hands on backup joomla website and restore

เรื่อง hands on backup joomla website and restore นี้จัดเตรียมโดยใช้ Oracle VM VirtualBox เพื่อฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการ backup website ในตัวอย่างจะใช้ joomla web site ซึ่งการ backup คงจะมีหลายแบบตามชนิดของการตั้ง website ในกรณีนี้ก็จะเป็นแบบตั้ง server เองแล้วใช้ apache web server + mysql server ที่ติดตั้งเอง สภาพแวดล้อมที่เตรียมมีดังนี้ ubuntu router: มี Fix IP Address 10.0.100.1 (แจก DHCP IP Address ให้แก่ server1, server2 และ client) server1: 10.0.100.206 (joomla website รันบน apache web server) server2: 10.0.100.207 (backup) client: 10.0.100.205 (เพื่อใช้งาน ssh ผ่านทาง terminal และเพื่อใช้งาน firefox web browser) รูปภาพระบบทดสอบนี้   การเตรียม VM ดาวน์โหลด [ ubunturouter-dhcp.ova  1.1GB ]  [ ubuntuserver-lamp.ova  1.2GB ] [ linuxmint15-live.ova 81KB]  [ linuxmint-15-mate-dvd-32bit.iso  1.0GB ] หรือได้รับแผ่น DVD ไฟล์ทั้งหมดนี้ แล้วทำดังนี้ 1. ทำ import ไฟล์ ubunturouter-dhcp.ova ตั้งชื่อว่า ubuntu router ตั้ง network adapter1: NAT, ตั้ง network adapter2: internal network (ตั้ง name: intnet1) 2. ทำ import ไฟล์ ubuntuserver-lamp.ova ตั้งชื่อว่า server1 ตั้ง network adapter1: internal network (ตั้ง name: intnet1) 3. ทำ import ไฟล์ ubuntuserver-lamp.ova อีกครั้ง ตั้งชื่อว่า server2 ตั้ง network adapter1: internal network (ตั้ง name: intnet1) 4. ทำ import ไฟล์ linuxmint15-live.ova ตั้งชื่อว่า client ตั้ง network adapter1: internal network (ตั้ง name: intnet1) และตั้งค่า Storage ใช้ CD/DVD ด้วยไฟล์ linuxmint-15-mate-dvd-32bit.iso หมายเหตุ เครื่อง 1,2 และ 3 เปิดเครื่องเข้าใช้ด้วย login mama / password 123456 การเตรียมทำ joomla site ทดสอบ 1. สร้าง database ที่ต้องการติดตั้ง ตัวอย่าง สร้าง database ชื่อ testdatabase ใช้คำสั่ง mysql -uroot -p123456 -e “CREATE DATABASE testdatabase CHARACTER

Read More »

ติว (อบรมเชิงปฏิบัติการ) เรื่อง “System Monitoring & Backup Guide สำหรับผู้ดูแลระบบ”

