บทความนี้เป็นตอนต่อจาก “ติดตั้ง FOG Project บน Ubuntu 18.04 Server” หลังจาก แตกไฟล์ มาเสร็จแล้ว มาดูขั้นตอนติดตั้ง

sudo  ./installfog.sh

เลือก 2

กด Y และ Enter

กด N และ Enter

ตัวอย่าง จะติดตั้ง fog server ให้ใช้ IP 10.0.100.208 และ ตรงนี้ จะเกี่ยวข้องกับ DHCP server ว่า จะติดตั้งลงใน fog server มั้ย ในตัวอย่าง คือ router address ที่ใช้คือ 10.0.100.1 และเป็น DNS server ด้วย

ตรงนี้ สำหรับ FOG รุ่น 1.5.6 ขึ้นไป จะมีเพิ่มมาให้ตั้งชื่อ hostname ถ้าไม่ต้องการตั้งก็กด Enter

ตรวจสอบ พร้อมแล้ว ก็กด Y และ Enter

สำหรับ Ubuntu 18.04 นั้น ถ้าเราติดตั้ง MySQL ไม่จำเป็นต้องตั้ง password เราก็ใช้คำสั่ง mysql เพื่อเข้าไปทำงานได้ ก็ต่อเมื่อ เราเป็น user ที่เป็น sudo จึงไม่ต้องตั้ง password แต่จะตั้งก็ได้ ไม่ผิด

ใกล้เสร็จแล้ว ให้ไปที่หน้าเว็บ http://fog_server_ip/fog/management เพื่อตั้งค่า database

แล้วกลับมาทำการตั้งค่าต่อ กด Enter

สังเกต มีคำว่า OK ที่บรรทัด DHCP Server

เสร็จกระบวนการติดตั้ง fog server

ทดสอบเปิดเครื่อง Windows 7 ดูว่า ได้ DHCP IP จาก fog server ในที่นี้คือ 10.0.100.208

ต่อไปเป็นการใช้งาน เพื่อทดสอบว่า กระบวนการติดตั้ง fog server ใช้งานแบบมี DHCP Server ด้วยทำงานได้จริง

เลือกรายการ Quick Registration and Inventory เพื่อลงทะเบียนแบบ manual ทีละเครื่อง

แล้วกลับมาอีกรอบ คราวนี้ก็เลือก Boot from hard disk เมื่อเข้า Windows ได้แล้วลองไปตรวจสอบ IP

หน้าต่าง login ก็ใส่ค่า default username คือ fog และ password คือ password

ต่อไปมาดูในหน้าเว็บ ของ fog จะเห็นว่า มีเครื่องที่เรากด ลงทะเบียน เข้ามาแล้ว

ต่อไป เราจะไปหน้าเว็บเพจ images เพื่อสร้าง image ตั้งชื่อว่า windows7 ก่อนที่จะ cloning ได้

กดเลือก Create New Image

ตั้งค่าเลือก Operating System เป็นชนิด Windows 7 – (5)

และใช้ค่า default แล้วกด Add (วันหลังค่อยลองเปลี่ยนใช้แบบอื่น ๆ)

เราต้องผูก image เข้ากับ host ให้คลิกเข้าไปที่ชื่อ host ในตัวอย่างคือ 080027888888

ผูก host นี้กับ Image ชื่อ windows7 ที่เราสร้างไว้

ส่วนที่เหลือ เป็นค่า default แล้วกด Update

กลับมาที่หน้าเว็บเพจ Host เลือก List All Hosts จะเห็นว่ามี Assigned Image เข้ามาแล้ว ให้คลิก Capture

หน้านี้จะเด้งขึ้นมา เป็นค่า default ทั้งหมด แล้วกด Task

จะได้หน้าต่างบอกว่า กำหนด Task แล้ว

ไปที่เมนู Tasks จะเห็นรายการว่า กำลังรอให้เรา cloning ต้นฉบับ

เราก็ไปเปิดเครื่อง Windows ต้นฉบับที่จะเก็บ

มันก็จะขึ้นมาเรื่อย ๆ แบบนี้ จนได้หน้าต่างว่า กำลังใช้ Partclone ในการ cloning

ก็รอจนเสร็จ

คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับแต่งไฟล์ /etc/dhcp/dhcpd.conf ที่สร้างขึ้นในขณะติดตั้ง FOG Project
เมื่อใช้คำสั่งดู log ดังนี้

tail  -f  /var/log/syslog

เพื่อไม่ให้เกิด log บรรทัดที่มีข้อความว่า “not authoritative for subnet“ ก็ให้แก้ไขไฟล์นี้โดยเพิ่มบรรทัดว่า

authoritative; 

ไว้ภายใน subnet {
}

คำสั่งใช้ editor ชื่อ vi หรือ nano แล้วแต่ถนัด

sudo  vi( or nano)  /etc/dhcp/dhcpd.conf

แล้ว restart service

sudo systemctl restart isc-dhcp-server.service

ขอให้สนุก

Share the Post:

Related Posts

ทำความรู้จักกับ Outlook บนเว็บ

Post Views: 6 Outlook เป็นเครื่องมือจัดการอีเมลและปฏิทินที่ทรงพลัง ซึ่งช่วยให้คุณมีระเบียบและเพิ่มความสามารถในการทำงาน ด้วยอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย คุณสามารถจัดการกล่องขาเข้าของคุณ นัดหมาย และทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์ที่แข็งแกร่งของ Outlook รวมถึงแม่แบบอีเมลที่ปรับแต่งได้ ความสามารถในการค้นหาขั้นสูง และการผสานรวมที่ไร้รอยต่อกับแอปพลิเคชัน Microsoft Office อื่นๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นมืออาชีพที่ยุ่งอยู่หรือเป็นนักเรียนที่ต้องจัดการกับภารกิจหลายอย่าง Outlook

Read More

[บันทึกกันลืม] JupyterHub Authenticated with OIDC

Post Views: 36 ต่อจากตอนที่แล้ว [บันทึกกันลืม] JupyterHub ด้วย Docker คราวนี้ ถ้าต้องการให้ ยืนยันตัวตนด้วย OpenID เช่น PSU Passport เป็นต้น ก็ให้ทำดังนี้ ในไฟล์ jupyterhub_config.py ใส่

Read More