อย่าเชื่อเครื่องมือมากเกินไป …

เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ผมได้ทำการทดสอบเครื่องมือเจาะระบบ “N”  (ใช้ทดสอบว่าระบบเป้าหมายมีช่องโหว่ใดให้โจมตีบ้าง) ภายใต้ภาระกิจ “Honeypot” เพื่อทดสอบว่า เครื่องมือดังกล่าว สามารถรับรองความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก่อนที่จะอนุญาตให้เข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่ *** การทดลองนี้อยู่ในสภาวะควบคุมที่รัดกุม เป็นระบบที่สร้างขึ้นมา แยกออกจากระบบอื่นที่อาจจะได้รับผลกระทบ และเป็นการทดลองเพื่อวัดความสามารถของเครื่องมือ ไม่ได้มุ่งโจมตีผู้ใด หรือระบบใด *** วิธีการทดสอบ จัดให้มีเครื่องทดสอบ ชื่อ honeypot.in.psu.ac.th อยู่บน VM และใช้เครื่องมือเจาะระบบ “N” ตรวจสอบ 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (Baseline 01) เป็นการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Ubuntu 16.04 LTS แบบ Default และ Update ให้เป็นปัจจุบันที่สุด แล้วรีบแจ้งให้ “N” ตรวจสอบ ครั้งที่ 2 (Baseline 02) ทำการติดตั้ง Web Server, PHP, MySQL และติดตั้งช่องโหว่อย่างง่ายที่พัฒนาขึ้นเอง (https://github.com/nagarindkx/honeypot) ลงไป โดยภาพรวมดังภาพที่ 1 แล้วรีบแจ้งให้ “N” ตรวจสอบ honeypot.in.psu.ac.th ประกอบด้วยโครงสร้างไฟล์ ดังภาพที่ 2 เมื่อคลิก Login with SQL Injection Vulnerable  จะได้ภาพที่ 3 ซึ่งจะส่งไปที่ไฟล์ badform.html โดยในฟอร์มนี้จะมีช่องโหว่ SQL Injection ทำให้สามารถเข้าเป็น admin ได้โดยลองใส่ username/password ดังนี้ ซึ่งจะได้ผลว่า สามารถเข้าเป็น admin ได้โดยไม่ต้องทราบรหัสผ่านที่แท้จริง แต่อาศัยการเขียน SQL Statement ที่ไม่รัดกุม และไม่ตรวจสอบ Input ก่อน ดังภาพที่ 4 เมื่อคลิก  Simple Non Persistent XSS   จะได้ภาพที่ 5  ซึ่งจะส่งไปยัง simple.php โดยจะเห็นได้ว่า สามารถใส่ชื่อ นามสกุล ลงไปใน URL ได้เลย ผ่านตัวแปร name  (ต้องลองใช้กับ FireFox ถ้าเป็น Google Chrome จะมี XSS Auditor ไม่ได้รับผลกระทบ)   ช่องโหว่นี้ ทำให้ Hacker นำเว็บไซต์นี้ไป ดักเอา Cookie Session ของผู้อื่น หรือ Session HiJacking ดังภาพที่ 6 ด้วย URL นี้http://honeypot.in.psu.ac.th/simple.php?name=%3Cscript%3Ealert(escape(document.cookie))%3C/script%3E หรือ เปลี่ยนเปลี่ยน URL ที่ “Click to Download” ไห้ยังเว็บไซต์ที่ต้องการได้ เช่นเป็น hacked.com เป็นต้น ดังภาพที่ 7 ด้วย URL นี้http://honeypot.in.psu.ac.th/simple.php?name=%3Cscript%3Ewindow.onload=function()%20{%20var%20link=document.getElementsByTagName(%22a%22);%20link[0].href=%27http://hacked.com%27}%3C/script%3E เมื่อคลิก Login to Test Permanent XSS จะได้ภาพที่ 8  ซึ่งจะส่งไปยัง goodlogin.php ซึ่ง เป็น Form ที่ป้องกัน SQL Injection และ ไม่ยอมรับ username/password ว่าง หากไม่ทราบรหัสผ่านจริงๆ ก็จะเข้าไม่ได้ ดังภาพที่ 9 หาก Login เป็น user1 สำเร็จ จะสามารถเปลี่ยน Display Name ได้ ดังภาพที่ 10 ทดลองด้วย username: user1password: user1123** หาก user1 ต้องการดัก Session HiJack

Read More »

