วิธีการปิดช่องโหว่ Logjam,Freak,Poodle,Beast สำหรับ Lighttpd Web Server (Ubuntu 14.04 LTS)

“จะทำอย่างไรทีดีกับช่องโหว่ SSL เยอะซะเหลือเกิน ปิดใช้แต่ TLS ก็ได้นิ นั่นสินะ” อย่างที่ข้างบนกล่าวไว้ครับวิธีการปิดช่องโหว่นี้ทำง่าย ๆ แค่ปิด SSLv2 SSLv3 และปิด Cipher Suite ที่ไม่ปลอดภัยเพิ่มเติม ก่อนที่จะทำการปิดช่องโหว่ลองทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server ก็จะได้ดังรูปตัวอย่างนี้ (จะเห็นได้ว่ามีช่องโหว่หลายตัว) วิธีการปิด SSL ทำได้โดยแก้ไขไฟล์ /etc/lighttpd/conf-enabled/10-ssl.conf ดังนี้ sudo vim /etc/lighttpd/conf-enabled/10-ssl.conf ทำการแก้ไขไฟล์โดยทำการเพิ่มท้าย ๆ ไฟล์ ก่อนปิดวงเล็บดังนี้ (อย่าลืม comment cipher-list เดิมทิ้งก่อนนะครับ) ssl.use-compression = “disable” ssl.use-sslv2 = “disable” ssl.use-sslv3 = “disable” ssl.cipher-list = “EECDH+AESGCM:EDH+AESGCM:AES128+EECDH:AES128+EDH” จากนั้นทำการ Restart Lighttpd Server ตามปกติ sudo /etc/init.d/lighttpd restart ทำการทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server อีกครั้งก็ได้ดังรูป เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ (เรื่อง Grade ไม่ต้อง Serious นะครับ ผมถือว่าเขียวหมดก็ถือว่าปลอดภัยแล้วครับ สามารถอ่านวิธีแก้ไขช่องโหว่เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/11/10/serversecuritypatch

Read More »

วิธีการปิดช่องโหว่ Logjam,Freak,Poodle,Beast สำหรับ Apache Web Server (Ubuntu 14.04 LTS)

“จะทำอย่างไรทีดีกับช่องโหว่ SSL เยอะซะเหลือเกิน ปิดใช้แต่ TLS ก็ได้นิ นั่นสินะ” อย่างที่ข้างบนกล่าวไว้ครับวิธีการปิดช่องโหว่นี้ทำง่าย ๆ แค่ปิด SSLv2 SSLv3 และปิด Cipher Suite ที่ไม่ปลอดภัยเพิ่มเติม ก่อนที่จะทำการปิดช่องโหว่ลองทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server ก็จะได้ดังรูปตัวอย่างนี้ (จะเห็นได้ว่ามีช่องโหว่หลายตัว) วิธีการปิด SSL ทำได้โดยแก้ไขไฟล์  /etc/apache2/mods-enabled/ssl.conf ดังนี้ sudo vim /etc/apache2/mods-enabled/ssl.conf ทำการแก้ไขไฟล์ดังนี้ (จะ Comment SSLCipherSuite กับ SSLProtocol แล้วเพิ่มตรงท้าย ๆ ก่อน tag ปิด </IfModule> ก็ได้ครับ) SSLCipherSuite ECDH+AESGCM:DH+AESGCM:ECDH+AES256:DH+AES256:ECDH+AES128:DH+AES:RSA+AESGCM:RSA+AES:!aNULL:!MD5:!DSS SSLHonorCipherOrder on SSLProtocol all -SSLv3 -SSLv2 SSLCompression off จากนั้นทำการ Restart Apache Server ตามปกติ sudo /etc/init.d/apache2 restart ทำการทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server อีกครั้งก็ได้ดังรูป เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ ถ้าใครต้องการให้ได้คะแนนถึง A+ ให้ทำเพิ่มตามลิงก์ของคุณเกรียงไกรดังนี้ครับ (อ่านเฉพาะส่วนของการปรับ Header นะครับ) https://sysadmin.psu.ac.th/2014/12/18/เปลี่ยน-certificate สามารถอ่านวิธีแก้ไขช่องโหว่เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/11/10/serversecuritypatch

Read More »

วิธีการปิดช่องโหว่ Logjam,Freak,Poodle,Beast สำหรับ Windows Server 2008 / 2008 R2 / 2012 / 2012 R2

“จะทำอย่างไรทีดีกับช่องโหว่ SSL เยอะซะเหลือเกิน ปิดใช้แต่ TLS ก็ได้นิ นั่นสินะ” อย่างที่ข้างบนกล่าวไว้ครับวิธีการปิดช่องโหว่นี้ทำง่าย ๆ แค่ปิด SSLv2 SSLv3 และปิด Cipher Suite ที่ไม่ปลอดภัยเพิ่มเติม ก่อนที่จะทำการปิดช่องโหว่ลองทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server ก็จะได้ดังรูปตัวอย่างนี้ (จะเห็นได้ว่า Grade ร้ายแรงมาก) จากนั้นทำการโหลดโปรแกรมจาก web https://www.nartac.com ดังนี้ https://www.nartac.com/Downloads/IISCrypto/IISCrypto40.exe จากนั้นรันโปรแกรมดังรูป จากนั้นทำการ Reboot อีกครั้ง ทำการทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server อีกครั้งก็ได้ดังรูป เป็นอันว่าเรียบร้อยครับ สามารถอ่านวิธีแก้ไขช่องโหว่เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/11/10/serversecuritypatch

Read More »

นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 23 มีนาคม 2561

นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ผ่านความเห็นชอบการจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ่านได้จากไฟล์ตามลิ้งค์นี้ https://www.cc.psu.ac.th/pdf/PSU_IT_Sec_Policy_23Mar2018.pdf ซึ่งฉบับแรกผ่านเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 และล่าสุดทบทวนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่ในบันทึกลำดับที่ 99 จากทั้งหมด 154 หน่วยงาน ตามประกาศ http://www.etcommission.go.th/etc-annoucement-sp-p1.html เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่มีการทบทวนนโยบายตั้งแต่มีการเริ่มประกาศใช้ ผู้ใช้ไอทีทุกระดับควรได้เปิดอ่าน ทำความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติความปลอดภัยไอที ม.อ. ทุกคนมีส่วนร่วมกันดูแล ครับ 😀 ก้าวต่อไปเพื่อเพิ่มความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่บนระบบไอที ม.อ. จะได้จัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐซึ่งตามข้อมูลเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2560 มีเพียง 14 หน่วยงานที่ผ่านความเห็นชอบแล้วตามประกาศ http://www.etcommission.go.th/etc-annoucement-dp.html และมุ่งไปสู่ความปลอดภัยไอทีของ ม.อ. ที่มีการดูแลอย่างใกล้ชิดตามแนวทาง Center for Internet Security : CIS Control v7 ซึ่งผมได้เริ่มต้นแปลบางส่วน ให้ผู้สนใจเริ่มทำความคุ้นเคยได้จาก https://www.cc.psu.ac.th/pdf/CIS_Control_v7_1May2018.pdf

Read More »

วิธีการปิดช่องโหว่ Logjam,Freak,Poodle,Beast สำหรับ Windows Server 2003 R2

“จะทำอย่างไรทีดีกับช่องโหว่ SSL เยอะซะเหลือเกิน ปิดใช้แต่ TLS ก็ได้นิ นั่นสินะ” อย่างที่ข้างบนกล่าวไว้ครับวิธีการปิดช่องโหว่นี้ทำง่าย ๆ แค่ปิด SSLv2 SSLv3 และปิด Cipher Suite ที่ไม่ปลอดภัยเพิ่มเติม แต่สำหรับ Windows Server 2003 เนื่องจากไม่รองรับ Cipher Suite ที่ปลอดภัยบางตัว จึงต้องทำการรัน hotfix ก่อน โดยสามารถโหลดได้ที่นี่ (อย่าลืมเลือกให้ตรง platform x86 x64 นะครับ) https://support.microsoft.com/en-us/kb/948963 ก่อนจะรัน hotfix ลองทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server ก็จะได้ดังรูปตัวอย่างนี้ (จะเห็นได้ว่า Grade ร้ายแรงมาก) เมื่อโหลดไฟล์เรียบร้อยแล้วทำการแตก zip และ run ด้วยสิทธิ์ administrator ดังรูป หลังจากนั้นเลือก Finish และทำการ Restart เครื่อง จากนั้นทำการโหลดโปรแกรมจาก web https://www.nartac.com ดังนี้ https://www.nartac.com/Downloads/IISCrypto/IISCrypto.exe จากนั้นรันโปรแกรมดังรูป จากนั้นทำการ Reboot อีกครั้ง ทำการทดสอบ test ความปลอดภัย ที่ website https://ssltest.psu.ac.th/server อีกครั้งก็ได้ดังรูป จะเห็นได้ว่ายังได้ Grade F (จริง ๆ ถ้าเป็น Windows 2008 R2 ขึ้นไปจะได้ A เนื่องจากรองรับ TLS 1.2) เนื่องจากช่องโหว่ POODLE(TLS) ไม่สามารถแก้ได้ เพราะจะแก้ได้ต้องปิด TLS 1.0 ใช้ TLS 1.2 ขึ้นไป ซึ่งจะ Windows 2003 และ Windows 2008 (ไม่มี R2) รองรับได้แค่ TLS 1.0 จึงแนะนำให้รีบเปลี่ยน Windows Server OS เป็น Windows 2008 R2 ขึ้นไปเพื่อความปลอดภัย จากรูปข้างบนซึ่งเป็น Windows 2003 เช่นกัน “สันนิษฐานว่า” อาจเพราะว่า เครื่องนี้ได้ Windows Update จึงทำให้ไม่มีช่องโหว่ ถ้า Update ถึงระดับนึง ทาง Microsoft น่าจะปิดช่องโหว่ POODLE (TLS) เรียบร้อยแล้ว ต้องแยกกันนะครับระหว่างเปิด TLS 1.0 กับ มีช่องโหว่ เพราะมีอีกหลายปัจจัย เพราะ TLS เป็นแค่ Protocol แต่กระบวนการที่เหลือทั้งวิธีการเข้ารหัส วิธีการแลกเปลี่ยน Key เป็นปัจจัยหนี่งของช่องโหว่ รวมถึงช่องโหว่จากบริการในเครื่องที่ใช้ TLS 1.0 ในการรับส่งข้อมูล แต่ถ้าปิด Protocol ตั้งแต่ต้นก็จะมั่นใจได้มากกว่า เพราะไม่แน่ว่าอนาคตอาจมีช่องโหว่เกี่ยวกับ TLS 1.0 ออกมาอีก แต่การปิด TLS 1.0 จะกระทบกับ Browser ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ window xp,vista อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ https://www.blognone.com/node/63653 https://en.wikipedia.org/wiki/Template:TLS/SSL_support_history_of_web_browsers สามารถอ่านวิธีแก้ไขช่องโหว่เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/11/10/serversecuritypatch

Read More »