ทำอย่างไรให้เว็บไซต์ที่เราพัฒนาสามารถอัพโหลดไฟล์แบบคราวละหลายไฟล์ได้โดยไม่จำกัดจำนวน ด้วย ASP.NET(C#)

          ในการพัฒนาเว็บไซต์ บางครั้งอาจมีความจำเป็น หรือความต้องการจากผู้ใช้ที่ต้องการให้เว็บไซต์ดังกล่าวมีฟังก์ชั่นการทำงานในส่วนของการอัพโหลดไฟล์เพื่อแนบไฟล์เข้าไปในระบบและบันทึกลงฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเรียกดูข้อมูลการแนบไฟล์ดังกล่าวได้ในภายหลัง การอัพโหลดไฟล์จึงถือเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นการทำงานที่นักพัฒนาเว็บไซต์ควรทราบไว้ ซึ่งลักษณะการทำงานโดยทั่วไปส่วนใหญ่เราจะใช้ Control ที่มีเรียกว่า “FileUpload” แบบอัพโหลดครั้งละ 1 ไฟล์ และหากมีมากกว่านั้นก็จะมีการสร้างตัว FileUpload มาวางไว้ในหน้าจอเพิ่มตามจำนวนที่ต้องการแบบตายตัว เช่น หากในหน้าจอดังกล่าวต้องการสามารถให้ทำการอัพโหลดไฟล์ได้ไม่เกิน 5 ไฟล์ต่อการอัพโหลดแต่ละครั้งก็จะมีการลากคอนโทรล FileUpload มาวางไว้ในหน้าจอจำนวน 5 ตัว เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการอัพโหลดไฟล์ของผู้ใช้ได้ แต่ผู้เขียนพบว่าการทำงานดังกล่าวอาจไม่รองรับความต้องการในการทำงานของผู้ใช้ที่จะเพิ่มไฟล์ได้ครั้งละหลายๆไฟล์โดยไม่จำกัดและผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องระบุหรือสร้างคอนโทรล FileUpload มาวางในหน้าจอในจำนวนที่ตายตัวโดยไม่จำเป็น โดยผู้ใช้สามารถคลิกปุ่มเพื่อเพิ่มจำนวนในการอัพโหลดไฟล์แต่ละครั้งได้เองเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ ASP.NET(C#) ในแบบที่มีการอัพโหลดไฟล์ได้คราวละหลายๆไฟล์ในแบบไม่ต้องจำกัดจำนวนคอนโทรล FileUpload ในหน้าจอโดยมีการระบุจำนวนไฟล์ที่สามารถอัพโหลดได้ในแต่ละครั้งโดยผู้พัฒนาแบบตายตัวอย่างเช่นที่กล่าวไว้ข้างต้น           หลังจากที่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม ผู้เขียนพบว่าใน .NET Framework เวอร์ชั่น 4.5 นั้นจะมีการเพิ่ม Feature การทำงานในส่วนนี้ให้กับคอนโทรล FileUpload ไว้แล้วผ่าน Properties ที่เรียกว่า AllowMultiple ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการพัฒนาและสามารถลดปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่ายังคงต้องมีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมเอง ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการพัฒนาทั้ง 2 แบบในเบื้องต้นโดยจะเน้นไปในแบบเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า 4.5 เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป ดังนี้ … Read more

ทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้งานเบื้องต้นกับ StringBuilder ใน .NET Framework(C#)

          โดยปกติแล้วนั้น ผู้พัฒนาโปรแกรมโดยใช้ .NET Framework มักจัดการข้อมูลที่เป็นอักษรหรือข้อความ (String) ด้วยคลาสของ String ที่มีใน .NET Framework ซึ่งประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นหรือเมธอดที่หลากหลายที่ติดมากับตัวคลาส เพื่อเตรียมมาไว้ให้ใช้งาน และสามารถรองรับความต้องการในการจัดการข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งมีวิธีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีมาตรฐานการใช้งานที่รู้จักโดยทั่วถึงกัน สะดวกและรวดเร็วทำให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกวิธีจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคลาสของ String จะมีเมธอดให้เราได้เลือกใช้กันอย่างมากมายและมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบในการใช้งานกับตัวแปรของคลาส String คือ การเชื่อมต่อหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขค่าข้อความของตัวแปรชนิด String ในแต่ละครั้ง จะไม่สามารถเปลี่ยนรูป หรือกลับไปแก้ไขค่าของตัวแปรบนพื้นที่หน่วยความจำเดิมที่ถูกจองไว้ให้กับตัวแปรได้ หรืออาจพูดในทางโปรแกรมแบบง่ายๆได้ว่า หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรชนิด String เราจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขค่าใน object ของตัวแปรที่ถูกสร้างขึ้นเดิมในหน่วยความจำ หรือ Memory ที่สร้างไว้ในตอนแรกได้ แต่จะมีการสร้าง object ตัวใหม่ขึ้นมา ทุกครั้งที่มีการแก้ไข/จัดการข้อมูลค่า หรือมีการใช้งานเมธอดในคลาส System.String และใช้วิธีให้ pointer ของตัวแปรชี้ไปยังตำแหน่งของ object ตัวใหม่ที่มีค่าของตัวแปรที่ถูกแก้ไขภายหลังแทน ซึ่งหากมีกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าข้อมูล หรือเชื่อมต่อข้อความในตัวแปรดังกล่าวจำนวนหลายครั้ง หรือมีการวนลูปซ้ำในการเปลี่ยนแปลงค่าเป็นจำนวนมาก จะถือเป็นการใช้งานทรัพยากรหน่วยความจำอย่างสิ้นเปลือง เนื่องจาก … Read more

