Category: CMS (Joomla!, Moodle, Wordpress)

  • Workshop : PSU Passport OAuth2

    มีวิธี Authen แบบอื่นนอกจาก LDAP กับ Web Service ไหม

                ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป ด้วยเทคโนโลยี OAuth2 ทำให้เราจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมกันอีกครั้งครับ

    หมายเหตุ : เนื่องจากต้องการให้เป็น Blog เปิดเผยได้ จึงขอไม่ระบุชื่อ Server จริง ๆ ลงไปนะครับ 


    โดยรวบรวม Blog แบ่งเป็น 7 Blog ดังนี้

    Blog ที่ ชื่อ Blog
         1 เรียนรู้เทคโนโลยี OAuth2
         2 การติดตั้ง Postman
         3 ทดสอบเชื่อมต่อ OAuth2 ด้วย Postman
         4 การเชื่อมต่อ OAuth2 ด้วย Joomla
         5 การเชื่อมต่อ OAuth2 ด้วย Wordpress
         6 การเชื่อมต่อ OAuth2 ด้วย .NET C#
         7 การเชื่อมต่อ OAuth2 ด้วย PHP (กำลังดำเนินการ)

    บทความและ Link เพิ่มเติม

    [1] การยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ Apache UserGrid 2.x

    [2] รวม Code สำหรับเชื่อมต่อ OAuth ทุกภาษา 1 : https://oauth.net/code/

    [3] รวม Code สำหรับเชื่อมต่อ OAuth ทุกภาษา 2 : https://developer.byu.edu/docs/consume-api/use-api/follow-sample-code

  • Juju #07 – กระจายโหลดข้ามเครื่อง

    ที่ผ่านมา เป็นการติดตั้ง Juju ซึ่งเบื้องหลังคือ LXD Container แต่ทั้งหมดยังอยู่บนเครื่องเดียวกัน

    ภาพต่อไปนี้ เป็นการทดสอบความเร็วในการตอบสนองของ WordPress ซึ่งเป็น Post ที่มีภาพจำนวนมาก และมีขนาดในการ Download ทั้งหมด 5 MB ใช้เวลาประมาณ 1.24 วินาที

    เมื่อใช้ jMeter ระดมยิงด้วยความเร็ว 100 Connections ต่อ 1 วินาที ต่อเนื่อง 10 วินาที ได้ผลว่า เวลาเฉลี่ยคือ 2.478 วินาที

    ต่อมาลองเพิ่มจำนวน Container จาก 1 เครื่องไปเป็น 3 เครื่อง แต่ทำงานอยู่บน Physical Server เดียวกัน

    แล้วทดลองยิงแบบเดิม ได้ผลออกมาคือ ใช้เวลาเฉลี่ย 1.663 วินาที

    จากนั้น ทดสอบแยก Container ออกไป เป็น 3 Physical Servers

    ได้ผลออกมาว่า ใช้เวลาลดลงเหลือเพียง 1.056 วินาทีเท่านั้น

    สรุป การกระจายโหลดออกไปยังหลายๆ Physical Servers ทำให้สามารถรับโหลดจำนวนมากได้

    ในบทความต่อไปจะมาลงรายละเอียดในการ Setup กัน

     

    Reference:
    https://www.digitalocean.com/company/blog/horizontally-scaling-php-applications/
    https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-install-linux-nginx-mysql-php-lemp-stack-in-ubuntu-16-04
    http://php.net/manual/de/mysqlnd-ms.loadbalancing.php
    https://serversforhackers.com/video/php-fpm-configuration-the-listen-directive
    http://nginx.org/en/docs/http/request_processing.html
    http://stackoverflow.com/questions/5328844/nginx-load-balance-with-dedicated-php-fpm-server
    https://code.google.com/archive/p/sna/wikis/NginxWithPHPFPM.wiki
    http://nginx.org/en/docs/http/load_balancing.html
    – http://opensource.cc.psu.ac.th/KM-container

  • Juju #06 – เชื่อม MySQL Master-Master เข้ากับ HAProxy

    ต่อจาก Juju #05 – วิธีกระจายงานไปยัง MySQL แบบ Master-Master เมื่อสร้าง MySQL แบบ Master-Master Replication ได้แล้ว ก็มาเชื่อมกับ HAProxy เพื่อให้ Application ที่เขียน มองเห็นทั้งระบบเป็นชิ้นเดียว

