การวัดระยะทางบน Google Earth

จากบทความที่แล้ว การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ. ทำให้สามารถมองเห็นภาพพื้นที่ห้ามฯ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ยังคงมีหลายๆท่านอยากรู้ว่าร้านนี้ ร้านนั้น จะอยู่ในเขตโซนนิ่งหรือเปล่า? วันนี้เลยมานำเสนอวิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบด้วยตัวเอง ด้วยการวัดระยะทางจากสถานศึกษา ไปยังร้านที่เราสงสัยว่าจะอยู่ในข่ายโซนนิ่งหรือไม่? ขั้นตอน เปิดโปรแกรม Google Earth ถ้ายังไม่ได้ติดตั้งคลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม จากประกาศสำนักนายกฯ ในข้อ 1 ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณซึ่งอยู่ในระยะ 300 เมตร จากรั้วหรือแนวเขตของสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน ฉะนั้นเราต้องสร้างขอบเขตสถานศึกษาก่อน (ขั้นตอนนี้สามารถข้ามได้) คลิกไอคอน เพิ่มรูปหลายเหลี่ยม > คลิกลงบนแผนที่ที่เป็นขอบเขตสถานที่ > กำหนดให้พื้นที่เป็นแบบโปร่งแสง เพื่อแสดงเฉพาะเส้นขอบเขต > คลิก ตกลง จากนั้นจะเริ่มทำการวัดระยะทาง โดยคลิกที่ไอคอนไม้บรรทัด > กำหนดหน่วยระยะทางเป็น เมตร คลิก 1 ครั้งที่จุดเริ่มต้นบริเวณแนวเขตสถานศึกษา > คลิก 1 ครั้งที่จุดปลายทางสถานบันเทิงที่ต้องการตรวจสอบ จะเห็นว่า pop-up แสดงระยะทาง หากต้องการไปตรวจสอบจุดต่อไป ให้คลิกปุ่ม ล้าง เพื่อลบเส้นระยะทางที่ได้ทำไว้เมื่อสักครู่นี้ (เสริม) หากต้องการวัดระยะทางโดยการใช้เส้นที่ประกอบด้วยจุดที่มากกว่า 2 จุด ให้ใช้แท็บ เส้นทาง ซึ่งลักษณะการวัดระยะทางจะเหมือนกับข้อ 5 หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านในการนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ นะคับ ^^

Read More »

การทำแผนที่ Buffer 300 เมตร สถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบ มอ.

ตอนนี้เป็นกระแสที่กำลังมาแรงเรื่องการจัดระเบียบสถานบันเทิงหรือสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใกล้บริเวณสถานศึกษา วันนี้เลยจะนำเสนอการทำ buffer 300 เมตร ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ.2558 โดยห่างจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อเราได้ตรวจเช็คว่า ร้านหรือสถานบันเทิงใดบ้างที่อยู่ในเขตพื้นที่ห้ามฯ* * ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ โดยใช้ basemaps จากบทความที่แล้ว การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS ขั้นตอน เปิดโปรแกรม QGIS > นำเข้าขอบเขต มอ. ด้วยคำสั่ง Add Vector Layer > เลือก shape file ขึ้นมา จะปรากฏ Layer หรือชั้นข้อมูลขอบเขตพื้นที่ มอ. ขึ้นมา นำเข้าแผนที่ Google Satellite ด้วยการคลิกที่เมนู Web > OpenLayers plugin > Google maps > Google Satellite* *หากไม่มีเมนูนี้ ให้ทำการติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGISS ตอนนี้ในหน้าจอโปรแกรม QGIS ก็จะมี 2 Layers ที่เป็นแผนที่ Google และเส้นขอบเขตพื้นที่บริเวณของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คลิกเลือก Layer ที่เป็นขอบเขตพื้นที่ มอ. เพื่อที่จะทำ Buffer หรือระยะห่างจากมอ.ในรัศมี 300 เมตร > Vector > Geoprocessing Tools > Buffer(s) เลือก input vector layer > กำหนดระยะห่าง(buffer distance) ใส่ 300 (หน่วยเป็นเมตร) > กำหนด output shapefile > คลิกปุ่ม OK จะมี layer เพิ่มขึ้นมา โดยจะเป็นพื้นที่ buffer 300 m. ปรับให้เป็นพื้นที่โปร่งแสงเพื่อให้สามารถมองเห็นแผนที่ google ด้านหลัง จะได้เส้นขอบเขตพื้นที่ buffer 300 เมตรของบริเวณพื้นที่ มอ. จากนั้นทำการ save as เป็น .kml เพื่อไปนำเข้าที่ Google Maps ด้วยการคลิกขวาที่ Layer > Save As.. เลือก format เป็น KML > เลือกที่เก็บไฟล์สำหรับการ Save as > คลิก OK เปิดเว็บ google.co.th/maps หรือ maps.google.co.th > คลิกที่ไอคอนหน้าช่อง ค้นหา เลือก My Maps หรือ แผนที่ของฉัน คลิกไอคอน สร้าง จะมีเลเยอร์ใหม่เพิ่มขึ้นมา > คลิก นำเข้า > เลือกไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของคุณ เลือกไฟล์ kml ที่ได้จากข้อ 10 > Open จะปรากฏ layer เส้น buffer 300 เมตร ขึ้นมาบนแผนที่ แก้ไข/เปลี่ยนชื่อแผนที่ และใส่คำอธิบายแผนที่ โดยการ copy ข้อความมาจากเว็บ http://www.matichon.co.th เพื่อแสดงข้อความประกาศฯ ปรับแต่งพื้นที่ให้มีสีที่โปร่งแสง เพื่อให้มองภาพพื้นที่ง่ายขึ้น แผนที่จะแสดงขอบเขตห้ามฯชัดเจน โดยในแผนที่จะมีสถานที่/ร้านอาหาร/สถานบันเทิง ที่ในเขตห้ามฯ และนอกเขตห้ามฯ เพิ่ม layer ขอบเขตพื้นที่ มอ. เข้ามาเพื่อแสดงให้เห็นพื้นที่มอ. และพื้นที่ห้ามฯ เมื่อปรับแต่งแผนที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการ share แผนที่เป็นแบบ

