วิธีการใส่เลขหน้า ให้กับเอกสาร PDF แบบบ้าน ๆ

สืบเนื่องจาก ทะเลาะกับ Printer เป็นวันๆ เพื่อที่จะใส่เลขหน้าให้กับเอกสาร PDF เสียกระดาษ เวลา และอารมณ์ไปเยอะ สุดท้าย ก็ได้วิธีการ เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง Printer ที่ใช้เป็น Ricoh Africo MP301 SPF รุ่นนี้ มีที่ใส่กระดาษ 2 Tray อันบนคือ Tray 1 เอาไว้ใส่กระดาษเปล่า ส่วน อันล่าง Tray 2 ไว้ใส่กระดาษใช้แล้ว ซึ่ง ในที่นี้ เราจะเอาไว้ใส่กระดาษที่มีเลขหน้าในขั้นตอนต่อไป ปัญหาคือ ต้องจัดรูปเล่มเอกสารใหม่ เอาไฟล์ Word บ้าง PowerPoint บ้าง ภาพจากการ Capture บ้าง มารวม ๆ กัน เป็นเอกสารใหม่ ที่ต้องมีเลขหน้ากำกับ วิธีการคือ สร้าง PowerPoint หรือ Word ก็ได้ ที่มีเลขหน้า อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ และ จำนวนแผ่นที่เท่ากับจำนวนทั้งหมดที่ต้องการ  แล้วสั่งพิมพ์ออก Tray 1 ปรกติ จากนั้น นำกระดาษที่พิมพ์เลขหน้าเสร็จแล้ว กลับมาใส่ใน Tray 2 *** จุดสำคัญคือ การวางหัวกระดาษ*** ให้หันไปทางซ้ายมือ ดังภาพ จากนั้น ก็ Print สิ่งที่ต้องการใส่ เลขหน้า ตามลำดับ ลงไปที่ Tray 2 สุดท้าย เราก็จะได้ กระดาษที่มีเนื้อหาตามต้องการ พร้อมเลขหน้าตามลำดับ ในภาพนี้ ได้ผลออกมาแล้ว นำกลับไป Scan เป็น PDF อีกครั้งหนึ่งที่ความละเอียด 600 dpi แบบ Photo หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Read More »

CIS Control v7

Cybersecurity Best Practices CIS Controls and CIS Benchmarks are global industry best practices endorsed by leading IT security vendors and governing bodies. CIS Controls : Secure Your Organization IT security leaders use CIS Controls to quickly establish the protections providing the highest payoff in their organizations. They guide you through a series of 20 foundational and advanced cybersecurity actions, where the most common attacks can be eliminated. CIS Benchmarks : Secure Your Systems & Platforms Proven guidelines will enable you to safeguard operating systems, software and networks that are most vulnerable to cyber attacks. They are continuously verified by a volunteer IT community to combat evolving cybersecurity challenges. Basic CIS Controls 1 Inventory and Control of Hardware Assets (บันทึกรายการและควบคุมทรัพย์สินที่เป็นฮาร์ดแวร์) 2 Inventory and Control of Software Assets (บันทึกรายการและควบคุมทรัพย์สินที่เป็นซอฟต์แวร์) 3 Continuous Vulnerability Management (จัดการกับช่องโหว่อย่างต่อเนื่อง) 4 Controlled Use of Administrative Privileges (ควบคุมการใช้สิทธิพิเศษในการบริหารระบบ) 5 Secure Configuration for Hardware and Software on Mobile Devices, Laptops, Workstations and Servers (กำหนดค่าที่ปลอดภัยให้กับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ บนอุปกรณ์พกพา แลปทอป เวิร์กสเตชั่น และเซิร์ฟเวอร์) 6 Maintenance, Monitoring and Analysis of Audit Logs (บำรุงรักษา เฝ้าสังเกต และวิเคราะห์ ข้อมูลล๊อกการใช้งานต่างๆ) Foundational CIS Controls 7 Email and Web Browser Protections (ป้องกันอีเมล และเว็บเบราว์เซอร์) 8 Malware Defenses (ป้องกันมัลแวร์) 9 Limitation and Control of Network Ports, Protocols, and Services (จำกัดและควบคุม พอร์ต โปรโตคอล และบริการต่างๆ บนเครือข่าย)

Read More »