    IP Address ของระบบต่างๆเป็นดังนี้
    haproxy : 10.107.107.71

    mysql-master1: 10.107.107.35

    mysql-master1: 10.107.107.83

    ขั้นตอนการติดตั้ง

    1. ที่ mysql-master1 ต้องสร้าง 2 Users ขึ้นมา ชื่อ haproxy_check และ haproxy_root ด้วยคำสั่งต่อไปนี้
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e "INSERT INTO mysql.user (Host,User) values ('10.107.107.71','haproxy_check'); FLUSH PRIVILEGES;"
      
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e "GRANT ALL PRIVILEGES ON *.* TO 'haproxy_root'@'10.107.107.71' IDENTIFIED BY 'password' WITH GRANT OPTION; FLUSH PRIVILEGES;"
    2. ที่ haproxy
      ติดตั้ง mysql-client ด้วยคำสั่ง

      sudo apt-get install mysql-client

      ทดสอบด้วยคำสั่ง

      mysql -h 10.107.107.35 -u haproxy_root -ppassword -e "SHOW DATABASES;"
      mysql -h 10.107.107.83 -u haproxy_root -ppassword -e "SHOW DATABASES;"

      แก้ไขไฟล์ /etc/haproxy/haproxy.cfg โดยเพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ท้ายไฟล์ [3]

      frontend mysql-cluster
       bind *:3306
       mode tcp
       default_backend mysql-backend
      
      backend mysql-backend
       mode tcp
       balance roundrobin
       server mysql-master1 10.107.107.35:3306 check
       server mysql-master2 10.107.107.83:3306 check

      และสุดท้าย ทดสอบด้วยคำสั่งต่อไปนี้

      for i in `seq 1 6`; do 
         mysql -h 127.0.0.1 -u haproxy_root -ppassword -e "show variables like 'server_id'"; 
      done
      

      ควรจะได้ผลประมาณนี้

    3. จากนั้นก็สามารถพัฒนา Application โดยใช้ IP Address ของ haproxy ซึ่งในที่นี้คือ 10.107.107.71 และ Port 3306 ได้แล้ว ซึ่งเบื้องหลัระบบจะทำการ Replication กันเองทั้งหมด

    Reference:

    [1] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-set-up-mysql-master-master-replication

    [2] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-use-haproxy-to-set-up-mysql-load-balancing–3

    [3] https://serversforhackers.com/load-balancing-with-haproxy

     

  • Juju #05 – วิธีกระจายงานไปยัง MySQL แบบ Master-Master

    ต่อจาก Juju #04 – วิธีทำให้ WordPress กระจายงานไปยัง MySQL Slave ด้วย HyperDB ซึ่งเป็นวิธีการกระจายงานให้ MySQL แบบ Master-Slave จะต้องอาศัยความสามารถของ HyperDB Plugin ของ WordPress ในการทำงาน ซึ่งถ้าเป็นการพัฒนา Application ทั่วไปที่ไม่ใช่ WordPress ก็จะทำด้วยวิธีดังกล่าวไม่ได้

    ในบทความนี้จะกล่าวถึง การสร้าง Load-Balanced MySQL แบบ Master-Master ซึ่งทำให้สามารถกระจายการ Write ไปยัง MySQL หลายตัวได้ (ในเบื้องต้น 2 ตัว)
    *** ในบทความต่อไป จะต่อด้วยการเชื่อมเข้ากับ haproxy ***

    ขั้นตอนการติดตั้งมีดังนี้

    1. Deploy haproxy (ตั้งชื่อ haproxy-mysql) และ MySQL (ตั้งชื่อ mysql-master1 และ mysql-master2)
    2. ต่อไปนี้เป็นวิธีการติดตั้ง MySQL Master-Master Replication [1]
    3. บนเครื่อง mysql-master1
      แก้ไขไฟล์ /etc/mysql/mysql.cnf
      ค้นหาคำว่า server-id
      จากนั้น Uncomment บรรทัดต่อไปนี้
      server-id
      log_bin
      binlog_do_db

      จากนั้น ในบรรทัด
      server_id = 1
      – binlog_do_db ใส่เป็น Database Name ที่จะทำการ Replication

      เมื่อเสร็จแล้ว ก็ Save แล้ว Restart Mysql
      sudo service mysql restart
      แล้วเข้าใช้งานด้วยคำสั่ง
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd)
      สร้าง User ที่จะทำหน้า Replicate ข้อมูล ด้วยคำสั่ง
      mysql> create user ‘replicator’@’%’ identified by ‘password’;
      และกำหนดสิทธิให้สามารถ Replicate ได้ ด้วยคำสั่ง
      mysql> grant replication slave on *.* to ‘replicator’@’%’;
      สุดท้ายใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อเรียกข้อมูลที่สำหรับการตั้งค่า mysql-master2
      mysql> show master status;
      ได้ผลดังนี้

      จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้ แล้วเก็บค่า FILE และ POSITION ไว้ เพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไป
    4. บนเครื่อง mysql-master2
      แก้ไขไฟล์ /etc/mysql/mysql.cnf เหมือนกับที่ทำบน mysql-master1 แต่เปลี่ยนค่า server_id เป็น 2

      เมื่อเสร็จแล้ว ก็ Save แล้ว Restart Mysql
      sudo service mysql restart
      แล้วเข้าใช้งานด้วยคำสั่ง
      mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd)
      สร้าง User ที่จะทำหน้า Replicate ข้อมูล ด้วยคำสั่ง
      mysql> create user ‘replicator’@’%’ identified by ‘password’;
      และกำหนดสิทธิให้สามารถ Replicate ได้ ด้วยคำสั่ง
      mysql> grant replication slave on *.* to ‘replicator’@’%’;
      ** ขั้นตอนต่อไปนี้ ทำที่ mysql-master2 (mysql-master1 ใช้ IP 10.107.107.35)
      mysql>  slave stop;
      mysql>  CHANGE MASTER TO MASTER_HOST = ‘10.107.107.35’, MASTER_USER = ‘replicator’, MASTER_PASSWORD = ‘password’, MASTER_LOG_FILE = ‘mysql-bin.000003’, MASTER_LOG_POS = 344;
      mysql> slave start;จากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้ แล้วเก็บค่า FILE และ POSITION ไว้ เพื่อใช้ในขั้นตอนต่อไป
      mysql> show master status;
    5. กลับมาที่ mysql-master1 อีกครั้ง แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้ (mysql-master2 ใช้ IP 10.107.107.83)
      mysql> slave stop;
      mysql> CHANGE MASTER TO MASTER_HOST = ‘10.107.107.83’, MASTER_USER = ‘replicator’, MASTER_PASSWORD = ‘password’, MASTER_LOG_FILE = ‘mysql-bin.000003’, MASTER_LOG_POS = 344;
      mysql> slave start;
    6. ที่ mysql-master1 ทำการสร้าง Database ชื่อ wordpress
    7. ไปดูที่ mysql-master2 ก็จะพบว่า wordpress database ปรากฏขึ้นแล้วด้วย

    Reference:

    [1] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-set-up-mysql-master-master-replication

    [2] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-use-haproxy-to-set-up-mysql-load-balancing–3

     

     

  • Juju #04 – วิธีทำให้ WordPress กระจายงานไปยัง MySQL Slave ด้วย HyperDB

    ต่อจาก Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL เมื่อมี MySQL Server มากกว่า 1 ตัว ซึ่งทำการ Replication กัน (ในตอนนี้ 2 ตัว คือ Master กับ Slave) ซึ่งให้ความสามารถในเรื่อง [1]

    • Data-Security : เมื่อข้อมูลถูก Replicate ไปที่ Slave แล้ว เราสามารถหยุดการทำงานของ Slave เพื่อทำการสำรองข้อมูลได้ โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master
    • Analytics: ทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ที่ Slave โดยไม่กระทบประสิทธิภาพการทำงานของ Master
    • Scale-Out Solutions: เมื่อมี Slaves หลายตัว ทำให้สามารถกระจายงานในด้าน Read เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการแก้ไขข้อมูล จะทำที่ Master เท่านั้น

    ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการ Scale-Out Solutions ของ WordPress เท่านั้น โดยใช้ Plugin ชื่อ HyperDB

    HyperDB [2] เป็น Database Class ที่ใช้แทนที WordPress built-in database functions โดยจะทำให้ WordPress สามารถติดต่อกับ MySQL ได้หลายเครื่อง โดยที่สามารถกำหนดได้ว่าจะ Write ไปยัง Master และ Read จากทั้ง Master และ Slaves อีกทั้งยังสามารถ Failover ได้อีกด้วย

