การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows

ห่างหายไปนาน เพราะตอนนี้ยุ่งๆ หลายเรื่องเลยคับ ซึ่งมีหลายสิ่งในหัวสมองอันน้อยนิด อยากที่จะมาแชร์เกี่ยวสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า GIS คราวที่แล้วพูดถึง Map Server ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 2 เจ้าใหญ่ๆ คือ ArcGIS Server และ Geoserver (จริงๆแล้วมีตัวอื่นอีกนะคับ) ซึ่งปัจจุบัน ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคใต้ (SouthGIST) ติดตั้งและใช้งาน ArcGIS Server 10.0 อยู่คับ โดยใช้งานภายใต้โครงการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา(SLB-GIS) และคาดว่าภายในปีนี้จะติดตั้ง Geoserver เพิ่มอีกตัว โดยจะให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ การติดตั้ง ArcGIS Server 10 for Windows (ติดตั้งได้ทั้งบน Windows และ Linux) จะมีส่วนหลักๆ ที่จะต้องติดตั้ง คือ – Windows Server ตั้งแต่ 2003 ขึ้นไป *ที่ศูนย์ฯ ติดตั้ง Windows Server 2008 R2 – Microsort SQL Server – IIS version 7.0 ขึ้นไป – ArcGIS Server 10 Enterprise – Microsoft .Net Framework 3.5 – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – GIS Service – ArcGIS Server for the Microsoft .Net Framework – Web Applications – ArcSDE for SqlServer – ArcGIS for Desktop ดูเพิ่มเติมได้ที่ ArcGIS Resource ขั้นตอนการติดตั้ง ศึกษาได้จาก https://youtu.be/k5nL7msvPgs เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว หน้าตาสำหรับ Administrator จะเป็นแบบนี้คับ ข้อดี ของ ArcGIS Server คือ บริหารจัดการง่าย ทำงานเพียง 2 ขั้นตอน ก็ build ออกมาเป็น Web Map Application ได้เลย Create Service โดย service นี้สามารถ share service ให้อยู่ในรูปของ WMS (Web Map Service) ได้ด้วยนะคับ เพื่อนำไปใช้ input เข้าโปรแกรมด้าน GIS อาทิเช่น ArcGIS for Desktop , QGIS เป็นต้น (ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอเรื่อง WMS นะคับ) Create Web Application โดยการ add Service ที่เราได้สร้างไว้แล้ว จากนั้น ตั้งค่าสำหรับเว็บ ก็จะได้ออกมาในเป็นหน้าเว็บแมพ (Web Map Application) ข้อด้อย ของ ArcGIS Server คือ ค่า license ที่มีราคาเป็นหลักแสนบาท ซึ่งจะต้องซื้อ ArcGIS for Desktop (8,000฿) ด้วย แต่ถือว่าคุ้มนะคับสำหรับบางหน่วยงานที่ไม่อยากพึ่งพา Programmer มากนัก เพราะไม่ต้อง config อะไร แค่ add service แล้วนำไปสร้างเป็นเว็บแมพได้เลย พูดได้ว่า คุณสามารถ build web map ได้ภายใน 5 นาที โดยที่ไม่ต้อง coding

Read More »

เริ่มต้นใช้งาน Amazon Web Services

ผู้เขียนขออธิบายเป็นภาษาบ้านๆ ตามความเข้าใจของตนเองจากการได้เข้าร่วมอบรบ AWS Essentials ในงาน WUNCA ครั้งที่ 30 ดังนี้ Amazon Web Services คือ การบริการเครื่องคอมพิวเตอร์บนกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) เพื่อใช้งานในด้านต่างๆ เช่น Web Server, Database Server, File Server ฯลฯ ซึ่งของบริษัทอเมซอนก็มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่ให้บริการในด้านต่างๆ ข้างต้น คือ

Read More »

