สร้าง Bootable USB Drive ด้วยโปรแกรม Rufus for Windows

บทความนี้แนะนำวิธีติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการด้วย USB Drive ที่ลงโปรแกรมให้สามารถ Boot ตอนนี้เป็นเวอร์ชั่น 3.13 แล้ว ก็มาอัปเดตอีกสักครั้ง ตัวอย่างนี้คือทำ Bootable USB Drive Ubuntu 20.04 Desktop 64 bit ครับ ขั้นตอน ดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์นี้ https://rufus.ie/ ได้ไฟล์ rufus-3.13.exe มา ให้คลิกเปิด (Open) จะมีถามย้ำจาก Windows ให้ยืนยัน Yes จะมีถามจากโปรแกรมว่าจะยอมให้มีการตรวจเช็คเวอร์ชั่นใหม่ ๆ หรือไม่ ให้ยืนยัน No ไม่จำเป็น จะได้หน้าต่างโปรแกรม หากเสียบ USB Drive ไว้ ก็จะแสดงรายการขึ้นมาว่า เดิมเป็นอะไร ให้คลิก SELECT เพื่อเลือก .iso file เช่น ubuntu-20.04.1-desktop-amd64.iso ให้คลิก START เพื่อทำการสร้าง Bootable USB Drive ในตัวอย่างคือ Ubuntu 20.04 Desktop 64 bit ไฟล์ rufus-3.13.exe จะอยู่ใน Downloads จะใช้ครั้งต่อไปก็แค่คลิกเปิด (Open) หรือจะย้ายไปไว้ใน Desktop ก็ได้

Read More »

ซอฟต์แวร์สำหรับการโคลนนิ่งวินโดวส์ในห้องบริการคอมพิวเตอร์

นำเรื่องนี้มาแนะนำกันอีกสักครั้ง เผื่อว่าใครกำลังมองหาซอฟต์แวร์ฟรีไว้ใช้ในการโคลนนิ่งฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ ผมเพิ่งมีเวลาอัปเดตเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด มีอยุ่ 2 ตัว เอาไปทดลองใช้ดูได้ครับ PSU12-Sritrang Server ผมได้พัฒนาชุดจัดการโคลนนิ่งวินโดวส์ในห้องบริการคอมพิวเตอร์ มีคณะ/หน่วยงานในม.อ. ใช้งานชุดนี้กันอยู่ ชุดนี้มีชื่อเรียกว่า PSU12-Sritrang Server เหมาะสำหรับโคลนนิ่งเครื่องวินโดวส์แบบธรรมดาทั่วไป ใช้ BIOS MBR ควบคุมการทำงานด้วย dialog menu เป็น Text-based แบบที่ 1 ดาวน์โหลด .ISO มาเขียนลง USB Drive เพื่อใช้เป็นตัวติดตั้งที่ทำขั้นตอนติดตั้ง Ubuntu Server พร้อมโปรแกรม ขั้นตอน ดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ Rufus ดาวน์โหลด .ISO ชื่อ psu12-sritrang-server-latest.iso รันโปรแกรม Rufus เพื่อเขียน .ISO ลง USB Drive นำ USB Drive ไปบูตที่เครื่อง Server ทำตามคำแนะนำโปรแกรมในขณะติดตั้งอ่านเพิ่มเติม แบบที่ 2 มีอยู่แล้วหรือต้องการติดตั้ง Ubuntu Server เอง ดาวน์โหลด shell scripts เพื่อติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ขั้นตอน login และ เข้าทำงานด้วยสิทธิ rootsudo su – ดาวน์โหลด shell scriptwget ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/psu12-sritrang_setup.sh เริ่มขั้นตอนติดตั้งด้วยคำสั่งbash psu12-sritrang_setup.shอ่านเพิ่มเติม PSU12-Fog Server ชุดที่สองนี้ ผมได้นำ FogProject มาใส่ใน Ubuntu Server และ ตั้งชื่อว่า PSU12-Fog Server เหมาะสำหรับโคลนนิ่งเครื่องวินโดวส์ได้ทุกแบบ ทั้งแบบ BIOS MBR, BIOS GPT และ UEFI GPT ควบคุมการทำงานทางหน้าเว็บเพจของ FogProject แบบที่ 1 ดาวน์โหลด .ISO มาเขียนลง USB Drive เพื่อใช้เป็นตัวติดตั้งที่ทำขั้นตอนติดตั้ง Ubuntu Server พร้อมโปรแกรม ขั้นตอน ดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ Rufus ดาวน์โหลด .ISO ชื่อ psu12-fog-server-latest.iso รันโปรแกรม Rufus เพื่อเขียน .ISO ลง USB Drive นำ USB Drive ไปบูตที่เครื่อง Server ทำตามคำแนะนำโปรแกรมในขณะติดตั้งอ่านเพิ่มเติม แบบที่ 2 มีอยู่แล้วหรือต้องการติดตั้ง Ubuntu Server เอง ดาวน์โหลด shell scripts เพื่อติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ขั้นตอน login และ เข้าทำงานด้วยสิทธิ rootsudo su – ดาวน์โหลด shell scriptwget ftp.psu.ac.th/pub/psu-installer/psu12-fog_setup.sh เริ่มขั้นตอนติดตั้งด้วยคำสั่งbash psu12-fog_setup.shอ่านเพิ่มเติม References: FOG Project A free open-source network computer cloning and management solution (https://fogproject.org/) Rufus Create bootable USB drives the easy way (https://rufus.ie/)

