ทำอย่างไรให้เว็บไซต์ที่เราพัฒนาสามารถอัพโหลดไฟล์แบบคราวละหลายไฟล์ได้โดยไม่จำกัดจำนวน ด้วย ASP.NET(C#)

          ในการพัฒนาเว็บไซต์ บางครั้งอาจมีความจำเป็น หรือความต้องการจากผู้ใช้ที่ต้องการให้เว็บไซต์ดังกล่าวมีฟังก์ชั่นการทำงานในส่วนของการอัพโหลดไฟล์เพื่อแนบไฟล์เข้าไปในระบบและบันทึกลงฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเรียกดูข้อมูลการแนบไฟล์ดังกล่าวได้ในภายหลัง การอัพโหลดไฟล์จึงถือเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นการทำงานที่นักพัฒนาเว็บไซต์ควรทราบไว้ ซึ่งลักษณะการทำงานโดยทั่วไปส่วนใหญ่เราจะใช้ Control ที่มีเรียกว่า “FileUpload” แบบอัพโหลดครั้งละ 1 ไฟล์ และหากมีมากกว่านั้นก็จะมีการสร้างตัว FileUpload มาวางไว้ในหน้าจอเพิ่มตามจำนวนที่ต้องการแบบตายตัว เช่น หากในหน้าจอดังกล่าวต้องการสามารถให้ทำการอัพโหลดไฟล์ได้ไม่เกิน 5 ไฟล์ต่อการอัพโหลดแต่ละครั้งก็จะมีการลากคอนโทรล FileUpload มาวางไว้ในหน้าจอจำนวน 5 ตัว เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการในการอัพโหลดไฟล์ของผู้ใช้ได้ แต่ผู้เขียนพบว่าการทำงานดังกล่าวอาจไม่รองรับความต้องการในการทำงานของผู้ใช้ที่จะเพิ่มไฟล์ได้ครั้งละหลายๆไฟล์โดยไม่จำกัดและผู้พัฒนาไม่จำเป็นต้องระบุหรือสร้างคอนโทรล FileUpload มาวางในหน้าจอในจำนวนที่ตายตัวโดยไม่จำเป็น โดยผู้ใช้สามารถคลิกปุ่มเพื่อเพิ่มจำนวนในการอัพโหลดไฟล์แต่ละครั้งได้เองเพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางในการพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ ASP.NET(C#) ในแบบที่มีการอัพโหลดไฟล์ได้คราวละหลายๆไฟล์ในแบบไม่ต้องจำกัดจำนวนคอนโทรล FileUpload ในหน้าจอโดยมีการระบุจำนวนไฟล์ที่สามารถอัพโหลดได้ในแต่ละครั้งโดยผู้พัฒนาแบบตายตัวอย่างเช่นที่กล่าวไว้ข้างต้น           หลังจากที่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม ผู้เขียนพบว่าใน .NET Framework เวอร์ชั่น 4.5 นั้นจะมีการเพิ่ม Feature การทำงานในส่วนนี้ให้กับคอนโทรล FileUpload ไว้แล้วผ่าน Properties ที่เรียกว่า AllowMultiple ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการพัฒนาและสามารถลดปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ แต่สำหรับเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่ายังคงต้องมีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมเอง ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการพัฒนาทั้ง 2 แบบในเบื้องต้นโดยจะเน้นไปในแบบเวอร์ชั่นที่ต่ำกว่า 4.5 เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป ดังนี้ … Read more

ทำความรู้จักและเรียนรู้การใช้งานเบื้องต้นกับ StringBuilder ใน .NET Framework(C#)

          โดยปกติแล้วนั้น ผู้พัฒนาโปรแกรมโดยใช้ .NET Framework มักจัดการข้อมูลที่เป็นอักษรหรือข้อความ (String) ด้วยคลาสของ String ที่มีใน .NET Framework ซึ่งประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นหรือเมธอดที่หลากหลายที่ติดมากับตัวคลาส เพื่อเตรียมมาไว้ให้ใช้งาน และสามารถรองรับความต้องการในการจัดการข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งมีวิธีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีมาตรฐานการใช้งานที่รู้จักโดยทั่วถึงกัน สะดวกและรวดเร็วทำให้ผู้พัฒนาสามารถเลือกวิธีจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคลาสของ String จะมีเมธอดให้เราได้เลือกใช้กันอย่างมากมายและมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบในการใช้งานกับตัวแปรของคลาส String คือ การเชื่อมต่อหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขค่าข้อความของตัวแปรชนิด String ในแต่ละครั้ง จะไม่สามารถเปลี่ยนรูป หรือกลับไปแก้ไขค่าของตัวแปรบนพื้นที่หน่วยความจำเดิมที่ถูกจองไว้ให้กับตัวแปรได้ หรืออาจพูดในทางโปรแกรมแบบง่ายๆได้ว่า หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรชนิด String เราจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขค่าใน object ของตัวแปรที่ถูกสร้างขึ้นเดิมในหน่วยความจำ หรือ Memory ที่สร้างไว้ในตอนแรกได้ แต่จะมีการสร้าง object ตัวใหม่ขึ้นมา ทุกครั้งที่มีการแก้ไข/จัดการข้อมูลค่า หรือมีการใช้งานเมธอดในคลาส System.String และใช้วิธีให้ pointer ของตัวแปรชี้ไปยังตำแหน่งของ object ตัวใหม่ที่มีค่าของตัวแปรที่ถูกแก้ไขภายหลังแทน ซึ่งหากมีกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าข้อมูล หรือเชื่อมต่อข้อความในตัวแปรดังกล่าวจำนวนหลายครั้ง หรือมีการวนลูปซ้ำในการเปลี่ยนแปลงค่าเป็นจำนวนมาก จะถือเป็นการใช้งานทรัพยากรหน่วยความจำอย่างสิ้นเปลือง เนื่องจาก … Read more