การสร้างฟอร์มกรอกข้อมูลใน Word

เราอาจจะสร้างฟอร์มเพื่อส่งให้ผู้อื่นกรอกเอกสาร ตามฟอร์มที่เราออกแบบไว้ โดยจะต้องไปเรียกใช้ Develper ที่แถบ Ribbon โดยไปที่เมนู File –> Options –> Customize Ribbon เลือก Develper ดังรูป จะเห็นว่ามีแถบ Developer ปรากฏอยู่ เรามาเริ่มสร้างฟอร์มกัน ในที่นี้จะสร้างฟอร์มเล็ก ๆ ดังรูป จากนั้นคลิกแถบ Developer แต่ละ Control ที่จะนำมาใช้ แต่ละตัวทำหน้าที่อะไรบ้าง หมายเลข 1 เป็นข้อความที่สามารถจัดรูปแบบได้ หมายเลข 2 เป็นข้อความที่กรอกอิสระ หมายเลข 3 เป็นการแทรกรูปภาพ หมายเลข 4 เป็นฟิลด์รายการที่มีตัวเลือก สามารถเลือกได้ หมายเลข 5 เป็นการแทรกฟิลด์แบบมีตัวเลือก เช่นเดียวกับหมายเลข 4 หมายเลข 6 เป็นรูปแบบวันที่ให้เลือก   จากนั้นเมื่อเรารู้จักหน้าที่ของแต่ละ Control แล้ว เราก็เลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ โดยในส่วนของตำแหน่ง เราจะใช้ Combo box เมื่อคลิก Combo box  1 ครั้งให้ไปเลือกที่ Properties จากนั้นจะปรากฏดังรูป เมื่อเรียบร้อยแล้วจะได้ดังรูป เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อความหัวข้อ คือให้กรอกได้เฉพาะข้อมูลที่มีช่องให้กรอกเท่านั้น โดยไปที่แถบ Developer –> Restrict Editing จะแสดงดังรูป จากนั้นที่ข้อ 2 ให้ติ๊กเลือกและกำหนดเป็น Filling in forms เพื่อป้องกันการแก้ไขข้อความ แล้วคลิกปุ่ม “Yes, Start Enforcing Protection” จะแสดง Dialog ดังรูป ระบุ Password ที่จะใช้ป้องกันการแก้ไขข้อความ จากนั้นคลกปุ่ม “OK” จากนั้นลองไปคลิกที่หัวข้อจะไม่สามารถแก้ไขข้อความได้ จะแก้ไข/กรอกได้เฉพาะที่ให้กรอกข้อมูลนั้น            

Read More »

สร้าง Barcode แบบง่ายๆ ด้วย Word

ถ้าพูดถึงการสร้าง Barcode ในปัจจุบันก็จะมีมากมายหลายวิธี แล้วแต่เราจะเลือกใช้ แต่สำหรับ Blog นี้ผู้เขียนจะขอแนะนำการสร้าง Barcode แบบง่ายๆ ใช้เวลาไม่นาน โดยที่เราไม่ต้องเพิ่มโปรแกรมเสริม หรือใช้โปรแกรมอื่นๆ เข้ามาช่วยเลย ขอแค่มี Microsoft Word version 2013 หรือ 2016 ในเครื่อง … เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว 🙂   มาทำความรู้จัก ระบบบาร์โค้ด (Barcode System) กันหน่อย  ระบบบาร์โค้ด หมายถึงการใช้สัญลักษณ์บาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร และประยุกต์ต่อยอด โดยการนำตัวเลขหรือตัวอักษรเหล่านั้นบ่งชี้ไปยังสิ่งต่างๆ เช่น สินค้า (Product), วันหมดอายุ (Expiration date), บุคคล (Person), URL Website เป็นต้น ซึ่งจะมี 2 ประเภทหลักคือ 1 Dimension และแบบ 2 Dimension   *สำหรับคำสั่งในการสร้างบาร์โค้ด DISPLAYBARCODE ใน Blog นี้ที่เราจะพูดถึงนั้น จะรองรับบาร์โค้ดแบบต่างๆ ดังนี้ QR, CODE128, CODE39, JPPOST, EAN, JAN, UPC, ITF14, NW7, CASE   ขั้นตอนที่ 1 : เปิดโปรแกรม Word ขึ้นมา                       ขั้นตอนที่ 2 : กดปุ่ม Ctrl + F9 จากนั้นเราก็จะเห็นวงเล็กปิดเปิดเพิ่มเข้ามาใน Word ของเรา                       ขั้นตอนที่ 3 : พิมพ์คำสั่งตาม DISPLAYBARCODE ลงไปในวงเล็บ ตัวอย่างคำสั่งเช่น DISPLAYBARCODE “https://sis.psu.ac.th” QR \q 3                 ขั้นตอนที่ 4 : จากนั้นคลิก Alt + F9 เพื่อดูผลลัพธ์ แท่น แท๊นนน เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย                       *ขออธิบายความหมายของแต่ละส่วนในคำสั่งสักนิดนึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับส่วนแรก   DISPLAYBARCODE   — คือคำสั่งที่เราจะใช้ “https://sis.psu.ac.th” — เป็นข้อมูลที่เราจะใส่ในบาร์โค้ด ให้ใส่ไว้ภายในเครื่องหมาย ” ” QR — เป็นคำสั่งที่ระบุว่าสร้างบาร์โค้ดแบบ QR หากต้องการแบบอื่นเช่น CODE128 ก็เปลี่ยนได้ โดยให้อิงตามรหัสบาร์โค้ดที่รองรับ \q 3  — เป็นการกำหนด Error correction level สำหรับใน QR code เท่านั้น หมายเหตุ : ระดับการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูล (Error Correction Level) คือ ความสามารถในการกู้คืนข้อมูลที่เสียหาย สามารถกำหนดได้ 4 ระดับ ดังนี้ L=7%, M=15%, Q=25%, H=30% ซึ่งการกำหนดในระดับที่สูงขึ้นจะมีผลทำให้ขนาดของ QR Code เพิ่มขึ้น   เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอนเองใช่มั้ย สำหรับ Blog นี้ผู้เขียนก็จะนำเสนอแบบสั้นๆ ง่ายๆ แต่หากผู้ใช้ท่านไหนต้องการศึกษาแบบละเอียด

