WPF Layout (Part II)

Popular layout panels of WPF 1. StackPanel StackPanel ของ WPF เป็น panel ที่เรียบง่ายและมีประโยชน์ในการนำมาใช้งาน โดยรูปแบบการจัดวางของ element ที่เป็น child จะวางอยู่ในรูปแบบซ้อนจากบนลงล่างหรือเรียงไปทางด้านซ้ายไปขวา ขึ้นกับการกำหนดค่าของ orientation StackPanel เหมาะสำหรับการจัดวางในรูปแบบที่มีลักษณะเป็น List โดย ItemsControls ของ WPF ทั้งหมด ที่เป็นลักษณะของ ComboBox, ListBox หรือ Menu จะใช้ StackPanel เพื่อจัดรูปแบบภายในของ Control ตัวมันเอง ดังตัวอย่าง Stack Items horizontally จากภาพตัวอย่างจะแสดงในส่วนของการใช้ horizontal stack panel คือจะประกอบด้วย ปุ่ม “OK” และ ปุ่ม “Cancel” ใน window โดยเมื่อมีการเปลี่ยนขนาดของตัวอักษรหรือเปลี่ยนภาษา โดยที่เราไม่จำเป็นต้องกำหนดขนาดของปุ่ม แต่ stack panel จะทำหน้าที่ในการจัดเรียงปุ่มตามขนาดของปุ่มทั้งสองให้โดยอัตโนมัติ ดังตัวอย่าง 2. Wrap Panel Wrap panel เหมือนกับ Stack Panel แต่ต่างกันที่ Wrap panel คือจะไม่บรรจุ child ทั้งหมดใน 1 แถว แต่ตัดส่วนที่เกินและขึ้นบรรทัดใหม่ กรณีที่ไม่มีพื้นที่ว่างเหลือพอบรรจุอยู่ โดยทิศทางการจัดวางสามารถกำหนดเป็น Horizontal หรือ Vertical Wrap panel เคยใช้จัดวาง tabs ของ tabs control, itemของเมนูใน toolbar หรือ item ใน Windows Explorer ในรูปแบบ list โดย Wrap panel จะถูกนำมาใช้บ่อยกับitem ที่มีขนาดเท่ากัน แต่ในส่วนนี้ไม่ใช่ข้อกำหนดของ Wrap panel 3.  Dock Panel Dock panel คือรูปแบบในการจัดวางเรียง elements ของ panel นั้นๆ ได้ 4 ด้าน คือ  ซ้าย ขวา บน และ ล่าง หรือจะจัดเรียงไว้ตรงกลางก็สามารถทำได้ โดยแต่ละทิศทางการจัดเรียงจะสามารถกำหนดได้นั้นต้องระบุที่ DockPanel.Dock  กรณีที่ต้องการจัดวางเรียงให้อยู่ตรงกลางของ panel จำเป็นต้องให้ child ที่ต้องการจัดเรียงไว้ตรงกลางนั้นจัดวางอยู่ในตำแหน่งสุดท้าย แล้วต้องกำหนด panel  นั้น ให้ มี LastChildFill property = true ดังตัวอย่าง Multiple elements on one side Dock panel รองรับการมี elements ได้หลายตัวในแต่ละด้าน โดยแต่ละ element ต้องระบุ DockPanel.Dock ให้ตรงกับทิศทางที่ต้องการจัดเรียง ดังตัวอย่าง Change the stacking order ลำดับการจัดเรียงพื้นที่ให้กับ element คือ มันจะกำหนดพื้นที่การจัดเรียงคือ elements ตัวแรก จะได้พื้นที่ทั้งหมดตามความยาวหรือความสูงของตัวมันเอง ในส่วนของ elements อื่นๆจะได้พื้นที่เหลือจาก elements ตัวแรก และ elements ตัวอื่นๆที่จัดวางเรียงต่อๆกัน 4. Canvas Panel Canvas คือ panel ที่มีรูปแบบพื้นฐานที่ธรรมดาที่สุดใน WPF  โดย elementภายใน panel   จะมีพิกัดที่ชัดเจน โดยสามารถระบุพิกัดที่ต้องการจัดเรียงด้านต่างๆโดยใช้  Canvas.Left, Canvas.Top, Canvas.Bottom และ Canvas.Right โดยระบุใน properties ของ element นั้นๆ Canvas เป็น Panel ที่ใช้สำหรับจัดกลุ่ม

