Removing duplicate records by using Oracle’s ROWID

ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ?   การหาแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน เราสามารถหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้   select a,b,count(*) from test group by a,b having count(*) > 1; ผลลัพธ์ที่ได้ : A          B   COUNT(*) ———- ———- ———- 1          2        259 2          2          5   จากตัวอย่างในตาราง test นี้เราจะกำหนดว่าให้ค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว   การกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อน เราสามารถกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยการใช้ rowid เข้ามาช่วย คราวนี้คุณต้องเลือกว่าจะเลือกเก็บข้อมูลแถวไหนไว้ เราลองมาดูข้อมูลที่ควรจะเป็นที่ไม่ซ้ำกันว่ามีข้อมูลอะไรบ้าง โดยสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้ select a,b,count(*) from test group by a,b; A          B   COUNT(*) ———- ———- ———- 1          2        259 2          2          5 3          0          1   กรณีที่ต้องการลบและคงเหลือไว้เฉพาะแถวแรกที่ซ้ำสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้   — เราต้องการกำจัด 258 แถวที่ซึ่ง A = 1 และ B = 2 บวกกับ — 4 แถวที่ซึ่ง A = 2 และ B = 2 — ลองมา select แถวที่เราจะคงไว้ดูก่อน select min(rowid),a,b from test group by a,b; MIN(ROWID)                             A          B ——————————- ———- ———- AAAAyvAAGAAAABYAAA          1          2 AAAAyvAAGAAAABYAED          2          2 AAAAyvAAGAAAABYAEI           3          0   — คราวนี้ก็ถึงเวลาลบข้อมูลกันแล้ว — เริ่มกันเลย delete from test where rowid not in ( select min(rowid) from test group by a,b); 262 rows deleted.   — คราวนี้มาตรวจสอบกันว่าข้อมูลที่คงเหลือถูกต้องหรือไม่ select rowid,a,b from test; ROWID                                    

Read More »

อีกหนึ่งวิธีในการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันในตาราง

ถ้าคุณมีตารางข้อมูลอยู่ และรู้ว่ามีบางแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกัน ทางไหนเป็นวิธีที่ดีที่จะสามารถหาและกำจัดแถวที่มีข้อมูลซ้ำนี้ออกไปจากตารางของฐานข้อมูล Oracle ? อีกวิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ในการกำจัดแถวที่ซ้ำซ้อนกันคือการใช้คำสั่ง select distinct และใส่ข้อมูลที่ได้ลงในตารางใหม่   จากที่เราสามารถตรวจสอบหาข้อมูลแถวที่มีข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select ดังนี้ SQL> select a,b,count(*) from test group by a,b; ผลลัพธ์ที่ได้ A           B COUNT(*) ———- ———- ———- 1           2       259 2           2           5 3           0           1 จากตัวอย่างในตาราง test นี้ที่กำหนดไว้ว่าค่าในคอลัมภ์ a และ b จะต้องมีค่าไม่ซ้ำ ซึ่งผลลัพธ์ที่ปรากฏคือ มีข้อมูลซ้ำ 258 แถว และ 4 แถว   เรามาเริ่มต้นกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนอีกวิธีกันเลย   การหาแถวข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน เราสามารถหาข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกันได้โดยใช้คำสั่ง select distinct ดังนี้ SQL> select distinct * from test; ผลลัพธ์ที่ได้          A           B ———- ———-           1           2           2           2           3           0   สร้างตารางใหม่ชั่วคราวเพื่อเก็บผลลัพธ์ที่ได้ SQL> create table new_test as (select distinct * from test);   ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ในตารางชั่วคราวนี้ SQL> select * from new_test; ผลลัพธ์ที่ได้          A           B ———- ———-           1           2           2      

Read More »

การค้นหาสถานที่ด้วย Places search box และแสดงผลภาพจากข้อมูล Street View บน Google Maps

