How to install PSU SSL VPN Client ubuntu 18.04

เปิด terminal เริ่มด้วยการติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็น sudo apt install -y openfortivpn สร้างแฟ้ม /home/username/fortivpn.config มีข้อความว่า host = vpn2.psu.ac.th port = 443 username = PSU Passport Username password = PSU Passport Password trusted-cert = 34df1a6bd3705782fd17152de0c4fe0b3e7f31302cbdcf737b113c17a5b9ff09 สั่งรันคำสั่ง sudo openfortivpn -c fortivpn.config ได้ข้อความประมาณว่า แปลว่าเชื่อมต่อได้แล้ว หากต้องการยกเลิกการเชื่อมต่อให้กด ctrl-c จะได้ข้อความประมาณว่า แปลว่ายกเลิกการเชื่อมต่อแล้ว ต้องเปิด terminal ที่รันคำสั่ง openfortivpn ไว้ตลอดเวลาที่เชื่อมต่อห้ามปิด จบสไตล์คอมมานไลน์ …. หากอยากได้ง่ายกว่านี้ ติดตั้งโปรแกรม OpenFortiGUI โหลดที่ https://hadler.me/linux/openfortigui/ โดยเลือกโปรแกรมสำหรับ Ubuntu 18.04 โหลดมาแล้วติดตั้งด้วยคำสั่ง sudo dpkg -i openfortigui_0.6.2-1_bionic_amd64.deb จะมี error message มากมาย ให้ต่อด้วยคำสั่ง sudo apt -f -y install เริ่มใช้งานเปิดโปรแกรม openFortiGUI โดยกดที่ปุ่ม Show Applications เลือก openFortiGUI จะได้หน้าต่าง คลิกปุ่ม Add เลือก VPN จะได้ กรอกข้อความตามรูป ช่อง username และ password ก็ใส่ PSU Passport ลงไปเสร็จแล้วกด Save ได้ดังรูป เลือก PSU แล้วคลิก Connect ได้ผลดังรูป คลิก x เพื่อปิดหน้าต่างสังเกตว่าจะมีรูป  ที่มุมบนขวา หากจะยกเลิกการเชื่อมต่อ คลิกขวาที่  เลือก PSU เพื่อ dissconnect จบขอให้สนุก… ***  จากที่ลองทดสอบพบว่า เมื่อเชื่อมต่อ AIS 4G จะไม่สามารถใช้วิธี OpenFortiGUI ได้ แต่ใช้วิธีคอมมานไลน์ได้ครับ

Read More »