Mail merge with gmail and google sheet

หลังจากทำฟอร์มแบบสอบถามส่งเป็นจดหมายเวียน (mail merge) ให้กับผู้ดูแลระบบของคณะ/หน่วยงาน คิดว่าอยากเล่าให้เพื่อนๆฟังด้วยว่า มีเทคนิคอยู่ 1 เทคนิค คือ การใส่ส่วนเสริม (Add-ons) ชื่อ Yet Another Mail Merge เข้าไปใน Google Sheet และใช้มันเพื่อประสาน gmail (จดหมายร่าง) กับ google sheet ที่มีฟิลด์เก็บข้อมูล E-mail Address ของทุกคน ขั้นตอน 1. สร้างฟอร์ม 2. สร้างคำถามในฟอร์มและทดสอบฟอร์มให้เรียบร้อย 3. สร้าง Google Sheet ที่มีฟิลด์ Name, Office, Email Address 4. สร้างจดหมายฉบับร่าง ที่ในช่อง To: ไม่ต้องใส่ ให้เว้นไว้เฉยๆ ส่วนในเนื้อหามีอ้างถึง ฟิลด์ ที่ต้องการ 5. กลับมาที่ Google Sheet ที่เมนูส่วนเสริม (Add-ons) ให้ดาวน์โหลดส่วนเสริมชื่อว่า “Yet Another Mail Merge” ซึ่งจะมีคำถามให้ยอมรับเงื่อนไข อ่านให้ละเอียดนะครับ) แล้วจะมีเมนูให้ใช้ ก็เลือกเมนูย่อย “เริ่มประสานอีเมล” 6. ในช่อง จดหมายร่าง: ให้เลือกชื่อ Subject ของอีเมลที่ร่างไว้นั้น ในช่องชื่อผู้ส่ง: พิมพ์ชื่อผู้ส่งตามสะดวก ข้อจำกัดคือส่งได้วันละ 100 ฉบับ 7. เมื่อคลิก ส่งอีเมล จะเห็นว่ามีการสร้างฟิลด์ Merge Status และใส่คำว่า EMAIL_SENT 8. เช็คจดหมายส่งแล้ว จะเห็นว่าส่งอีเมลไปให้ทีละคน ข้อมูลอ้างอิงที่ผมใช้ในการทำงานนี้: 1. Yet Another Mail Merge https://sites.google.com/site/scriptsexamples/available-web-apps/mail-merge 2. Youtube วิดีโอ เรื่อง “Create a Mail Merge with Gmail and Google Drive 2014”

Read More »

วิธีใช้เครื่องมือในการเขียนบล็อกใน wordpress

ผมได้เขียนคำแนะนำวิธีใช้เครื่องมือในการเขียนบล็อกใน wordpress ไป วันนี้อยากนำมาเล่าสู่กันฟังอีกสักรอบ เพราะว่ามีสมาชิกใหม่ๆเข้ามาร่วมเยอะ เคยเขียนเรื่อง “KM เรื่อง การใช้งานสำหรับผู้เขียน wordpress” (http://sysadmin.psu.ac.th/2012/11/16/km-how-to-authoring-in-wordpress/) Posted on November 16, 2012 by วิบูลย์ วราสิทธิชัย อันนี้จะเป็นคำแนะนำวิธีการตั้งชื่อ URL Link เป็นภาษาอังกฤษ แม้ว่า เราจะตั้งชื่อเรื่องเป็นภาษาไทย ต้องใช้วิธีการ manual ในการแก้ไข ตั้งค่าการเผยแพร่บทความให้อ่านได้เฉพาะสมาชิกที่ login (http://sysadmin.psu.ac.th/2013/01/04/set-post-to-private/) Posted on January 4, 2013 by วิบูลย์ วราสิทธิชัย อันนี้จะเป็นคำแนะนำวิธีการซ่อนบทความที่ไม่ต้องการเปิดเผยเนื่องจากเป็นข้อมูลเฉพาะเจาะจงในม.อ. เช่น workshop PSU Passport Authentication อย่างนี้กำหนดค่าให้ login ก่อนจึงอ่านได้ และวันนี้มีมาเล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมครับว่า เราสามารถใส่รูปภาพ เพื่อเป็นรูปแรกสำหรับหน้าบล็อกเรื่องที่เขียนครับ โดยคลิกที่คำว่า Set featured Image อยู่ด้านขวามือข้างล่างหน้าบล็อกที่กำลังเขียน ให้อัปโหลดรูป (ต้องย่อขนาดรูปให้เล็ก ประมาณสัก กว้าง 130px สูง 130px ด้วยเครื่องมือตกแต่งรูปที่ใช้เป็น ก่อนอัปโหลดนะครับ) ขึ้นไปเก็บบน sysadmin.psu.ac.th แล้วคลิกเลือกมาใช้ ลืมบอกไปว่า Featured Image จะโผล่ในหน้าแรก (Home) ลองใช้งาน ติดขัดอย่างไรก็สอบถามมานะครับ  

Read More »

เทคนิคการเพิ่ม user ในระบบ linux คราวละมากๆ

มีผู้สนใจ linux ได้สอบถามเข้ามาทางอีเมลว่า จะเพิ่ม user ในระบบ linux คราวละมากๆ พอจะมี shell scripts ให้นำไปใช้งานหรือเปล่า ผมก็มีอยู่แล้ว แต่ก็ปรับแต่งเล็กน้อย shell script นี้มีดังนี้ 1. makeusername.sh เพื่อสร้างไฟล์รายชื่อตามจำนวนที่ต้องการ เลขเริ่มต้น min และสิ้นสุด max 2. bulkuseradd.sh เพื่อเพิ่ม user และ password แบบ random และสร้างไฟล์ .csv เก็บ user:password นำไปพิมพ์แจก user ได้ 3. bulkuserdel.sh เพื่อลบ user ผมเขียนไว้ในเว็บไซต์ opensource.cc.psu.ac.th หัวข้อ เทคนิค+scripts ( http://opensource.cc.psu.ac.th/เทคนิคการเพิ่ม_user_ในระบบ_linux_คราวละมากๆ)

Read More »