       ความเดิมจากตอนที่แล้วของบทความ “การดึงค่าละติจูดและลองจิจูดของสถานที่ด้วย Places search box บน Google Maps” เพื่อแก้ปัญหาในการดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจากชื่อสถานที่ที่ผู้ใช้พิมพ์ค้นหาไว้ โดยมีการนำ “Places search box” มาใส่ไว้ในแผนที่ที่เราต้องการแทนนั้น ถือเป็นตัวช่วยให้กับผู้ใช้ในระดับหนึ่ง  แต่สำหรับในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอต่อยอดความรู้ดังกล่าว โดยได้ศึกษาและนำวิธีการแสดงผลภาพจากข้อมูล Street view มาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสถานที่จริงที่เลือกได้จากแผนที่ได้ด้วย ซึ่งจะยิ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ต้องการจะดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจริงหรือไม่ได้อีกทางหนึ่งนั่นเอง ซึ่งวิธีการบางส่วนจะขอยกยอดมาจากบทความก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับเรื่องการดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจากการค้นหาโดยใช้ Places search box และจะขอเพิ่มเติมความสามารถในการแสดงผลภาพ Street View  รวมทั้งสามารถคลิกจุดพิกัดใหม่บนแผนที่ เพื่อค้นหาตำแหน่ง สถานที่ตั้ง และรายละเอียด รวมถึงภาพจาก Street View ได้อีกด้วย เพื่อให้การดึงค่าพิกัดใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยมีวิธีการดังนี้ ส่วนของสไตล์ชีทในการแสดงผล ขึ้นกับการตกแต่งของผู้พัฒนาแต่ละท่าน <!—ส่วนของ Style Sheets-> <style> html, body { height: 100%; margin: 0; padding: 0; } #map { width: 100%; height: 400px; } .controls { margin-top: 10px; border: 1px solid transparent; border-radius: 2px 0 0 2px; box-sizing: border-box; -moz-box-sizing: border-box; height: 32px; outline: none; box-shadow: 0 2px 6px rgba(0, 0, 0, 0.3); } #searchInput { background-color: #fff; font-family: Roboto; font-size: 15px; font-weight: 300; margin-left: 12px; padding: 0 11px 0 13px; text-overflow: ellipsis; width: 80%; } #searchInput:focus { border-color: #4d90fe; } </style> ส่วนของการอ้างอิง libraries เพื่อใช้งาน Google API <script src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=AIzaSyCRbMoDPc_mTv3D3QPqe0Ar84nSvRhA8nk&libraries=places&callback=initMap” async defer></script> ส่วนของการประกาศค่าเริ่มต้นและตัวแปร รวมถึงการเรียกใช้งานฟังก์ชั่นเพื่อใช้ในการแสดงผล ฟังก์ชั่น initMap() ซึ่งจะเรียกใช้งานตอนเริ่มต้นโหลดหน้าจอขึ้นมา <script> var panorama; var map; var markers = []; /***** function ในการประกาศค่าเริ่มต้นให้กับแผนที่*****/ function initMap() { /***** ประกาศตำแหน่งพิกัดกึ่งกลางให้กับการแสดงผลแผนที่ ในที่นี้กำหนดเป็นกรุงเทพมหานคร*****/ var center_point = { lat: 13.7563309, lng: 100.50176510000006 }; var sv = new google.maps.StreetViewService(); /***** เป็นส่วนของการแสดงผลภาพจาก Street View *****/ panorama = new google.maps.StreetViewPanorama(document.getElementById(‘pano’)); /***** กำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของแผนที่*****/ var map = new google.maps.Map(document.getElementById(‘map’), { center: {lat: center_point.lat, lng: center_point.lng}, zoom: 13, streetViewControl: false // เป็นส่วนที่ Set เพิ่มเติมจากปกติ }); sv.getPanorama({ location:

Read More »