Ubuntu server 18.04 config static IP with ifupdown not netplan

เดิมก่อนหน้า server 18.04 จะออกมาให้ใช้งานกันนั้น จะเป็น server 16.04 เราตั้งค่า (config) static IP ให้กับ server ด้วยไฟล์นี้ /etc/network/interfaces ซึ่งก็คือ package ชื่อ ifupdown และ DNS resolver ที่ใช้ก็คือ resolvconf แต่ใน server 18.04 นี้ เปลี่ยนไปใช้ package ชื่อ netplan แก้ไขที่ไฟล์ /etc/netplan/01-netcfg.yaml และใช้ DNS resolver คือ systemd-resolve ซึ่งจะ connect สอบถามชื่อ DNS จาก internal DNS ที่ IP 127.0.0.53 (ตรวจดูด้วยคำสั่ง cat /etc/resolv.conf) (ย้ำ) บทความนี้ไม่ได้บอกเล่าให้ทุกคนต้องทำแบบนี้ เพียงแต่หากท่านมีงานเฉพาะอย่างที่ต้องการใช้แบบก่อนหน้านี้ หลังจากติดตั้ง Ubuntu server เสร็จ 1.แก้ไขไฟล์ /etc/default/grub ดังนี้ sudo nano /etc/default/grub เพิ่มบรรทัดนี้ GRUB_CMDLINE_LINUX=”netcfg/do_not_use_netplan=true” หรือหากต้องการใช้ชื่อ interface เป็น ethX เช่น eth0 เป็นต้น ก็ให้เพิ่มบรรทัดแบบนี้ GRUB_CMDLINE_LINUX=”net.ifnames=0 netcfg/do_not_use_netplan=true” ทำการ Save และ ออก 2.ทำคำสั่งนี้เพื่อ update grub sudo update-grub 3.ติดตั้ง ifupdown package sudo apt install ifupdown 4.ติดตั้ง resolvconf package sudo apt install resolvconf 5.รีบูต server เมื่อ login กลับเข้าไปใน command prompt สั่ง ping www.google.com สำเร็จ ก็แสดงว่าใช้งานได้ (เซิร์ฟเวอร์นี้ต้องได้รับอนุญาตออกเน็ตด้วยนะ) หรือไม่ก็ใช้คำสั่งตรวจสอบชื่อโดเมน ดังนี้ host www.google.com ก็จะต้องได้รับ output ที่แสดงว่าสำเร็จ สำหรับวิธีการตั้งค่าแบบ netplan ก็มีเว็บเพจที่เขียนไว้มากพอสมควร เช่น Ubuntu Bionic: Netplan posted by Joshua Powers on 1 December 2017 [ https://insights.ubuntu.com/2017/12/01/ubuntu-bionic-netplan ] ลองทำความเข้าใจรูปแบบใหม่นี้ได้เลย Output ของค่า default เมื่อติดตั้ง Ubuntu server 18.04 เสร็จใหม่ ๆ (/etc/resolv.conf, /etc/network/interfaces และ /etc/netplan/01-netcfg.yaml) Output ของไฟล์ที่ใช้ในการตั้งค่า static IP เมื่อใช้ ifupdown package (/etc/resolv.conf และ /etc/network/interfaces) References: Disable netplan on Ubuntu 17.10 Posted on January 10, 2018 by ruchi [ http://www.ubuntugeek.com/disable-netplan-on-ubuntu-17-10.html ] Predictable Network Interface Names [ https://www.freedesktop.org/wiki/Software/systemd/PredictableNetworkInterfaceNames/ ]

Read More »

Uploading Files into Database with ASP.NET MVC

การ    upload  file มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ upload file  แบบ copy ไว้บน server หรือจะเป็นการบันทึกลงในฐานข้อมูลเลยโดยตรง วันนี้จะขอนำเสนอในส่วนของการ upload   file  และบันทึกลงฐานข้อมูล     โดยใช้ ASP.NET MVC  ดังนี้   กำหนดไฟล์ที่ต้องการ upload ให้มีรูปแบบดังนี้       public class UploadModel { [Required] public HttpPostedFileBase File { get; set; } }   ในส่วนของ    View   <form id=”uploader” enctype=”multipart/form-data” method=”POST”> <a type=”submit” href=”#” onclick=”uploadConfirm();” class=”btn btn-info”><span class=”glyphicon glyphicon-save”></span>&nbsp;Upload</a> </form> ในส่วนของ java script (สำหรับเรียก Controller)   function uploadConfirm() { $.ajax({ type: ‘POST’, contentType: ‘application/json; charset=utf-8’, url: ‘@Url.Action(“CheckDataBeforeUpload”, “NoteUpload”)’, data: “{ ‘periodID’:’” + $(‘#selectedlistPeriods’).val() + “‘ ,’financeID’:’” + $(‘#selectedlistFinance’).val() + “‘ }”, success: function (resultSave) {   }, error: function (data) { alert(data); } }); }   ในส่วนของ Controller public async Task<ActionResult> UploadFile(UploadModel model, FormCollection form) {   string fileName = Path.GetFileName(model.File.FileName); //แสดงชื่อไฟล์ string strFileName = Path.GetFileNameWithoutExtension(fileName); //แสดงชื่อไฟล์ string contentType = model.File.ContentType;  //แสดงนามสกุลไฟล์   string FileExtension = fileName.Substring(fileName.LastIndexOf(‘.’) + 1).ToLower(); using (Stream fs = model.File.InputStream) // { using (BinaryReader br = new BinaryReader(fs)) { byte[] bytes = br.ReadBytes((Int32)fs.Length);   //TO DO:  Code ในส่วนที่ต้องการ insert ข้อมูลลง Database } }   return RedirectToAction(“Index”); }   จากตัวอย่างข้างต้น จะเป็นการ upload file ลงฐานข้อมูลโดยตรงในส่วนของรูปแบบการพัฒนาแบบ MVC ผู้เขียนหวังว่าอาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้พัฒนา ในการนำไปพัฒนาโปรแกรมต่อไปนะคะ ^_^ แหล่งอ้างอิง https://stackoverflow.com/questions/15106190/uploading-files-into-database-with-asp-net-mvc https://stackoverflow.com/questions/21677038/mvc-upload-file-with-model-second-parameter-posted-file-is-null/21677156