    วิธีการติดตั้ง HyperDB

    1. ที่ WordPress ใช้คำสั่ง
      wget https://downloads.wordpress.org/plugin/hyperdb.1.2.zip
      sudo apt-get install unzip
      sudo unzip hyperdb.1.2.zip
    2. ย้ายไฟล์ hyperdb/db-config.php ไปยังที่ Directory เดียวกันกับ wp-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/)
      sudo cp hyperdb/db-config.php /var/www
    3. ย้ายไฟล์ hyperdb/db.php ไปยังที่ Directory wp-content (ในที่นี้คื่อ /var/www/wp-content)
      sudo cp hyperdb/db.php /var/www/wp-content/
    4. แก้ไขไฟล์ db-config.php (ในที่นี้คื่อ /var/www/db-config.php) [3] โดยค้นหาคำว่า DB_HOST ซึ่งควรจะปรากฏอยู่แค่ 2 แห่งในไฟล์ ให้ไปที่ชุดที่ 2 ซึ่งมีเนื้อหาประมาณนี้

      จากนั้นแก้ไข DB_HOST ให้เป็น DB_SLAVE_1
    5. ต่อไปก็ไปเพิ่ม define(‘DB_SLAVE_1′,’xxx.xxx.xxx.xxx’) ซึ่งไฟล์ wp-config.php หรือไม่ก็ wp-info.php (ในที่นี้อยู่ที่ /var/www/wp-info.php)
    6. เมื่อทดสอบใช้งาน พบว่า มี Query มาทั้งที่ master และ slave
      ในภาวะว่าง

      ในภาวะมีงานเข้ามา
    7. ทดสอบเพิ่มบทความใหม่ ชื่อ “This is my first article” พบว่า ระบบสามารถเขียนไปยัง Master แล้วสามารถส่งต่อไปให้ Slave ได้
    8. ต่อไป เพิ่ม mysql-slave2 เข้าไปใน Juju และสร้าง Relation เป็น master -> Slave เช่นกัน

      แล้วทำการเพิ่ม DB_SLAVE_2 เข้าไปใน db-config.php และ wp-info.php

    9. ก็จะพบว่าข้อมูลได้ Replicate ไปหา Slave2 แล้ว
    10. และ เมื่อทำการ query ข้อมูลก็พบว่า มีการกระจายคำสั่ง Read ไปทั้ง 3 เครื่อง

    References

    [1] https://dev.mysql.com/doc/refman/5.7/en/replication.html

    [2] https://th.wordpress.org/plugins/hyperdb/

    [3] https://www.digitalocean.com/community/tutorials/how-to-optimize-wordpress-performance-with-mysql-replication-on-ubuntu-14-04

  • Juju #03 – วิธีสร้าง Load Balance MySQL

    จาก Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress ทำให้ได้ WordPress ซึ่งเป็น Web Application 2 เครื่องทำหน้าที่ Load Balance กัน ด้วย haproxy แล้ว

    จากนั้น ทำการเพิ่ม MySQL เข้าไปใหม่ แล้วตั้ง Application Name เป็น mysql-slave แล้ว Commit Chages

    จากนั้น สร้าง Relation เป็น mysql:master –> mysql-slave:slave

    เมื่อเสร็จแล้ว จะได้ผลอย่างนี้

    ทดสอบเพิ่ม Post ใหม่

    แล้วเข้าไปใน mysql-slave (juju-xxx-xx เป็นชื่อเครื่องที่ Juju สร้างขึ้น)

    lxc exec juju-xxxx-xx  bash

    แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้

    mysql -u root -p$(cat /var/lib/mysql/mysql.passwd) -e ‘use wordpress; select post_title from wp_posts;’

    ก็จะพบว่า mysql-slave ได้รับการ Update ตามไปด้วย

    บทความต่อไป จะกล่าวถึงวิธีการทำให้ WordPress สามารถใช้ mysql-slave ในการ Read ได้ เพื่อกระจายโหลดครับ

     

  • Juju #02 – วิธีติดตั้ง WordPress

    ในบทความนี้ จะแสดงวิธีการใช้ Juju เพื่อติดตั้ง WordPress พร้อมแสดงวิธีการเฝ้าระวังด้วย Nagios และ การ Scale Out

