IEEE Explore Services and IPv6

หลายวันก่อน (2016-06-28) คุณวันชัย พบปัญหาการเข้าใช้งาน web ieeexplore.ieee.org ซึ่งปัญหาที่ว่าก็คือ ปกติแล้วการเข้าไปพยายามดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บดังกล่าว ถ้าเข้าใช้งานจากเครือข่ายของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง ผู้ให้บริการ (IEEE Explore) ก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่า เข้ามาจากเครือข่ายของมหา’ลัย ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้งานจากเครือข่ายของมหา’ลัย สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ แต่ครั้งนั้น อาจารย์ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ไม่สามารถดาวน์โหลดได้ จากภายในเครือข่ายของภาคฯเอง และ ที่แปลกไปกว่านั้นก็คือ ถ้าเปลี่ยนไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในเครือข่ายของภาคฯเช่นเดียวกัน แต่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP กลับใช้งานได้ หลังจากผ่านการตรวจสอบ 2-3 ขั้นตอนก็ได้ข้อสรุปว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ จากเดิมทีที่เครือข่ายของมหา’ลัย ใช้งาน IPv4 ในการเข้าถึงเครือข่ายของ IEEE (สำหรับในกรณีนี้ก็คือ ieeexplore.ieee.org) ตอนนี้ เมื่อเครือข่ายของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมที่จะให้บริการ IPv6 เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่พร้อมที่จะใช้ IPv6 อยู่แล้ว ก็จะเปลี่ยนไปใช้ IPv6 สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายปลายทาง สิ่งเหล่านี้ควรจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และผู้ใช้งานก็ควรที่จะใช้งานได้โดยไม่จำเป็นจะต้องรู้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตนเองใช้งานอยู่ ติดต่อกับเครื่องปลายทางโดยใช้โปรโตคอลใด อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีนี้ บริการของ IEEExplore และ Academic Journals อีกจำนวนมากซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นสมาชิกอยู่ (ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่านทาง UniNet/สกอ.) ไม่ได้เป็นบริการที่เปิดแบบ public ให้ใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกอย่าง ข้อมูลบางอย่าง เช่น ไฟล์ของบทความ จะดาวน์โหลดได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น ถ้าเป็นสมาชิกแบบบุคคล วิธีการที่ใช้ในการยืนยันตัวตน ก็คือการ login โดยใช้ username และ password แบบเดียวกับที่ใช้กับบริการบนเว็บอื่นๆทั่วไป แต่สำหรับสมาชิกแบบ “สถาบัน” แบบที่มาหวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นอยู่ แทนที่จะต้องให้ นักศึกษาและบุคคลากร แต่ละคนจะต้องมีแอคเคาท์ เป็นของตัวเอง วิธีการที่ง่ายกว่าก็คือ ใช้หมายเลข IP เป็นตัวระบุ โดยสถาบันที่เป็นสมาชิก ก็จะต้องแจ้งไปทางผู้ให้บริการว่า หมายเลข IP ใด หรือ ช่วงใดบ้างที่เป็นของสถาบันนั้นๆ แน่นอนว่าก่อนหน้านี้ หมายเลข IP ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แจ้งไปจะมีเฉพาะ IPv4 และแน่นอนว่าก่อนหน้านี้ไม่มีใครแจ้งปัญหาว่าสามารถดาวน์โหลดไฟล์จาก IEEExplore ไม่ได้ … เพราะเครือข่ายส่วนใหญ่ใน มหา’ลัย ใช้งานได้เฉพาะ IPv4 [[ ซึ่ง … อาจจะทำให้ผมตั้งข้อสงสัยขึ้นมาได้ว่า แล้วหน่วยงานบางหน่วยซึ่งใช้งาน IPv6 มาได้นานก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีใครมีปัญหาบ้างเลยหรือ หรือจะเป็นเพราะว่าสมาชิกหน่วยงานเหล่านั้นไม่เคยใช้ IEEExplore เลย … แต่เนื่องจากว่า มีคำโบราณกล่าวไว้ … อะไรบางอย่าง…เกี่ยวกับการขว้างงู…และอวัยวะอะไรบางอย่างที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างหัวและลำตัว… ผมก็เลยไม่ได้ตั้งข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพราะไม่อยากให้คอของผมมีรู … และผมก็ไม่ชอบงูด้วย! ย้ำ, ผมไม่ได้ตั้งข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้นจริงๆ EDIT (2016-07-08): ข้อมูลจาก ที่นี่ ทำให้พอเชื่อได้ว่า IEEE เริ่มใช้งาน IPv6 เมื่อประมาณ 2016-06-06 นั่นคือประมาณ 1 เดือนที่แล้ว ดังนั้นปัญหาในการเข้าถึงบริการของ IEEE Explore จากเครือข่ายของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้งาน IPv6 แล้วใช้งานไม่ได้ จึงไม่ได้นานมากอย่างที่ผมคิดตอนแรก ]] กลับมาที่เรื่องของการใช้งาน IEEExplore ต่อ ปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เทียบเคียงได้กับการที่ทาง มหาวิทยาลัยแจ้ง IP address ที่มีใช้งานอยู่ให้กับทางผู้ให้บริการไม่ครบ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มใช้งาน IPv6 ได้และพยายามใช้งาน IPv6 ในการติดต่อกับเครื่องที่ให้บริการปลายทาง เครื่องที่ให้บริการปลายทาง ตรวจสอบแล้วไม่พบว่า หมายเลข IP address นี้อยู่ในรายการของหมายเลข IP ที่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ ก็เลยปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูล วิธีการแก้ปัญหา ก็คือแจ้งหมายเลข IPv6 address ที่มหา’ลัยใช้อยู่ไป เพื่อให้ทางผู้ให้บริการอนุญาตให้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้หมายเลขเหล่านี้เข้าถึงข้อมูลได้ วันนี้ (2016-07-07) คุณสงกรานต์ และ หอสมุดคุณหญิงหลงประกาศผ่านกลุ่มของ facebook ว่าสามารถใช้งานบริการของ IEEE ได้แล้วทั้ง IPv4 และ IPv6 ซึ่งในแง่ของผู้ใช้งานทั่วๆไป ควรที่จะใช้งานได้

