การ upgrade PHP to new version on IIS ด้วยวิธีง่ายๆ

เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการ upgrade PHP 5.2 to 5.3 ไปเมื่อปีที่แล้ว (Apache 2.2 + PHP 5.2 + phpMyAdmin on Windows 8.1) วันนี้ขอนำเสนอการ upgrade เวอร์ชั่นของ PHP บน IIS (Windows Server 2012 R2) ด้วยวิธีที่แสนจะง่ายดาย ***ใครทราบวิธีการแล้วก็ผ่านไปเลยนะคับ ^^ เขียนไว้เผื่อบางท่านที่ยังไม่รู้เนอะ ขั้นตอนการ upgrade check PHP เวอร์ชั่นที่เราใช้ปัจจุบันก่อนว่าเป็นเวอร์ชั่นอะไร ด้วยการสร้างไฟล์ phpinfo.php เก็บไว้ที่ web root แล้วเขียนโค้ดตามนี้ <?php phpinfo(); ?> 2. เปิดเว็บ http://localhost/phpinfo.php ในภาพจะเป็น php 5.6.2.2 3. เปิด IIS manager ขึ้นมา แล้วคลิกที่ Web Platform Installer 4. พิมพ์คำค้น PHP ในช่องค้นหา ในรูปเราจะติดตั้ง PHP 7.0.7 ให้คลิกที่ปุ่ม Add จากนั้นระบบจะทำการติดตั้ง PHP 7.0.7 5. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้คลิก Restart IIS 6. ตรวจสอบเวอร์ชั่นของ PHP ด้วยการเปิดหน้าเว็บ http://localhost/phpinfo.php ในภาพจะเป็น php 7.0.7 เรียบร้อยแล้ว 7. เสร็จสิ้นกระบวนการ upgrade PHP to new version

Read More »

วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #17

ปัจจุบันพบว่า รูปแบบของ Backdoor เปลี่ยนไป จากเดิมเป็น Base64 ซึ่งสามารถตรวจจับได้จาก Pattern ของ eval และ base64_decode ไปเป็น การใช้ eval ร่วมกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่า Obfuscate หรือ การทำให้ PHP Code ปรกติ แปลงไปเป็นรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้การตรวจสอบด้วยเทคนิคเดิมไม่เจอ จาก วิธีตรวจสอบเว็บไซต์ที่โดน Hack #2 แสดงให้เห็นรูปแบบเดิม ดังภาพ จะเปลี่ยนมาเป็นแบบนี้ ดังนั้น อาจจะต้องปรับเปลี่ยนคำสั่งในการค้นหาเป็น find /var/www -name “*.php” -user www-data -type f | xargs grep GLOBAL แต่ก็พบว่า มีการซ่อน base64_decode ในรูปแบบนี้ก็มี ถึงแม้จะเลี่ยงการใช้ base64_decode ตรงๆแต่ก็ยังต้องใช้ eval อยู่ดี ดังนั้น จึงต้องใช้คำสั่งต่อไปนี้ในการค้นหา find /var/www -name “*.php” -user www-data -type f | xargs grep eval > eval.txt ซึ่งอาจจะได้ไฟล์มาจำนวนมาก ทั้งทีใช่และไม่ใช่ Backdoor เก็บไว้ในไฟล์ eval.txt ดังภาพ จึงต้องใช้วิธี แก้ไขไฟล์ eval.txt ดังกล่าว โดยลบบรรทัดที่ไม่ใช่ Backdoor ออก ให้เหลือแต่บรรทัดที่น่าสงสัยว่าจะเป็น Backdoor ไว้ แล้ว Save จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้ก่อน ในไฟล์ suspect.tar.gz cut -d: -f1 eval.txt | xargs tar -zcvf suspect.tar.gz จากนั้น ทำ List ของไฟล์ที่ต้องเข้าตรวจสอบจริงๆ เก็บในไฟล์ชื่อ eval2.txt ด้วยคำสั่ง cut -d: -f1 eval.txt > eval2.txt แล้วจึงแก้ไขไฟล์ หรือ ลบทิ้งต่อไป

Read More »

สร้าง Form ลงทะเบียนออนไลน์ด้วย Google Form (รูปแบบใหม่) ให้ตอบรับผ่านทางอีเมลโดยอัตโนมัติ พร้อมปิด Form อัตโนมัติเมื่อครบเต็มจำนวน