Read More »

WPF Layout (Part I)

Introduction to WPF Layout การอออกแบบ controls  คือส่วนสำคัญของการออกแบบโปรแกรมที่นำมาใช้งาน การจัดวาง controls ที่มีการกำหนดค่าขนาดของ pixel ของ controls นั้นๆ อาจจะใช้งานได้ดีในกรณีสภาพแวดล้อมที่ถูกจำกัด แต่ในขณะเดียวกันจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์นักหากไปแสดงบนหน้าจอที่มีความละเอียดของหน้าจอหรือขนาดของตัวอักษรที่ต่างกันออกไป WPF จึงมีการนำ panel มาแก้ไขปัญหาในส่วนนี้  โดย panel ที่ใช้ในการจัดวาง Layout มีอยู่ 5 ชนิดที่นิยมใช้การการออกแบบดังนี้ Grid Panel Stack Panel Dock Panel Wrap Panel Canvas Panel Best Practices หลีกเลี่ยงการกำหนดค่าตำแหน่ง : กรณีที่ต้องการกำหนดตำแหน่งการวาง controls ใน panel ควรใช้ Alignment properties ร่วมกับ Margin เพื่อกำหนดค่าตำแหน่งใน panel แทนการกำหนดเป็นค่าคงที่ในตำแหน่งนั้นๆ หลีกเลี่ยงการกำหนดขนาด : ควรกำหนด Width และ Height ของ element ให้เป็น Auto ไม่ใช้ canvas panel ในการจัดวาง layout ของ element ใช้ canvas panel กรณีที่เป็น vector graphic เท่านั้น ควรใช้ Stack panel เพื่อจัดเรียงปุ่ม ใช้ grid panel ในกับ form ที่เป็น form สำหรับการรับข้อมูลเข้า โดย control ที่อยู่ใน grid panel ที่เป็น label ควรกำหนดขนาดเป็น Auto และ controlที่เป็น Textbox ควรกำหนดขนาดเป็น * ใช้ itemControl ใน DataTemplate ของ grid panel เพื่อใช้ในการจัดวาง control ที่แสดงข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงของ keyตลอดเวลา และควรใช้ SharedSize เพื่อให้ label มีขนาดความกว้างเท่ากัน Vertical and Horizontal Alignment ใช้ VerticalAlignment และ HorizontalAlignmant properties เพื่อกำหนด  Control ให้อยู่ในส่วนเดียวกันหรือหลายๆส่วนใน panel   นั้นๆ  โดยมีตัวอย่างดังภาพ Margin and Padding Margin และ Padding properties จะจองพื้นที่ช่องว่างรอบๆของcontrol ดังนี้ • The Margin คือ ส่วนของช่องว่างรอบๆของ control. • The Padding คือส่วนของช่องว่างที่อยู่ภายใน control. • The Padding ของ control ที่อยู่ภายนอก คือ Margin ของ control ที่อยู่ภายใน Control นั้นๆ Height and Width ไม่แนะนำให้กำหนดค่า Height และ Width เนื่องจากจะทำให้ยุ่งยากในการจัดการ  การจัดการที่ดีควรจะกำหนดค่า  MinHeight, MaxHeight, MinWidth และ MaxWidth ตามต้องการ  หรือหากต้องการกำหนด width หรือ height เป็น Auto ขนาดของ controls ก็จะมีขนาดเท่ากับของข้อมูลโดยอัตโนมัติ Overflow Handling Clipping ในกรณีที่ elementsซ้อนทับ border ของ panel เราจะกำหนดการแสดงการจัดวางของ control โดยใช้ ClipToBounds property โดยมีกำหนดค่าเป็น  true หรือ false  ดังรูป Scrolling กรณีที่เนื้อหาของข้อมูลมีจำนวนมากเกินกว่าขนาดของ panel

Read More »

การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 5 : การตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมาย และการบันทึกผลการทำงาน)