ASP.NET MVC Part 4: ทำความรู้จักกับ ViewData, ViewBag และ TempData

การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันใน ASP.NET MVC จะมีการส่งผ่านกันด้วย objects ซึ่งใน ASP.NET MVC จะมี object ที่ชื่อ ViewData, ViewBag และ TempData เป็น object ที่่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยในการส่งผ่านข้อมูลจะแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ การส่งผ่านค่าจาก Controller ไปยัง View การส่งผ่านค่าจาก Controller หนึ่ง ไปยัง Controller อื่น การส่งค่าระหว่าง Action หนึ่ง ไปยัง Action อื่น โดยทั้ง 3 objects จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้ ViewBag เป็น dynamic object ในการส่งค่าจาก controller ไปยัง view ViewData เป็น dictionary object … Read more

สร้างเอกสาร PDF ด้วย iTextSharp

ที่มา บ่อยครั้งที่ในชีวิตของโปรแกรมเมอร์จะต้องพบกับความต้องการของลูกค้าที่อยากได้รายงานหรือเอกสารที่สามารถสร้างได้จากระบบ แน่นอนว่าประเภทเอกสารที่ต้องการย่อมมี PDF บรรจุไว้แน่นอนเพราะเป็นเอกสารที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ เครื่องมือสำหรับการสร้างเอกสารประเภทดังกล่าวมีอยู่มากมาย แต่จุดสำคัญนั้นอยู่ที่การเลือกใช้งานซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ เช่นในบทความนี้ ลูกค้าต้องการเอกสารเพื่อพิมพ์เป็น hard copy ไว้ที่หน่วยงาน ยังไม่ถึงขั้นรายงานนะครับ แค่เอกสารบันทึกข้อความ ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่เลือกใช้เครื่องมือที่เก่งกาจเช่น Crystal report หรือ Reporting service และทำการค้นหาเครื่องมือที่มีน้ำหนักเบา (เวลาใช้ไม่กินทรัพยากรเยอะ) แต่ตอบสนองความต้องการได้ในขณะนั้น รวมไปถึงการมี documentation ที่ดี เข้าใจง่าย ปฏิบัติตามได้ไม่ยาก ซึ่งสุดท้ายก็มาเจอกับเครื่องมือที่ชื่อ iTextSharp คุณสมบัติของเครื่องมือ iTextSharp เป็นผลงานของ iText ซึ่งทำมาเพื่อการสร้างเอกสาร PDF บน C# platform โดยเฉพาะ ในขณะเดียวกันก็มีเครื่องมือแบบเดียวกันสำหรับ platform อื่น ๆ ด้วย เราจึงจะได้เห็นตัวอย่างใน documentation ของเขาเป็นภาษา Java ความสามารถของ iTextSharp คือการสร้างเอกสาร PDF … Read more

ทำอย่างไรให้สามารถกำหนดจุดพิกัดบนแผนที่ Google map แบบจุดเดียวและหลายจุดจากฐานข้อมูลได้ด้วย ASP.NET C# (ภาคต่อ)

             จากบทความที่แล้ว ผู้เขียนได้เขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องวิธีการกำหนดจุดพิกัดบนแผนที่กันไปบ้างแล้ว ในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้สามารถกำหนดจุดพิกัดบนแผนที่ Google map แบบจุดเดียวและหลายจุดจากฐานข้อมูลได้ด้วย ASP.NET C#” สำหรับในบทความนี้ผู้เขียนจึงขอพูดถึงในส่วนของการดึงค่าละติจูด ลองจิจูดของสถานที่ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการแสดงผลพิกัดบนแผนที่ ซึ่งเดิมทีแล้วนั้น ผู้ใช้อาจต้องค้นหาข้อมูลพิกัดดังกล่าวจาก Google map เองและนำพิกัดดังกล่าวมากรอกลงฐานข้อมูลหรือมาระบุเพื่อการแสดงพิกัดนั้นๆในการเขียนโปรแกรม คงเป็นการดี หากการแสดงผลพิกัดจากฐานข้อมูลนั้น จะมีตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการดึงค่าละติจูด และลองจิจูดโดยการกรอกข้อมูลชื่อสถานที่ลงไปเพื่อใช้ในการค้นหา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์และทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นในการนำพิกัดเหล่านั้นไประบุบนแผนที่นั่นเอง              โดยการดึงค่าพิกัดละติจูด-ลองจิจูดของสถานที่ สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับการนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำ 2 วิธี ดังนี้ การเรียกใช้เซอร์วิสของ Google Geocoding API  โดยการส่งพารามิเตอร์เป็นที่อยู่ของสถานที่ดังกล่าว ฝั่ง C# private void getLatAndLong() { try { ////เป็นการกำหนด url ที่จะใช้ในการเรียกเซอร์วิสของ Google Geocoding API โดยมีการส่งค่าพารามิเตอร์เป็นข้อมูลที่อยู่ string url = “http://maps.google.com/maps/api/geocode/xml?address=” + txtLocation.Text … Read more