแกรมเมอร์ อาจจะมีคนเดียว หรือทำงานกันเป็นทีมก็ได้ และ 2. ผู้ใช้ หรือลูกค้า จะเป็นผู้กำหนดความต้องการของเว็บไซต์ หลังจากที่ทีมพัฒนาเก็บรวบรวมความต้องการของลูกค้า และได้ทำการวิเคราะห์ความต้องการแล้ว ขั้นตอนถัดไป ก็จะเป็นการวางแผน ออกแบบ Layout คร่าวๆ ก่อน เพื่อให้ทีมพัฒนามีความเข้าใจที่ตรงกัน อีกทั้งยังสามารถนำเสนอต่อลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพรวมของเว็บไซต์ก่อนการลงมือออกแบบเว็บไซต์ และเขียนโค้ดจริง  เราเรียกกระบวนการออกแบบ Layout และนำเนื้อหาคร่าวๆ ในเว็บไซต์มาจัดเรียงบน Layout นี้ว่า “การทำ Wireframe” การทำ Wireframe นั้นไม่ได้มีรูปแบบตายตัว นักพัฒนาแต่ละคนอาจมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แต่มีวัตถุประสงค์ในการทำที่เหมือนกัน คือ เพื่อให้เห็นภาพรวมของเว็บไซต์ ทำให้ทีมเข้าใจตรงกัน และพัฒนาไปในทางเดียวกัน ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ทำ Wireframe ที่ทำได้ง่ายที่สุด คือการใช้ดินสอ วาด Layout ลงบนกระดาษ และจัดเรียงเนื้อหาคร่าวๆ ดังรูป หรือจะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการทำก็ได้แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการทำ Wireframe จะมีให้เลือกใช้มากมาย ทั้งในแบบใช้งานออนไลน์ และแบบที่ต้องติดตั้งลงเครื่อง มีทั้งที่ให้ใช้งานฟรี และเสียตังค์ซื้อก็มี ตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่ Prototype – โปรแกรมทำ Wireframe ตัวนี้มีทั้งบน Windows / Mac OS โดยแบ่งเป็นเวอร์ชั่นฟรี กับเวอร์ชั่นเสียเงิน Pencil Project – โปรแกรมทำ Wireframe ใช้ฟรี ๆ มีทั้งบน Windows / Linux / Mac OS Cacoo – Web App สำหรับทำ Diagram, Wireframe ออนไลน์ โดย Account ฟรีจะสร้าง Wireframe ได้จำกัดหน้า JumpChart – Web App สำหรับทำ Wireframe Online ที่หน้าตาเรียบง่าย โดย Account ฟรีจะสร้าง Wireframe ได้จำกัดหน้า FrameBox – Web App สำหรับทำ Wireframe ฟีเจอร์น้อย แต่ใช้ฟรี ทำเสร็จส่งลิงค์ให้ลูกค้าได้ทันที iPlotz – Web App สำหรับสร้าง Wireframe ออนไลน์ที่ดูมีสีสันกว่าตัวอื่น ใช้ฟรี Account จะจำกัดหน้า วิธีการใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ก็ไม่ยากมาก สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง และเลือกใช้งานโปรแกรมได้ตามความถนัดของแต่ละคน ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นวีดีโอแนะนำการใช้งาน Pencil Project ซึ่งเท่าที่เคยได้ลองเล่นดูพบว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจ มีเครื่องมือให้ใช้ค่อนข้างครบถ้วน และที่สำคัญคือใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย  

Read More »

Mozilla Thunderbird & Google Calendar

1. ติดตั้ง extension 2 ตัวใน Thunderbird ได้แก่ Lightning และ Provider for Google Calendar ดังรูป 2. รีสตาร์ท Thunderbird จะพบปุ่ม อยู่ทางมุมบนขวา 3. เข้า gmail.psu.ac.th ล็อคอินให้เรียบร้อย คลิก  แล้วเลือก Calendar 4. ที่หน้า Calendar คลิก เลือก Setting 5. คลิก Calenders ทีี่มุมซ้ายบน 6. เลือกปฏิทินที่ต้องการ 7. ตรวจสอบว่าใช่ปฏิทินที่ต้องการหรือไม่ดูที่ ช่อง Calender Owner ว่าเป็นอันเดียวกับ Username ที่ล็อคอินเข้า gmail 8. เลื่อนดูด้านล่างในส่วนของ Private Address: 9. คลิกขวาที่ ICAL เลือก Copy Link Location 10. กลับมาที่ Thunderbird กดปุ่ม เพื่อเปิดปฏิทิน 11. คลิกขวาที่ช่องว่างฝั่งซ้ายมือใต้คำว่า Calendar เลือก New Calendar 12. ได้หน้าต่าง Create New Calendar เลือก Google Calendar กด Next 13. กด Ctrl-v เพื่อ paste URL ของปฏิทินที่ Copy มาในข้อก่อนหน้า 14. กด back 1 ครั้งแล้วกด Next ใหม่ (อันนี้น่าจะเป็นบักของ Ubuntu 14.10) 15. กด Next 16. จะมีหน้าต่างเพื่อยืนยันตัวตนของ Google ปรากฎขึ้นมา 17.  กด Sign in จะได้อีกหน้าต่างดังรูป กดยอมรับ 18. จะมีหน้าให้เลือกปฏิทินที่ต้องการอีกครั้งกด Next 19. จะมีหน้าให้ ยืนยันตัวตน และหน้าเพื่อขอสิทธิ์การเข้าถึง อีกรอบกดให้ Sign in และยอมรับ 20. กด Finish 21. ก็จะได้ปฏิทินเพิ่มมาตามต้องการ 22. ทั้งหมดนี้ทำบน Ubuntu 14.10 บน Windows ก็น่าจะทำเหมือนกัน 23. สามารถเพิ่มลบเหตุการณ์ผ่าน Thunderbird ได้เลยไม่ต้องเข้าเว็บอีก … 24. จากที่ทดสอบหนึ่ง Profile ของ Thunderbird สามารถมี Google Calendar ได้เพียง account เดียว 25. ขอให้สนุกครับ