จากบทความ การบริหารโครงการโดยใช้เครื่องมือ Team Foundation Server (Phase 4 : การวางแผนงาน) เป็นบทบาทของ Project manager ในการมอบหมายงานให้กับสมาชิกในทีม สำหรับในบทความนี้ จะกล่าวถึงในมุมมองของสมาชิกทีมที่ได้รับมอบหมายงานบ้าง ว่าจะสามารถเข้าไปดูงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างไรได้บ้าง เรามาดูกันเลยนะค่ะ… สำหรับสมาชิกในทีม สามารถตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ในมุมมองดังนี้ Step 1 จาก TFS เลือกโครงการที่ต้องการตรวจสอบงานที่ได้รับอบหมาย ตามรูปที่ 1 Step 2 เลือก Work จากนั้นเลือก Blacklogs และเลือก Sprint ที่ต้องการ ดังรูปที่ 2 Step 3 ทำการเลือกชื่อของตนเอง ดังรูปที่ 3 Step 4 จะแสดง Tasks ที่ได้รับมอบหมาย ตามรูปที่ 4 นะค่ะ จากขั้นตอนข้างต้น ทำให้เจ้าตัวทราบว่า มี Tasks อะไรบ้างที่ได้รับมอบหมาย แต่ละ Task มีสถานะเป็นอย่างไรแล้วบ้าง ซึ่งได้แก่ ยังไม่ดำเนินการ กำลังดำเนินการ หรือดำเนินการเสร็จไปเรียบร้อยแล้วนั่นเอง…ยังมีอีกมุมมองนึงที่ทีมงานสามารถตรวจสอบปริมาณงานว่า งานที่ได้รับมอบหมาย มีปริมาณคงเหลือมากน้อยเพียงใด โดยตรวจดูจากเวลาที่เหลือ ดังนี้ค่ะ ^__^ เลือก Backlogs สามารถดูเวลางานที่เหลือจาก Work by Assigned to และดูจากชื่อของตนเอง ว่ามีจำนวนชั่วโมงเวลาที่เหลือเท่าไหร่ หากมีปริมาณชั่วโมงเยอะ แสดงว่าปริมาณงานยังเยอะอยู่นะค่ะ… ขั้นตอนสามารถดูได้จากรูปที่ 5 นะค่ะ จากบทความข้างต้น เป็นการตรวจสอบปริมาณงานของทีมงานแต่ละคนนะค่ะว่าได้รับมอบหมายงานอะไรบ้าง มีปริมาณเหลือมากน้อยเพียงใด ขั้นตอนต่อไปปจะเล่าถึงขั้นตอนของการบันทึกผลการปฏิบัติงานให้ฟังต่อนะค่ะ สำหรับการบันทึกผลการปฏิบัติงาน สามารถทำได้ดังนี้ค่ะSpet 1 เลือก Work จากนั้นเลือก Blacklogs และเลือก Sprint ที่ต้องการ ดังรูปที่ 6 Step 2 เลือก Task ที่ต้องการบันทึกผล จะแสดงดังรูปที่ 7 จากรูปที่ 7 จะต้อง Update ข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้1. State โดยประกอบด้วย Inprogress คือ กำลังดำเนินการ และ Todo หมายถึง ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว2. Remaining work ให้ระบุจำนวนชั่วโมงที่เหลือ3. History ให้ระบุข้อมูลต่าง ๆ ที่ดำเนินการ โดยสามารถแนบไฟล์ต่าง ๆ เข้าไปได้เมื่อใส่รายละเอียดเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการกดปุ่ม Save เพื่อบันทึกผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนง่าย ๆ ไม่ยากใช่ไม๊ค่ะ เห็นไม๊ค่ะว่า TFS สามารถช่วยเรื่องการวางแผน การมอบหมาย และการบันทึกผลการทำงานได้ ในครั้งต่อไป จะมากล่าวมุมมองการติดตามการดำเนินงาน หรือติดตามผลการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่…อย่าลืมติดตามกันต่อนะค่ะ… ขอบคุณค่ะ

Read More »