Read More »

จดหมายลอกลวง 23/4/61

ช่วง ศุกร์ที่ 20 ถึง เช้าวันนี้ จันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 พบว่า มีผู้ใช้หลายท่านได้รับ email ลักษณะประมาณนี้ แล้วมีคำถามว่า เป็นของมหาวิทยาลัยส่งจริงหรือไม่ ตอบก่อนเลยว่า “ไม่ใช่อีเมลของทางมหาวิทยาลัย” เป็นจดหมายหลอกลวง ทางระบบของมหาวิทยาลัยจะไม่ส่ง email แจ้งเตือนใดๆอย่างนี้ ข้อสังเกต ลิงค์ใน email ที่ให้คลิก จะเป็นอะไรที่ไม่ใช่ psu.ac.th (ทราบไม๊ครับ ? ว่าโดเมนเนมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ psu.ac.th ???) ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ของมหาวิทยาลัย จะต้องปรากฏ รูปกุญแจเขียว และ โดเมนเป็นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งใช้โดเมนเนม psu.ac.th ดังภาพ ผู้ส่ง (From) ในทางปฏิบัติ จะ “ตั้งค่า” ให้เป็นใครก็ได้ แต่ในที่นี้ เค้าจะไม่สามารถตั้งค่าเป็น @psu.ac.th ได้ เพราะเราได้ทำการจดทะเบียน DomainKeys Identified Mail (DKIM) และทำตามกระบวนการ Sender Policy Framework (SPF) แล้ว ซึ่งจะกำหนดว่า ต้องเป็น IP ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จึงจะบอกว่า ส่งจาก @psu.ac.th ได้เท่านั้น …. แม้จะส่งได้และเข้ามาใน Inbox ของท่าน แต่อาจจะเป็นบน gmail.com, hotmail.com, yahoo.com ก็ตาม ก็จะถูกระบุว่า ไม่สามารถเชื่อถือได้ ในที่นี้ จึงเลี่ยงไปใช้ @itservice.psu.ac.th ซึ่ง ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นกัน   หากหลงเชื่อ คลิก Link แล้วกรอกข้อมูลไปแล้วควรทำอย่างไร? ให้ทำการตั้งรหัสผ่าน PSU Email ใหม่ที่ ตามวิธีการนี้เท่านั้น http://gafe.psu.ac.th/support/1/1   และ เว็บไซต์ที่จะทำการ ตั้งรหัสผ่าน PSU Email ได้ ต้องเป็นเว็บไซต์นี้เท่านั้น ซึ่งต้องยืนยันตัวจริง ด้วย PSU Passport อีกชั้นหนึ่งด้วย https://webmail.psu.ac.th/src/resetpassword.html   ลืม PSU Passport / ไม่แน่ใจว่า PSU Passport คืออะไร ทำอย่างไร ??? บุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ >>> ติดต่อการเจ้าหน้าที่ คณะ หน่วยงานของท่าน นักศึกษา >>> ติดต่อ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (email สอบถาม: passport@psu.ac.th) บุคลากรที่เกษียณ/ไม่ได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยแล้ว >>> มหาวิทยาลัยยังคง email ของท่านไว้เสมอ สามารถใช้ต่อไปได้ แม้ เกษียณ/ลาออก ก็ตาม แต่ในกรณีที่ท่านต้องการเปลี่ยนรหัสผ่าน PSU Email แล้ว ไม่สามารถใช้งาน PSU Passport ได้แล้ว ให้มาติดต่อด้วยตนเองที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่เท่านั้น

Read More »