Read More »

เตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนา Web Application

ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา หรือแม้กระทั่งวงการทหาร ดังนั้นแนวโน้มของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเน้นไปทางด้านโปรแกรมที่สามารถทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ประกอบกับอุปกรณ์ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นจึงมีผลต่อการพิจารณาเทคนิค วิธีการต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบของผู้พัฒนาว่าควรจะเลือกใช้เทคโนโลยีใดบ้าง เพื่อให้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีความทันสมัย รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Computer, Tablet หรือ Mobile จะมีโปรแกรมพื้นฐานที่เรียกว่า Web Browser สำหรับเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ อยู่แล้ว ดังนั้นการพัฒนาโปรแกรมในรูปแบบ Web หรือที่เรียกว่า Web Application จึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี ก่อนการพัฒนาโปรแกรมทุกครั้ง ผู้พัฒนาระบบจะต้องทำการรวบรวมความต้องการของโปรแกรม (เป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาโปรแกรมตามกระบวนการ SDLC) เพื่อนำมาวิเคราะห์ และออกแบบระบบในขั้นตอนต่อไป ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการในบางครั้งพบว่าเราไม่จำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากโปรแกรมสำเร็จรูปบางตัวสามารถตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้แล้ว เช่น Joomla, Moodle, WordPress เป็นต้น แต่ถ้าหากไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ก็จะเป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาที่จะต้องพัฒนาระบบขึ้นมาเอง ซึ่งในการที่จะพัฒนาระบบได้นั้น ผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้นำมาประกอบการตัดสินใจเลือกเทคนิคเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจพื้นฐานที่ควรรู้สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์มือใหม่ได้แก่ความหมายของ Front-end,  Back-end และ Front-end Framework Front-end สำหรับเว็บไซต์ คือส่วนที่แสดงผล หรือหน้าเว็บไซต์ที่เราคุ้นเคยกัน เปรียบได้กับหน้าบ้าน ซึ่งเป็นส่วนที่ User โดยทั่วไปสามารถเห็น และเข้ามาใช้งานได้ เช่น หน้าเว็บที่ท่านกำลังอ่านอยู่ ณ ขณะนี้ เป็นต้น ซึ่งหน้าเว็บเหล่านี้จะต้องมีการออกแบบให้สวยงาม เพื่อสร้างความน่าสนใจของเนื้อหาเว็บไซต์ให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการออกแบบในส่วนของการจัดวางเมนู การจัดตำแหน่งของเนื้อหาเว็บ การกำหนดรูปแบบ และขนาด Text เป็นต้น Back-end ในที่นี้หมายถึงส่วนหน้าจอการจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม แก้ไข ลบเนื้อหาเว็บไซต์ (Content) สำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ (Admin) ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่ท่านกำลังอ่าน ก็มาจากการเพิ่มข้อมูล หรือเขียน Blog ผ่านหน้าจอการจัดการ ข้อมูลนั่นเอง สังเกตได้ว่าในการพัฒนาเว็บไซต์ทั้งส่วน Front-end หรือ Back-end ไม่ว่าจะเป็นเว็บใดก็ตามจะมีการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ภาษา HTML จากนั้นจึงจัดรูปแบบให้สวยงามด้วย CSS และเพิ่มลูกเล่นให้กับเว็บไซต์ให้น่าสนใจด้วย JavaScript ซึ่งเดิมทีการสร้างเว็บไซต์แต่ละเว็บนั้นเราจะเริ่มจากเขียน HTML, CSS และ JavaScript เองตั้งแต่ต้นจนจบ หรืออาจจะใช้เครื่องมือช่วยเช่น Dreamweaver แต่ในปัจจุบันนี้เราไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์อีกแล้ว เนื่องจากได้มีการเขียนโค้ด HTML, CSS และ JavaScript แบบสำเร็จรูปรวมกันไว้เป็นชุดให้นักพัฒนาเว็บไซต์ได้ดาวน์โหลดไปใช้งานต่อได้เลย ซึ่งชุดโค้ดเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการจัดวาง Layout ตัวอักษร ปุ่ม เมนู ฯลฯ นักพัฒนาก็แค่คัดลอกโค้ดส่วนที่ต้องการไปใช้ได้เลย เราเรียกชุดของโค้ดดังกล่าวนี้ว่า Front-end Framework ตัวอย่างของ Front-end Framework ที่นิยมใช้งานกัน ได้แก่ Bootstrap, ZURB foundation เป็นต้น  โดยในบทความถัดไปจะเป็นการแนะนำการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย Bootstrap

