ASP.NET Core Part I

asp.net core คือ cross-platform framework สำหรับการพัฒนา web application ที่ทำงานบน .net core หรือ  full .net framework เดิม ( .net core สามารถใช้งานได้ทั้ง Windows , Linux และ MacOS โดยที่ส่วนประกอบต่างๆของ .net core ไม่ว่าจะเป็น runtime, libraries, compiler, language และเครื่องมือต่างๆ เป็น open source ทั้งหมด )  ซึ่ง asp.net core ได้รับการออกแบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพดีกว่า asp.net เดิมโดยแบ่งส่วนต่างๆออกเป็น module ย่อยเพื่อลด overhead ในการเริ่มต้นทำงาน ซึ่ง asp.net core ประกอบไปด้วยกลุ่มของ NuGet package แทนที่การใช้งาน System.Web.dll ใน asp.net เดิม ซึ่งผู้พัฒนาสามารถเลือกเฉพาะ package ที่ต้องใช้งานเท่านั้น ทำให้ application มีขนาดเล็กลง มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น,การพัฒนา Web UI และ Web API จะใช้ libraries เดียวกัน, สนับสนุนการใช้งาน dependency injection, web application สามารถใช้งานบน IIS หรือ self-host ภายใต้ process ของตัวเอง

ในการพัฒนา asp.net core เราสามารถใช้เครื่องมือที่เป็น text editor ธรรมดาหรือจะใช้เครื่องมือช่วยในการพัฒนาอย่างเช่น Visual Studio ก็ได้ ในส่วนของโครงสร้างของ project asp.net core จะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยการกำหนดค่า config ของ project สามารถกำหนดได้ที่ project.json

{
 "title": "asp.net.core",
 "version": "1.0.0",

 "dependencies": {
   "NETStandard.Library": "1.6.0",
   "Newtonsoft.Json": "9.0.1"
 },

 "frameworks": {
   "netstandard1.6": {
      "imports": "dnxcore50"
    }
  }
}

การ reference ไปยัง NuGet package ที่ต้องการใช้งานใน project สามารถกำหนดได้ใน project.json โดยพิมพ์ชื่อ NuGet package ที่ต้องการพร้อมทั้งระบุ vesrion ในส่วน “dependencies” ซึ่งเมื่อทำการบันทึก project.json เครื่องมืออย่างเช่น visual studio จะทำการ restroe NuGet package ให้กับ project โดยอัตโนมัติ

asp.net core ได้รับการออกแบบให้รองรับ client-side framework ต่างๆเช่น AngularJS หรือ bootstrap โดยใช้เครื่องมือที่เป็น package manager ในติดตั้ง client-side package ที่ต้องการใช้งาน อย่างเช่น Bower ที่จะกำหนด package ที่ต้องการใช้งานใน bower.json

{
 "name": "asp.net",
 "private": true,
 "dependencies": {
   "bootstrap": "3.3.6",
   "jquery": "2.2.0",
   "jquery-validation": "1.14.0",
   "jquery-validation-unobtrusive": "3.2.6"
 }
}

หรือ npm ที่จะกำหนด package ที่ต้องการใช้งานใน package.json

{
 "name": "asp.net",
 "version": "1.0.0",
 "private": true,
 "devDependencies": {
   "gulp": "3.8.11",
   "gulp-concat": "2.5.2",
   "gulp-cssmin": "0.1.7",
   "gulp-uglify": "1.2.0",
   "rimraf": "2.2.8",
   "typings": "1.0.5"
 },
 "dependencies": {
   "core-js": "^2.4.0",
   "reflect-metadata": "^0.1.3",
   "rxjs": "5.0.0-beta.6",
   "systemjs": "0.19.27",
   "zone.js": "^0.6.12"
 }
}

โดยเมื่อทำการบันทึก package manager จะทำการ restore package ที่ระบุ (bower.json หรือ package.json) ให้กับ project โดยอัตโนมัติ โดยที่ Bower จะติดตั้งลงใน /wwwroot/lib ในขณะที่ npm จะติดตั้งลงไปที่ folder /node_modules

ในส่วนของ web root ของ asp.net core project จะอยู่ที่ folder /wwwroot ซึ่งต่างจาก asp.net เดิมที่ใช้ root folder ของ project เป็น web root โดยที่ /wwwroot จะเป็น folder ที่เก็บพวก static resources ต่างๆเช่น css, js และ image files

entry point สำหรับ asp.net core application จะอยู่ที่ class “Startup” ซึ่งจะเป็น class ที่ใช้ในการกำหนด configuration และ service ต่างๆที่จะใช้ใน application โดย asp.net จะทำการค้นหา class ที่มีชื่อ startup ใน primary assembly (ในทุก namespace และไม่สนใจว่า class Startup จะเป็น public class หรือไม่ก็ตาม) ใน class Startup จะต้องมี method “Configure” ซึ่ง asp.net จะเรียกใช้งานตอนเริ่มต้น application (สำหรับ method “ConfigureServices” จะมีหรือไม่ก็ได้)

สำหรับ Configure method จะต้องรับ parameter type “IApplicationBuilder” และอาจจะระบุ service ที่ต้องการใช้งานเช่น IHostingEnvironment และ ILoggerFactory ซึ่ง service เหล่านี้จะถูก inject โดย server โดยอัตโนมัติ

IApplicationBuilder ถูกใช้ในการสร้าง application request pipeline ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทาง Configure method ใน Startup เท่านั้น

IHostingEnvironment จะใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลสภาพแวดล้อมของ application เช่น EnvironmentName, ContentRootPath, WebRootPath และ web root file provider

ILoggerFactory ให้ความสามารถในการทำ logging ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ผ่านทาง Startup constructor และ Configure method ใน Startup เท่านั้น

 public void Configure(IApplicationBuilder app, 
                       IHostingEnvironment env,
                       ILoggerFactory loggerFactory)
 {
    loggerFactory.AddConsole(Configuration.GetSection("Logging"));
    loggerFactory.AddDebug();

    if (env.IsDevelopment())
    {
      app.UseDeveloperExceptionPage();
      app.UseDatabaseErrorPage();
      app.UseBrowserLink();
    }
    else
    {
      app.UseExceptionHandler("/Home/Error");
    }

    app.UseStaticFiles();

    app.UseMvc(routes =>
    {
       routes.MapRoute(
       name: "default",
       template: "{controller=Home}/{action=Index}/{id?}");
     });
}

จะเห็นว่ามีการใช้ “Use” extension method เพื่อเพิ่ม middleware เข้าไปสู่ request pipeline ของ asp.net ตัวอย่างเช่น “UseMvc” extension method จะเป็นการเพิ่ม routing middleware เข้าไปสู่ request pipeline

ใน part I นี้ได้กล่าวถึงส่วนหลักๆของ asp.net core (asp.net 5)  ที่เปลี่ยนไปจาก asp.net เดิม ทั้งในส่วนของ framework และการรองรับการพัฒนา client-side ในส่วนต่อไปเราจะเริ่มต้นพัฒนา asp.net core โดยการสร้าง asp.net core web application project ในแบบง่ายๆ

อ้างอิง : https://docs.asp.net