Ubuntu server 18.04 config static IP with ifupdown not netplan

เดิมก่อนหน้า server 18.04 จะออกมาให้ใช้งานกันนั้น จะเป็น server 16.04 เราตั้งค่า (config) static IP ให้กับ server ด้วยไฟล์นี้ /etc/network/interfaces ซึ่งก็คือ package ชื่อ ifupdown และ DNS resolver ที่ใช้ก็คือ resolvconf แต่ใน server 18.04 นี้ เปลี่ยนไปใช้ package ชื่อ netplan แก้ไขที่ไฟล์ /etc/netplan/01-netcfg.yaml และใช้ DNS resolver คือ systemd-resolve ซึ่งจะ connect สอบถามชื่อ DNS จาก internal DNS ที่ IP 127.0.0.53 (ตรวจดูด้วยคำสั่ง cat /etc/resolv.conf) (ย้ำ) บทความนี้ไม่ได้บอกเล่าให้ทุกคนต้องทำแบบนี้ เพียงแต่หากท่านมีงานเฉพาะอย่างที่ต้องการใช้แบบก่อนหน้านี้ หลังจากติดตั้ง Ubuntu server เสร็จ 1.แก้ไขไฟล์ /etc/default/grub ดังนี้ sudo nano /etc/default/grub เพิ่มบรรทัดนี้ GRUB_CMDLINE_LINUX=”netcfg/do_not_use_netplan=true” หรือหากต้องการใช้ชื่อ interface เป็น ethX เช่น eth0 เป็นต้น ก็ให้เพิ่มบรรทัดแบบนี้ GRUB_CMDLINE_LINUX=”net.ifnames=0 netcfg/do_not_use_netplan=true” ทำการ Save และ ออก 2.ทำคำสั่งนี้เพื่อ update grub sudo update-grub 3.ติดตั้ง ifupdown package sudo apt install ifupdown 4.ติดตั้ง resolvconf package sudo apt install resolvconf 5.รีบูต server เมื่อ login กลับเข้าไปใน command prompt สั่ง ping www.google.com สำเร็จ ก็แสดงว่าใช้งานได้ (เซิร์ฟเวอร์นี้ต้องได้รับอนุญาตออกเน็ตด้วยนะ) หรือไม่ก็ใช้คำสั่งตรวจสอบชื่อโดเมน ดังนี้ host www.google.com ก็จะต้องได้รับ output ที่แสดงว่าสำเร็จ สำหรับวิธีการตั้งค่าแบบ netplan ก็มีเว็บเพจที่เขียนไว้มากพอสมควร เช่น Ubuntu Bionic: Netplan posted by Joshua Powers on 1 December 2017 [ https://insights.ubuntu.com/2017/12/01/ubuntu-bionic-netplan ] ลองทำความเข้าใจรูปแบบใหม่นี้ได้เลย Output ของค่า default เมื่อติดตั้ง Ubuntu server 18.04 เสร็จใหม่ ๆ (/etc/resolv.conf, /etc/network/interfaces และ /etc/netplan/01-netcfg.yaml) Output ของไฟล์ที่ใช้ในการตั้งค่า static IP เมื่อใช้ ifupdown package (/etc/resolv.conf และ /etc/network/interfaces) References: Disable netplan on Ubuntu 17.10 Posted on January 10, 2018 by ruchi [ http://www.ubuntugeek.com/disable-netplan-on-ubuntu-17-10.html ] Predictable Network Interface Names [ https://www.freedesktop.org/wiki/Software/systemd/PredictableNetworkInterfaceNames/ ]

Read More »

Configuration of TCP/IP with SSL and TLS for Database Connections

สิ่งที่ต้องเตรียม Oracle Database Server ในตัวอย่างนี้ใช้ Oracle database บน Oracle Enterprise Linux 7 Oracle Database Client  ในตัวอย่างใช้ Windows Server 2008 R2 เริ่ม ฝั่ง Server เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ oracle หรือบัญชีที่เป็นเจ้าของ Oracle Database เปิด terminal สร้าง Oracle Wallet ด้วยคำสั่ง mkdir -p /u01/app/oracle/wallet ต่อด้วย orapki wallet create -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 -auto_login_local โดย -pwd WalletPasswd123 ตัว WalletPasswd123 คือรหัสผ่านที่ใช้ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ใน wallet กฎการตั้งมีอยู่คือ ยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร ไม่จำกัดความยาว จำเป็นต้องตั้งให้ตัวเลขผสมตัวอักษร สร้าง Certificate และใส่เข้าไปใน wallet ด้วยคำสั่ง orapki wallet add -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 \ -dn “CN=`hostname`” -keysize 1024 -self_signed -validity 3650 ตรวจสอบด้วยคำสั่ง orapki wallet display -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 ได้ผลลัพธ์ประมาณ Oracle PKI Tool : Version 12.1.0.2 Copyright (c) 2004, 2014, Oracle and/or its affiliates. All rights reserved. Requested Certificates: User Certificates: Subject: CN=reis.psu.ac.th Trusted Certificates: Subject: CN=reis.psu.ac.th Export Certificate เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง Oracle Client ด้วยคำสั่ง orapki wallet export -wallet “/u01/app/oracle/wallet” -pwd WalletPasswd123 \ -dn “CN=`hostname`” -cert /tmp/server-certificate.crt ตรวจสอบแฟ้มที่ export ไปด้วยคำสั่ง cat /tmp/server-certificate.crt ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า —–BEGIN CERTIFICATE—– MIIBoTCCAQoCAQAwDQYJKoZIhvcNAQEEBQAwGTEXMBUGA1UEAxMOcmVpcy5wc3UuYWMudGgwHhcN MTgwMTA5MDcyNTA2WhcNMjgwMTA3MDcyNTA2WjAZMRcwFQYDVQQDEw5yZWlzLnBzdS5hYy50aDCB nzANBgkqhkiG9w0BAQEFAAOBjQAwgYkCgYEAj4x2/NviDaTlXuEJt0kZARY5fHiT2SiVX+a18hai I0stoUhKKefjOCgB85iuqjIk0rvcGXI0KXkbenTy2t40A+qGxB04mBhCLKaKeIe67BZKR6Zyw1dd oaesoaWChC01b+IW1X5WWtC53UxpIZQ4Zktj41sLGUnarIr9+9HFwncCAwEAATANBgkqhkiG9w0B AQQFAAOBgQAqSCF2Y8uyM4rSQHUC8MKEl3Ia3NJKnigMOUzDc2fP7grSaoeuQ4NvIntTD+s+IT5Y EpLVND4kSHFTwGRq0Py/ig8ybXZCXfHtvNZh7ZGziL/sYt5/8xYi/tOBKwVanBTUaseKIMovtmd7 UyoOKrX8YBoFsB3UPRLudmFsksXRXw== —–END CERTIFICATE—– ฝั่ง Client เข้าระบบด้วยบัญชีผู้ใช้ administrator เปิด cmd แล้วสร้าง wallet ด้วยคำสั่ง mkdir c:\app\oracle\wallet สร้าง Certificate ด้วยคำสั่ง orapki wallet add -wallet “c:\app\oracle\wallet” -pwd WalletPasswd123 -dn “CN=%computername%” -keysize 1024 -self_signed -validity 3650 โดย WalletPasswd123 คือพาสเวิร์ดที่ใช้ล็อค wallet ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับของ Server ตรวจสอบด้วยคำสั่ง orapki wallet display -wallet “c:\app\oracle\wallet” -pwd WalletPasswd123 ได้ผลลัพธ์ประมาณว่า Oracle PKI Tool : Version

