การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 3 : ขั้นตอนการคัดเลือกความต้องการ และความหมายของ State)

จากบทความ การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 2 : การบันทึกความต้องการ)

ผู้เขียนได้กล่าวถึงการบันทึกความต้องการโดยใช้เครื่องมือ TFS ไปแล้ว สำหรับบทความครั้งนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงขั้นตอนหลังจากรับความต้องการเข้ามา และจะเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกความต้องการ และการกำหนด State ในเครื่องมือ TFS


การคัดเลือก Backlog items (Backlog items)


หลังจากขั้นตอนการรวบรวมความต้องการ หรือ Backlog items จากลูกค้ามาแล้วนั้น Backlog items ที่ได้ทุกข้อจะถูกบันทึกเข้าสู่ TFS ซึ่ง Backlog items ที่ได้มาทั้งหมด อาจจะไม่ถูกเลือกให้ดำเนินการ หรือไม่ต้องดำเนินการด้วยเหตุผลต่างๆ ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้จัดโครงการ กับลูกค้า

สำหรับเครื่องมือ TFS นำมาช่วย Project Manager ในขั้นตอนการคัดเลือก Backlog Items โดยการ Update State ของแต่ละ Backlog Items เพื่อให้ทราบว่า  Backlog item อยู่ใน State ใด ตามความหมายดังนี้

รูปที่ 1

จากรูปที่ 1 นะค่ะ

  1. New : คือ Backlog items ที่เข้ามาใหม่ ยังไม่ผ่านการพิจารณา หรือยังไม่ผ่านขั้นตอนการคัดเลือก
  2. Approved คือ Backlog items ที่ผ่านการคัดเลือก แต่ยังไม่ดำเนินการในรอบปัจจุบัน ซึ่งอาจจะรอในรอบการพิจารณาถัดไปเพื่อให้ดำเนินการ
  3. Commited คือ Backlog items ที่ผ่านการคัดเลือก และตกลงให้แล้วเสร็จในรอบปัจจุบัน ซึ่งจะต้องประเมินเรื่องของความเหมาะสมของเวลาด้วย ว่าสามารถดำเนินการได้กี่ Backlog items
  4. Done คือ Backlog items ที่ผ่านการคัดเลือก และดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือ คือ Backlog items ที่ผ่านการคัดเลือกแต่ไม่ถูกให้ดำเนินการให้ทำ (ซึ่งจะมีการบันทึกไว้ใน หมายเหตุ หรือ History)

ในบทบาทของ Project Manager คือ

  1. หลังจากได้ตกลงกับลูกค้าและร่วมกันคัดเลือกความต้องการแล้วแล้ว Project Manager จะทำการ Update State ของ Backlog item แต่ละข้อตามข้อตกลง
  2. สร้างรอบการพัฒนา หรือ Iteration
  3. ระบุ Backlog items ที่ทำการ Commited เข้าสู่รอบ Iteration ที่ต้องการ
  4. ทำการวางแผนย่อย (Tasks) ต่อไป

วิธีการสร้างรอบการพัฒนา หรือ Iteration

จาก Link ของ TFS

 

รูปที่ 2

เลือก Configuration หมายเลข 1 ในรูปที่ 2 เพื่อเข้าไปจัดการเกี่ยวกับโครงการ จะปรากฎหน้าจอดังรูปที่ 3 

รูปที่ 3

ในรูปที่ 3 จะแสดงโครงการ หรือ Project ทั้งหมดที่รับผิดชอบ ให้ทำตามขั้นตอน คือ

  • เลือกโครงการ ตามหมายเลข 1
  • จะปรากฎรายละเอียดด้านขวา เลือก Link ตามหมายเลข 2 เพื่อเข้าไปทำการจัดการเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการที่เลือก
  • จะปรากฎหน้าจอดังรูปที่ 4

 

รูปที่ 4

จากรูปที่ 4 ทำตามขั้นตอนเพื่อสร้างรอบการพัฒนา หรือ Iteration ดังนี้

  • กดเลือก หมายเลข 1 Iterations เพื่อจัดการเกี่ยวกับรอบการพัฒนา หรือ Iterations
  • กดเลือกหมายเลข 2 เพื่อเลือก Release ที่ต้องการ ซึ่งอาจจะมีหลาย Release ขึ้นอยู่กับข้อตกลงกับลูกค้า หรือขึ้นอยู่กับความต้องการที่ได้รับ
  • กดเลือกหมายเลข 3 เพื่อทำการสร้างรอบการพัฒนา ของ Release 1 โดยจะปรากฎหน้าจอขึ้นมา เพื่อให้กำหนดรายละเอียดของรอบการพัฒนา
  • หมายเลข 4 Iteration name ให้ใส่ชื่อรอบของการพัฒนา ขึ้นอยู่กับ Project Manager  แต่ละท่าน เพื่อใช้ในการสื่อสานภายในทีมพัฒนา
  • หมายเลข 5 ให้ระบุ วันที่เริ่มต้นรอบการพัฒนา (Start date) และวันที่สิ้นสุดรอบการพัฒนา (End date)
  • กดเลือกหมายเลข 6 เพื่อบันทึกรายละเอียดที่ได้กำหนดไป