Read More »

การติดตั้ง (OpenLayers Plugin) Google Satellite บน QGIS

Google Maps เริ่มมีบทบาทและได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในการแปลภาพถ่ายในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือรวมไปถึงเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GIS มากยิ่งขึ้น ด้วยความที่เป็นปัจจุบันหรือ update ค่อนข้างที่จะเป็นปัจจุบันหรือใกล้เคียงปัจจุบัน อีกทั้งผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้งานง่าย นักภูมิสารสนเทศ หรือนัก GIS หรือคนที่ทำงานด้าน GIS จึงมักจะเลือกที่จะนำมาใช้ในการแปลภาพถ่าย หรือเรียกว่า การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing : RS) วันนี้เลยอยากจะนำเสนอ plugin ตัวนึงที่น่าสนใจ นั่นคือ OpenLayers plugin for QGIS 2.8 เพื่อใช้ในการนำเข้า Google Satellite เป็น BaseMaps (แผนที่ฐาน) ในการแปลภาพถ่าย   *** ส่วนใครที่ใช้ ArcGIS ก็ลองแวะเข้าไปอ่านวิธีการ การติดตั้งและใช้งาน ArcGoogle for ArcGIS เพื่อใช้ Google Satellite เป็นแผนที่ฐาน ได้นะคัับ ^^   ขั้นตอน เปิดโปรแกรม QGIS 2.8 หรือทำการติดตั้งโปรแกรม QGIS 2.8 เมนู Plugin > Manage and Install Plugins… เลือก OpenLayersPlugin > คลิก Install plugin หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วจะเห็นว่าหน้า OpenLayers Plugin มีไอคอนสีฟ้าและเครื่องหมายกากบาท เปิดการใช้งานโดยคลิกที่เมนู web Openlayers plugin > Google Maps > จะมีให้ชนิดของแผนที่ให้เลือก คลิกเลือก Google Satellite จะมี Layer Google Satellite เพิ่มขึ้นมาตรงด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งในพื้นที่งานจะยังไม่เห็นแผนที่ จะต้องทำการ add layer (ชั้นข้อมูล) ขึ้นมา ในตัวอย่างจะ add vector layer แผนที่ประเทศไทยขึ้นมา จะมี layer เพิ่มขึ้นมาด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งจะซ้อนทับอยู่กับ Google Satellite Layer ทำการปรับค่าให้แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสง เพื่อจะได้มองเห็น Layer ที่เป็น google maps จะเห็นว่า แผนที่ประเทศไทยโปร่งแสงแล้ว เห็นแต่เส้นขอบเขตการปกครอง ลอง Zoom ใกล้ๆ ตรงบริเวณตึก LRC โดยแถบสถานะด้านล่างจะแสดงแผนที่มาตราส่วน (scale) เป็น 1:300 ( ความหมายคือ ถ้าเอาไม้บรรทัดวัดรูปได้ เท่าไร ความยาวจริงก็จะยาวกว่าที่วัดได้ 300 เท่า) จะเห็นได้ว่า ภาพที่ได้จาก Google maps มีความละเอียดสูง สามารถซูมได้จนเห็นหลังคาบ้านหรือพื้นผิวถนน จึงทำให้การแปลภาพถ่ายมีความถูกต้องสูง ซึ่งจากการนำเข้า google maps เป็น basemaps นี้ ก็จะสามารถนำไปใช้ในด้านต่างๆ ได้อีกมากมาย ปกติแล้วนักพัฒนาเว็บ (web developer) จะนิยมใช้ Google Maps API ในการพัฒนา Map on Web ….. ลองหันมาเพิ่มศักยภาพในการแสดงแผนที่ในเชิงวิเคราะห์และมีความซับซ้อนของข้อมูลเชิงพื้นที่ดูไม๊ครัช ^^ สำหรับท่านใดที่นึกหน้าตา web map application ไม่ออก ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th หรือ download shape file เพื่อลองนำไปใช้ได้ที่ http://slb-gis.envi.psu.ac.th/ เมนู ฐานข้อมูล GIS ‎ครัั้งหน้าจะนำเสนอการสร้างข้อมูลบน‬ QGIS เพื่อนำไปใช้ใน Google Earth และ Web Map นะคับ ^^