Read More »

วิธีขยาย Disk ใน VM/Virtualbox แล้วให้ Ubuntu

ในกรณีใช้ VMWare/VirtualBox  บางครั้งเราต้องการขยาย Disk ให้ Ubuntu มีพื้นที่มากขึ้น เดิมมี Disk 100 GB แก้ไขให้เป็น 300 GB Login เข้าไป ดูข้อมูล ด้วยคำสั่ง df -h จะเห็น 100 GB อยู่ แล้ว sudo reboot ลอง Login ใหม่ แล้วใช้คำสั่ง sudo su fdisk -l ก็จะ ขนาดเพิ่มเป็น 300 GB จากนั้นใช้คำสั่ง growpart /dev/sda 1 resize2fs /dev/sda1 แล้วลอง df -h ก็จะพบว่า ได้ขนาดมาเป็น 300 GB แล้ว

Read More »

เทคนิคการใช้ Word ในการทำบรรณานุกรม

ในการทำเอกสารงานวิชาการ/งานวิจัย เมื่อเราอ่านเอกสารจากบทความหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วมาเขียนในงานของเราจะต้องมีการอ้างอิงที่มาของเนื้อหาดังกล่าว โดยไปที่ References คลิก Insert Citation  คลิก Add New Source จะแสดง Dialog ดังรูป Type of Source ให้เลือกประเภทของแหล่งข้อมูลเนื้อหาตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, เอกสารวิชาการ, Conference Proceeding, รายงาน, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์, จาก Website ต่าง ๆ ก็สามารถทำอ้างอิงได้ ในที่นี้ขอเลือก Book Author ระบุชื่อผู้แต่ง Title ระบุชื่อหนังสือ Year ระบุปีที่พิมพ์ City ระบุชื่อเมืองที่พิมพ์ Publisher ระบุสำนักพิมพ์ จากนั้นคลิก OK ก็จะได้อ้างอิง ดังรูป พอเราทำเอกสารเสร็จทั้งหมดไปถึงหน้าสุดท้ายแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องทำบรรณานุกรมแล้ว ไปที่ References ที่ Style เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้มาตรฐานการอ้างอิงแบบไหน ส่วนใหญ่ก็จะเป็น APA จากนั้นคลิกที่ Bibliography คลิกเลือก Bibliography ก็จะได้บรรณานุกรม ดังรูปโดยที่เราสามารถปรับแต่งขนาดตัวอักษร จัดรูปแบบ และยังสามารถอัพเดตอ้างอิงและบรรณานุกรมได้ด้วยค่ะ อาจจะเป็นเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คิดว่าคงมีประโยชน์กับผู้ที่ทำเอกสารงานวิชาการ/งานวิจัยนะคะ   

Read More »