หลังจากได้ทำการสร้างรอบการพัฒนา ไปแล้วเราสามารถตรวจสอบ หรือดูรอบการพัฒนาที่เพิ่มไปได้ โดย ทำตามขั้นตอน ในรูปที่ 5 ดังนี้

รูปที่ 5

  • หมายเลข 1 เข้าไปยัง TFS
  • หมายเลข 2 เลือกโครงการที่ได้กำหนดรอบการพัฒนาไปข้างต้น
  • จะปรากฎหน้าจอดังรูปที่ 6 โดย

รูปที่ 6

  • กดเลือกหมายเลข 1 เพื่อดูงาน ทั้งหมด
  • กดเลือกหมายเลข 2 คือ รอบการพัฒนา ที่เราได้ทำการเพิ่มเติมนั้นเองค่ะ

ขั้นตอนการระบุ Backlog items ที่ทำการ Commited กับผู้ใช้หรือลูกค้าว่าจะดำเนินการในรอบนี้ เข้าสู่รอบการพัฒนา หรือ Iteration ที่ต้องการ

มีขั้นตอนดังนี้

รูปที่ 7

จากรูปที่ 7

หมายเลข 1 เลือก Backlog items เลือก Board

หมายเลข 2 ในช่อง Approved คือ Backlog items ที่ได้ตกลงกับผู้ใช้ว่าจะดำเนินการ แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการในรอบใด ให้เลือก Backlog item ที่ตกลงว่าจะทำในรอบนี้

หมายเลข 3 Double click ที่ Backlog item ที่จะกำหนดรอบการพัฒนา จะได้หน้าจอดังรูปที่ 8

รูปที่ 8

จากรูปที่ 8

หมายเลข 1 เลือกรอบการพัฒนา (Iteration) ที่ได้ตกลงกับผู้ใช้ หรือลูกค้า

หมายเลข 2 ระบุ State เป็น Commited คือตกลงจะทำให้แล้วเสร็จในรอบการพัฒนาที่กำหนด

หมายเลข 3 กดปุ่ม Ave and Close เพื่อบันทึกข้อมูล

โดยข้อมูล Backlog item จะไปอยู่ในช่อง Commited ดังรูปที่ 9

รูปที่ 9

 

รูปที่ 10

จากรูปที่ 10 เราสามารถตรวจสอบข้อมูล ในมุมมองว่าในรอบการพัฒนานั้นๆ มี Backlog items อะไรบ้างที่เราต้องทำ โดย

หมายเลข 1 เลือกเมนู Work

หมายเลข 2 เลือก Iteration ที่ต้องการ

หมายเลข 3 จะแสดง Backlog items ที่เรากำหนดให้ commited ในรอบการพัฒนาดังกล่าวนั่นเอง


กล่าวโดยสรุป

ในมุมมองของ Project Manager ในการนำเครื่องมือ TFS มาใช้ในกระบวนการคัดเลือกความต้องการ และกำหนดรอบการพัฒนา ทำให้เห็นภาพรวมของ Backlog Items ทั้งหมด ว่ามีความต้องการของระบบนี้ทั้งหมดกี่เรื่อง และมีการแบ่งรอบการพัฒนาขึ้นกี่รอบ เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบให้ได้ครบทุกความต้องการ และแต่ละรอบการพัฒนา จะมีความต้องการใดบ้างที่จะต้องดำเนินการ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถแสดงให้ Project Manager เห็นได้ และสามารถติดตามได้นั่นเอง

 

สำหรับขั้นตอนการวางแผนย่อย (Tasks) เพื่อให้แต่ละความต้องการ หรือแต่ละ Backlog item ทำได้สำเร็จ หรือเสร็จทันนั้นผู้เขียนขอกล่าวในรอบถัดไปนะค่ะ เนื้อหายาวไปเกรงว่าผู้อ่านจะเบื่อกันซะก่อน อยากให้ติดตามกันต่อนานๆ ค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ ^___^