Read More »

Dual Boot Ubuntu 14.04 & Windows 8.1 in UEFI

เหตุการณ์สมมติจึงใช้ VirtualBox ตั้งค่า VirtualBox ดังภาพ (ขอข้ามวิธีการสร้างเครื่องใหม่บน VirtualBox ไปเลยนะครับ คิดซะว่าชำนาญแล้ว โดยขนาด HDD ที่ต้องการ 100GB เป็นอย่างน้อย) โดยเลือก option ที่เขียนว่า Enable EFI (special OSes Only) และในช่อง  Boot Order: ให้เลื่อนเป็น Optical แล้วตามด้วย Hard Disk แล้วกด OK เมื่อเปิดเครื่องจะได้หน้าจอดังภาพ แสดงว่า BIOS ของเรากลายเป็น UEFI เรียบร้อยแล้ว เลือกแผ่น Ubuntu 14.04 ให้ต่อเข้ากับ Device reset เครื่อง เลือก *Try Ubuntu without installing รอจนได้ Windows Manager แล้วดับเบิ้ลคลิก Install Ubuntu 14.04.2 LTS บน Desktop เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Ubuntu ปกติทั่วไปสามารถใช้ Next Technology ได้เลยไปเรื่อยๆ จนถึงหน้า Installation type ให้เลือกหัวข้อ Something else แล้วกด Continue คลิก New Partition Table… คลิก Continue จะได้ดังภาพ คลิกคำว่า free space แล้วคลิกเครื่องหมายบวก (+) สร้าง Partition ขนาด 512MB มีชนิดเป็น EFI boot partition (ควรดูด้วยว่าพาทิชั่นที่ได้เมื่อสร้างเสร็จมีขนาด 512MB จริงๆ โดยใน VM ที่สร้างนี้ตอนสร้างใส่ไป 514MB) และกด + เพื่อสร้าง swap ในตัวอย่างกำหนดแรมไว้ 4GB สามารถสร้าง Swap เท่าแรมได้เลย และ / (root ขนาด 50GB) ตามลำดับโดยจะเหลือพื้นที่เปล่าไว้ด้วย ภาพแสดงพาทิชั่นเมื่อสร้างเสร็จแล้ว คลิก Install Now และคลิก Continue ที่เหลือหลังจากนี้สามารถกลับสู่โหมด Next Technology ได้เลยจนจบ สิ้นสุดคลิก Restart Now เอาแผ่นออกแล้วกด Enter (ปกติจะเอาออกให้อัตโนมัติ) ลองบูตดูจนได้หน้า Log In เลือก Devices แล้ว Optical Drives แล้วเลือกแผ่น Windows 8.1 คลิกรูปเฟืองที่มุมบนขวา เลือก Shutdown แล้วคลิก Restart เมื่อ VM กำลัง Shutdown ให้สังเกตุดูว่า โลโก้ Ubuntu หายไปให้รีบ ESC ทันทีจะได้ดังภาพ เลื่อน Cursor ลงมาที่ Boot Manager แล้วกด Enter จะได้ดังภาพ เลื่อน Cursor ลงมาที่คำว่า EFI DVD/CDROM แล้วจะมีข้อความว่า Press any key to boot from CD or DVD…. เมื่อกดปุ่มใดๆ จะเข้าสู่วินโดวส์เพื่อเริ่มติดตั้ง เมื่อได้หน้าเลือกภาษาให้เลือกดังภาพ แล้วคลิก Next คลิก Install now คลิกเครื่องหมายถูกหน้าข้อความ I accept the license terms คลิก Next เลือก Custom: Install