Read More »

ระวังการใช้งานบนเครื่องที่ยังเป็น Windows XP จะถูกติดตั้ง Key Logger ระบาดในมหาวิทยาลัย

ช่วง 2-3 วันนี้ ระบบ PSU Webmail ตรวจพบว่า มีบัญชีผู้ใช้อย่างน้อย 3 ราย ถูกใช้งานจากสิงคโปร์ และตุรกี  แล้วส่ง email ออกไปเป็นจำนวนมาก ระบบตรวจจับได้ จึงทำการ Force Reset Password ของระบบ PSU Email บัญชีผู้ใช้ดังกล่าวอัตโนมัติ IP ที่ใช้งาน PSU Webmail ดังภาพด้านบน ตรวจสอบแล้ว พบว่า มาจาก 202.189.89.116 จากเครือข่ายของ Twentieth Century Fox ที่ ตุรกี 206.189.89.212 จากเครือข่ายของ Twentieth Century Fox ที่ สิงคโปร์ 128.199.202.189 จากเครือข่ายของ DigitalOcean ที่สิงคโปร์ ส่งอีเมลจำนวน 4 ฉบับ ถึง 800 emails ภายใน 1 นาที ดังภาพ ในการตรวจสอบเชิงลึกต่อไป พบว่า IP  206.189.89.116 ยังพยายาม Login ไปยังบัญชีผู้ใช้ 2 ใน 3 ข้างต้นอีกด้วย จึงสันนิษฐาน ว่า น่าจะเป็นคนร้ายกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่สลับแหล่งที่เข้าใช้ PSU Webmail ไปมา จากการลงพื้นที่ ไปดูที่เครื่องผู้ใช้ พบว่า มีพฤติกรรมที่เหมือนกัน คือ ยืนยันว่า ไม่เคยคลิกเปิด email ที่ต้องสงสัยจริง ๆ (เอ่อ ใครก็จะพูดเช่นนั้น เอาว่าไม่มีหลักฐาน ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าไม่จริง) *** มีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง *** ซึ่งหนึ่งในนั้น จะเป็น Windows XP และมีโปรแกรมเถื่อนเป็นจำนวนมาก จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าผู้ใช้ยืนยันว่า ไม่ได้คลิก email หลอกลวงแน่ ๆ และยืนยันว่า ไม่ถูกหลอกแน่ ๆ เป็นจริง ก็น่าจะเป็นเพราะพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ที่เป็น Windows XP ซึ่งเป็นไปได้อีกว่า คงจะมี Key Logger หรือ โปรแกรมดักจับการพิมพ์บน Keyboard แล้วส่งไปให้คนร้าย   ในภาพใหญ่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังมีเครื่องรุ่นเก่าที่ยังใช้ Windows XP อยู่ แถมยังใช้โปรแกรมเถื่อนที่อาจจะติดมาจากร้าน หรือ คนในออฟฟิซเองเอามาติดตั้งอยู่ หากสามารถ Enforce ให้เปลี่ยนได้ น่าจะลดปัญหาพวกนี้ได้   กำลังหาหลักฐานที่หนักแน่นพอ เพื่อนำเสนอผู้ใหญ่ต่อไปครับ  

