การยกเลิก SMS ไม่พึงประสงค์/ SMS กวนใจ

เชื่อว่าหลายท่านคงเคยประสบกับปัญหากวนใจเรื่อง SMS ไม่พึงประสงค์ ที่ส่งมาโดยที่เราไม่ต้องการ และบางครั้ง SMS เหล่านี้ก็ยังคิดค่าบริการ ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้สมัคร หรือบางครั้งอาจจะสมัครโดยไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัว ดังนั้นในบทความนี้จะเสนอวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้เราสามารถยกเลิก SMS กวนใจเหล่านี้ออกไปบางส่วนได้ ถึงแม้จะไม่ทั้งหมด แต่ก็ช่วยบรรเทาความรำคาญลงไปได้บ้าง  โดยช่องทางที่จะแนะนำนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง กสทช. และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้บริการยกเลิก SMS ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ กด *137 แล้วโทรออก ทำตามคำแนะนำจากเสียงตอบรับอัตโนมัติของแต่ละผู้ให้บริการเครือข่ายฯ รอรับ SMS แจ้งยกเลิก   ตัวอย่าง SMS ไม่พึงประสงค์ และ SMS ตอบกลับ   จะเห็นว่าหลังจากที่ใช้บริการยกเลิก SMS ผ่าน *137 แล้ว บรรดา SMS ไม่พึงประสงค์ก็ลดน้อยลง เหลือเพียง SMS ข่าวสารจากผู้ให้บริการเครือข่ายฯ เท่านั้น   และก็เป็นวิธีการที่ง่ายและรวดเร็ว เพียงไม่กี่ขั้นตอน แค่นี้ก็สามารถยกเลิก … Read more

ปัญหาการเชื่อมต่อฐานข้อมูล Oracle ไม่ได้ เนื่องจาก Listener

สำหรับผู้ดูแลระบบที่เคยทำงานดูแลฐานข้อมูล Oracle คงเคยเจอกับปัญหาการเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลไม่ได้ ซึ่งเมื่อไล่เรียงหาสาเหตุแล้ว ก็มีมากมายหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ปัญหาที่ตัวฐานข้อมูลเอง หรือ ปัญหาทางด้านระบบเครือข่าย ฯลฯ ซึ่งในบทความนี้จะเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้พบเจอปัญหานี้เช่นกัน โดยสาเหตุนั้นเกี่ยวกับตัว Listener เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วงที่พบปัญหา ได้รับแจ้งจากผู้ใช้ว่าไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้  ซึ่งเมื่อได้รับแจ้งจึงทำการตรวจสอบและพบว่าปัญหาเกิดจากการที่ระบบไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลที่พัฒนาด้วย Oracle ได้ โดยที่ระบบเครือข่ายยังใช้งานได้ปกติ ดังนั้นสิ่งที่ทำต่อมาคือการตรวจสอบเฉพาะฐานข้อมูลว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น โดยสิ่งที่ทำคือ ทดลองเชื่อมต่อผ่าน SQL Developer ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้สำหรับบริหารจัดการฐานข้อมูล Oracle ผลลัพธ์คือ ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่า socket timeout ทดลองเชื่อมต่อผ่าน Enterprise Manager ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการฐานข้อมูลอีกตัวซึ่งได้ติดตั้งมาพร้อมกับตอนที่สร้างฐานข้อมูล  ซึ่งก็ไม่สามารถเชื่อมต่อได้เช่นกัน และได้ลองสั่ง Startup DB ฐานข้อมูล จากเครื่องมือตัวนี้ อาการผิดปกติก็ยังคงเหมือนเดิม ทดลองเชื่อมต่อผ่าน ผ่าน SQL Plus ซึ่งใช้งานผ่าน command prompt  ปราฏว่าสามารถเชื่อมต่อได้ ใช้คำสั่ง expdp เพื่อ dump ข้อมูลมาสำรองไว้ก่อน  … Read more