Read More »

Word : การปรับรูปแบบ font สารบัญตามที่เราต้องการ

กลับมาอีกครั้งกับเรื่อง Word สืบเนื่องมาจาก Blog ที่แล้วที่กล่าวถึงเรื่องการได้มีส่วนช่วยเพื่อนร่วมงานในการทำคู่มือ จึงได้มีโอกาสในการใช้งาน Word ซึ่งปัญหาที่พบอีกเรื่องก็คือ Font สารบัญ ไม่ใช่รูปแบบ Font ที่ต้องการคือ TH SarabunPSK ผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อที่ผู้อ่านจะสามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่าง ผู้เขียนได้ทำการสร้างเนื้อหาทดสอบ ใน Style Heading และใส่สารบัญเรียบร้อย ดังภาพ จะเห็นได้ว่า Font ในเนื้อหา เป็น TH SarabunPSK ตามที่ตั้งค่าใน Style Heading1 ไว้ตามที่ต้องการ แต่ส่วนสารบัญนั้นเป็น Font แปลก ๆ ไม่ใช่ Font ที่เราต้องการ เริ่มทำการเปลี่ยน Font โดยไปที่ที่เราเลือกสารบัญแบบอัตโนมัติมาใส่ คือไปที่ Menu References -> Table of Contents -> Custom Table of Contents… จะพบหน้าต่าง Modify Style ที่ส่วนล่างซ้าย เลือก Format -> Font ที่หน้าต่าง Table of Contents มุมล่างขวา เลือก Modify… เพื่อเข้าไปแก้ไขรูปแบบ Font จากนั้นหน้าต่าง Style เลือก Level สารบัญที่ต้องการแก้ไขรูปแบบ ในที่นี้เลือกแก้ไขสารบัญ Level 1 จากนั้นกดปุ่ม Modify เรื่องน่ารู้ TOC ย่อมาจาก Table of Contents ซึ่งก็คือ สารบัญนั่นเอง จะพบหน้าต่าง Font นี่คือ Font ตั้งต้นที่เราได้ จะเป็นว่าไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แก้ไขได้เลย แก้ไขให้เป็น Font ที่เราต้องการทั้ง 2 จุด คือ Latin Text และ Conplext scripts จากนั้น กดปุ่ม OK ออกมาเรื่อย ๆ กลับออกมาจนเกือบจะถึงขั้นตอนสุดท้าย จะมีหน้าต่างถามว่า จะเปลี่ยนจริง ๆ ละนะ จะทับของเดิมละนะ ตอบ Yes ไปเล้ย แถ่นแท๊นนน ผลลัพธ์สุดท้าย สวยงามอย่างที่เราต้องการ เย้! หวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้คงจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณค่าา 😀😍

Read More »