    1. เริ่มต้นจากคลิกที่ รูปเครื่องหมายบวก (+) สีเขียว
      2559-12-02-13_55_33
    2. ในช่องค้นหา พิมพ์คำว่า “wordpress” แล้วคลิก Enter2559-12-02-13_56_04
    3. จะปรากฏผลการค้นหา สิ่งนี้เรียกว่า Charm ซึ่งเป็น Image ของระบบปฏิบัติการ พร้อมทั้งการ Setup สิ่งที่เราต้องการมาให้เลย ในภาพให้คลิกที่คำว่า WordPress ด้านซ้ายมือ
      2559-12-02-13_56_19
    4. จากนั้น คลิก Add to canvas
      2559-12-02-13_56_34
    5. ต่อไป ทำซ้ำ โดยการค้นหาสิ่งต่อไปนี้
      haproxy, mysql, nagios
      แล้วจัดระเบียบให้สวยงามตามต้องการ
      2559-12-02-13_58_18
    6. จากนั้น ลากเส้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน Juju จะสร้างการเชื่อมต่อต่างๆให้เองอัตโนมัติ ในภาพ จะเป็นการตั้งค่าให้ haproxy ทำหน้าที่เป็น Load Balance ให้ WordPress ซึ่งจะเกิดขึ้นอีกหลายเครื่องในอนาคต และ WordPress ก็จะเชื่อมต่อกับ MySQL นอกจากนั้น ก็มี Nagios ที่จะเฝ้าระวัง WordPress และ MySQL
      เมื่อลากเส้นเชื่อมโยงเสร็จแล้ว คลิก Commit Changes ด้านขวามือล่าง
      2559-12-02-13_58_58
    7. จากนั้นคลิกปุ่ม Deploy
      2559-12-02-13_59_21
    8. หลังจากนั้น Juju จะไปเรียก Image มาติดตั้ง และสร้างความสัมพันธ์ของระบบที่เราออกแบบไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะได้ผลดังภาพ2559-12-02-14_08_57
    9. ต่อไปคลิกที่ haproxy แล้วคลิกคำว่า Expose เพื่อบอกให้ระบบนี้สามารถเข้าถึงจากภายนอกได้
      2559-12-02-14_09_30
    10. ใน Expose ให้เลือก On ระบบจะแสดง IP Address ให้ ในที่นี้คือ 10.107.107.215 ซึ่งจะเข้าถึงโดยใช้ TCP Port 80
      2559-12-02-14_09_49
    11. ที่ Nagios ก็เช่นกัน ให้ Expose เป็น On แล้วจะเข้าถึงได้จาก IP 10.107.107.95
      จากนั้น คลิก Commit Changes
      2559-12-02-14_10_07
    12. ที่ IP Address 10.107.107.215 ก็จะพบการเริ่มต้นใช้งาน wordpress ทันที
      เริ่มจาก เลือกภาษา แล้วคลิก Continue
      2559-12-02-14_15_03
    13. จากนั้น ตั้ง Site Title, Username ที่จะเข้าใช้, Password, email address แล้วคลิก Install WordPress
      2559-12-02-14_17_39
    14. แค่นี้ก็ใช้ wordpress ได้แล้ว
      2559-12-02-14_18_17
    15. ที่ Nagios ก็จะสามารถใช้งานได้ที่ IP 10.107.107.95 (วิธีการเข้าใช้งาน มี Username/Password ที่กำหนดไว้แล้ว)
      2559-12-02-14_21_15
    16. ใน Nagios คลิก Service เพื่อเฝ้ารายละเอียดของ Service ต่างๆ
       2559-12-02-14_22_42
    17. ใน Nagios คลิกที่ Map เพื่อดูผังการเชื่อมต่อ
      2559-12-02-14_22_54
    18. เมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มเครื่อง WordPress เพื่อให้รองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากขึ้นได้ โดยใน Juju คลิกที่ WordPress แล้วคลิก Scale จากนั้นให้เพิ่มเครื่องไปอีก 1 เครื่อง แล้วคลิก Confirm
      จากนั้นคลิก Commit Changes
      2559-12-02-14_23_39
    19. รอสักครู่
      2559-12-02-14_24_14
    20. ก็จะพบว่า ใน Nagios ก็จะเพิ่มเครื่องใหม่ในการเฝ้าระวังให้เองอัตโนมัติด้วย
      2559-12-02-14_29_53

    จะง่ายไปไหน?

     

  • บาง plugin ก็ไม่อัปเดตขึ้นตาม WordPress

    plugin ชื่อ member access (member-access.1.1.6.zip) ทำให้ในขณะนี้ไม่สามารถเพิ่มบทความที่ให้เฉพาะสมาชิกอ่านได้เท่านั้น แต่ต้องเปิดเป็น public ได้อย่างเดียว มิฉะนั้นในหน้าแรก (Home) จะไม่เป็นหน้าว่าง ๆ ต้อง login จึงเห็นบทความทุกเรื่องได้