กิจกรรมของ CoP PSU IT รายการสุดท้ายของปีงบประมาณ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “System Monitoring & Backup Guide สำหรับผู้ดูแลระบบ” เป็นการนำเสนอเรื่องที่เตรียมมา ผู้เข้าร่วมนำโน้ตบุ๊คมาก็จะได้ลองทำตามดู และแลกเปลี่ยนถามตอบกันในประเด็น วันที่ 6 ก.ย. 2556 เวลา 09.00-16.00 น. ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร ตึก LRC ม.อ.หาดใหญ่ (อัปเดตล่าสุด ช่วงบ่ายลง lab จะใช้เครื่องคอมห้อง training room ชั้น 3 ครับ) System Monitoring = ผมคิดว่าน่าจะเป็นซอฟต์แวร์/วิธีการที่เราเลือกว่า ดีและเหมาะ สำหรับ ผู้ดูแลที่ติดตั้ง server ขึ้นมา 1 เครื่อง แล้วต้องใช้มันทุกวัน จะโดยอัตโนมัติ หรือ นั่งดูแบบ real time Backup Guide = ผมคิดว่าน่าจะเป็นวิธีการ/หลายๆเทคนิค ทั้งบน linux และ windows ว่า ใครที่ติดตั้ง server ขึ้นมา 1 เครื่อง ต้อง backup อะไรบ้าง เผื่อเมื่อเครื่องเสียหาย เช่น backup OS, user account, config file, website, database เป็นเบื้องต้น รายละเอียด 09.00-09.40น. นำเสนอ เรื่อง “ระบบ ตรวจจับ POP3 Brute Force Attack กับ ระบบตรวจจับผู้ใช้ PSU Email ที่ถูกหลอกเอารหัสผ่านไป” โดย คณกรณ์ หอศิริธรรม/แลกเปลี่ยนความเห็น 09.40-10.20น. นำเสนอ เรื่อง การสำรองข้อมูล web site ด้วย TAR เช่น mediawiki, wordpress เป็นต้น โดย วิบูลย์ วราสิทธิชัย และ การสำรองข้อมูล file server ด้วย RSYNC โดย กิตติพัฒน์ อุบลกาญจน์/แลกเปลี่ยนความเห็น 10.20-10.40น. พัก (รับประทานอาหารว่างร่วมกัน) 10.40-11.00น. นำเสนอ เรื่อง การดูแลระบบของคณะแพทยศาสตร์ โดย โกเมน เรืองฤทธิ์/แลกเปลี่ยนความเห็น 11.00-12.00น. นำเสนอ เรื่อง การดูแลระบบของศูนย์คอมพิวเตอร์ โดย จตุพร ชูช่วย/แลกเปลี่ยนความเห็น 12.00-13.00น. พักเที่ยง (รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน) 13.00-16.00น. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตรวจสอบการทำงานของเครื่องแม่ข่ายด้วยโปรแกรม Nagios โดยใช้ CentOS 6 + Epel โปรแกรมเสริม NRPE, NAGIOSQL (ตอนที่ 1) โดย จตุพร ชูช่วย และทีมงาน(เกรียงไกร หนูทองคำ) หากสนใจเข้าร่วม โปรดอีเมลมาที่ wiboon.w@psu.ac.th ครับ รายชื่อผู้แจ้งเข้าร่วม ทวีศักดิ์ รักษ์สุวรรณ    สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง วิศิษฐ โชติอุทยางกุร    คณะทันตแพทยศาสตร์ (อาหารมังสวิรัติ) นิติ โชติแก้ว    คณะการแพทย์แผนไทย สัมฤทธิ์ ฤทธิภักดี    ศูนย์คอมพิวเตอร์ สุทิศา จรียานุวัฒน์   คณะทันตแพทยศาสตร์ จรรยา เพชรหวน    คณะทรัพยากรธรรมชาติ ยุวภา โฆสกิตติกุล    คณะทรัพยากรธรรมชาติ จันทนา เพ็ชรรัตน์    สำนักวิจัยและพัฒนา นาลิวัน หีมเห็ม    สำนักวิจัยและพัฒนา ศุภางค์  

Read More »