การดึงค่าละติจูดและลองจิจูดของสถานที่ด้วย Places search box บน Google Maps

       ก่อนจะพูดถึงเนื้อหาของบทความนี้ ผู้เขียนขอท้าวความไปถึงบทความก่อนหน้าที่เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดของสถานที่ เพื่อมากำหนดจุดพิกัดบนแผนที่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ Google maps (ซึ่งสามารถหาอ่านได้จากลิงค์ ทำอย่างไรให้สามารถกำหนดจุดพิกัดบนแผนที่ Google map แบบจุดเดียวและหลายจุดจากฐานข้อมูลได้ด้วย ASP.NET C# (ภาคต่อ) และหากท่านต้องการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการกำหนดพิกัดบนแผนที่เพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้จากลิงค์ ทำอย่างไรให้สามารถกำหนดจุดพิกัดบนแผนที่ Google map แบบจุดเดียวและหลายจุดจากฐานข้อมูลได้ด้วย ASP.NET C# เช่นกัน) แต่หลังจากที่ผู้เขียนได้นำไปทดลองใช้งานการดึงค่าพิกัดที่ค้นหา พบว่าเกิดปัญหาในการค้นหาพิกัดของสถานที่ในบางกรณี คือ ไม่สามารถค้นหาพิกัดของบางสถานที่ที่ต้องการได้ และในบางครั้งผู้ใช้เลือกสถานที่ที่จะดึงค่าพิกัดมาใช้งานผิด เนื่องจากชื่อสถานที่อาจคล้ายกัน แต่ตั้งอยู่กันคนละประเทศ หรือทวีป โดยผู้ใช้อาจไม่เห็นภาพว่าสถานที่ดังกล่าวอยู่ส่วนใดของแผนที่ จึงทำให้พิกัดที่ได้มีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ ผู้เขียนจึงได้ลองศึกษาเพิ่มเติม และปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้การดึงค่าพิกัดเป็นไปได้ง่าย และอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการค้นหาข้อมูลพิกัดได้มากขึ้นและมีความถูกต้องแม่นยำขึ้น ตัวอย่างภาพการทำงานของการดึงค่าพิกัดที่ผู้เขียนเคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ แบบที่ 1 การเรียกใช้เซอร์วิสของ Google Geocoding API โดยการส่งพารามิเตอร์เป็นที่อยู่ของสถานที่ดังกล่าว     แบบที่ 2 แบบใช้ place Autocomplete ซึ่งเป็น feature ของ Google Places API ที่จะช่วยในการค้นหาที่อยู่จากชื่อสถานที่ได้และประยุกต์เพิ่มเติมเพื่อดึงค่ามาแสดงเมื่อมีการเลือกรายการสถานที่นั้นๆ              จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้ปรับเปลี่ยนวิธีการในการดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจากชื่อสถานที่ที่ผู้ใช้พิมพ์ค้นหาไว้ โดยมีการนำ “Places search box” มาใส่ไว้ในแผนที่ที่เราต้องการแทน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสถานที่จริงที่เลือกได้จากแผนที่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ต้องการจะดึงค่าละติจูด-ลองจิจูดจริงหรือไม่อีกทางหนึ่งนั่นเอง โดยมีวิธีการดังนี้ ส่วนของสไตล์ชีทในการแสดงผล ขึ้นกับการตกแต่งของผู้พัฒนาแต่ละท่าน <!—ส่วนของ Style Sheets–> <style> html, body { height: 100%; margin: 0; padding: 0; } #map { width: 100%; height: 400px; } .controls { margin-top: 10px; border: 1px solid transparent; border-radius: 2px 0 0 2px; box-sizing: border-box; -moz-box-sizing: border-box; height: 32px; outline: none; box-shadow: 0 2px 6px rgba(0, 0, 0, 0.3); } #searchInput { background-color: #fff; font-family: Roboto; font-size: 15px; font-weight: 300; margin-left: 12px; padding: 0 11px 0 13px; text-overflow: ellipsis; width: 50%; } #searchInput:focus { border-color: #4d90fe; } </style> ส่วนของการอ้างอิง libraries เพื่อใช้งาน Google API <script src=”https://maps.googleapis.com/maps/api/js?key=AIzaSyCRbMoDPc_mTv3D3QPqe0Ar84nSvRhA8nk&libraries=places&callback=initMap” async defer></script> ส่วนของการประกาศค่าเริ่มต้นและตัวแปร รวมถึงการเรียกใช้งานฟังก์ชั่นเพื่อใช้ในการแสดงผล <script> /***** function ในการประกาศค่าเริ่มต้นให้กับแผนที่*****/ function initMap() { /***** กำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของแผนที่*****/ var map = new google.maps.Map(document.getElementById(‘map’), { center: {lat: -33.8688, lng: 151.2195}, zoom: 13 }); /***** กำหนดตำแหน่งที่ตั้งของ control ที่จะวางในแผนที่*****/ var input = document.getElementById(‘searchInput’); map.controls[google.maps.ControlPosition.TOP_LEFT].push(input); /***** เพิ่ม Feature ให้กับ textbox ให้สามารถพิมพ์ค้นหาสถานที่ได้*****/ var

