ลบภาพบนเอกสาร Word ทั้งหมดได้ง่าย ๆ ภายในพริบตา
หลายท่านคงเคยมีปัญหาในการนำข้อความจาก word อาจจะต้องนำไป Copy ไว้ที่ไหนสักที่ หรือ นำไปเขียน blog บนเว็บ แต่ไฟล์ที่เรามีอยู่ในมือ ดูแล้วมีรูปภาพเต็มไปหมด ไอ้เราก็ต้องการเฉพาะแค่ข้อความเท่านั้น ทำไงล่ะทีนี้ จะต้องมานั่งลบรูปทีละรูปอย่างนั้นเหรอ ?? เสียเวลาชะมัด เห้อ ….. แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ มันไม่เสียเวลาขนาดนั้น มันก็มีวิธีอยู่นะคะ ที่เราจะไม่ต้องมานั่งคลิกลบทีละรูป เอาล่ะมาดูวิธีกันดีกว่า 1. เปิดไฟล์ที่เราต้องการลบรูปทั้งหมดขึ้นมา จะเห็นว่าในไฟล์มีรูปภาพหลายรูปเลยล่ะค่ะ 2. คลิกที่ปุ่ม Replace 3. ในช่อง Find What ให้พิมพ์ ^g ส่วนตรง Replace With ไม่ต้องกรอกอะไรลงไปค่ะ ปล่อยว่างไว้เลย จากนั้นให้กดปุ่ม Replace All 4. ปรากฏข้อความแจ้งดำเนินการเสร็จสิ้น กดปุ่ม OK เพื่อปิดข้อความ 5. กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าจอการ Replace 6. จะเห็นว่ารูปทั้งหมดหายวับไปกับตา […]
การจัดหมวดหมู่แถวของข้อมูลบน GridView ด้วย C#
ในการดึงข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบตาราง GridView อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกของนักพัฒนาที่จะหยิบไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงผล แต่ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมากอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกตาลายและอ่านยากไปสักหน่อย ผู้พัฒนาจึงต้องพยายามหาวิธีจัดการข้อมูลในการแสดงผลให้สามารถอ่านง่ายและสบายตามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในกรณีที่ข้อมูลมีจำนวนมาก การจำแนกประเภท หรือแยกออกเป็นกลุ่มย่อยๆก็เป็นอีกหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้น ในบทความนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำวิธีการแสดงผลของข้อมูลบน GridView แบบจำแนกออกตามกลุ่ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดูข้อมูลแยกส่วนกัน เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ GridView ซึ่งเราเองใช้งานอยู่และน่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ ขั้นตอนในการพัฒนา เตรียมข้อมูลในการแสดงผล โดยจากตัวอย่างนี้ จะทำการสมมุติข้อมูลของดอกไม้ ผลไม้ และต้นไม้ และมีข้อมูลเพื่อใช้ในการแยกประเภทไว้ด้วย เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นค่ะ หมายเหตุ : การประกาศตัวแปร และการดึงข้อมูลเป็นเพียงการยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจเท่านั้น ในการทำงานจริงผู้อ่านสามารถใช้วิธีการประกาศตัวแปรและเรียกใช้แบบอื่น หรือดึงข้อมูลจากส่วนอื่นได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความถนัดค่ะ 2. เตรียม GridView ที่จะใช้ในการแสดงผล โดยจะขอยกตัวอย่างให้ดูการแสดงผล GridView แบบทั่วไปก่อนมีการจัดกลุ่ม เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ดังนี้ค่ะ เพิ่มเติม : ข้อมูลจำนวนเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข จึงได้ทำการจัด Format รูปแบบของข้อมูลให้แสดงผลแบบตัวเลข ด้วยการระบุ DataFormatString=”{0:#,##0}” เช่น หากข้อมูล 2500 จะแสดง […]