ทำความรู้จัก Xamarin.Forms + วิธีติดตั้งบน Windows

การพัฒนา Mobile Application ปัจจุบันมีหลากหลาย solution ให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแบบ native แยกตามแต่ละแพลตฟอร์ม , พัฒนาแบบ hybrid และแบบ cross platform นอกจากจะมีรูปแบบการพัฒนาให้พิจารณาเลือกแล้ว ยังมี Mobile framework ที่หลากหลายที่เรานำมาใช้ในการพัฒนา app ไม่ว่าจะเป็น React Native, Ionic, Fluter,Android Studio, Xcode, Xamarin เป็นต้น โดยบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ Xamarin.Forms ซึ่งเป็น framework หนึ่งที่นิยมใช้ในการพัฒนา mobile app กัน พร้อมทั้งแนะนำวิธีติดตั้งเครื่องมือเพื่อใช้งาน Xamarin คืออะไร? Xamarin คือ framework หนึ่งในการพัฒนา mobile app แบบ cross platform ของค่าย Microsoft ที่สามารถเขียน code ด้วยภาษา C# แล้วคอมไพล์เป็น native app ให้สามารถรันบน ios , android และ windows platforms ได้ ซึ่งปัจจุบันตัว Xamarin เองก็มีรูปแบบการพัฒนาออกเป็น 2 แนวทาง คือ Xamarin Native และ Xamarin.Forms แล้ว Xamarin.Forms กับ Xamarin Native ต่างกันยังไง? Xamarin Native หรือที่ฝรั่งเรียก Traditional Xamarin Approach เนี่ยเป็นรูปแบบที่ทาง Xamarin ได้พัฒนาออกมาใช้เป็นรูปแบบแรก (ปัจจุบันก็ยังมีให้ใช้อยู่) ซึ่งเป็น shared code platform concept โดยเราสามารถใช้ code ฝั่ง business logic ร่วมกันได้ แต่ code ฝั่ง UI เราก็ต้องเขียน code แยกตาม sdk ของแต่ละ platforms ซึ่งผู้พัฒนาต้องรู้จักการใช้ control ต่างๆ การวาง layout ของแต่ละ platform มาพอสมควร Xamarin.Forms เป็น concept และ tools รูปแบบใหม่ของ Xamarin ที่สามารถแชร์ code ระหว่าง platform ได้ 100% คือสามารถเขียน code เพียงครั้งเดียวทั้งฝั่ง business logic และ UI แล้วคอมไพล์เป็น native app ให้รันได้ทุก platforms (ios, android และ windows) ในส่วนของ UI จะเขียนด้วย XAML เช่นเดียวกับ WPF แต่ต่างกันที่การจัด layout และ control UI ที่มีแตกต่างกัน ซึ่งหากนักพัฒนาคนไหนเคยเขียน WPF มาแล้วก็สามารถเขียน mobile app ด้วย Xamarin.Forms ได้ง่ายขึ้น Xamarin.Forms เหมาะกับ? Developer ที่คุ้นเคยกับ .NET framework เนื่องจากจะคุ้นเคยกับ Tools ที่ใช้งานและทำให้เข้าใจ concept และสามารถพัฒนา app ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น พัฒนา Data Entry app เนื่องจาก Xamarin.Forms มี Simple UI control ให้พร้อมใช้งาน ต้องการ app ที่คุ้มค่าแต่ใช้ budget น้อย

Read More »

การทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Testing) – 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์

บทความนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกนะคะ (ก็แหงอ่าาจิ) แต่ผู้เขียนจะนำเสนอ 7 ข้อมูลที่ผู้ทดสอบต้องทราบก่อนเริ่มการทดสอบซอฟต์แวร์ (นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับ Software Testing ที่ทุกท่านต้องทราบกันดีอยู่แล้ว) ซึ่งได้รวบรวมมาจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองเผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ทดสอบท่านอื่น ๆ ค่ะ ตามตารางข้างล่างนี่เลยยยค่ะ ตารางข้างต้นนั้น หวังว่าคงจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ทดสอบในการเตรียมตัวทดสอบ ไม่มากก็น้อยนะคะ 🙂 ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะคะ ยังมีข้อมูลอีกหลายส่วนเลยล่ะคะ ไปลองตั้งคำถามกับตัวเองก่อนเริ่มทดสอบดูนะคะ ว่าเราต้องทราบอะไรบ้างงงน๊าาาาา ที่จะเป็นประโยชน์ก่อนที่เราจะลงมือทดสอบซอฟต์แวร์กัน

Read More »