การเรียกใช้งานเมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิสแบบ Ajax ด้วย jQuery (C#)

          ก่อนจะพูดถึงวิธีการเรียกใช้งานเมธอดในฝั่งเซิร์ฟเวอร์/เว็บเซอร์วิสแบบ Ajax ด้วย jQuery ผู้เขียนขอเกริ่นนำเกี่ยวกับที่มาที่ไปเกี่ยวกับแนวคิดแบบ Ajax เพื่อให้ผู้อ่านบางท่านที่ยังอาจงงๆได้ทำความเข้าใจเสียก่อน ว่าโดยปกติแล้วนั้น ในการพัฒนาเว็บไซต์(Web application)ของ ASP.NET จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Client side และ Server side ซึ่งการทำงานในส่วนของ Client side จะหมายถึงส่วนของ browser หรือหน้าจอการทำงานของผู้ใช้ เช่น Google Chrome Firefox และ Internet explorer ส่วนในฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะมีการรับคำร้องขอ(request) จากฝั่ง Client ทำการประมวลผลและส่งค่าผลลัพธ์คืนกลับมายังฝั่ง Client อีกครั้งเพื่อให้ผู้ใช้เห็นผลลัพธ์การตอบกลับนั้นได้ ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นการพัฒนาจะประกอบด้วยโค้ด 2 ส่วน คือ Server-side code ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการทำงานในการติดต่อไปยังฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และถูกนำมาใช้ในการพัฒนา Web application ซึ่งใน ASP.NET นั้นนับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยจะมีการใช้งานผ่านทาง .NET Framework … Read more

การใช้ LINQ ในการจัดการข้อมูลอย่างง่าย สำหรับมือใหม่(Ep.2)

          ความเดิมตอนที่แล้ว… ผู้เขียนได้ทิ้งท้ายไว้เกี่ยวกับเรื่องการใช้งาน LINQ ในการจัดการข้อมูลในเบื้องต้น ได้แก่ วิธีการดึงข้อมูลโดยทั่วไป(Select) การดึงข้อมูลแบบมีเงื่อนไข(Where) และการเรียงลำดับ(OrderBy) เป็นต้น หากใครที่ยังไม่เคยอ่านบทความที่แล้ว และต้องการศึกษาในส่วนดังกล่าวสามารถหาอ่านได้จากลิงค์ “การใช้ LINQ ในการจัดการข้อมูลอย่างง่าย สำหรับมือใหม่(Ep.1)” เพื่อเพิ่มความเข้าใจพื้นฐานในการใช้งานเบื้องต้น LINQ เพิ่มเติม และสำหรับในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอพูดถึงการใช้งาน LINQ ในส่วนอื่นๆที่นอกเหนือจากการทำงานทั่วไป ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้พัฒนาที่มีความสนใจในการใช้งาน LINQ จัดการข้อมูล ดังนี้ การคำนวณค่าร่วม/นับจำนวน ตัวอย่างที่ 1 : การคำนวณค่าผลรวมของฟิลด์ที่ดึงข้อมูลโดยใช้เมธอด Sum decimal sumLineTotal = (from od in orderdetailscollection select od.LineTotal).Sum(); หรือ decimal sumLineTotal = orderdetailscollection.Sum(od => od.LineTotal); คำอธิบาย : จากตัวอย่างข้างต้น เป็นการดึงข้อมูลโดยมีการคำนวณค่าผลรวมที่ได้จากการดึงข้อมูลทั้งหมดในฟิลด์ LineTotal ผ่านเมธอด Sum … Read more

การใช้ LINQ ในการจัดการข้อมูลอย่างง่าย สำหรับมือใหม่(Ep.1)

          ก่อนที่จะไปถึงในส่วนของวิธีการจัดการข้อมูลด้วย LINQ เรามาพูดถึงที่มาที่ไปอย่างคร่าวๆ ของ LINQ กันสักเล็กน้อยนะคะ LINQ มีชื่อเต็มว่า “Language-Intergrated Query” ถือเป็นภาษาใหม่ที่ขยายความสามารถในการเขียนโปรแกรมโดยเลียนแบบภาษา SQL จึงทำให้มีการใช้งาน keyword ที่คุ้นเคยกันดีในคำสั่ง SQL เช่น select from where เป็นต้น ซึ่งมีความนิยมกับการทำงานด้านฐานข้อมูลมากขึ้นในปัจจุบัน และได้ถูกนำมารวมกับภาษาพัฒนาโปรแกรมทำให้การพัฒนาโปรแกรมควบคุมข้อมูลให้อยู่ในแนวการเขียนโปรแกรมเดียวกัน และช่วยอำนวยความสะดวกรวมถึงเพิ่มความคล่องตัวให้กับผู้พัฒนาในการจัดการข้อมูลมากยิ่งขึ้น โดย LINQ นี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ .NET Framework 3.5 ที่มากับ Visual studio 2008 ซึ่งจะมีการติดต่ออยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ข้อมูลประเภท Object ข้อมูลประเภทฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานแตกต่างกันไป จึงแยกออกเป็น LINQ to Dataset LINQ to SQL LINQ to Entity ข้อมูล XML           โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะขอแยกวิธีการจัดการข้อมูลออกเป็นเรื่องๆ ที่ถือเป็นพื้นฐานที่มือใหม่ควรรู้ … Read more