Record video with RecordMyDesktop for Linux Mint

วันนี้มีความรู้มาฝากเกี่ยวกับการทำบันทึกวิดีโอแนะนำความรู้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง โดยใช้งานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Linux Mint 15 Mate ครับ ผมต้องการทำวิดีโอ Preview แผ่น Linux Mint 15 Mate ที่พวกเราจะแจกในงานม.อ.วิชาการ’56 เพื่อเปิดให้มันบรรยายสรรพคุณไปเรื่อยๆในงาน เราไม่ต้องพูดและเด็กๆก็ฟังเมื่อต้องการได้ ผมจึงได้หาโปรแกรมมาได้โดยการติดตั้งผ่านโปรแกรม Software Manager ของ Linux Mint โปรแกรมนี้มีชื่อว่า gtk-recordmydesktop (ขอขอบคุณเกรียงไกร หนูทองคำ ที่เอื้อเฟื้อคำแนะนำ) แล้วทำการบันทึก ในขณะบันทึกเราก็ต้องมีชุดหูฟังและไมโครโฟนที่พร้อมใช้งาน ผมใช้ Logitech ครับ ขั้นตอนการทำวิดีโอง่ายๆ คือ เข้าใช้ระบบปฏิบัติการ Linux Mint แล้วเรียกเมนู Software Manager จากนั้นใส่คำค้นหาเมื่อเจอแล้วดับเบิลคลิกชื่อซอฟต์แวร์ และจบด้วยคลิก Install เมื่อติดตั้งเสร็จก็มาเรียกใช้งาน มันจะอยู่ในเมนู Sound & Video ชื่อโปรแกรมคือ RecordMyDesktop ตอนนี้โปรแกรมอัดพร้อมแล้วเราก็ไปเปิด Oracle VM VirtualBox สั่งรัน linux mint ที่เป็น Virtual Machine แล้วเมื่อพร้อมก็คลิกที่ปุ่ม Record (ที่ taskbar จะเห็นเป็นสี่เหลี่ยมสีแดง) ก็บรรยายไป คลิกเปิดโปรแกรมไปจนเสร็จ ให้คลิกปุ่มเพื่อ Stop แล้วโปรแกรมมันจะเริ่มเขียนไฟล์จากที่เก็บไว้ใน /tmp จะได้ไฟล์ชื่อ out.ogv ผมก็ rename เป็นไฟล์ชื่อ linuxmint-preview.ogv นำไปไว้บน ftp server ให้ดาวน์โหลดมาเปิดดูและฟังได้ ผมทำตัวอย่างเก็บไว้อยู่ที่ http://ftp.psu.ac.th/pub/cc/linuxmint-preview.ogv ขั้นตอนการเปิดใช้ 1. เปิด Terminal 2. ดาวน์โหลดด้วย wget มาเก็บไว้เป็นไฟล์อีกไฟล์ให้ใหม่สดเสมอด้วย option -O wget http://ftp.psu.ac.th/pub/cc/linuxmint-preview.ogv -O /tmp/current-linuxmint-preview.ogv 3. วิธีรันแบบ fullscreen totem –fullscreen  /tmp/current-linuxmint-preview.ogv หวังว่าพวกเราคงสนุกกับบทความนี้นะครับ

Read More »

ทบทวนที่เรียนจากติว PhoneGap ด้วย HTML5 & Jquery Mobile

ผมต้องออกตัวก่อนนะครับว่า ไม่ได้เก่งในการเขียน Mobile Apps. เลยสักนิด เพียงแต่ได้ไปเข้าเรียนมา 2 วัน ผมรู้สึกว่าเป็นศาสตร์ที่น่าลองทำดู และไม่ควรให้มันจางหายไปหลังจากเรียน เดี๋ยววิทยากรจะเสียใจ อิๆ ผมจึงบันทีกไว้แบบใครอ่านแล้วไม่ชอบก็อย่าถือสาผมนะครับ ลองทบทวนจากที่เรียนใน workshop ติว “แนะนำและสอนการพัฒนาเบื้องต้นเกี่ยวกับ Application บนมือถือด้วย PhoneGap โดยใช้ HTML5 & Jquery Mobile” สภาพแวดล้อม – เป็นการติดตั้งทดสอบบน Windows 8 (32 bit) บนเครื่องโน้ตบุ๊ค HP ProBook 6450b RAM 4 GB 1. download JRE http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/jdk7-downloads-1880260.html 32bit ได้ไฟล์สำหรับติดตั้ง jdk-7u25-windows-i586.exe (64bit ได้ไฟล์สำหรับติดตั้ง jdk-7u25-windows-x64.exe) รันไฟล์ดังกล่าวเพื่อติดตั้งลงในวินโดวส์ 2. download ADT http://developer.android.com/sdk/index.html 32bit ได้ไฟล์ที่ zip ไว้คือ adt-bundle-windows-x86-20130729.zip (64bit ได้ไฟล์ที่ zip ไว้คือ adt-bundle-windows-x86_64-20130717.zip) แตกไฟล์ดังกล่าวออกมาแล้ว 32bit ได้ไดเรกทอรี adt-bundle-windows-x86-20130729 ไว้ที่ C:\ (64bit ได้ไดเรกทอรี adt-bundle-windows-x86_64-20130717 ไว้ที่ C:\) สร้าง shortcut ไปยังไฟล์ชื่อ eclipse.exe ในไดเรกทอรี eclipse ไว้บน Desktop ทดสอบรันโปรแกรม eclipse ตั้งชื่อ workspace ไว้ที่ C:\phonegap 3. สร้าง Andriod Device ในโปรแกรม Java – ADT เมนู Windows > Android Virtual Device Manager แท็บ Android Virtual Devices คลิก New… ADV Name: ตั้งชื่อ ADV-7-inch Device: เลือก Nexus 7 Target: เลือก Android 4.3 – API Level 18 (adt-bundle-windows-x86-20130729.zip จะได้ Android 4.3 – API Level 18) Front Camera: None RAM: 768 ทดสอบเปิด ADV-7-inch คลิก Start แล้วรอ ค่อนข้างนาน 4. สร้าง New Android Application File > New > New Android Application ตั้งชื่อว่า phonegappsu ที่เหลือใช้ค่า default หน้าต่อไป Create Project in Workspace ตั้ง Location เป็นชื่อ C:\phonegap\phonegappsu หน้าต่อไป ใช้ค่า default หน้าต่อไป ใช้ค่า Blank Activity หน้าต่อไป ใช้ค่า default (Activity Name: MainActivity) คลิก Finish แล้วจะได้หน้าต่างของรายละเอียดเยอะแยะ 5. download phonegap http://phonegap.com/install/ เลือก PhoneGap2.9.0 ได้ไฟล์ที่ zip ไว้คือ phonegap-2.9.0.zip แตกไฟล์ดังกล่าวออกมาแล้ว ได้ไดเรกทอรี phonegap-2.9.0 6.