Read More »

การตั้งค่า IPV6 ให้กับ Apache Web Server สำหรับ Ubuntu Linux

“อยากตั้งค่า Apache Web Server ให้เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน Apache จะขอยกตัวอย่างบน Ubuntu ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถตั้งเป็น IPv6 only ก็ได้ แต่ในที่นี่จะตั้งให้สามารถใช้ได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 เปิดไฟล์ /etc/apache2/ports.conf sudo vim /etc/apache2/ports.conf ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (xxx yyy ไปหามาใส่เอาเองนะครับ เป็นแค่ค่าสมมุติ) Listen 192.168.xxx.yyy:80 Listen [2001:xxxxxx:101]:80 สั่ง Restart Web Service เป็นอันเรียบร้อยครับ sudo /etc/init.d/apache2 restart สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง netstat ได้ดังนี้ครับ netstat -na | grep “:80” การทดสอบในกรณียังไม่ได้จด DNS6 เราไม่สามารถพิมพ์ URL เป็น IPv6 ตรง ๆ บน Browser ได้ ถ้าจดแล้วสามารถทดสอบผ่าน http://ipv6-test.com/validate.php ดูได้ครับ สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »

การตั้งค่า IPV6 ให้กับ Nginx Web Server สำหรับ Ubuntu Linux

“อยากตั้งค่า Nginx Web Server ให้เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน Nginx จะขอยกตัวอย่างบน Ubuntu ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถตั้งเป็น IPv6 only ก็ได้ แต่ในที่นี่จะตั้งให้สามารถใช้ได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 เปิดไฟล์ /etc/nginx/site-available/[site-file] sudo vim /etc/nginx/site-available/psu-v6 ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (เพิ่มเฉพาะตัวสีแดงนะครับ) server { listen [::]:80; … } สั่ง Restart Web Service เป็นอันเรียบร้อยครับ sudo /etc/init.d/nginx restart สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง netstat ได้ดังนี้ครับ netstat -na | grep “:80” การทดสอบในกรณียังไม่ได้จด DNS6 เราไม่สามารถพิมพ์ URL เป็น IPv6 ตรง ๆ บน Browser ได้ ถ้าจดแล้วสามารถทดสอบผ่าน http://ipv6-test.com/validate.php ดูได้ครับ สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »

การตั้งค่า IPV6 ให้กับ Lighttpd Web Server สำหรับ CentOS Linux

“อยากตั้งค่า Lighttpd Web Server ให้เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน Lighttpd จะขอยกตัวอย่างบน CentOS 6.7 ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถตั้งเป็น IPv6 only ก็ได้ แต่ในที่นี่จะตั้งให้สามารถใช้ได้ทั้ง IPv4 และ IPv6 เปิดไฟล์ /etc/lighttpd/lighttpd.conf sudo vim /etc/lighttpd/lighttpd.conf ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (แทนที่ [web-path] ด้วย location จริง ๆ เช่น “/var/www”) $SERVER[“socket”] == “[::]:80” { accesslog.filename = “/var/log/lighttpd/ipv6.access.log” server.document-root = [web-path] } *หมายเหตุ : server.use-ipv6 = “disable” ไม่ต้องแก้ไขนะครับ เพราะ ด้วยชื่อ domain เดียวกันจะไม่สามารถเปิด port 80 สอง port ได้พร้อมกัน ทำได้แค่เพิ่ม SERVER Socket config เข้าไปอย่างที่เห็นข้างบนครับ (จะใช้ก็ตอนที่จะเปิดเฉพาะ IPv6 only ครับ) สั่ง Restart Web Service เป็นอันเรียบร้อยครับ sudo service lighttpd restart สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง netstat ได้ดังนี้ครับ netstat -na | grep “:80” การทดสอบในกรณียังไม่ได้จด DNS6 เราไม่สามารถพิมพ์ URL เป็น IPv6 ตรง ๆ บน Browser ได้ ถ้าจดแล้วสามารถทดสอบผ่าน http://ipv6-test.com/validate.php ดูได้ครับ สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »

การตั้งค่า Interface IPv6 สำหรับเครื่อง CentOS/Redhat Server

“อยากให้ CentOS/Redhat Server เปิดใช้ IPv6 ต้องทำอย่างไร” สำหรับวิธีเปิดใช้งาน IPv6 บน CentOS/Redhat จะขอยกตัวอย่าง CentOS 6.7 โดยทำการตั้งค่า Interface ในส่วนของ IPv6 ดังนี้ เปิดไฟล์ /etc/sysconfig/network-scripts/[interface-setting-file] sudo vim /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-eth0 ทำการแก้ไขโดยเพิ่มในส่วนของ IPv6 Config ดังนี้ (xxx คือ censor นะครับ) IPV6INIT=”yes” IPV6ADDR=2001:xxxxxxx:34 IPV6_DEFAULTGW=2001:xxxxxxx::1 สั่ง Restart เครื่องเป็นอันเรียบร้อยครับ (ในกรณีที่เป็น CentOS 6 สั่ง sudo service network restart ก็ได้ครับ) sudo reboot สามารถตรวจสอบผ่านคำสั่ง ifconfig ได้ดังนี้ครับ ifconfig อย่าลืมตรวจสอบ Firewall ด้วยนะครับ แต่โดยปกติ CentOS จะมี Firewall ตั้งแต่เริ่มติดตั้ง ในกรณีที่ไม่ได้ Disable Firewall ให้เข้าไปแก้ได้ที่ sudo /etc/sysconfig/ip6tables ในกรณีที่ใช้ Shorewall ลองศึกษาเพิ่มเติมดูครับว่าต้องแก้ไขอย่างไร สามารถดูบทความเพิ่มเติมได้ที่ http://sysadmin.psu.ac.th/2015/12/08/howto-ipv6

Read More »