จากที่ผมเคยได้เขียนวิธีการสร้างแบบฟอร์มลงทะเบียนออนไลน์ด้วย Google Form ให้ตอบรับผ่านทางอีเมลโดยอัตโนมัติ มาวันนี้ ทาง Google ได้เปลี่ยนรูปแบบการสร้าง Form ใหม่ทั้งหมด จึงทำให้วิธีการสร้างแบบฟอร์มออนไลน์แบบเก่านั้นใช้ไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้นเรามาดูวิธีการสร้าง Google Form แบบใหม่กันดีกว่าว่าเป็นอย่างไร ซึ่งต้องขอบอกว่า “มันง่ายมากๆ” 1. คลิก Google Forms  เพื่อสร้างแบบฟอร์มลงทะเบียนออนไลน์ 2. ใส่รายละเอียด ข้อมูล รูปแบบ ในแบบลงทะเบียนตามที่ต้องการ (รูปแบบใหม่สามารถใส่ภาพที่เราออกแบบไว้ได้แล้วนะครับ โปสเตอร์ แบนเนอร์ ต่างๆ) + เราสามารถแบ่ง Form ของเราออกแบบเป็นหลายๆ section ได้นะครับ กรณีที่มีข้อมูลให้ต้องกรอกจำนวนมาก 3. ติดตั้ง Add ons… Add ons ที่ผมจะติดตั้งนั้น มีด้วยกัน 2 อย่าง ดังนี้ A. Form Confirmation Emails  คือ ระบบตอบรับการลงทะเบียนผ่านทางอีเมลอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้ลงทะเบียนผ่านฟอร์มเรียบร้อยแล้ว ระบบจะส่งเมลตามที่เราตั้งค่าไว้ไปให้ทางอีเมลที่ระบุไว้ B. FormLimiter  คือ การปิดแบบฟอร์มลงทะเบียนอัตโนมัติ เมื่อมีผู้ใช้ลงทะเบียนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยจะมี icons เพิ่มขึ้นมา ดังภาพ 4. กำหนดรูปแบบการส่งเมลตอบรับอัตโนมัติ แบบฟอร์มตัวอย่างที่นำเสนอนั้น มีช่องให้ใส่ข้อมูล 3 อย่าง ดังภาพ (แนะนำให้ตั้งชื่อ Field ให้เป็นภาษาอังกฤษครับผม) เริ่มต้นตั้งค่า คลิกเลือก Form Confirmation Emails > Configure confirmations จากนั้นจะมีกล่องขึ้นมาให้มุมล่างขวา เพื่อให้กำหนดค่าต่างๆ คลิกเลือก Send Confirmations  กำหนดชื่อผู้ส่ง และรูปแบบการส่งเป็น E-mail <คลิก Continue> Email subject กำหนดชื่อหัวข้อของเมลที่ต้องการส่ง Email body เป็นการกำหนดรูปแบบของข้อมูลที่จะส่งไป ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ HTML (สามารถดูตัวอย่างจาก Code ด้างล่าง) ถ้าใครมีรูปแบบอื่นก็สามารถทำได้ครับ ผมทำแบบง่ายๆ เมื่อกำหนดรูปแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม Save เป็นอันเสร็จสิ้น <html> <head> <meta charset=”UTF-8″> <title>TELL ME MORE PSU</title> </head> <body> <p>เรียนคุณ: ${“Name-Surname”}</p> <p> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ตามที่ท่านได้สมัครเข้าร่วมอบรม หลักสูตร TOEIC (เตรียมความพร้อมการสอบ)<br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #FF0004″><strong>กลุ่มที่ 2  หลักสูตร TOEIC นักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา<br> </strong></span><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ณ ห้องอบรม 1 ชั้น 8  อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ (LRC1)</strong><br>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #FF0004″><strong>เริ่มเรียน : 13 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2559 (เวลา 13.30 – 15.30 น.)</strong></span><br><br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #0099FF”>เพื่อเป็นการยืนยันสิทธิ์เข้ารับการอบรม<br>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;กรุณาตอบกลับผ่านทาง E-mail :</span> tmmpsu@gmail.com</a> ด้วยค่ะ<br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 หรือจนกว่าครบตามจำนวนที่กำหนด) รับจำนวน 25 คนเท่านั้น <br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<strong style=”color: #FF0004″>ขอสงวนสิทธิ์ให้กับผู้ที่ได้ยืนยันสิทธิ์ในการเข้าอบรมผ่านทางอีเมลก่อน</strong><br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;<span style=”color: #FF0004″><strong>ติดตามการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมอบรมโครงการอีกครั้งได้ที่: </strong></span><a href=”http://clpd.psu.ac.th/” target=”_blank”>http://clpd.psu.ac.th/</a><br> <br> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;หากมีข้อสงสัยใดๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-7428-9207<br> <br> <br> ขอบคุณสำหรับการเข้าร่วมโครงการค่ะ<br> <br> ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์<br> โทรศัพท์ : 0-7428-9207<br>

Read More »