Read More »

ปัญหาในการลืมรหัสผ่านจะหมดไปด้วย … LastPass

blog ที่ 3 สำหรับปีนี้ ทางเราขอนำเสนอ แทน แท่น แท๊นนนน Extension ที่ชื่อว่า “LastPass” นั่นเอง ส่วนเสริมตัวนี้จะช่วยให้ปัญหาการลืม Password ที่เข้าเว็บต่างๆ ทั้งร้อยแปดพันเก้า ที่เราเข้าใช้งานหมดไป ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับอย่างนึงว่า เว็บไซต์ที่เราใช้บริการทั้งหลายทั้งมวลนั้นมีมากมายหลากหลายเหลือเกิน ทั้งงานเอย social เอย หรือแม้แต่จะเป็น ฐานข้อมูลในการเก็บข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนจะต้องมีการสร้าง account เพื่อเข้าไปใช้งานทั้งสิ้น และสิ่งนึงที่เราจะเจอบ่อยๆ ก็คือ website นี้ รหัสผ่านอะไรแล้วน้ออออ !! 55+ อะ ไม่พูดพร่ำทำเพลงมากมาย ไปดูเจ้าตัว Extension “LastPass” กันเถิดดดด ….. 1. ติดตั้ง Extension ผ่านลิงค์นี้ได้เลย คลิก  จากนั้นเริ่มต้นสร้างบัญชี เพื่อเข้าใช้งาน ปล…จากนั้นต่อไปในอนาคตเราก็จะปล่อยให้ LastPass ช่วยเราจำในส่วนที่เหลืออื่นๆไง                         2.โดยให้ตั้งรหัสผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด (อันนี้เพื่อความปลอดภัยนั่นแหละ)                     3. เมื่อเราตั้งรหัสผ่านตรงตามเงื่อนความปลอดภัยที่กำหนด ก็จะพบกับหน้าจอตามรูป จากนั้น คลิก “NEXT” โลดดด                     4. เมื่อดำเนินการครบตามขั้นตอนแล้ว ก็จะพบกับหน้าตาเจ้า LastPass เรียบๆ ดูแล้วใช้งานง่าย ไม่ยากๆ                     5. คราวนี้เราก็มาจัดการเพิ่มข้อมูล ที่เราต้องการให้เจ้า LastPass ช่วยเราจำกันเถอะ โดยสามารถคลิกเลือก ในส่วนเมนูด้านซ้ายของหน้าจอ หรือจะเลือกจาก Icon ด้านล่างมุมขวาของหน้าจอก็ได้เช่นเดียวกัน                     6. ตัวอย่างเช่น สร้างข้อมูลรายละเอียดของเว็บที่เราเข้าใช้งานเป็นประจำ Gmail เป็นต้น จากขั้นตอนที่ 5 เมื่อคลิก เพิ่มเว็บไซต์ ก็จะพบกับหน้าจอประมาณนี้นะ เมื่อใส่รายละเอียดครบถ้วนแล้ว ก็กด “บันทึก” ได้เลย                     7.  จากนั้นระบบก็จะบันทึกข้อมูลเว็บไซต์ Gmail ของเราเอาไว้ เราก็ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกเว็บที่เราอยาก ให้เจ้า LastPass ช่วยจำ เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย ปัญหาการลืมรหัสผ่านเข้าเว็บต่างๆ ที่มีมากมายก่ายกองของเรา ก็จะหมดไป ** ปล… แต่ต้องไม่ลืมรหัสผ่านที่ใช้เข้า LastPass ตัวนี้น๊าาาา 555+                     8. สำหรับความปลอดภัยอื่นๆ เราก็สามารถเข้าไปดู ไปตั้งค่าได้ โดยเลือกผ่านเมนู การตั้งค่าบัญชี ซึ่งก็จะมีทั้งแบบ ฟรี และหากต้องการที่ปลอดภัยมากขึ้นไปอีกระดับก็ต้องเป็นแบบ premium กันแหละ แนะนำว่าลองเล่น ลองคลิกๆ ศึกษาเพิ่มเติมกันได้นะ        

Read More »