การเรียกดูรายการ object ในฐานข้อมูล Oracle

คำสั่งที่ใช้ในการเรียกดู รายการ object ในฐานข้อมูล Oracle การเรียกดูรายการ object ทั้งหมดในฐานข้อมูล Oracle (เช่น table, view ฯลฯ)  สามารถเรียกดูได้จาก view ที่ชื่อว่า ALL_OBJECTS  ตัวอย่างคำสั่งคือที่ใช้เรียกดูคือ   SELECT * FROM ALL_OBJECTS;   โดยคำสั่งนี้จะแสดงรายการ object ทั้งหมดที่มี   แต่ในการใช้งานส่วนใหญ่ อาจจะต้องการเจาะจงดูแค่บางเงื่อนไข เช่น ต้องการดูรายการ table ทั้งหมด โดยเจาะจงแค่ schema ใด schema  หนึ่งเท่านั้น  ซึ่งสามารถใช้เงื่อนไขจากฟีลด์ต่อไปนี้ คือ OBJECT_TYPE เป็นการเรียกดูตามเงื่อนไขของประเภท object เช่น หากต้องการดูเฉพาะ table จะใช้เงื่อนไขเป็น  WHERE OBJECT_TYPE = ‘TABLE’ OWNER เป็นการเรียกดูเฉพาะเจาะจง schema ใด schema  หนึ่ง เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลจาก schema … Read more

ไวรัส shortcut

เหตุที่ตั้งชื่อบทความว่า ไวรัส shortcut ไม่ได้หมายความว่าไวรัสประเภทนี้ชื่อ shortcut แต่เป็นอาการทีเกิดขึ้นเมื่อไวรัสตัวนี้ทำงาน โดยสาเหตุและลักษณะอาการที่พบคือ เมื่อเรานำ flash drive หรืออุปกรณ์จำพวก removable drive (เช่น external hardisk) ไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ไฟล์ที่อยู่ใน flash drive หรือ removable drive จะหายไป และจะมีไฟล์ shortcut เกิดขึ้นแทนที่ โดย shortcut มักจะถูกตั้งชื่อเหมือนกับไฟล์ข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ซึ่งหากเราเผลอเปิดไฟล์ shortcut ดังกล่าว ก็จะเป็นการไปเรียกไฟล์ไวรัสให้ทำงานนั่นเอง ส่วนไฟล์ข้อมูลเดิมนั้นไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่เมื่อแรกเริ่มที่ติดไวรัสมานั้น ไฟล์เหล่านี้จะถูกซ่อนไว้ไม่ให้เห็นนั่นเอง   ตัวอย่างไฟล์ shortcut ที่ไวรัสสร้างขึ้น ข้อสังเกตุคือจะมีไอคอนเป็นแบบ shortcut (ไอคอนรูปลูกศร)   แนวทางการแก้ไข (ในบทความนี้จะยกตัวอย่างบน Windows 8.1) อันดับแรกสิ่งที่ต้องเตรียมคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ติดไวรัส เพื่อใช้สำหรับกำจัดไวรัสและกู้ข้อมูลที่อยู่ใน flash drive หรือ removable … Read more

ฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT และการเปลี่ยนแปลงเมื่ออัพเกรดไปใช้ Oracle 12c

ฟังก์ชัน WMSYS.WM_CONCAT นักพัฒนาบางท่านที่พัฒนาระบบบนฐานข้อมูล Oracle 10g หรือ 11g อาจจะผ่านตาหรือเคยใช้งานฟังก์ชัน  WMSYS.WM_CONCAT โดยฟังก์ชันนี้เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการนำข้อมูลในฟีลด์เดียวกัน แต่อยู่ต่างเร็คคอร์ดมาเชื่อมต่อกันเป็นข้อมูลเร็คคอร์ดเดียว ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากตารางข้อมูลทดสอบ ชื่อว่าตาราง STATIONERY ซึ่งเก็บข้อมูลเครื่องเขียน โดยแยกเป็นสี และระบุจำนวนของเครื่องเขียนแต่และชนิดไว้ ดังนี้   ทดลองใช้คำสั่ง SELECT แบบปกติ ด้วยคำสั่ง SELECT WMSYS.WM_CONCAT(COLOR) COLOR_LIST FROM STATIONERY; ผลลัพธ์ที่ได้   แต่ในเง่การใช้งานส่วนใหญ่ มักจะต้องการแสดงข้อมูลสรุปเป็นกลุ่ม เช่น จากตัวอย่างนี้ ถ้าต้องการแยกข้อมูลสรุปเป็นกลุ่มตามชนิดเครื่องเขียน ว่าเครื่องเขียนแต่ละชนิดมีสีอะไรบ้าง ซึ่งก็สามารถทำได้โดยการเพิ่มการ GROUP BY ตามฟีลด์ STATIONERY เข้าไป ดังนี้ SELECT STATIONERY, WMSYS.WM_CONCAT(COLOR) COLOR_LIST FROM STATIONERY GROUP BY STATIONERY; ผลลัพธ์ที่ได้   หรือหากต้องการข้อมูลสรุปตามสีของเครื่องเขียน ว่าแต่ละสีมีเครื่องเขียนชนิดใดอยู่บ้าง คำสั่งที่ใช้งานก็จะเป็น SELECT … Read more