Read More »

Ubuntu NAT Router

เพื่อนครูที่โรงเรียนหนึ่งสอบถามเข้ามาว่ากำลังจะทำ Linux Router ด้วย Ubuntu 12.04 ผมก็มีอยู่ตัวหนึ่งที่ใช้ใน workshop อยู่พอดี ผมติดตั้ง Ubuntu 12.04 ที่มี network interface card จำนวน 2 อัน ทำอยู่ใน Oracle VM VirtualBox ผมติดตั้ง BIND โปรแกรมสำหรับทำ DNS server และ ISC-DHCP-SERVER โปรแกรมสำหรับทำ DHCP server เอาไว้ใช้ในการทดสอบเมื่อมี VM Guest เครื่องอื่นๆอยู่ภายใน internal network ไม่ต้องไปรบกวน IP Address ของสำนักงาน เพราะเครื่อง Guest อื่นๆ จะขอ DHCP IP จาก Ubuntu Router นั่นเอง แล้วยังสามารถตั้งชื่อโดเมนเนมให้กับเครื่อง Guest ได้อีกด้วย ในกรณีที่เราทำใช้งานใน Oracle VM VirtualBox นั้น network interface eth0 ก็ตั้งค่า Network Adapter เป็น NAT และ network interface eth1 ก็ตั้งค่า Network Adapter เป็น Internet Network ตั้งชื่อว่า Intnet1 แต่หากนำไปติดตั้งเป็น Linux Router สำหรับโรงเรียนด้วยเครื่องจริง network interface eth0 ก็เป็น IP Address ที่ได้รับจาก ADSL หรือ Leased Line ส่วน network interface eth1 ก็ตั้ง IP Address ตามใจชอบ ผมจึงคิดว่าก็น่าจะลองเขียนเป็นคำแนะนำส่งให้กับครูท่านนั้น แต่เพื่อให้สามารถต่อยอดต่อไปอีกได้ ผมจึงเขียนสะสมไว้ในหัวข้อเรื่อง คือ Ubuntu NAT Router ที่ Link นี้ http://opensource.cc.psu.ac.th/Ubuntu_NAT_Router ผมจึงมาบอกเล่าให้เพื่อนๆฟังครับ เผื่อว่าใครกำลังมองหาวิธีการนี้อยู่

Read More »