Word : การใส่รูปแบบเลขหน้าที่ต่างกันในไฟล์เดียวกัน

เคยไหมที่เวลาผู้อ่านจะสร้างคู่มือหรือเอกสารที่ต้องมีคำนำ สารบัญ ต่อด้วยเนื้อหา อาจจะจบด้วยภาคผนวก ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีการแสดงเลขหน้าที่ไม่เหมือนกัน ส่วนคำนำ สารบัญ อาจจะใช้เลขหน้าเป็นตัวอักษร เช่น ก, ข แต่ส่วนเนื้อหาใช้ตัวเลขอารบิค ในช่วงนี้ ผู้เขียนได้มีการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในเรื่องนี้ในการทำคู่มือจึงได้นำลงมาใส่ไว้ใน Blog เผื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ตัวอย่าง ผู้เขียนสร้างเนื้อหามา 2 บรรทัดเพื่อเป็นเนื้อหาทดสอบในการใส่เลขหน้า จากนั้นทำการใส่ตัวแบ่งหน้า โดยเลือกเป็น Section Breaks -> Next Page จากนั้นใส่เลขหน้าเป็นเลขอารบิคปกติ เลขหน้าจะเริ่มที่หน้าที่ 1 และ 2 ไปเรื่อย ๆ จากนั้นผู้อ่านของดูที่แถบ Ribbon ใน Tab Header & Footer และพบเมนู Link to Previous ซึ่งจะเป็นว่าเมนูนี้ถูกไฮไลท์อยู่ นั่นคือ เลขหน้าจะต่อเนื่องจาก Section ก่อนหน้า ให้เลือกเมนูนี้อีกครั้ง เพื่อเอาการ Link กับ Section ก่อนหน้าออก จากนั้นลบเลขหน้าที่หน้าที่ 2 ออก จากนั้นไปที่เมนู Page Number -> Format Page Number เพื่อทำการเลือกรูปแบบตัวเลขที่ต้องการใส่ใหม่ ในที่นี้ต้องการใส่เลขหน้าเป็นตัวอักษรภาษาไทย เมื่อพบหน้าต่าง Page Number Format ให้ทำการเลือกรูปแบบเลขหน้าที่ Number format จากนั้น ที่ Page numbering ในเลือกเป็น Start at โปรแกรม Word จะเลือกค่าโดยปริยายเป็น “ก” มาให้ จากนั้นกด OK ผู้อ่านลองเลือกแผ่นกระดาษดูจะพบว่า เลขหน้าได้ทำการเปลี่ยนให้เป็นที่เรียบร้อย ผู้เขียนหวังว่าเนื้อหาเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอบคุณค่ะ 😀😍

Read More »

รู้ยัง? สแกนเอกสารด้วย PC หรือ NoteBook ก็ได้นะ!!! (Office Lens ภาคต่อ)

จากบทความที่แล้ว “เปลี่ยนมือถือ เป็นเครื่องสแกนเอกสารด้วย Office Lens” นอกจาก Office Lens จะมี Application ที่ใช้งานบน Moblie Device ต่าง ๆ บนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แล้ว ยังสามารถทำงานบนเครื่องที่ลง Windows 10 ทั้ง PC และ Tablet โดยใช้งานร่วมกับเว็บแคมในการสแกนเอกสารที่ต้องการ ทั้งยัง สนับสนุนการใช้งานบัญชี Office 365 ของที่ทำงานหรือมหาวิทยาลัย ถึงแม้ว่าการใช้ Office Lens บนโทรศัพท์มือถือนั้นจะสะดวกสบายก็ตาม แต่ถ้าถึงคราวจำเป็นที่เรามีเพียง PC หรือ Note book เพียงเครื่องเดียวในการทำงาน ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการสแกนภาพเอกสาร Office Lens มีการใช้งานคล้ายๆ กับ Mobile App Cam scanner แต่ใช้งานง่ายและหลากหลายกว่า รวมทั้งไม่จำกัดรูปแบบการแชร์ Office Lens มีขั้นตอนการใช้งานบนเครื่อง PC หรือ Notebook ดังนี้ เปิด Microsoft Store ดาวน์โหลด Office Lens App ลงที่เครื่องคอมพิวเตอร์ PC พร้อมติดตั้ง เปิด App Office Lens ตั้งค่ากล้องแสกนเนอร์ จับภาพ และการครอบตัดรูปภาพ บันทึกภาพ สามารถเลือกเพื่อแปลงภาพเป็นไฟล์ Word (.docx), PowerPoint (.pptx) หรือ PDF (.pdf) ที่จะได้รับการบันทึกไปยัง OneDrive โดยอัตโนมัติ Office Lens ช่วยทำสำเนาดิจิทัลของเอกสารฉบับพิมพ์ ตัดแต่งได้อย่างแม่นยำ แม้จะวางเอกสารต้นฉบับเอียง และ ช่วยแก้ปัญหาการใช้งานเครื่องแสกนที่ติดตั้งไดร์เวอร์ภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาไทยหรืออังกฤษหากต้องการให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้นควร “ตั้งค่า Resolution” ของภาพให้ความละเอียดมากขึ้นและเวลาถ่ายภาพเอกสาร นอกจากใจนิ่ง ๆ ร่ม ๆ แล้ว “มือ ต้อง นิ่ง”นะคะ Download Office Lens on PC ขอบคุณ : Bblogdit : CCTC Tech Talk : คุยเฟื่องเรื่องเทคโนโลยีกับ สถช., www.microsoft.com,

Read More »