Read More »

ใช้ google script ทำ mail merge เนื้อหาเมลที่มี pre-filled form URL

จากตอนที่แล้ว “ใช้ google script ทำ mail merge เนื้อหาเมลที่มี link” เรารู้วิธีใส่ link ไปในเนื้อหาเมล ในตอนนี้เราจะมาเปลี่ยน static link เป็น dynamic link (คือ link ที่มีการอ้างชื่อ cell จึงเป็น link ที่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าที่อยู่ใน cell) จุดประสงค์ก็เพื่อส่ง link ให้ผู้ที่รับอีเมลกรอกข้อมูลลง google form ที่มีข้อมูลให้บางส่วนแล้ว (pre-filled form) ซึ่งเป็นข้อมูลของผู้รับอีเมลแต่ละคนที่แตกต่างกัน เช่น ให้มีฟิลด์ ชื่อ และ หน่วยงาน ไว้แล้ว เป็นต้น เมื่อเปิดฟอร์มจึงไม่ต้องกรอกชื่อ และ หน่วยงาน แต่ยังสามารถแก้ไขได้หากต้องการ แล้วให้กรอกข้อมูลเพิ่มในส่วนอื่น ๆ สมมติ 1. เรามี google sheet ชื่อ members มี 4 คอลัมน์ อยู่แล้ว ดังนี้ รายการที่, ชื่อ, หน่วยงาน, อีเมล 2. เราต้องการสร้าง google form เพื่อสอบถาม ตอบรับร่วมงาน และ ประเภทอาหาร วิธีทำ ดังนี้ 1. สร้าง google form ขึ้นมา 1 อัน ตั้งชื่อว่า member-meeting1 2. สร้าง form field ดังนี้ ชื่อ, หน่วยงาน, ตอบรับร่วมงาน, ประเภทอาหาร 3. เลือกเมนู Responses > เลือก Get pre-filled URL 4. กรอกข้อมูลชื่อตัวแปรลงในช่องข้อมูล เช่น ชื่อ ให้ใส่ f1, หน่วยงาน ให้ใส่ f2 5. กรอกเสร็จให้คลิก submit จะได้หน้าต่างแสดงเป็น URL และมีข้อความบอกให้เราคัดลอก (ctrl+c) 6. URL ที่คัดลอกนี้จะไปใส่ใน google sheet ชื่อ member ในคอลัมน์ใหม่ รวมเป็น 5 คอลัมน์ ดังนี้ รายการที่, ชื่อ, หน่วยงาน, อีเมล, URL 7. ที่ cell URL นี้ ให้ใส่ฟังก์ชั่น =HYPERLINK(“URL”,”URL”) และนำ URL ที่คัดลอกมาวางตรงคำว่า URL 8. ให้แทนที่ข้อความ ตรงที่มีคำว่า f1 ด้วย “&B2&”, แทนที่ f2 ด้วย “&C2&” 9. จากนั้นก็นำความรู้ในเรื่อง “ใช้ google script ทำ mail merge เนื้อหาเมลที่มี link” มาใช้ในการส่งอีเมลได้แล้ว 9.1 เตรียมเนื้อหาจดหมายไว้ใน sheet ชื่อ Template 9.2 เตรียม range ของข้อมูล คีย์เองนะ 9.3 คัดลอก google script จากตอนที่แล้วมาใช้ 9.4 สั่งให้ google script ชื่อ MailMergeWithLinkv2 ทำการส่งอีเมล 9.5 ตรวจสอบดูอีเมลที่ได้รับ 9.6 เมื่อคลิก link จากในเมล จะไปเปิด google form ขึ้นมา พร้อมข้อมูล 2 ฟิลด์แรก

Read More »