Read More »

Infographic เล่าเรื่องด้วยภาพ

ปัจจุบันเราทุกคนจะต้องมีการรับ/ส่งข้อมูลอะไรระหว่างกันอยู่เสมอ และสิ่งนึงที่เรามักจะคิดตรงกันคือเราจะสื่อสารกันอย่างไรให้อีกฝ่ายเข้าใจได้รวดเร็ว และง่ายที่สุด “อินโฟกราฟิก” เป็นอีก 1 คำตอบ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้   อินโฟกราฟิกคืออะไร ? คือการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย และสื่อสารกับผู้คนด้วยสิ่งที่จับต้องได้ การที่จะอ่านบทความที่มีความยาวหลายๆหน้า กราฟ หรือข้อมูลมหาศาลคงต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญบางคนอาจจะไม่สนใจข้อมูลเหล่านั้นเลยก็เป็นได้ เพราะการตีความของคนที่อ่านแต่ละคนไม่เหมือนกัน   ทักษะที่จำเป็นในการทำ อินโฟกราฟิก ทักษะพื้นฐาน 3 อย่างคือ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการเรียบเรียบ และทักษะดีไซน์   หลักการออกแบบอินโฟกราฟิก แบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านข้อมูล ข้อมูลที่จะนำเสนอ ต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจ เรื่องราว เปิดเผยเป็นจริง มีความถูกต้อง ด้านการออกแบบ การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำงานและความสวยงาม โดยออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง   การทำอินโฟกราฟิกโดยใช้ Web Tool Web Tool คือ เว็บที่ให้บริการทำอินโฟกราฟิกออนไลน์ เช่น piktochart หรือ easel.ly เราสามารถเลือก Template แล้วปรับแต่งได้ตามใจชอบ โดยจะขอยกตัวอย่างการทำอินโฟกราฟิกโดยการใช้ piktochart   วิธีการสมัครใช้งาน เปิดเว็บ https://piktochart.com/   กรอกข้อมูล หรือเลือก Sign In ผ่าน Gmail/Facebook เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้ว จะได้ดังรูป               เริ่มต้นสร้าง โดยคลิกเลือก “Start Creating” จากนั้นเข้าสู่หน้าสร้างงานผ่าน piktochart เลือก Template รูปแบบที่ต้องการ เช่น infographic presentation หรือ printable โดยในแต่ละรูปแบบจะมี Free template ให้เลือกใช้งาน ตัวอย่าง Free Template Infographic Tool ต่างๆ ของหน้าเว็บที่มีให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้งาน Menu Graphics Shapes & Line ใช้วาดรูปหรือเส้น Icon มีไอคอนให้เลือกใช้ Photo มีรูปภาพให้เลือกใช้ Photo Frame มีกรอบรูปให้เลือกใช้ Uploads โปรแกรมมีรูปให้เลือกใช้ หรือสามารถอัพโหลดรูปจากภายนอกเข้ามาใช้งานได้ Background มีรูปพื้นหลังให้เลือกใช้งานในการตกแต่ง สามารถปรับความเข้มได้ที่ Opacity Text สามารถเลือกรูปแบบตัวอักษร สามารถเลือกปรับแต่ง Style กรอบรูปหรืออื่นๆ ได้ตามด้านล่าง Tools สามารถเลือกรูปแบบ Charts ทำกราฟได้ เลือก Maps ทำแผนที่ได้ หรือสามารถแทรก link videos ได้ Saved          บันทึก Preview       ดูผลลัพธ์ Download    แปลงไฟล์เป็น JPEG หรือ PNG Share          เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ   แหล่งความรู้อ้างอิง http://jsbg.joseph.ac.th/6150/images%5Cpdf%5pdf หนังสือ Basic Infographic ใช้พลังของภาพ สร้างการสื่อสารที่ง่าย และ สนุก (Jun Sakurada ผู้แปล ณิชมน หิรัญพฤกษ์) เว็บ https://piktochart.com/ http://www.thetechr.com/create-an-infographic/

Read More »