Read More »

ติดตั้ง ownCloud เลือกใช้ user PSU Passport หรือ ftp server หรือ RADIUS Server

เหมาะสำหรับหน่วยงานที่ต้องการทำ private cloud storage ของตนเอง โดยใช้ open source software ชื่อ ownCloud สภาพแวดล้อม     ติดตั้ง ownCloud ลงบน ubuntu server 14.04     ติดตั้ง ownCloud เวอร์ชั่น ownCloud 7.0.4 (stable) แบบ apt-get install     ติดตั้ง ownCloud เลือกใช้กับ MySQL/MariaDB Database     ติดตั้ง ownCloud เลือกใช้ user PSU Passport หรือ เลือกใช้ user เดียวกับ ftp server หรือ RADIUS Server (โดยเลือกใช้ user name ผ่าน Apps ชื่อ External user support) ขั้นตอนเตรียม User Account 1. ติดตั้ง ubuntu server 14.04.x ในขั้นตอน Install ให้เลือกแพ็กเกจ OpenSSH และ LAMP 2. ติดตั้ง FreeRADIUS 3. ติดตั้ง vsftpd 4. ติดตั้ง lib-pam-radius 5. แก้ไขไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับ freeradius เพื่อเลือก database จบขั้นตอนนี้ เราได้ user ของ ftp server ซึ่งอาจจะเป็น local linux account หรือ ldaps user (PSU Passport) ผ่าน RADIUS server (ขั้นตอน 1-5 อ่านได้ที่นี่ ติดตั้ง ftp server + lib-pam-radius + authen psu-passport และ ldaps) ขั้นตอนถัดไปติดตั้ง ownCloud 6. อ่านคำแนะนำวิธีติดตั้งผ่าน repository และ apt-get install owncloud 7. สร้าง Datbase user, name, password 8. ตั้งค่า ownCloud ครั้งแรกผ่านเบราว์เซอร์ เพื่อเลือก MySQL/MariaDB Server และ เลือกใช้ user name ผ่าน Apps ชื่อ External user support 9. ติดตั้ง https ตามวิธีของท่าน (โปรดหาวิธีทำเองนะครับ) 10. ที่เบราว์เซอร์เข้าใช้งานด้วย user ที่ใช้งานกับ ftp server ที่เราติดตั้งได้สำเร็จ จบขั้นตอนนี้ เรามี ownCloud ที่สามารถเข้าใช้งานด้วย user ที่เราเลือกไว้ในขั้นตอนที่ 5 (ขั้นตอนที่ 6-10 อ่านได้ที่นี่ ติดตั้ง ownCloud และใช้ user เดียวกับของ ftp server)  

Read More »

วิธีตรวจสอบขณะเข้าเว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บ login ด้วย username

วิธีตรวจสอบขณะเข้าเว็บไซต์ที่มีหน้าเว็บ login ด้วย username สำหรับเบราว์เซอร์ Chrome ให้สังเกตว่าจะมีรูปกุญแจล๊อค(สีเขียว) หน้าคำว่า https แสดงว่า เว็บเพจหน้านี้ปลอดภัย หากแสดงเป็นอย่างอื่น เช่น กากบาทสีแดงคาดที่คำว่า https แสดงว่าไม่ปลอดภัย อาจจะกำลังโดนใครดักข้อมูล username และ password ของท่าน ตัวอย่างเว็บไซต์ gmail ตัวอย่างเว็บไซต์ต่างๆของ PSU ที่เรียกใช้ด้วย Chrome browser และ แสดง https กุญแจสีเขียว สถานะปลอดภัย สำหรับเบราว์เซอร์ Firefox ก็แสดงเป็นรูปกุญแจล๊อค แต่เป็นสีเทา ไม่แสดงเป็นสีเขียว ก็คือปรกติครับ (ผมไม่ได้ใส่รูปตัวอย่างสำหรับ Firefox) สำหรับเบราว์เซอร์ IE (Internet Explorer) ในขณะที่เขียนบทความนี้ (19 ธันวาคม 2557) ผมไม่แนะนำให้ใช้ครับ ขอให้ตรวจสอบทุกครั้งก่อนใช้งานใส่ username ลงไปนะครับ

Read More »