Month: November 2015

  • วิธีการตรวจสอบระดับความปลอดภัยของ Certificate

    “เราสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่า Certificate ที่ใช้อยู่มีความปลอดภัยเพียงพอ”

      • ในกรณีนี้เหมาะกับท่านที่มี Certificate ที่ซื้อมาเอง หรือมีการ Trust กันภายในองค์กร ในกรณีที่เป็น Self Sign Certificate แบบออกเอง ใช้เองไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนครับ (เพราะไม่น่าเชื่อถืออยู่แล้วครับ) ใครต้องการเปลี่ยนไปใช้ Public Certificate ต้องตรวจสอบก่อนครับว่าเข้าเงื่อนไขของ Certificate นั้นหรือเปล่า เช่น *.psu.ac.th ถ้าเป็น www.cc.psu.ac.th อันนี้ใช้ไม่ได้ครับ
      • ปกติเราสามารถตรวจสอบง่าย ๆ ได้อยู่แล้วผ่าน Browser ที่ใช้อยู่ ยกตัวอย่าง Chrome สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
        https://support.google.com/chrome/answer/95617?hl=th
      • สำหรับ Certificate ที่แนะนำจะเป็น SHA-2 ขึ้นไป ซึ่งไม่แนะนำ SHA-1 เพราะไม่แข็งแรงพอ และจะสิ้นสุดระหว่างในปี 2016-2017 นี้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
        https://community.qualys.com/blogs/securitylabs/2014/09/09/sha1-deprecation-what-you-need-to-know
      • ในส่วนของ Windows Server สามารถตรวจสอบโดยการเข้า IIS จากนั้นกดดูในส่วนของ Certificate
      • ในส่วนของ Linux ก็สามารถดูได้โดยกดดู Certificate จาก Browser ครับ

    2015-11-10_0617452015-11-10_055328

    2015-11-10_055735

      • Web ไหนยังใช้ SHA-1 รีบเปลี่ยนไปใช้ SHA-2 กันดีกว่าครับ แต่ SHA-2 รองรับ Windows XP SP3 ขึ้นไปเท่านั้นครับ หน่วยงานใดยังใช้ XP อยู่แนะนำให้ Upgrade เป็น SP3 หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใช้ Windows 7/8/8.1/10 ก็ได้ครับ
      • สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับรวมวิธีลดช่องโหว่ Server เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
        http://sysadmin.psu.ac.th/2015/11/10/serversecuritypatch
  • ตรวจสอบความปลอดภัย web server https โดย Qualys

    “จะตรวจสอบได้อย่างไรว่า Web Server ที่ให้บริการ https มีความปลอดภัยเพียงพอ”

    บทความนี้จะอธิบายวิธีการใช้งานและการอ่านค่าคร่าว ๆ ของ Web Qualys ดังนี้

    • เข้า Web Site https://www.ssllabs.com/ssltest จะปรากฏหน้าต่างให้ใส่ Domain Name ที่ต้องการตรวจสอบ ถ้าไม่ต้องการให้โชว์ผลขึ้น Score Board ประจานให้ทั่วโลกเห็น(อันนี้ห้ามคนอื่นกดไม่ได้นะครับ) ให้ติก Do not show the results on the boards จากนั้นกด Submit

    2015-11-10_044047

    • จากนั้นระบบจะทำการตรวจสอบประมาณ 1-2 นาที โดย Web Site ที่สามารถตรวจสอบได้ต้องสามารถเข้าถึงจากภายนอกเท่านั้น
    • จากนั้นจะปรากฎหน้าผลลัพธ์ในรูปแบบ Overall Rating ดังนี้

    2015-11-10_045236

    • ในส่วนแรกคือ Summary อธิบายเป็นส่วน ๆ ได้ดังนี้
    1. Overall Rating :  จะเป็นตัวบอกคร่าว ๆ ว่า Web นี้มีความปลอดภัย Grade อะไรซึ่งจากรูปได้ F แสดงว่าไม่ปลอดภัยอย่างมาก
    2. จะอธิบายเพิ่มเติมโดยแยกเป็น 4 ส่วนคือ
      Certificate - ระดับความแข็งแรงของใบประกาศ (ยากในการปลอมหรือในการถอดรหัสข้อมูล)
      Protocol Support - ระดับความปลอดภัยของ Protocol ที่ให้บริการ SSL/TLS
      Key Exchange - ระดับความปลอดภัยของการแลกเปลี่ยน Key
      Cipher Strength - ระดับความแข็งแรงของ Cipher ซึ่งเป็น Algorithm ที่ใช้ในการเข้ารหัส
      
    3. ในส่วนนี้จะอธิบายลึกลงไปว่ามีผลทำให้เกิดช่องโหว่ร้ายแรงอะไรบ้าง โดยจะบอกว่าเกิดจากอะไร เช่น จากรูป Server รองรับ SSL Version 2 ซึ่งยกเลิกการใช้งานไปแล้วเพราะไม่ปลอดภัย, เกิดช่องโหว่ FREAK, POODLE TLS โดยเราสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมโดยการกด More Info
    4. จะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ถือว่าเป็นระดับที่ยังไม่ร้ายแรง แต่แนะนำให้แก้ไข เช่น จากรูปแนะนำให้เลิกใช้ SSL Version 3 ส่วน TLS ควรใช้ Version ล่าสุดซึ่งเป็น TLS 1.2
    • โดยเราสามารถเลื่อนมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะมีบอกในส่วน Handshake Simulation ซึ่งจะตรวจสอบให้คร่าว ๆ ว่า Browser ใดไม่รองรับบ้าง

    หวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยยกระดับความปลอดภัยของ Web Server ที่รองรับการใช้งานแบบเข้ารหัสได้เป็นอย่างดีครับ สามารถอ่านวิธีแก้ไขช่องโหว่เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

    http://sysadmin.psu.ac.th/2015/11/10/serversecuritypatch

    Reference : https://www.ssllabs.com, Qualys SSL LABS

  • รวมวิธีลดช่องโหว่ Server

    “บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับวิธีการปิดช่องโหว่ รวมถึงวิธีการ Monitor ตรวจสอบช่องโหว่ด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ครับ”


    วิธีการตรวจสอบช่องโหว่

    Blog 1 : ตรวจสอบความปลอดภัย web server https โดย Qualys


    Blog 2วิธีการตรวจสอบระดับความปลอดภัยของ Certificate


    วิธีการแก้ไข Certificate เพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

    Blog 1 : Windows Server 2003 R2


    Blog 2 : Windows Server 2008 / 2008 R2 / 2012 / 2012 R2


    Blog 3 : Apache Web Server (Ubuntu 14.04 LTS)


    Blog 4 : Lighttpd Web Server (Ubuntu 14.04 LTS)


    วิธีการปิดช่องโหว่ Logjam,Freak,Poodle,Beast

    Blog 1 : Windows Server 2003 R2


    Blog 2 : Windows Server 2008/2008 R2/2012/2012 R2


    Blog 3 : Apache Web Server (Ubuntu 14.04 LTS)


    Blog 4Lighttpd Web Server (Ubuntu 14.04 LTS)


    อ่านวิธีแก้ไขเพิ่มเติมได้ที่ : http://disablessl3.com/

  • การทดสอบโปรแกรม (Testing)

    วันนี้ขออธิบายสิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะรู้ อาจจะทราบกันอยู่แล้ว แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ถึงกระบวนการและความจำเป็นของการทดสอบระบบ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลในเรื่องนี้สักหน่อย เนื่องจากกำลังทำงานหลัก ๆ ที่เกี่ยวกับการทดสอบโปรแกรมเป็นส่วนใหญ่ 

    การ Test คือการทดสอบระบบว่าทำงานได้ถูกต้องได้ผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งเป็นการทดสอบกระบวนการทางพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์

    โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีหลักการง่าย ๆ คือ Input -> Process -> Output วิธีการกำหนด Test case อย่างง่ายที่สุดคือทำการ Test แต่ละส่วนโดยอยู่บนพื้นฐานของ Business requirement และวัตถุประสงค์ของระบบ ซึ่งจะต้องมีการเขียน Test case โดย Test case เป็นเอกสารที่ระบุชุดข้อมูลป้อนเข้าผลลัพธ์ ที่คาดว่าจะได้รับและกลุ่มของเงื่อนไขในการดำเนินการในชุดทดสอบต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ออกเป็นฟังก์ชันย่อย ๆ เพื่อให้สามารถทำการทดสอบโดยชุดข้อมูลป้อนเข้าดังกล่าว และสร้างผลลัพธ์ที่สามารถประเมินผลได้โดยปกติจะขึ้นกับ use case ของระบบ

    “Test case ประกอบด้วย”

    • ชื่อ Test case โดยปกติแล้วคือ Use case ตาม ฺBusiness requirement เช่น การ login เข้าระบบ
    • วัตถุประสงค์ของ Test case นั้น ๆ
    • ผลที่คิดว่าจะได้รับ (Output)
    • กำหนดลักษณะข้อมูลที่จะนำเข้าเพื่อใช้ในการ Test (Input)
    • ขั้นตอนวิธีการทดสอบ เป็น Step 1,2,3,… ว่าแต่ละขั้นตอนต้องทำอะไรบ้าง
    • ผลที่ได้จากการ test

    “ชนิดของการ Test”

    1. ทดสอบความถูกต้อง
      • Unit test เป็นการ test functional ของระบบในแต่ละส่วนย่อยๆเพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละส่วนทำงานได้ถูกต้อง
      • Integration test เป็นการนำแต่ละ unit มาประกอบกันและทดสอบการติดต่อระหว่าง unit ว่าสามารถทำงานได้ถูกต้อง
      • End to end test เป็นการทดสอบระบบในภาพรวมโดยนำแต่ละส่วนของระบบมาประกอบกันให้สมบูรณ์ และทดสอบระบบประหนึ่งเป็น ผู้ใช้ของระบบ
    2. ทดสอบคุณภาพ
      • Stress test เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ เพื่อทดสอบว่าระบบสามารถรับจำนวนผู้ใช้, ข้อมูล ได้มากแค่ไหน
      • Usability test เป็นการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของระบบ เช่น UI เหมาะสมต่อการใช้งานหรือไม่ เข้าใจได้ง่ายหรือไม่

    การทดสอบระบบไม่ว่าที่ไหนก็คงมีวิธีการและขั้นตอนไม่ต่างกันนัก ที่แตกต่างกันคงจะเป็นความเข้มข้นของการ Test เสียมากกว่า คือจะ Test ละเอียดแค่ไหน มีระบบที่ใช้เพื่อการ Test พร้อมหรือไม่ และทีมงานมีความพร้อมแค่ไหน

    การจะเป็น Tester ที่ดีได้ต้องเข้าใจถึงมาตรฐานต่างๆที่ระบบใช้งาน เพื่อจะได้ทดสอบได้อย่างถูกต้องและแบบมีหลักเกณฑ์ ยกตัวอย่างง่ายๆ หากเป็น Tester ของเว็บไซต์ที่หนึ่ง หากไม่มีความรู้ด้านมาตรฐานหรือด้านเทคนิคเลย จะทดสอบอะไรได้บ้าง? เพียงแต่ click ดูแล้วดูผลลัพธ์ว่าตรงเท่านั้นหรือ?