Technical Talk หัวข้อ Open Source: Smart Computer Lab

 ได้ไปร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 33 ที่จัดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ 13-15 กรกฎาคม 2559 และได้บรรยายในส่วน Technical Talk หัวข้อ Open Source: Smart Computer Lab จึงอยากนำมาเล่าสู่เพื่อน ๆ ฟัง เผื่อว่าเพื่อน ๆ จะช่วยแนะนำบอกต่อว่า มีระบบจัดการห้องบริการคอมพิวเตอร์ที่ดีน่าใช้ชื่อ PSU12-Sritrang Server เอกสารประกอบการบรรยาย   Link to Youtube video วิดีโอชุดแนะนำ Open Source: Smart Computer Lab Short URL: https://goo.gl/1ly7c1 วิดีโอชุดแนะนำการติดตั้งและใช้งาน Server สำหรับทำ Cloning PC และ Control PC Short URL: https://goo.gl/SLheTL   แผ่นพับแนะนำ PSU12-Sritrang Server สำหรับห้องบริการคอมพิวเตอร์ เพื่อบอกว่าระบบนี้ทำอะไรได้บ้าง คลิกเปิดอ่านแผ่นพับ   หวังว่าคงจะได้รับข่าวดีนะครับ ขอบคุณครับ  

Read More »

วิธีการตรวจสอบราคาเครื่องที่ให้บริการบนระบบ Public Cloud

“จะมีวิธีคิดราคา Public Cloud แต่ละเจ้าได้อย่างไรว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ต่อเดือน” ในปกติแล้ว Cloud แต่ละเจ้าจะมีให้ทดสอบเลือกเครื่อง spec ที่ต้องการและคิดค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ซึ่งตัวเครื่องโดยมากคิดเป็นรายเดือน แต่ส่วนที่คิดตามการใช้งานจริงจะเป็น IOP ของการใช้งาน Storage และการส่งข้อมูลออก หรืออาจจะเป็นจำนวน Traffic สำหรับให้บริการ (นำเข้าข้อมูลไม่เสียตังค์) โดยขอสรุปเป็นบทความดังนี่้ครับ Target : ต้องใช้เครื่องประมาณ CPU 4 Core, RAM 4-8GB, HDD 100GB รัน Windows Server เพื่อรันระบบที่เขียนด้วย .NET Framework ราคา ณ วันที่ 19 มิถุนายน 2559 AWS Pricing Calculator https://calculator.s3.amazonaws.com/index.html จะเห็นว่าใช้เงินประมาณ $193.98 ต่อเดือน คิดเป็นเงิน 6799.75 บาทต่อเดือน ซึ่งจากการประเมินราคาใน Private Cloud ปัจจุบันที่มหาลัยให้บริการจะคิดที่ 3200 บาทต่อเดือน (4 CPU,8 GB,SAS 100G (Multi-Site Raid 5-Network RAID 1 ราคานี้ไม่รวมค่า OS) แต่ทางมหาวิทยาลัยยังไม่มีบริการ Storage ที่เป็น SSD ซึ่งถ้าเอาตามการใช้งานจริงที่ไม่ใช่ Database Server, File Server ยังไม่จะเป็นต้องใช้ถึง SSD แต่ในปัจจุบันราคา SSD ของ Server ก็ลดลงมาเยอะมาก โดยที่การจัดซื้ออนาคตคงจะเปลี่ยนเป็น ซื้อ SSD สำหรับทำ Private Cloud แทน ซึ่งราคานี้ยังไม่รวม EBS ที่ไว้สำหรับทำ Snapshot สำรองข้อมูล, Data Transfer ซึ่งดูแล้วที่จะขึ้นได้ในตอนนี้น่าจะมีแค่ Web Server ที่เป็นพวก CMS เพราะการโอนข้อมูลขึ้นลงไม่มากนัก (ยกเว้นที่เว็บที่เน้นการใช้งาน CMS Document Sharing ที่ใช้งานหนัก ๆ อาจจะไม่เหมาะ เพราะใช้ Traffic ขาออกเยอะจากการดาวน์โหลด) Azure Pricing Calculator https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/calculator/ จะเห็นได้ว่าราคาใกล้เคียงกับ AWS แต่ได้เนื้อที่น้อยกว่า ถ้าเพิ่ม Storage อีก 16G จะต้องเพิ่มเงินอีก $1..28 ต่อเดือน รวมเป็น $191.74 Google Cloud Platform Pricing Calculator https://cloud.google.com/products/calculator/ จะเห็นได้ว่าถูกที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับอีก 2 เจ้า Digital Ocean Pricing Calculator https://www.digitalocean.com/pricing/ ขอยกมาอีกเจ้าที่ใช้งานกันเยอะเนื่องจากราคาถูกจะเห็นว่าถูกที่สุด แต่สำหรับเจ้านี้จะไม่มี Windows ให้ใช้งาน สรุปค่าใช้จ่าย จากที่เขียนไว้ข้างต้นยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเจ้าไหนดีกว่า เพราะมีปัจจัยอีกเยอะที่ไม่ได้ยกมาเช่น Data Transfer, ราคา Discount ซึ่งเหมือน Google จะมีส่วนลดสำหรับเครื่องที่สอง, Downtime, Speed จึงยกมาเป็นตัวอย่างวิธีพิจารณาคร่าว ๆ ส่วนถ้าซื้อจริงก็คงต้องเตรียมแผนให้สามารถย้ายได้ด้วยในกรณีที่ Cloud ที่ใช้อยู่บริการได้ไม่ตรงกับความต้องการ

Read More »